มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

คำสอนเพื่อเพิกถอนทิฏฐิสู่การบรรลุธรรม


 

  โครงการธรรมศึกษาวิจัย

  คำสอนเพื่อเพิกถอนทิฏฐิบรรลุธรรม

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐  พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

การศึกษา คำสอนเพื่อเพิกถอนทิฏฐิ  ช่วยให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงความจริงในหลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ สร้างความลึกซึ้งการจะเข้าถึงธรรมได้อย่างดี เพราะใน  มีการแสดงเปรียบเทียบความจริงกับสิ่งปรากฏให้รู้ได้ 

เพื่อให้การศึกษาคำสอนเพื่อเพิกถอนทิฏฐิ เป็นอย่างเข้าใจ ผู้เขียนจึงสกัดเนื้อธรรม และภาษาให้เข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆและไม่เสียเนื้อความ อันที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นี้ สามารถสร้างเข้าใจได้อย่างง่ายขึ้น

  หนังสือนี้เชื่อว่าจะยังคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน ด้วยผลแห่งกุศลที่ประสงค์จะดำรงพระสัทธรรมให้ดำรงคงมั่นในอยู่จิตใจชาวพุทธ สร้างเสริมปัญญาเป็นบารมี จงเป็นบุญญาบารมีให้บิดามารดาครูอาจารย์ญาติพี่น้องตลอดจนสหายธรรมทุกท่านเป็นผู้ดำรงคงมั่น ในสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และให้ศาสนาแห่งพระบรมศาสดาดำรงคงอยู่ตลอดกาลนาน เป็นแสงสว่างนำพาชีวิตของสรรพสัตว์ออกจากห้วงมหรรณพภพสงสารพ้นกองทุกข์กองโศกกองกิเลสเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ด้วยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ

  ธีรเมธี

  ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

  มหาบัณฑิตพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทที่ ๑

คำสอนเพื่อเพิกถอนทิฏฐิแบบกามสุขัลลิกานุโยค

ก. หลักการออกบวช (เนกขัมมะ) ปรากฏในธรรมเทศนามีชื่อว่าอนุปุพพิกถามี

ความหมายว่าถ้อยคำที่กล่าวโดยลำดับแบ่งออกเป็น๒ส่วนคือ

ส่วนที่๑แบ่งเป็น๕ขั้นที่แสดงโดยต่อเนื่องเป็นลำดับกันคือ

๑. ทานกถากล่าวถึงการให้ทานเป็นอันดับแรก

๒. สีลกถากล่าวถึงการรักษาศีลคือการรักษากายวาจาให้เป็นปกติ

๓. สัคคกถากล่าวถึงการเข้าถึงสวรรค์คือกามคุณที่บุคคลปรารถนาซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการให้ทานและรักษาศีล

๔. กามาทีนวกถากล่าวถึงโทษแห่งกามคือความเป็นของไม่ยั่งยืนและเป็นทุกข์ของกามที่ชื่อว่าสวรรค์นั้น

๕.เนกขัมมานิสังสกถากล่าวถึงอานิสงส์แห่งการหลีกออกจากการกามคือการออกบวช

ส่วนที่๒อริยสัจคือความจริงแห่งพระอริยะหรือความจริงอันประเสริฐมี๔

ประการได้แก่

๑. ทุกข์ความทนได้ยากได้แก่สภาวทุกข์และเจตสิกทุกข์

๒. สมุทัยเหตุเกิดทุกข์ได้แก่ตัณหา๓คือกามตัณหาภวตัณหาวิภวตัณหา

๓. นิโรธความดับทุกข์ได้แก่ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น

๔. มรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้แก่อริยมรรคมีองค์๘มีสัมมาทิฏฐิเป็น

เบื้องต้นมีสัมมาสมาธิเป็นที่สุด

ธรรมเทศนาชื่อว่าอนุปุพพิกถานี้เป็นธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอน

ประชาชนอยู่เสมอๆเพราะมีความเหมาะสมกับบุคคลทั่วไปที่มีปกติเสพบริโภคกามคุณมาก่อนเพื่อทรงแสดงให้เห็นถึงคุณธรรมที่สูงยิ่งๆขึ้นไปเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์พุทธบริษัทส่วนใหญ่ได้รับการสั่งสอนและบรรลุธรรมด้วยธรรมเทศนานี้ตัวอย่างเช่นพระยสะเมื่อได้ฟังธรรมเทศนาชื่อว่าอนุปุพพิกถาและอริยสัจ๔ยสกุลบุตรก็ได้บรรลุโสดาปัตติผลและเมื่อได้ฟังธรรมเทศนานี้อีกครั้งพิจารณาภูมิธรรมที่ตนเห็นแล้วก็บรรลุอรหัตผลนอกจากพระยสะแล้วยังมีพระภิกษุผู้เป็นสหายอีก๕๔องค์ปรากฏชื่อ๔องค์คือพระวิมละพระสุพาหุพระปุณณชิและพระควัมปติซึ่ง

เมื่อได้ฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจ๔ก็ได้บรรลุธรรมเช่นเดียวกันนอกจากนี้ในระหว่างเดินทางไปตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแคว้นมคธในระหว่างทางที่เสด็จไปได้เทศนาโปรดภัททวัคคีย์๓๐คนด้วยธรรมเทศนานี้เช่นเดียวกันความว่า “พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาคือทรงประกาศทานกถาสีลกถาสัคคกถาโทษความต่ำทรามความเศร้าหมองของกามทั้งหลายและอานิสงส์ในความออกจากกามเมื่อพระองค์ทรงทราบว่ายสกุลบุตรมีจิตสงบมีจิตอ่อนมีจิตปลอดจากนิวรณ์มีจิตเบิกบานมีจิตผ่องใสแล้วจึงทรงประกาศธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เองคือทุกข์สมุทัยนิโรธมรรคดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลีปราศจากมลทินว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดาได้เกิดแก่ยสกุลบุตรณที่นั่งนั้นแลดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดีฉะนั้น” ๗

ธรรมเทศนาชื่อว่าอนุบุพพิกถานี้มีพุทธสาวกหลายองค์ได้ฟังแล้วได้ทูลขออุปสมบท

อาทิพระมหากัจจายนะท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงอนุปุพพิกถาพร้อมกับสหาย๗คนท่านได้กล่าวถึงความเป็นมาของตนเองว่า “เราเป็นคนฉลาดเรียนจบไตรเพทส่วนมารดาของเราชื่อจันทนปทุมาเราชื่อกัจจานะเป็นผู้มีผิวกายงามเราอันพระเจ้าแผ่นดินทรงส่งไปเพื่อพิจารณาพระพุทธเจ้าได้พบพระผู้นำซึ่งเป็นประตูของโมกขบุรีเป็นที่สั่งสมคุณและได้สดับพระพุทธภาษิตอันปราศจากมลทินเป็นเครื่องชำระล้างเปือกตมคือคติจึงได้บรรลุอมตธรรมอันสงบระงับพร้อมกับบุรุษ๗คนที่เหลือเราเป็นผู้อธิบายในพระมติอันใหญ่ของพระสุคตเจ้าได้แจ้งชัดและพระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเราเป็นผู้มีความปรารถนาสำเร็จด้วยดีแล้วเราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว” ๘

  พระกาฬุทายีเป็นอำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะได้รับพระราชโองการให้ไปทูลเชิญเสด็จท่านได้ทูลลาบวชด้วยโดยพาผู้ติดตามไปด้วยพันหนึ่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระวิหารเวฬุวันเมื่อถึงในเวลาเย็นซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าแสดงอนุปุพพิกถาอยู่ท่านพร้อมด้วยผู้ติดตามได้ฟังธรรมเทศนาจนจบก็บรรลุอรหัตผลท่านได้กล่าวปรารถว่า “เรากำจัดราคะโทสะโมหะมานะและมักขะได้แล้วกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วไม่มีอาสวะอยู่เรายังพระสัมพุทธเจ้าให้ทรงโปรดปรานมีความเพียรมีปัญญา” ๙

  พระมหาปันถกะเมื่ออุปสมบทแล้วบำเพ็ญเพียรก็บรรลุอรหัตผลมีคาถาสุภาษิตที่ท่านกล่าวปรารถถึงตนเองเกี่ยวกับการละทิ้งกามแล้วออกบวชว่า “ครั้งนั้นเราได้ละทิ้งบุตรภรรยาทรัพย์และธัญญาหารปลงผมและหนวดออกบวชเป็นบรรพชิตเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพสำรวมดีแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ต่อมารครั้งนั้นความตั้งใจปรารถนาสำเร็จแก่เราเราไม่ได้นั่งอยู่เปล่าแม้เพียงครู่เดียวในเมื่อยังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้ขอจงดูความเพียรความบากบั่นของเราผู้อยู่ด้วยความตั้งใจอย่างนั้นเราได้บรรลุวิชชา๓คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว” ๑๐

  พระภัททิยะเมื่อท่านอุปสมบทแล้วบำเพ็ญเพียรไม่นานก็บรรลุอรหัตผลในพรรษาที่บวชนั้นเมื่อบรรลุธรรมแล้วไม่ว่าจะไปอยู่ในที่ใดเช่นในป่าใต้ร่มไม้ที่ว่างมักเปล่งอุทานในที่นั้นว่าสุขหนอๆพวกภิกษุได้ยินแล้วจึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้าเพราะสงสัยว่าท่านมัวนึกถึงราชสมบัติพระพุทธเจ้าจึงรับสั่งมาตรัสสอบถามท่านได้กราบทูลว่าเมื่อก่อนเป็นกษัตริย์ต้องจัดการรักษาป้องกันเมืองและอาณาจักรแม้มีทหารรักษาพระองค์ก็ยังหวาดกลัวสะดุ้งอยู่ตลอดเวลาแต่ปัจจุบันแม้ไปอยู่ป่าใต้ร่มไม้ที่ว่างก็ไม่หวาดกลัวสะดุ้งตกใจดำรงชีพด้วยอาหารที่ผู้อื่นให้เลี้ยงชีพทำให้เปล่งอุทานอย่างนั้นพระพุทธเจ้าทรงทราบความนั้นจึงทรงเปล่งอุทานว่า “บุคคลใดไม่มีความโกรธภายในจิตและก้าวล่วงภพน้อยภพใหญ่มีประการเป็นอันมากเสียได้เทวดาทั้งหลายไม่อาจเล็งเห็นวาระจิตของบุคคลนั้นผู้ปลอดภัยมีสุขไม่มีโศก” ๑๑เช่นเดียวกับพระมหากัปปินะท่านพร้อมด้วยข้าราชบริพารหนึ่งพันคนเมื่อได้ฟังธรรมเทศนาชื่อว่าอนุปุพพิกถาเมื่อจบธรรมเทศนาก็บรรลุโสดาปัตติผลจึงทูลขออุปสมบทพระพุทธเจ้าทรงพาภิกษุพันรูปนั้นเสด็จกลับพระวิหารเชตวันได้รับการสั่งสอนจนกระทั่งบรรลุอรหัตผลท่านมักเที่ยวเปล่งอุทานว่าสุขหนอๆเช่นเดียวกับพระภัททิยะพวกภิกษุได้ยินแล้วพากันคิดว่าท่านเปล่งอุทานเพราะปรารถนาความสุขในราชสมบัติเก่าจึงไปกราบทูลพระพุทธเจ้าพระพุทธองค์รับสั่งมาตรัสถามทราบตามความเป็นจริงแล้วจึงตรัสว่าพระมหากัปปินะมิได้เปล่งอุทานปรารภกามสุขหรือรัชชสุขแต่เพราะเกิดความปีติในธรรมเปล่งอุทานปรารภนิพพานนั่นเองท่านได้กล่าวปรารถคาถากล่าวถึงตนเองว่า“พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของเราได้แสดงธรรมเทศนาเราฟังธรรมอันปราศจากมลทินแล้วได้กราบทูลพระพิชิตมารว่าข้าแต่พระมหาวีรเจ้าขอได้โปรดให้พวกข้าพระองค์ได้บรรพชาเถิดพวกข้าพระองค์เป็นผู้ลงจากภพแล้วพระมหามุนีผู้สูงสุดตรัสว่าท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิดธรรมอันเรากล่าวดีแล้วท่านทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์เถิดพร้อมกันกับพระพุทธดำรัสเราทุกคนล้วนทรงเพศเป็นภิกษุเราทั้งหลายอุปสมบทแล้วเป็นภิกษุผู้โสดาบันในพระศาสนาต่อแต่นั้นพระผู้นำชั้นพิเศษได้เสด็จเข้าพระเชตวันมหาวิหารแล้วทรงสั่งสอนเราอันพระพิชิตมารทรงสั่งสอนแล้วได้บรรลุอรหัต” ๑๒

  พระโสณกุฏิกัณณะท่านมีความปรารถนาจะอุปสมบทจึงเข้าไปหาพระมหากัจจายนะบอกความประสงค์ของตนให้ท่านทราบพระมหากัจจายนะได้ชี้แจงให้ทราบถึงความลำบากของการการประพฤติพรหมจรรย์จึงแนะนำให้บำเพ็ญศาสนปฏิบัติในทางฆราวาสแต่โสณอุบาสกมีศรัทธาแรงกล้ามีความปรารถนาจะบวชอย่างยิ่งยวดจึงได้อ้อนวอนขอให้ท่านสงเคราะห์อยู่เป็นประจำในที่สุดพระมหากัจจายนะก็ให้บวชเป็นสามเณรเท่านั้นเพราะในอวันตีชนบทมีภิกษุน้อยจะหาสงฆ์มีจำนวน๑๐รูปให้อุปสมบทได้ยากโดยล่วงไป๓ปีท่านจึงได้อุปสมบทเมื่อได้อุปสมบทแล้วได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหัตผลดังคำกล่าวของท่านว่า “เราได้อุปสมบทแล้วเป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสไม่มีอาสวะได้เห็นพระผู้มีพระภาคและได้อยู่ร่วมกับพระองค์ในวิหารเดียวกัน. . . ท่านโสณะกำหนดรู้เบญจขันธ์แล้วอบรมอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐพึงได้บรรลุความสงบอย่างยิ่งจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน” ๑๓

  พระนันทกะท่านได้กล่าวคาถาบรรยายถึงการบรรลุอรหัตผลของท่านไว้ว่า “เราได้พบพระสุคตเจ้าในวันที่พระองค์เสด็จเข้าพระนครเป็นผู้มีใจอัศจรรย์ได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในวันที่พระพุทธองค์ทรงรับพระเชตวนารามได้บรรลุอรหัตผลโดยกาลไม่นานเลยครั้งนั้นเราอันพระศาสดาผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงทรงพร่ำสอนจึงข้ามพ้นสังสารวัฏไปได้เราสอนธรรมแก่พระภิกษุณีทั้งหลายพระภิกษุณีที่เราสอนนั้นรวม๕๐๐รูปด้วยกันล้วนเป็นผู้ไม่มีอาสวะครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคผู้มีประโยชน์เกื้อกูลใหญ่ทรงพอพระทัยจึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายให้โอวาทพระภิกษุณี. . . เราเผากิเลสเสียแล้วเราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว” ๑๔

  พระโสภิตะท่านได้กล่าวคาถาบรรยายถึงการบรรลุอรหัตผลไว้ว่า “เราเผากิเลสได้แล้วถอนภพขึ้นได้หมดแล้ววิชชา๓เราบรรลุแล้วพระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้วในกัลปที่๕๐,๐๐๐แต่กัลปนี้ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ๗พระองค์ทรงพระนามว่าสมุคคตะสมบูรณ์ด้วยแก้ว๗ประการมีพลมากคุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา๔วิโมกข์๘และอภิญญา๖เราทำให้แจ้งชัดแล้วพระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว” ๑๕ส่วนพระขทิรวนิยเรวตะท่านได้หลบหนีอออกจากเรือนเพื่ออุปสมบทท่านได้เดินทางไปบำเพ็ญเพียรที่ป่าไม้ตะเคียนและได้บรรลุอรหัตผลภายในพรรษานั้นท่านได้กล่าวความรู้สึกว่า “ภายหลังเขาบวชแล้วจักประกอบความเพียรเจริญวิปัสสนากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วจักไม่มีอาสวะนิพพานเรามีความเพียรอันนำไปซึ่งธุระอันนำมาซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะเราทรงกายอันมีในที่สุดในศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา๔วิโมกข์๘และอภิญญา๖เราทำให้แจ้งชัดแล้วพระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว” ๑๖

  . หลักการละความยินดีในกามคุณตัวอย่างเช่นพระนันทะอุปสมบทด้วยความไม่สมัครใจเพราะมีความเคารพเกรงใจในพระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ที่รูปโฉมงดงามมีรูปลักษณ์ละม้ายคล้ายพระพุทธเจ้าแต่มีกายต่ำกว่าพระพุทธเจ้าประมาณ๔องคุลี(นิ้ว) มีความประพฤติเรียบร้อยโน้มเอียงไปทางรักสวยรักงามท่านมักเป็นผู้ที่ถูกพระพุทธเจ้าติเตียนหลายเรื่องเช่นท่านทรงจีวรเท่าจีวรของพระพุทธเจ้าเมื่อภิกษุเห็นท่านแต่ไกลก็พากันลุกรับเพราะนึกว่าพระพุทธเจ้าท่านจึงถูกติเตียนความทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงทรงเรียกไปไต่ถามและบัญญัติสิกขาบทไม่ให้ภิกษุทำจีวรเท่าหรือเกินกว่าพระพุทธเจ้าถ้าล่วงละเมิดปรับอาบัติปาจิตตีย์๑๗และอีกครั้งหนึ่งท่านห่มจีวรที่ทุบแล้วทุบอีกหยอดนัยน์ตาถือบาตรมีสีใสเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าจึงถูกติเตียนว่า “ดูกรนันทะข้อที่เธอห่มจีวรที่ทุบและกลับทุบแล้วหยอดนัยน์ตาและถือบาตรมีสีใสไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาข้อที่เธอถืออยู่ป่าเป็นวัตรถือบิณฑบาตเป็นวัตรถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรและไม่พึงเป็นผู้เพ่งเล็งในกามทั้งหลายอยู่อย่างนี้จึงสมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา . . . เมื่อไรเราจะพึงได้เห็นนันทะถืออยู่ป่าเป็นวัตรถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโภชนะที่เจือปนกันผู้ไม่อาลัยในกามทั้งหลายดังนี้” ๑๘ก่อนที่ท่านจะบรรลุธรรมนั้นท่านมีความต้องการจะลาสิกขาเพราะหวนระลึกถึงแต่นางชนบทกัลยาณีมีความกระสันฟุ้งซ่านไม่ผาสุกในการประพฤติพรหมจรรย์พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องจึงพาเที่ยวจาริกไปในที่ต่างๆให้ได้เห็นหญิงที่มีรูปสวยงามกว่านางชนบทกัลยาณีเพื่อให้ท่านคลายความรักในรูปนางชนบทกัลยาณีเสียมุ่งหมายอยากจะได้รูปหญิงที่สวยงามยิ่งกว่านั้นต่อไปและพระพุทธเจ้าเป็นผู้รับประกันว่าถ้าตั้งใจจะประพฤติพรหมจรรย์แล้วพระองค์ทรงรับรองที่จะหาหญิงที่สวยงามให้ต่อแต่นั้นท่านก็ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออยากได้หญิงที่รูปสวยงามจนเป็นข่าวลือไปทั่วภิกษุอื่นก็พากันล้อเลียนท่านว่าเป็นลูกจ้างเป็นผู้มีค่าไถ่ท่านเกิดความอึดอัดละอายใจจึงหลีกไปอยู่แต่ผู้เดียวเป็นผู้ไม่ประมาทบำเพ็ญเพียรก็ได้บรรลุอรหัตผลและเมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าอีกครั้งจึงทรงพระพุทธดำรัสว่า “ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้วย่ำยีหนามคือกามได้แล้วภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์” ๑๙เช่นเดียวกับพระลกุณฏกภัททิยะเมื่ออุปสมบทแล้วมีเหตุการณ์เล่าว่าเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ณพระวิหารเชตวันเมืองสาวัตถีพระสารีบุตรได้ชี้แจงธรรมีกกถาให้ท่านฟังจนบรรลุอรหัตผล๒๐แต่มีคำกล่าวของท่านเองซึ่งแสดงให้เห็นถึงทิฏฐิเดิมของท่านว่า “ภัททิยภิกษุอยู่ณอัมพาฏการามอันสวยงามในชัฏแห่งป่าได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้วเป็นผู้เจริญด้วยคุณมีศีลเป็นต้นเพ่งฌานอยู่ในไพรสณฑ์นี้กามโภคีบุคคลบางพวกย่อมยินดีด้วยเสียงตะโพนเสียงพิณและบัณเฑาะว์แต่ความยินดีของพวกเขานั้นไม่ประเสริฐไม่ประกอบด้วยประโยชน์ส่วนเรายินดีแล้วในคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ที่โคนไม้ก็พระพุทธเจ้าได้ประทานพรแก่เราเรารับพรนั้นแล้วถือเอากายคตาสติอันโลกทั้งปวงพึงเจริญเป็นนิตย์ชนเหล่าใดถือรูปร่างเราเป็นประมาณและถือเสียงเราเป็นประมาณชนเหล่านั้นตกอยู่ในอำนาจฉันทราคะย่อมไม่รู้จักเราคนพาลถูกกิเลสกั้นไว้รอบด้านย่อมไม่รู้ทั้งภายในไม่เห็นทั้งภายนอกย่อมลอยไปตามเสียงแม้บุคคลผู้เห็นผลภายนอกไม่รู้ภายในแต่เห็นภายนอกก็ลอยไปตามเสียงส่วนผู้ใดมีความเห็นไม่ถูกกั้นย่อมรู้ชัดทั้งภายในทั้งเห็นแจ้งภายนอกผู้นั้นย่อมไม่ลอยไปตามเสียง” ๒๑เช่นเดียวกับพระกิมพิละเมื่ออุปสมบทแล้วเป็นผู้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหัตผลได้กล่าวสุภาษิตสรรเสริญการยินดีในธรรมซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตเดิมของท่านว่า “พระศากยบุตรทั้งหลายผู้เป็นสหายกันในปาจีนวังสทายวันได้พากันละโภคะไม่น้อยมายินดีในการเที่ยวบิณฑบาตปรารภความเพียรมีจิตเด็ดเดี่ยวมีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ละความยินดีในโลกมายินดีอยู่ในธรรม” ๒๒

  ค. หลักการพิจารณากายว่าเป็นของไม่งามตัวอย่างเช่นพระรัฏฐปาละอุปสมบทแล้วประมาณกึ่งเดือนพระพุทธเจ้าเสด็จจากถุลลโกฏฐิตนิคมไปประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันเมืองสาวัตถีเมื่อท่านได้หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียวบำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหัตผลท่านได้กล่าวคำแสดงทิฏฐิและการบรรลุธรรมของท่านกับพระเจ้าโกรัพยะในถุลลโกฏฐิตนิคมกษัตริย์แคว้นกุรุเกี่ยวกับการพิจารณากายเป็นของไม่งามและการบริโภคกามว่า “เชิญดูอัตภาพอันธรรมดาตกแต่งให้วิจิตรมีกายเป็นแผลอันกระดูก๓๐๐ท่อนยกขึ้นแล้วกระสับกระส่ายคนพาลพากันดำริหวังมากอันไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่นเชิญดูรูปอันปัจจัยกระทำให้วิจิตรด้วยแก้วมณีและกุณฑลหุ้มด้วยหนังมีร่างกระดูกอยู่ภายในงามพร้อมไปด้วยผ้าต่างๆมีเท้าทั้งสองอันฉาบทาด้วยครั่งสดมีหน้าอันไล้ทาด้วยฝุ่นสามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้แต่ไม่สามารถทำให้ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลงผมทั้งหลายอันบุคคลตบแต่งเป็นลอนคล้ายกระดานหมากรุกนัยน์ตาทั้งสองอันหยอดด้วยยาตาสามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้แต่ไม่สามารถทำให้ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลงกายอันเปื่อยเน่าอันบุคคลตบแต่งแล้วเหมือนกล่องยาตาใหม่ๆวิจิตรด้วยลวดลายต่างๆสามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้แต่ไม่สามารถทำให้ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลงนายพรานเนื้อดักบ่วงไว้แต่เนื้อไม่ติดบ่วงเมื่อนายพรานเนื้อคร่ำครวญอยู่พวกเนื้อพากันมากินเหยื่อแล้วหนีไปบ่วงของนายพรานขาดไปแล้วเนื้อไม่ติดบ่วงเมื่อนายพรานเศร้าโศกอยู่พวกเนื้อพากันมากินเหยื่อแล้วหนีไปเราเห็นหมู่มนุษย์ที่มีทรัพย์ในโลกนี้ได้ทรัพย์แล้วไม่ให้ทานเพราะความลุ่มหลงได้ทรัพย์แล้วทำการสั่งสมไว้และปรารถนาอยากได้ยิ่งขึ้นไปพระราชากดขี่ช่วงชิงเอาแผ่นดินครอบครองแผ่นดินอันมีสาครเป็นที่สุดตลอดฝั่งสมุทรข้างนี้แล้วไม่รู้จักอิ่มยังปรารถนาจักครอบครองฝั่งสมุทรข้างโน้นอีกต่อไปพระราชาก็ดีมนุษย์เหล่าอื่นเป็นอันมากก็ดีผู้ยังไม่ปราศจากตัณหาย่อมเข้าถึงความตายยังไม่เต็มความประสงค์ก็พากันละทิ้งร่างกายไปความอิ่มด้วยกามทั้งหลายย่อมไม่มีในโลกเลยหมู่ญาติพากันสยายผมร้องไห้คร่ำครวญถึงผู้นั้นและพันว่าทำอย่างไรหนอพวกญาติของเราจึงจะไม่ตายครั้นพวกญาติตายแล้วก็เอาผ้าห่อนำไปเผาเสียที่เชิงตะกอนผู้ที่ตายไปนั้นถูกเขาแทงด้วยหลาวเผาด้วยไฟละโภคะทั้งหลายมีแต่ผ้าผืนเดียวติดตัวไปเมื่อบุคคลจะตายย่อมไม่มีญาติหรือมิตรสหายช่วยต้านทานได้พวกที่รับมรดกก็มาขนเอาทรัพย์ของผู้ตายนั้นไปส่วนสัตว์ที่ตายย่อมไปตามยถากรรมเมื่อตายไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรๆคือพวกบุตรภริยาทรัพย์แว่นแคว้นสิ่งใดๆจะติดตามไม่ได้เลยบุคคลจะได้อายุยืนเพราะทรัพย์ก็หาไม่จะละความแก่ไปแม้เพราะทรัพย์ก็หาไม่นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นแลว่าเป็นของน้อยไม่ยั่งยืนมีความแปรปรวนเป็นธรรมดาทั้งคนมั่งมีและคนยากจนย่อมถูกต้องผัสสะเหมือนกันทั้งคนพาลและคนฉลาดก็ต้องถูกผัสสะเหมือนกันทั้งนั้นแต่คนพาลถูกอารมณ์ที่ไม่พอใจเบียดเบียนย่อมอยู่เป็นทุกข์เพราะความเป็นพาลส่วนนักปราชญ์อันผัสสะถูกต้องแล้วย่อมไม่หวั่นไหวเพราะฉะนั้นและปัญญาจึงจัดว่าประเสริฐกว่าทรัพย์เพราะปัญญาเป็นเหตุให้บรรลุนิพพานแต่คนพาลไม่ปรารถนาจะบรรลุพากันทำกรรมชั่วต่างๆอยู่ในภพน้อยภพใหญ่เพราะความหลงผู้ใดทำกรรมชั่วแล้วผู้นั้นจะต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในวัฏสงสารร่ำไปบุคคลผู้มีปัญญาน้อยเมื่อมาเชื่อต่อการทำของบุคคลผู้ที่ทำความชั่วนั้นก็จะต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ร่ำไปเหมือนกันโจรผู้มีธรรมอันชั่วช้าถูกเขาจับได้พร้อมทั้งของกลางย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนฉันใดหมู่สัตว์ผู้มีธรรมอันชั่วช้าละไปแล้วย่อมเดือดร้อนในปรโลกเพราะกรรมของตนฉะนั้นกามทั้งหลายงามวิจิตรมีรสอร่อยน่ารื่นรมย์ใจย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆดูกรมหาบพิตรเพราะอาตมภาพได้เห็นโทษในกามคุณทั้งหลายจึงออกบวชสัตว์ทั้งหลายทั้งหนุ่มทั้งแก่ย่อมตกไปเพราะร่างกายแตกเหมือนผลไม้หล่นฉะนั้นดูกรมหาบพิตรอาตมภาพเห็นความไม่เที่ยงแม้ข้อนี้จึงออกบวชความเป็นสมณะอันไม่ผิดนั้นแลประเสริฐอาตมภาพออกบวชด้วยศรัทธาเข้าถึงการปฏิบัติชอบในศาสนาของพระชินเจ้าบรรพชาของอาตมภาพไม่มีโทษอาตมภาพไม่เป็นหนี้บริโภคโภชนะอาตมภาพเห็นกามทั้งหลายโดยเป็นของอันไฟติดทั่วแล้วเห็นทองทั้งหลายโดยเป็นศาตราเห็นทุกข์จำเดิมแต่ก้าวลงในครรภ์เห็นภัยใหญ่ในนรกจึงออกบวชอาตมภาพเห็นโทษอย่างนี้แล้วได้ความสังเวชในกาลนั้นในกาลนั้นอาตมภาพเป็นผู้ถูกลูกศรคือราคะเป็นต้นแทงแล้วบัดนี้บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้วคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอาตมภาพทำสำเร็จแล้วอาตมภาพได้ปลงภาระอันหนักลงแล้วถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้วบรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้วบรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว” ๒๓เช่นเดียวกับพระวักกลิบรรลุอรหัตผลเพราะความหลงใหลในพระรูปกายของพระพุทธเจ้าต่อมาพระพุทธเจ้าได้เทศนาสั่งสอนปรากฏในคาถาภาษิตที่ท่านกล่าวไว้ว่า “อย่าเลยวักกลิประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียดซึ่งชนพาลชอบเล่าก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรมบัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเราผู้ไม่เห็นสัทธรรมถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็นกายมีโทษไม่สิ้นสุดเปรียบเสมอด้วยต้นไม้มีพิษเป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่างล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์เพราะฉะนั้นท่านจงเบื่อหน่ายในรูปพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลายจักถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดยง่าย . . . ทรงแสดงพระธรรมเทศนาคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลายอีกเรารู้ธรรมนั้นทั่วถึงแล้วจึงได้บรรลุอรหัต” ๒๔ส่วนพระกุมารกัสสปะเมื่ออุปสมบทแล้วเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ณพระวิหารเชตวันเมืองสาวัตถีท่านเข้าไปสู่ป่าอันธวันเพื่อบำเพ็ญเพียรครั้งนั้นมีเทวดาองค์หนึ่งได้มาผูกปัญหาว่าด้วยปริศนาจอมปลวกให้ท่านจำนวน๑๕ข้อแล้วสั่งให้ไปทูลถามพระพุทธเจ้าแล้วก็หายไปท่านจึงไปทูลถามในเวลาค่ำครั้นได้ฟังปัญหาตอบ๑๕ข้อแล้วในที่สุดก็ได้บรรลุอรหัตผลพระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบปัญหาว่า “ดูกรภิกษุคำว่าจอมปลวกนั่นเป็นชื่อของกายนี้ประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง๔มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิดเจริญด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาสไม่เที่ยงต้องอบรมต้องนวดฟั้นมีการทำลายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดาปัญหาข้อว่าอย่างไรชื่อว่าพ่นควันในกลางคืนได้แก่การที่บุคคลปรารภการงานในกลางวันแล้วตรึกตรองในกลางคืนปัญหาข้อว่าอย่างไรชื่อว่าลุกโพลงในกลางวันได้แก่การที่บุคคลตรึกตรองถึงการงานในกลางคืนแล้วประกอบการงานในกลางวันด้วยกายและวาจาคำว่าพราหมณ์นั้นเป็นชื่อของพระตถาคตคำว่าสุเมธะเป็นชื่อของเสขภิกษุคำว่าศาตราเป็นชื่อของปัญญาอันประเสริฐคำว่าจงขุดนั้นเป็นชื่อของการปรารภความเพียรคำว่าลิ่มสลักเป็นชื่อของอวิชชาเจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรายกลิ่มสลักขึ้นคือจงละอวิชชาเสียจงขุดมันขึ้นเสียคำว่าอึ่งเป็นชื่อแห่งความคับแค้นเพราะความโกรธเจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรายกอึ่งขึ้นเสียคือจงละความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธเสียจงขุดมันเสียคำว่าทาง๒แพร่งเป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉาเจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตราก่นทาง๒แพร่งเสียคือจงละวิจิกิจฉาเสียจงขุดมันเสียคำว่าหม้อกรองน้ำด่างเป็นชื่อของนิวรณ์๕คือกามฉันทนิวรณ์พยาบาทนิวรณ์ถีนมิทธนิวรณ์อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์วิจิกิจฉานิวรณ์เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรายกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นเสียคือจงละนิวรณ์๕จงขุดขึ้นเสียคำว่าเต่าเป็นชื่อของอุปาทานขันธ์๕คือรูปูปาทานขันธ์เวทนูปาทานขันธ์สัญญูปาทานขันธ์สังขารูปาทานขันธ์วิญญาณูปาทานขันธ์เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรายกเต่าขึ้นเสียคือจงละอุปาทานขันธ์๕จงขุดขึ้นเสียคำว่าเขียงหั่นเนื้อเป็นชื่อของกามคุณ๕คือรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจเป็นรูปที่น่ารักประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสตกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ . . . รสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา . . . โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกายน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจเป็นรูปที่น่ารักประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดเจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรายกเขียงหั่นเนื้อเสียคือจงละกามคุณ๕เสียจงขุดขึ้นเสียคำว่าชิ้นเนื้อเป็นชื่อของนันทิราคะเจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรายกชิ้นเนื้อขึ้นเสียคือจงละนันทิราคะจงขุดขึ้นเสียคำว่านาคเป็นชื่อของภิกษุผู้ขีณาสพอธิบายว่านาคจงหยุดอยู่เถิดเจ้าอย่าเบียดเบียนนาคจงทำความนอบน้อมต่อนาค” ๒๕ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

“เพราะได้สดับธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่ากายเช่นเดียวกับจอมปลวกจิตของเราจึงพ้นจากอาสวะกิเลสไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานโดยประการทั้งปวง” ๒๖

คำสำคัญ (Tags): #ทิฎฐิ
หมายเลขบันทึก: 512553เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

 

ง. หลักความเป็นผู้สันโดษตัวอย่างเช่นพระกุณฑธานะท่านได้กล่าวคาถาบรรยายถึง  การบรรลุอรหัตผลไว้ว่า “เราประกอบเนืองๆซึ่งความสงัดเพ่งฌานยินดีในฌานยังพระศาสดาให้ทรงโปรดปรานไม่มีอาสวะอยู่” ๒๗เช่นเดียวกับพระปุณณมันตานีบุตรบรรลุอรหัตผลด้วยธรรมที่ตนบรรลุดังที่ภิกษุชาวชาติภูมิประเทศได้กราบทูลยกย่องท่านต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าณพระวิหารเวฬุวันเมืองราชคฤห์ด้วยหลักกถาวัตถุ๑๐คือเรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุมี๑๐อย่างว่า“ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเป็นผู้ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิประเทศยกย่องว่าตนเองเป็นผู้มักน้อยสันโดษสงัดเงียบไม่คลุกคลีด้วยหมู่ปรารภความเพียรสมบูรณ์ด้วยศีลสมาธิปัญญาวิมุติและวิมุตติญาณทัสสนะแล้วยังกล่าวถ้อยคำพรรณนาความมักน้อยความสันโดษความสงัดเงียบความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ความปรารภความเพียรความสมบูรณ์ด้วยศีลสมาธิปัญญาวิมุติและวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วยเป็นผู้โอวาทแนะนำชี้แจงชักชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ให้อาจหาญร่าเริง” ๒๘เช่นเดียวกับพระยโสชะเมื่ออุปสมบทแล้วครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันใกล้เมืองสาวัตถีภิกษุทั้ง๕๐๐รูปมีพระยโสชะเป็นหัวหน้าพากันมาเฝ้าพระองค์ครั้นถึงแล้วได้คุยกันกับพวกภิกษุเจ้าถิ่นเก็บบาตรและจีวรกันอยู่ได้ส่งเสียงอื้ออึงพระพุทธเจ้าทรงรับสั่งว่าภิกษุพวกนี้ส่งเสียงดังลั่นเหมือนชาวประมงแย่งปลากันแล้วรับสั่งให้เข้ามาเฝ้าทรงประณามขับไล่ไม่ให้อยู่ในสำนักของพระองค์พวกภิกษุเหล่านั้นพากันถวายบังคมกระทำประทักษิณแล้วหลีกไปเที่ยวจาริกโดยลำดับบรรลุถึงฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาเขตแดนเมืองเวสาลีพากันทำกุฎิและมุงบังด้วยใบไม้เข้าพรรษาณที่นั้นภิกษุเหล่านั้นหลีกออกจากหมู่ไม่ประมาทบำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหัตผลพร้อมกันทั้งหมดภายในพรรษานั้นครั้นออกพรรษาปวารณาแล้วพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกมายังกรุงเวสาลีประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวันทรงทราบว่าภิกษุเหล่านั้นได้บรรลุอรหัตผลแล้วจึงรับสั่งให้พระอานนท์เรียกมาเฝ้าพระอานนท์ได้ไปเรียกภิกษุเหล่านั้นให้มาเฝ้าตามรับสั่งครั้นถึงที่เฝ้าแล้วได้เห็นพระองค์นั่งเข้าอเนญชาสมาธิอยู่พวกท่านรู้พากันนั่งเข้าอเนญชาสมาธิตามส่วนพระอานนท์เห็นพระพุทธเจ้าประทับนิ่งอยู่จึงทูลเตือนถึงสามครั้งว่าภิกษุอาคันตุกะมานั่งอยู่นานแล้วจึงตรัสบอกว่าอานนท์ฉันและภิกษุอาคันตุกะ๕๐๐รูปเหล่านี้นั่งเข้าอเนญชาสมาธิอยู่๒๙คือภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่เป็นเอกัคคตาเป็นสมาธิแห่งจตุตถฌานท่านได้กล่าวถึงปฏิปทาของท่านว่า “นรชนผู้มีใจไม่ย่อท้อเป็นผู้รู้จักประมาณในข้าวและน้ำมีร่างกายซูบผอมมีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็นเหมือนกับเถาหญ้านางภิกษุถูกเหลือบยุงทั้งหลายกัดแล้วในป่าใหญ่พึงเป็นผู้มีสติอดกลั้นในอันตรายเหล่านั้นเหมือนช้างในสงครามภิกษุอยู่ผู้เดียวย่อมเป็นเหมือนพรหมผู้อยู่๒องค์เหมือนเทพเจ้าผู้ที่อยู่ด้วยกันมากกว่า๓องค์ขึ้นไปเหมือนชาวบ้านย่อมมีความโกลาหลมากขึ้นเพราะฉะนั้นภิกษุพึงเป็นผู้อยู่แต่ผู้เดียว” ๓๐

    จ. หลักการประมาณในการบริโภค (โภชเนมัญญัตญุตา) ตัวอย่างเช่น

พระปิณโฑลภารทวาชะท่านได้กล่าวคาถาบรรยายถึงการบรรลุธรรมของตนว่า “ชีวิตของเรานี้ย่อมไม่เป็นไปโดยไม่สมควรอาหารไม่ได้ทำจิตให้สงบเราเห็นว่าร่างกายจะดำรงอยู่ได้เพราะอาหารจึงได้เที่ยวแสวงหาอาหารโดยทางที่ชอบนักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นได้กล่าวการไหว้การบูชาในตระกูลทั้งหลายว่าเป็นเปือกตมเป็นลูกศรอันละเอียดถอนขึ้นได้ยากสักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก” ๓๑

  ฉ. หลักการรักษาและพิจารณาพระวินัยตัวอย่างเช่นพระอุบาลีเมื่ออุปสมบทแล้วครั้งหนึ่งท่านได้เข้าเฝ้าทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อให้แสดงหัวข้อธรรมโดยย่อแก่ท่านเพื่อนำไปปฏิบัติ

  พระพุทธเจ้าทรงให้คำแนะนำหลักการพิจารณาพระวินัย๗ประการว่า “ดูกรอุบาลีเธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่าธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัดเพื่อความดับเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียวเธอพึงทรงธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนหนึ่งว่านี้ไม่ใช่ธรรมนี้ไม่ใช่วินัยนี้ไม่เป็นคำสั่งสอนของศาสดาอนึ่งเธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่าธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัดเพื่อความดับเพื่อสงบระงับเพื่อความรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียวเธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนหนึ่งว่านี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัยนี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดา” ๓๒หลังจากนั้นท่านก็บำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหัตผลเช่นเดียวกับพระสาคตะท่านได้กล่าวคาถาบรรยายถึงการบรรลุอรหัตผลไว้ว่า “เราบวชแล้วเว้นกรรมอันลามกด้วยกายละวจีทุจริตยังอาชีพให้บริสุทธิ์เราเป็นอยู่อย่างนี้เป็นผู้ฉลาดในเตโชธาตุกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา๔วิโมกข์๘และอภิญญา๖เราทำให้แจ้งชัดแล้วพระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว” ๓๓

  ช. หลักการปฏิบัติธุดงค์ตัวอย่างเช่นพระอุปเสนวังคันตบุตรบรรลุอรหัตผลด้วยหลักการปฏิบัติในธุดงค์๑๓เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ณพระวิหารเวฬุวันใกล้เมืองราชคฤห์ท่านได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงตรัสถามถึงข้อปฏิบัติที่ท่านแนะนำสัทธิวิหาริกท่านได้ทูลตอบว่า “พระพุทธเจ้าข้าผู้ใดขออุปสมบทต่อข้าพระพุทธเจ้าข้าพระพุทธเจ้าบอกกะเขาอย่างนี้ว่าอาวุโสฉันเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรถือบิณฑบาตเป็นวัตรทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตรถือบิณฑบาตเป็นวัตรทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้างฉันก็จักให้ท่านอุปสมบทตามประสงค์ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆจึงให้เขาอุปสมบทถ้าเขาไม่รับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆก็ไม่ให้เขา

อุปสมบทภิกษุใดขอนิสัยต่อข้าพระพุทธเจ้าๆบอกกะภิกษุนั้นอย่างนี้ว่าอาวุโสเราเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรถือบิณฑบาตเป็นวัตรทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตรถือบิณฑบาตเป็นวัตรทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้างได้เราก็จักให้นิสัยแก่ท่านตามความประสงค์ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆจึงจะให้นิสัยถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ให้นิสัยข้าพระพุทธเจ้าแนะนำบริษัทอย่างนี้แล” ๓๔และจากวาจาสุภาษิตของท่านที่กล่าวไว้ซึ่งอาจจะพอเป็นหลักฐานถึงการบรรลุธรรมของท่านว่า “ภิกษุส้องเสพเสนาสนะอันสงัดปราศจากเสียงอื้ออึงเป็นที่อยู่อาศัยแห่งสัตว์ร้ายเพราะการหลีกออกเร้นเป็นเหตุภิกษุพึงเก็บผ้ามาจากกองหยากเยื่อจากป่าช้าจากตรอกน้อยตรอกใหญ่แล้วทำเป็นผ้านุ่งห่มพึงทรงจีวรอันเศร้าหมองภิกษุควรทำใจให้ต่ำคุ้มครองทวารสำรวมดีแล้วเที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับตรอกคือตามลำดับสกุลภิกษุพึงยินดีด้วยของๆตนแม้จะเป็นของเศร้าหมองไม่พึงปรารถนารสอาหารอย่างอื่นมากเพราะใจของบุคคลผู้ติดในรสอาหารย่อมไม่ยินดีในฌานภิกษุควรเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยสันโดษชอบสงัดเป็นมุนีไม่คลุกคลีด้วยพวกคฤหัสถ์และพวกบรรพชิตทั้งสองภิกษุผู้เป็นบัณฑิตควรแสดงตนให้เป็นคนบ้าและคนใบ้ไม่ควรพูดมากในท่ามกลางสงฆ์ไม่ควรเข้าไปกล่าวว่าใครๆควรละเว้นการเข้ากระทบกระทั่งเป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์และพึงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะเป็นผู้ฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งจิตมีนิมิตอันถือเอาแล้วพึงประกอบสมถะและวิปัสสนาตามเวลาอันสมควรอยู่เนืองๆพึงเป็นบัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรเป็นนิตย์เป็นผู้ประกอบภาวนาทุกเมื่อด้วยความตั้งใจว่าถ้ายังไม่ถึงที่สุดทุกข์ไม่พึงถึงความวางใจอาสวะทั้งปวงของภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์เป็นอยู่อย่างนี้ย่อมสิ้นไปและภิกษุนั้นย่อมบรรลุนิพพาน” ๓๕เช่นเดียวกับพระมหากัสสปะเป็นผู้ต้องการแสวงหาสัจธรรมตัดสินใจละทิ้งทรัพย์สมบัติถือเพศเป็นบรรพชิตออกบวชมุ่งหมายเป็นพระอรหันต์เดินทางไปพบพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ร่มไทรเรียกว่าพหุปุตตกนิโครธในระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทามีความเลื่อมใสเปล่งวาจาประกาศว่าพระศาสดาเป็นพระศาสดาพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยประทานโอวาท๓ข้อว่า

๑. กัสสปะท่านพึงศึกษาว่าเราจักเข้าไปตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุที่เป็นผู้เฒ่าและปานกลางอย่างดีที่สุด

๒. เราจักฟังธรรมซึ่งประกอบด้วยกุศลเราจักตั้งใจฟังธรรมนั้นแล้วพิจารณาเนื้อความ

๓. เราจักไม่ละสติที่เป็นไปในกายคือพิจารณาเอาร่างกายเป็นอารมณ์เมื่อประทานพระโอวาทแก่พระมหากัสสปเถระแล้วเสด็จไปพักที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่งพระพุทธองค์จึงทรงประทานแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านท่านได้สมาทานธุดงค์๓ซึ่งมีหลักการปฏิบัติเพื่อช่วยเจริญกรรมฐานและกุศลธรรมให้เจริญขึ้นไม่ใช่บทบัญญัติทางพระวินัยขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ปฏิบัติมีความเหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติที่ต้องการความเคร่งครัดเท่านั้นเพราะการถือธุดงค์ไม่เกี่ยวกับการทำให้กรรมฐานเจริญหรือเสื่อมลงดังนั้นการถือธุดงค์๓โดยเคร่งครัดจึงเป็นหนทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับอุปนิสัยของท่านอย่างมากเพราะหลังจากนั้นในวันที่๘ท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล

  ซ. หลักความไม่ประมาทตัวอย่างเช่นพระองคุลิมาลมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าและทูลขออุปสมบทด้วยพระพุทธดำรัสว่า “ดูกรองคุลิมาลเราวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้วส่วนท่านสิยังไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลายฉะนั้นเราจึงชื่อว่าหยุดแล้วส่วนท่านชื่อว่ายังไม่หยุด” ๓๖หลังจากบำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหัตผลแล้วท่านได้เปล่งอุทานว่า “ผู้ใดเคยประมาทในตอนต้นภายหลังเขาไม่ประมาทผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวเหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้นบาปกรรมที่ทำไว้แล้วอันผู้ใดย่อมปิดกั้นไว้ด้วยกุศลผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวเหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก . . . ขอจงฟังธรรมกถาที่เราได้ฟังแล้วในสำนักของพระศาสดาขอจงประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนาขอจงคบหากับมนุษย์ผู้เป็นสัตบุรุษซึ่งถือมั่นแต่ธรรมอย่างเดียวก็ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อเราขอเชิญฟังธรรมของท่านผู้กล่าวสรรเสริญความอดทนผู้มีปกติสรรเสริญความไม่พิโรธตามเวลาอันสมควรและขอจงปฏิบัติตามธรรมอันสมควรแก่ธรรมนั้นเถิดขออย่าเบียดเบียนเราและชาวประชาหรือว่าสัตว์อื่นใดเลยพึงบรรลุความสงบอย่างเยี่ยมและพึงรักษาสัตว์ทั้งปวงให้เป็นเหมือนบุตรที่รักเถิดก็ชาวนาที่ต้องการน้ำย่อมไขน้ำไปช่างศรย่อมดัดลูกศรช่างไม้ย่อมถากไม้บัณฑิตย่อมฝึกตนคนบางพวกฝึกช้างและม้าเป็นต้นด้วยท่อนไม้บ้างด้วยขอบ้างด้วยแซ่บ้างส่วนเราเป็นผู้อันพระศาสดาผู้คงที่ทรงฝึกแล้วโดยไม่ได้ทรงใช้อาญาและศาตราเมื่อก่อนเรามีชื่อว่าอหิงสกะผู้ไม่เบียดเบียนแต่เรายังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่วันนี้เราเป็นผู้มีชื่อจริงไม่เบียดเบียนใครแต่ก่อนเราเป็นโจรลือชาทั่วไปว่าองคุลิมาลถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปจนได้มาพบพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งเข้าครั้งก่อนเรามีมือเปื้อนด้วยโลหิตลือชื่อไปทุกทิศว่าองคุลิมาลแต่บัดนี้องคุลิมาลได้มาพบพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งเข้าแล้วถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ขึ้นได้แล้วเราได้ทำกรรมเช่นนั้นอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติเป็นอันมากจึงต้องมารับผลกรรมที่ทำไว้แต่บัดนี้เราบริโภคโภชนะโดยไม่เป็นหนี้คนพาลผู้มีปัญญาทรามย่อมประกอบตามความประมาทส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐสุดฉะนั้นท่านทั้งหลายอย่าประกอบตามความประมาทอย่าประกอบความสนิทสนมด้วยความยินดีในกามเพราะว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งพินิจอยู่ย่อมถึงความสุขอันไพบูลย์การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดาเป็นการมาดีแล้วมิใช่ว่าเป็นการมาไม่ดีการที่เราคิดจะบวชในสำนักของพระศาสดานี้ก็ไม่ใช่ความคิดที่เลวเลยเพราะเป็นการเข้าถึงธรรมอันประเสริฐในธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาทรงจำแนกดีแล้วการที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดานี้เป็นการมาดีแล้วมิใช่ว่าเป็นการมาไม่ดีการที่เราคิดจะมาบวชในสำนักของพระศาสดานี้ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่เลวเลยเพราะเราได้บรรลุวิชชา๓ตามลำดับได้ทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้วแต่ก่อนเราอยู่ในป่าโคนไม้ภูเขาหรือในถ้ำทุกๆแห่งมีใจหวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์เราผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วไม่ไปในบ่วงมารจะยืนเดินนั่งนอนก็เป็นสุขเมื่อก่อนเรามีเชื้อชาติเป็นพราหมณ์มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ทั้ง๒ฝ่ายบัดนี้เราเป็นโอรสของพระสุคตศาสดาผู้เป็นธรรมราชาเราเป็นผู้ปราศจากตัณหาแล้วไม่ถือมั่นคุ้มครองทวารสำรวมดีแล้วเราตัดรากเง่าของทุกข์ได้แล้วบรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้วเรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดาทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้วปลงภาระอันหนักลงแล้วถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว” ๓๗เช่นเดียวกับพระพากุละท่านได้กล่าวคาถาเมื่อใกล้จะนิพพานว่า “ผู้ใดปรารถนาจะทำการงานที่ทำก่อนในภายหลังผู้นั้นย่อมพลาดจากฐานะอันนำมาซึ่งความสุขและย่อมเดือดร้อนในภายหลังพึงทำอย่างใดพึงพูดอย่างนั้นไม่พึงทำอย่างใดไม่พึงพูดอย่างนั้นบัณฑิตทั้งหลายย่อมกำหนดรู้ว่าบุคคลผู้ไม่ทำมีแต่พูดนั้นมีมากนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วเป็นสุขดีหนอไม่มีความโศกปราศจากกิเลสธุลีปลอดโปร่งเป็นที่ดับทุกข์” ๓๘

..คำสอนเพื่อเพิกถอนทิฏฐิแบบสัสสตทิฏฐิ

ก. หลักไตรลักษณ์ตัวอย่างเช่นพระราหุลได้รับการสั่งสอนหลายครั้งทั้งจากพระพุทธเจ้าและพระสารีบุตรจนกระทั่งได้รับฟังธรรมเทศนาสุดท้ายคือจูฬราหุโลวาทสูตรเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันเมืองสาวัตถีพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพระราหุลมีอินทรีย์แก่กล้าเพียงพอให้บรรลุอรหัตผลแล้วหลังเสร็จภัตตกิจเวลาเช้าแล้วจึงพาเสด็จเข้าไปในป่าอันธวันทรงตรัสสอนด้วยหลักไตรลักษณ์โดยยกอายตนะภายในภายนอกขึ้นเป็นประเด็นถามตอบแล้ว

จึงสรุปความว่า “ดูกรราหุลอริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัสย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง . . . แม้ในฆานะย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น . . . แม้ในชิวหาย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส . . .แม้ในกายย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ . . . แม้ในมโนย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัสย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดเพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้วและทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี” ๓๙เมื่อจบธรรมเทศนาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล

  ข. หลักความไม่ยึดมั่นถือมั่นตัวอย่างเช่นพระอานันทะบรรลุโสดาปัตติผลด้วยธรรมที่พระปุณณมันตานีบุตรกล่าวสอนว่า

  “ดูกรท่านอานนท์เพราะถือมั่นจึงมีตัณหามานะทิฏฐิว่าเป็นเราเพราะไม่ถือมั่นจึงไม่มีตัณหามานะทิฏฐิว่าเป็นเราเพราะถือมั่นอะไรจึงมีตัณหามานะทิฏฐิว่าเป็นเราเพราะไม่ถือมั่นอะไรจึงไม่มีตัณหามานะทิฏฐิว่าเป็นเราเพราะถือมั่นรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณจึงมีตัณหามานะทิฏฐิว่าเป็นเราเพราะไม่ถือมั่นรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณจึงไม่มีตัณหามานะทิฏฐิว่าเป็นเรา

  ดูกรท่านอานนท์เปรียบเสมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มรุ่นสาวมีนิสัยชอบแต่งตัวส่องดูเงาหน้าของตนที่กระจกหรือที่ภาชนะน้ำอันใสบริสุทธิ์ผุดผ่องเพราะยึดถือจึงเห็นเพราะไม่ยึดถือจึงไม่เห็นฉันใด

  ดูกรท่านอานนท์เพราะถือมั่นรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณจึงมีตัณหามานะทิฏฐิว่าเป็นเราเพราะไม่ถือมั่นรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณจึงไม่มีตัณหามานะทิฏฐิว่าเป็นเราฉันนั้นเหมือนกันแล

  ดูกรท่านอานนท์ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? อ. ไม่เที่ยงอาวุโสป. เวทนาสัญญาสังขารวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง? อ. ไม่เที่ยงอาวุโสฯลฯป. เพราะเหตุนี้แลอริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ฯลฯรู้ชัดว่าฯลฯกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี” ๔๐

  หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้๓เดือนก่อนวันทำสังคายนาครั้งที่๑เพียงหนึ่งวันในคืนนั้นท่านก็บำเพ็ญเพียรทั้งคืนด้วยกายคตาสติแต่ก็ไม่บรรลุอรหัตผลจนกระทั่งถึงเวลาใกล้รุ่งท่านจึงปลงใจเอนกายเพื่อจะนอนแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้นในระหว่างนั้นจิตก็ได้หลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น๔๑ด้วยอิริยาบถกึ่งนั่งกึ่งนอน

พระราธะบรรลุอรหัตผลหลังจากเข้ารับฟังพระโอวาทของพระพุทธเจ้าโดยเคารพหลายครั้งบำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหัตผลครั้งหนึ่งท่านเข้าไปเฝ้าเพื่อทูลถามว่าบุคคลรู้เห็นอย่างไรจึงจะไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอกพระพุทธองค์ทรงมีพระดำรัสว่า “ดูกรราธะรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบันเป็นภายในหรือภายนอกหยาบหรือละเอียดเลวหรือประณีตอยู่ในที่ไกลหรือใกล้อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่านั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตัวของเราเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งสังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบันฯลฯอยู่ในที่ไกลหรือใกล้อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่านั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตัวตนของเราดูกรราธะบุคคลรู้เห็นอย่างนี้แลจึงไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอก” ๔๒

พระจูฬปันถกะเป็นน้องชายของพระมหาปันถกะพระมหาปันถกะไปขออนุญาตจากตา

เพื่อขอให้จูฬปันถกะบวชเศรษฐีผู้เป็นตาก็อนุญาตให้ตามความประสงค์ท่านเป็นคนหัวทึบมาก

พี่ชายสอนให้เรียนคาถาพรรณนาพระพุทธคุณเพียงคาถาเดียวเรียนอยู่ถึงสี่เดือนก็ยังจำไม่ได้ทำให้ท่านทราบว่าพระภิกษุน้องชายนั้นโง่เขลามากจึงประณามขับไล่ออกเสียจากสำนักของท่านในเวลานั้นท่านเป็นภัตตุทเทศน์หมอชีวกโกมารภัจจ์มานิมนต์ภิกษุไปฉันในวันรุ่งขึ้นท่านก็ไม่นับ

พระจูฬปันถกะเข้าด้วยพระจูฬปันถกะเกิดความน้อยใจคิดจะไปลาสิกขาเสียจึงออกไปแต่เช้าได้พบพระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ที่ซุ้มประตูพระพุทธองค์จึงตรัสให้เข้าไปเฝ้าแล้วจึงทรงลูบศีรษะด้วยฝ่าพระหัตถ์แล้วพาเสด็จให้นั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฎีทรงประทานผ้าขาวอันบริสุทธิ์ให้นั่งลูบคลำทำบริกรรมไปว่า “รโชหรณํรโชหรณํ” เมื่อท่านลูบคลำบริกรรมไปไม่นานผ้านั้นก็เศร้าหมองเหมือนผ้าเช็ดมือจึงคิดว่าผ้านี้เป็นของขาวบริสุทธิ์แต่เพราะการลูบคลำจึงกลายเป็นผ้าที่เศร้าหมองพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงตรัสเทศนาสั่งสอนจนกระทั่งท่านได้บรรลุอรหัตผลขณะที่ยังลูบคลำผ้าบริกรรมอยู่ดังคำกล่าวของท่านว่า “เมื่อก่อนญาณคติเกิดแก่เราช้าเราจึงถูกดูหมิ่นและพี่ชายจึงขับไล่เราว่าจงกลับไปเรือนเดี๋ยวนี้เถิดเราถูกพี่ชายขับไล่แล้วไปยืนร้องไห้อยู่ที่ใกล้ซุ้มประตูสังฆารามเพราะยังมีความอาลัยในศาสนาพระผู้มีพระภาคได้เสด็จมาณที่นั้นทรงลูบศีรษะเราทรงจับแขนเราพาเข้าไปสู่สังฆารามพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ประทานผ้าเช็ดพระบาทให้แก่เราตรัสว่าจงอธิษฐานผ้าสะอาดผืนนี้ให้ตั้งมั่นดีโดยมนสิการว่ารโชหรณํๆผ้าสำหรับเช็ดธุลีๆจงตั้งจิตให้มั่นนั่งณที่ควรข้างหนึ่งเราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วเกิดความยินดีในศาสนาได้บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุดเราระลึกถึงชาติก่อนๆได้ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้วได้บรรลุวิชชา๓คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำสำเร็จแล้ว” ๔๓เช่นเดียวกับพระพาหิยทารุจิริยะท่านได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ในเมืองสาวัตถีได้ฟังธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดงเพียงสั้นๆท่านได้บรรลุอรหัตผลในที่สุดแห่งธรรมเทศนาในระหว่างบิณฑบาตว่า

“ดูกรพาหิยะเพราะเหตุนั้นแลท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็นเมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟังเมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบเมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง

ดูกรพาหิยะท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล

ดูกรพาหิยะในกาลใดแลเมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็นเมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟังเมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบเมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้งในกาลนั้นท่านย่อมไม่มีในกาลใดท่านไม่มีในกาลนั้นท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ย่อมไม่มีในโลกหน้าย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสองนี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์” ๔๔

 

ค. หลักพิจารณาความสงสัยตัวอย่างเช่นพระกังขาเรวตะเมื่ออุปสมบทแล้วท่านบรรลุอรหัตผลด้วยการพิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิสมัยที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ณพระวิหารเชตวันใกล้เมืองสาวัตถีท่านนั่งสมาธิพิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิของตนอยู่ในที่ไม่ไกลพระพุทธเจ้าจึงทรงเปล่งพระอุทานว่า “ความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดในอัตภาพนี้หรือในอัตภาพอื่นในความรู้ของตนหรือในความรู้ของผู้อื่นบุคคลผู้เพ่งพินิจมีความเพียรประพฤติพรหมจรรย์อยู่ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นได้ทั้งหมด” ๔๕เช่นเดียวกับพระอนุรุทธะถึงแม้ท่านจะเป็นผู้สุขุมาลชาติคือมีความละเอียดอ่อนมากเคยมีปราสาทสามหลังเป็นที่อยู่ในฤดูทั้งสามสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคารและบริวารยศแม้ที่สุดคำว่าไม่มีก็ไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินเลยเมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้เจริญสติปัฏฐาน๔จนสำเร็จทิพยจักษุครั้งหนึ่งท่านเข้าไปหาพระสารีบุตรเพื่อบอกเล่าความสามารถด้านทิพยจักษุและบำเพ็ญเพียรมีจิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตาแต่ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้พระสารีบุตรจึงแนะนำให้ละความยึดมั่นในธรรม๓ประการคือมานะ (ความถือตัว) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) กุกกุจจะ (ความรำคาญใจ) ดังความว่า “การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่าเราตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ดังนี้เป็นเพราะมานะของท่านการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่าก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อนตั้งสติมั่นไม่หลงลืมกายสงบระงับไม่ระส่ำระสายจิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตาดังนี้เป็นเพราะอุทธัจจะของท่านถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่าไฉนเล่าจิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นดังนี้ก็เป็นเพราะกุกกุจจะของท่าน . . . ท่านจงละธรรม๓อย่างนี้ไม่ใส่ใจธรรม๓อย่างนี้แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ” ๔๖และอีกครั้งหนึ่งเมื่อท่านพำนักอยู่ที่วิหารปาจีนวังสทายวันแคว้นเจดีย์ได้มีมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อยมิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามากของบุคคลผู้สันโดษมิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษของบุคคลผู้สงัดมิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะของบุคคลผู้ปรารภความเพียรมิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้านของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่นมิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืมของบุคคลผู้มีจิตมั่นคงมิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคงของบุคคลผู้มีปัญญามิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทรามพระพุทธเจ้าทรงทราบความคิดนั้นจึงเสด็จมาแสดงเพิ่มเติมว่า

  “ดูกรอนุรุทธะถ้าอย่างนั้นเธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่๘นี้ว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้าผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้ามิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า” ๔๗

  ง. หลักตจปัญจกกรรมฐานตัวอย่างเช่นพระสีวลีท่านได้บรรลุอรหัตผลตั้งแต่เวลาเมื่อปลงผมและโดยได้รับฟังคำอนุศาสน์สอนให้พิจารณาตจปัญจกกรรมฐานคืออวัยวะ๕ส่วนคือผมขนเล็บฟันหนังท่านได้กล่าวปรารถคาถาถึงตนเองว่า “ท่านพระสารีบุตรเถระเป็นอุปัชฌาย์ของเราพระโมคคัลลานเถระผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์มีปรีชามากเมื่อปลงผมให้ได้อนุศาสน์พร่ำสอนเราเราได้บรรลุอรหัตเมื่อกำลังปลงผมอยู่”๔๘เช่นเดียวกับพระทัพพมัลลบุตรท่านได้บรรลุอรหัตผลตั้งแต่เวลาเมื่อปลงผมเสร็จและได้รับฟังคำอนุศาสน์คือตจปัญจกกรรมฐานท่านได้กล่าวปรารถคาถาถึงตนเองว่า “เมื่อก่อนพระทัพพมัลลบุตรองค์ใดเป็นผู้อันบุคคลอื่นฝึกฝนได้โดยยากแต่เดี๋ยวนี้พระทัพพมัลลบุตรองค์นั้นเป็นผู้อันพระศาสดาได้ทรงฝึกฝนด้วยการฝึกฝนด้วยมรรคอันประเสริฐเป็นผู้สันโดษข้ามความสงสัยได้แล้วเป็นผู้ชนะกิเลสปราศจากความขลาดมีจิตตั้งมั่นดับความเร่าร้อนได้แล้ว” ๔๙เช่นเดียวกับพระมหาโกฏฐิตะท่านได้กล่าวคาถาบรรยายถึงการบรรลุอรหัตผลไว้ว่า “เราเลื่อมใสในพระสุคตเจ้าได้ออกบวชเป็นบรรพชิตพระโมคคัลลานะเป็นอาจารย์พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์เราตัดทิฏฐิพร้อมด้วยมูลรากเสียได้ในเมื่อกำลังปลงผมและเมื่อกำลังนุ่งผ้ากาสาวะก็ได้บรรลุอรหัตเรามีปรีชาแตกฉานในอรรถธรรมนิรุตติและปฏิภาณฉะนั้นพระผู้มีพระภาคผู้เลิศกว่าโลกจึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเราอันท่านพระอุปติสสะไต่ถามในปฏิสัมภิทาก็แก้ได้ไม่ขัดข้องฉะนั้นเราจึงเป็นผู้เลิศในพระพุทธศาสนา” ๕๐

  จ. หลักการเพิกถอนความยึดมั่นในความรู้เดิมตัวอย่างเช่นพระปิลินทวัจฉะท่านมีความรู้ในอภิญญา๕มาก่อนจึงมีความเย่อหยิ่งด้วยวิชาความรู้ของท่านเป็นอย่างมากโดยใช้ความสามารถในการแสวงหาลาภสักการะในเมืองสาวัตถีต่อมาความสามารถเสื่อมลงจึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอเรียนอภิญญา๖คืออาสวักขยญาณคือความรู้ในการทำอาสวะให้สิ้นไปเมื่อบำเพ็ญเพียรก็บรรลุอรหัตผลหลังจากบรรลุแล้วท่านได้กล่าวคำอุทานถึงการบรรลุธรรมของตนว่า“การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดานี้เป็นการมาดีแล้วไม่ไร้ประโยชน์การที่เราคิดไว้ว่าจักฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วจักบวชเป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจำแนกธรรมทั้งหลายอยู่เราได้บรรลุธรรมอันประเสริฐแล้ว” ๕๑เช่นเดียวกับ

พระวังคีสะท่านมีความรู้ในการพิสูจน์กะโหลกศีรษะมนุษย์ต่อมาได้ขอบรรพชาเรียนมนต์ในที่สุดเมื่อบำเพ็ญเพียรก็บรรลุอรหัตผลเนื่องจากท่านเป็นนักปฏิภาณกวีจึงใช้การตรึกด้วยกวีตักเตือนตนเองหลายครั้งเมื่อเกิดความกระสันหรือมีความรู้สึกดูหมิ่นเหยีดหยามผู้อื่นด้วยมานะทิฏฐิในความรู้ความสามารถของตนดังท่านได้กล่าวคาถาบรรยายถึงตนเองไว้ว่า “ครั้นบรรพชาแล้วได้กล่าวสุคตเจ้าโดยไม่เลือกสถานที่ภิกษุทั้งหลายพากันโพนทะนาว่าเราเป็นจินตกวีพระพุทธเจ้าได้ตรัสถามเราเพื่อทดลองว่าคาถาเหล่านี้ย่อมแจ่มแจ้งโดยควรแก่เหตุแก่คนทั้งหลายผู้ตรึกตรองแล้วมิใช่หรือเราทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรข้าพระองค์ไม่ใช่นักกาพย์กลอนแต่ว่าคาถาทั้งหลายแจ่มแจ้งโดยควรแก่เหตุแก่ข้าพระองค์

พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรวังคีสะถ้ากระนั้ท่านจงกล่าวสดุดีเราโดยควรแก่เหตุในบัดนี้ครั้งนั้นเราได้กล่าวคาถาสดุดีพระธีรเจ้าผู้เป็นพระฤาษีสูงสุดแล้วพระพิชิตมารทรงพอพระทัยในคราวนั้นจึงทรงตั้งเราในตำแหน่งเอตทัคคะเราหมิ่นภิกษุอื่นๆก็เพราะปฏิภาณอันวิจิตรเราเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักจึงเกิดความสลดใจเพราะเหตุนั้นได้บรรลุอรหัต” ๕๒

และพระเสละซึ่งเป็นคณาจารย์ใหญ่เมื่ออุปสมบทแล้วพร้อมด้วยลูกศิษย์พากันไปบำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหัตผลท่านได้กล่าวสุภาษิตว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุข้าพระองค์ทั้งหลายถึงสรณะในวันที่๘แต่วันนี้ไปเพราะฉะนั้นข้าพระองค์ทั้งหลายฝึกฝนตนอยู่ในศาสนาของพระองค์๗ราตรีพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเป็นมุนีครอบงำมารทรงตัดอนุสัยแล้วเป็นผู้ข้ามได้เองแล้วทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์นี้ให้ข้ามได้พระองค์ทรงก้าวล่วงอุปธิได้แล้วทรงทำลายอาสวะทั้งหลายแล้วไม่ทรงถือมั่นทรงละความกลัวและความขลาดได้แล้วดังสีหะภิกษุ๓๐๐รูปนี้ยืนประนมอัญชลีอยู่ข้าแต่พระวีรเจ้าขอพระองค์ทรงเหยียดพระบาทยุคลเถิดท่านผู้ประเสริฐทั้งหลายจงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระศาสดา” ๕๓พระมหาจุนทะบรรลุอรหัตผลเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ณพระวิหารเชตวันเมืองสาวัตถีท่านเข้าไปกราบทูลถามถึงทิฏฐิเกี่ยวกับอัตตาและทิฏฐิเกี่ยวกับโลกว่าภิกษุจะพึงละทิฏฐิเหล่านั้นได้ด้วยอุบายใดพระพุทธเจ้าทรงแสดงวิธีให้ท่านฟังโดยอย่างละเอียดตั้งแต่รูปฌาน๔อรูปฌาน๔ธรรมเครื่องขัดเกลาทางหลีกเลี่ยงคนชั่วและอุบายบรรลุนิพพานว่า “ดูกรจุนทะทิฏฐิเหล่านี้มีหลายประการประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้างประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้างย่อมเกิดขึ้นในโลกก็ทิฏฐิเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใดนอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใดและท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใดเมื่อภิกษุพิจารณาเห็นอารมณ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่านั่นมิใช่ของเราเรามิใช่นั่นนั่นมิใช่ตัวตนของเราดังนี้การละทิฏฐิเหล่านั้นการสละคืนทิฏฐิเหล่านั้นย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้ดูกรจุนทะ . . . ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมบรรลุปฐมฌาน . . . เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่าเราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสดูกรจุนทะแต่ธรรมคือปฐมฌาน . . .เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะเรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ในวินัยของพระอริยะดูกรจุนทะเธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แลคือเธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่าชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกันในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน . . . เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่าชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ในข้อนี้เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์. . . เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่าชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทรามในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา . . . เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่าชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตนยึดถืออย่างมั่นคงและสละคืนได้โดยยากในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตนไม่ยึดถืออย่างมั่นคงและสละคืนได้โดยง่ายดูกรจุนทะผู้ที่ตนเองจมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้วจักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปือกตมอันลึกข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมอันลึกจักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปลือกตมอันลึกข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ผู้ที่ไม่ฝึกตนไม่แนะนำตนไม่ดับสนิทด้วยตนเองจักฝึกสอนจักแนะนำผู้อื่นจักให้ผู้อื่นดับสนิทข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้ผู้ที่ฝึกตนแนะนำตนดับสนิทด้วยตนเองจักฝึกสอนจักแนะนำผู้อื่นจักให้ผู้อื่นดับสนิทข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ดูกรจุนทะความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแลย่อมเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เบียดเบียนการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์. . . ความถึงพร้อมด้วยปัญญาเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีปัญญาทรามความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตนไม่ยึดถือมั่นคงและสละคืนได้โดยง่ายเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตนยึดถือมั่นคงและสละคืนได้โดยยาก” ๕๔

..คำสอนเพื่อเพิกถอนทิฏฐิแบบอุจเฉททิฏฐิ

  ก. หลักปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจจตาตัวอย่างเช่นพระชฎิลสามพี่น้องได้แก่

พระอุรุเวลกัสสปะพระนทีกัสสปะและพระคยากัสสปะพร้อมทั้งพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นบริวาร๑,๐๐๐รูปเมื่ออุปสมบทแล้วตามเสด็จพระพุทธเจ้าจากตำบลอุรุเวลาไปถึงตำบลคยาสีสะแล้วทรงตรัสธรรมเทศนาชื่อว่าอาทิตตปริยายสูตรเมื่อทรงเทศนาธรรมจบจิตของภิกษุเหล่านั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานภิกษุทั้งหมดได้บรรลุอรหัตผล

  อาทิตตปริยายสูตรคือพระสูตรที่แสดงสภาวธรรมเป็นของร้อนโดยการอุปมาอุปไนยได้แก่การแสดงอายตนะภายในอายตนะภายนอกว่าเป็นของร้อนสรุปความว่า “สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน . . . จักษุคือนัยน์ตารูปวิญญาณอาศัยจักษุสัมผัสคือความถูกต้องอาศัยจักษุเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย . . . โสตะคือหูเสียงวิญญาณอาศัยโสตสัมผัสอาศัยโสตเวทนาที่เกิดเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย . . . ฆานะคือจมูกกลิ่นวิญญาณอาศัยฆานะสัมผัสอาศัยฆานะเวทนาที่เกิดจากฆานะสัมผัสเป็นปัจจัย . . . ชิวหาคือลิ้นรสวิญญาณอาศัยชิวหาสัมผัสอาศัยชิวหาเวทนาที่เกิดเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย . . . กายโผฏฐัพพะคืออารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกายวิญญาณอาศัยกายเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยกายสัมผัสเป็นปัจจัย . . . มโนคือใจธรรมวิญญาณอาศัยมนะสัมผัสอาศัยมนะเวทนาที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยสุขบ้างทุกข์บ้างไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์บ้างชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน . . . ร้อนเพราะความเกิดความแก่ความเจ็บความตายความโศกร่ำไรรำพันเจ็บกายเสียใจคับใจไฟกิเลสไฟทุกข์เหล่านี้มาเผาให้ร้อน” ๕๕

พระสูตรนี้มีความเหมาะสมกับการเพิกถอนความเชื่อของเหล่าชฎิลที่นิยมพิธีกรรมบูชาไฟเนื่องจากพวกชฎิลยังมีความยึดมั่นในการบูชาไฟตามหลักคัมภีร์พระเวทว่าการบูชายัญด้วยไฟจะนำไปสู่ความบริสุทธิ์ของตัวตนคือการเป็นพระอรหันต์ในครั้งแรกนั้นอุรุเวลกัสสปะก็ยังมีความเชื่อเสมอว่าตนเป็นพระอรหันต์ผู้หนึ่งจึงเกิดมานะทิฏฐิอย่างแรงกล้าจนกระทั่งพระพุทธเจ้าได้พิสูจน์ด้วยพุทธานุภาพเพื่อแสดงให้ท่านเห็นว่าท่านเป็นผู้หลงผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิเพราะความยึดมั่นถือมั่นในการปฏิบัติที่ผิดทางนั้นพระสารีบุตรก่อนบรรลุธรรมท่านได้รับศึกษาจากสำนักสญชัยปริพพาชกผู้มีวาทะแบบอมราวิกเขปะซึ่งเป็นทิฏฐิแบบอุจเฉททิฏฐิท่านได้ดวงตาเห็นธรรมเพราะได้ฟังธรรมเทศนาของพระอัสสชิแสดงธรรมโดยย่อว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุพระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้นพระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้” ๕๖ท่านจึงกลับมาบอกธรรมนี้แก่พระโมคคัลลานะผู้เป็นสหายทราบทำให้พระโมคคัลลานะได้ฟังธรรมก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นกันเมื่อท่านอุปสมบทแล้ว๑๕วันจึงได้บรรลุอรหัตผลเพราะได้ฟังธรรมเทศนามีชื่อว่า “เวทนาปริคคหสูตร” เหตุการณ์เมื่อพระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์แห่งพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมเทศนาที่ตรัสแก่ทีฆนขปริพาชกนั้นพิจารณาตามธรรมเทศนาก็บรรลุอรหัตผลส่วนทีฆนขปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วแสดงตนเป็นอุบาสกทีฆนขปริพาชกได้ทูลแสดงทิฏฐิของตนว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรและไม่เป็นที่ชอบใจของตนพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าถ้าอย่างนั้นความเห็นอย่างนั้นก็ต้องไม่ควรแก่ท่านท่านก็ต้องไม่ชอบความเห็นนั้นเช่นกันแล้วทรงแสดงสมณพราหมณ์มีทิฏฐิ๓จำพวกความว่า “สมณพราหมณ์พวกหนึ่งว่าสิ่งทั้งปวงควรแก่เรา . . . พวกหนึ่งว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา . . . พวกหนึ่งว่าบางสิ่งควรแก่เราบางสิ่งไม่ควรแก่เรา . . . ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า. . . สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้นใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด . . . ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า...สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้นใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด . . . ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า. . . บางสิ่งควรแก่เราบางสิ่งไม่ควรแก่เรานั้นส่วนที่เห็นว่าควรใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด . . . ส่วนที่เห็นว่าไม่ควรใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด . . . ในความเห็นของสมณพราหมณ์ผู้ที่กล่าวว่า . . . สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้นย่อมเห็นว่าเราจะยึดมั่นถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราแล้วยืนยันอย่างแข็งขันว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริงสิ่งอื่นไม่จริงก็ถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกคือสมณพราหมณ์ผู้กล่าวว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เราและสมณพราหมณ์ผู้กล่าวว่าบางสิ่งควรแก่เราบางสิ่งไม่ควรแก่เราเมื่อมีความถือผิดกันก็เกิดความทุ่มเถียงกันความแก่งแย่งกันเมื่อมีความแก่งแย่งก็เกิดความเบียดเบียนกันวิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นเหตุนั้นจึงละทิฏฐินั้นและไม่ยึดถือทิฎฐิอื่น . . . ทิฏฐิของสมณพราหมณ์อีกสองพวกก็เช่นเดียวกันนี้ย่อมก่อความทุ่มเถียงกันความแก่งแย่งกันและความเบียดเบียนกันจึงควรละทิฎฐิและไม่ยึดถือทิฎฐิการสละคืนทิฎฐิเหล่านั้นย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้” ครั้นแสดงโทษแห่งความถือมั่นด้วยทิฏฐิ๓อย่างนั้นแล้วทรงแสดงอุบายเครื่อง

ไม่ยึดมั่นต่อไปว่า “กายนี้มีรูปเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิดเจริญด้วยข้าวสุกและขนมสดต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจมีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดาท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นโรคเป็นดังหัวฝีเป็นดังลูกศรเป็นความลำบากเป็นความเจ็บไข้เป็นดังผู้อื่นเป็นของทรุดโทรมเป็นของว่างเปล่าเป็นของมิใช่ตนเมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นโรคเป็นดังหัวฝีเป็นดังลูกศรเป็นความลำบากเป็นความเจ็บไข้เป็นดังผู้อื่นเป็นของทรุดโทรมเป็นของว่างเปล่าเป็นของมิใช่ตนอยู่ท่านย่อมละความพอใจในกายความเยื่อใยในกายความอยู่ในอำนาจของกายในกายได้เวทนาสามอย่างนี้คือสุขเวทนาทุกขเวทนาอทุกขมสุขเวทนาสมัยใดได้เสวยสุขเวทนาในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนาไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนาได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้นในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนาในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนาไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนาได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้นในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนาในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนาไม่ได้เสวยทุกขเวทนาได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้นสุขเวทนาไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเสื่อมไปคลายไปดับไปเป็นธรรมดาแม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเสื่อมไปคลายไปดับไปเป็นธรรมดาแม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเสื่อมไปคลายไปดับไปเป็นธรรมดาอัคคิเวสสนะอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนาทั้งในทุกขเวทนาทั้งในอทุกขมสุขเวทนาเมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดเพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำสำเร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอัคคิเวสสนะภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆโวหารใดที่ชาวโลกพูดกันก็พูดไปตามโวหารนั้นแต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฎฐิ” ๕๗

  พระอชิตะเป็นหัวหน้าศิษย์ของพราหมณ์พาวรีทั้ง๑๖คนที่ผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระพุทธเจ้าณปาสาณเจดีย์แคว้นมคธท่านได้กราบทูลถามปัญหา๔

ข้อว่า๑. โลกคือหมู่สัตว์สิ่งใดปิดบังไว้จึงหลงเหมือนอยู่ในความมืดเพราะเหตุใดจึงไม่มีปัญญาแลเห็นสิ่งใดเป็นเครื่องฉาบไล้สัตว์โลกให้ติดอยู่สิ่งใดเป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “โลกคือหมู่สัตว์มีอวิชชาคือความไม่รู้แจ้งปิดบังไว้จึงหลงเหมือนอยู่ในความมืดเพราะความอยากและความประมาทจึงไม่มีปัญญาแลเห็นความอยากเป็นเครื่องฉาบทาสัตว์โลกให้ติดอยู่และทุกข์เป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลก”

๒. สิ่งใดเป็นเครื่องห้ามเครื่องปิดกั้นความอยากซึ่งเป็นเหมือนกระแสน้ำที่ไหลไปในอารมณ์ทั้งปวงจะละความอยากได้เพราะธรรมอะไรพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “สติเป็นเครื่องห้ามเป็นเครื่องป้องกันความอยากและความอยากนั้นจะละได้เพราะปัญญา”

๓. ปัญญาสติกับนามรูปนั้นจะดับไปที่ไหนพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “เพราะวิญญาณดับไปก่อนนามรูปจึงดับไปที่นั้นเอง”

๔. ผู้ได้บรรลุมรรคผลแล้วและผู้ยังต้องศึกษาอยู่สองพวกนี้มีความประพฤติเป็นอย่างไรพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ภิกษุผู้ได้เห็นธรรมแล้วและชนผู้ต้องศึกษาอยู่ต้องเป็นคนไม่กำหนัดในกามทั้งหลายมีใจไม่ขุ่นมัวฉลาดในธรรมทั้งปวงมีสติอยู่ทุกอิริยาบถ”เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๕๘

พระติสสเมตเตยยะเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สอง๑ข้อว่าใครเป็นคนสันโดษมีความประสงค์เต็มบริบูรณ์ใครไม่มีความอยากซึ่งเป็นเหตุทะเยอทะยานใครรู้ส่วนข้างปลายทั้งสอง (คืออดีตกับอนาคต) ด้วยปัญญาไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง (คือปัจจุบัน) ใครเป็นมหาบุรุษใครล่วงความตายที่ผูกใจสัตว์ไว้ในโลกนี้ได้พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์สำรวมในกามทั้งหลายปราศจากความอยากมีสติระลึกได้ทุกเมื่อพิจารณาเห็นโดยชอบดับเครื่องร้อนกระวนกระวายได้แล้วชื่อว่าเป็นผู้สันโดษความอยากของภิกษุนั้นไม่มีภิกษุนั้นรู้ส่วนข้างปลายทั้งสองด้วยปัญญาแล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลางภิกษุนั้นเป็นมหาบุรุษภิกษุนั้นล่วงความอยากอันผูกในสัตว์ไว้ในโลกนี้ได้”เมื่อจบการตอบปัญหาท่านได้บรรลุอรหัตผล๕๙

พระปุณณกะเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สาม๓ข้อว่า

๑. หมู่มนุษย์ในโลกนี้คือฤๅษีกษัตริย์พราหมณ์ส่วนใหญ่อาศัยอะไรจึงบูชายัญบวงสรวงเทวดาพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “หมู่มนุษย์เหล่านั้นอยากได้ของที่ตนปรารถนาเพราะมีความแก่ชราทำให้แปรเปลี่ยนจึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา”

๒. หมู่มนุษย์เหล่านั้นถ้าไม่ประมาทในยัญของตนจะข้ามพ้นชาติชราได้หรือไม่พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “หมู่มนุษย์เหล่านั้นมุ่งลาภที่ตนหวังจึงพูดสรรเสริญการบูชายัญรำพันสิ่งที่ตัวปรารถนาก็เพราะอาศัยลาภผู้บูชายัญเหล่านั้นยังเป็นคนกำหนัดยินดีในภพไม่สามารถข้ามพ้นชาติชราไปได้”

  ๓. ถ้าผู้บูชายัญเหล่านั้นข้ามพ้นชาติชราเพราะยัญของตนไม่ได้แล้ว 

ใครในเทวโลกหรือมนุษย์โลกจะข้ามพ้นชาติชรานั้นไปได้

พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ความอยากเป็นเหตุดิ้นรนทะเยอทะยานของผู้ใดไม่มีอยู่ในทุกๆชาติเพราะได้พิจารณาเห็นธรรมที่ยิ่งและหย่อนในโลกผู้นั้นสงบระงับแล้วไม่มีความทุจริตประพฤติชั่วที่ทำให้มัวหมองไม่มีกิเลสกระทบจิตหาความอยากทะเยอทะยานมิได้ข้ามพ้นชาติชราไปได้”เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๖๐

  พระเมตตคูเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สี่ทูลถามปัญหา๔ข้อว่า

๑. ทุกข์ในโลกทั้งหมดมีเหตุมาจากอะไรพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ทุกข์ในโลกนี้มีอุปธิคือกรรมและกิเลสเป็นเหตุล้วนเกิดมาก่อนแต่อุปธิผู้ใดไม่รู้แล้วกระทำอุปธินั้นให้เกิดขึ้นผู้นั้นย่อมถึงทุกข์เนืองๆเหตุนั้นเมื่อรู้ว่าอุปธิเป็นตัวให้เหตุเกิดแล้วอย่ากระทำให้อุปธินั้นเกิดขึ้น”

๒. ผู้มีปัญญาข้ามพ้นห้วงทะเลใหญ่คือชาติชราและความเศร้าโศกได้เพราะธรรมที่พระองค์ทรงทราบแล้วอย่างไรพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “เราจักแสดงธรรมที่จะพึงเห็นแจ้งด้วยตนเองอัตภาพนี้ไม่ต้องพิศวงตามคำของผู้อื่นว่าคืออย่างนี้ๆเมื่อบุคคลได้ทราบแล้วจะเป็นผู้มีสติดำเนินข้ามความอยากที่ทำให้ติดอยู่ในโลกเสียได้”

 

๓. ธรรมอันสูงสุดที่บุคคลทราบชัดแล้วเป็นผู้มีสติดำเนินข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆในโลกได้อย่างไรพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ท่านรู้อย่างใดอย่างหนึ่งในส่วนเบื้องบน(คืออนาคต) ในส่วนเบื้องต่ำ (คืออดีต) ในส่วนท่ามกลาง (คือปัจจุบัน) จงลดความเพลิดเพลินความยึดมั่นเหล่านั้นเสียวิญญาณของท่านจะไม่ตั้งอยู่ในภพภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้มีสติไม่เลินเล่อได้ทราบแล้วละความถือมั่นว่าเป็นของเราเสียได้จะละทุกข์คือชาติชราและความเศร้าโศกในโลกนี้ได้”

  ๔. ขอพระองค์จงสั่งสอนต่อเถิดพระพุทธเจ้าทรงอธิบายเพิ่มว่า “ท่านรู้ว่าผู้ใดเป็นพราหมณ์ถึงที่สุดจบไตรเพทไม่มีกิเลสเครื่องกังวลไม่ติดข้องอยู่ในกามภพผู้นั้นข้ามพ้นเหตุแห่งทุกข์ได้เหมือนห้วงทะเลใหญ่นี้ได้แน่เมื่อข้ามถึงฝั่งแล้วเป็นคนไม่มีกิเลสอันตรึงจิตสิ้นความสงสัยผู้นั้นเมื่อรู้แล้วถึงที่สุดจบไตรเพทในศาสนานี้ละธรรมที่เป็นเหตุติดข้องอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ได้แล้วเป็นคนมีความอยากสิ้นแล้วไม่มีกิเลสที่จะกระทบจิตหาความอยากทะเยอทะยานมิได้เรากล่าวว่าผู้นั้นข้ามพ้นชาติชราได้แล้ว”เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๖๑

  พระโธตกะเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่ห้าทูลถามปัญหา๓ข้อว่า

๑. เราจะศึกษาข้อปฏิบัติซึ่งเป็นเครื่องดับกิเลสของตนได้อย่างไรพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า“ท่านจงเป็นคนมีปัญญามีสติทำความเพียรในศาสนานี้เถิด”

  ๒. ขอจงเปลื้องเราเสียจากความสงสัยเถิดพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “เราเปลื้องใครๆในโลกผู้ยังมีความสงสัยอยู่ไม่ได้เมื่อท่านรู้ธรรมอันประเสริฐก็จะข้ามห้วงทะเลใหญ่คือกิเลสอันนี้ได้เอง”

  ๓. ขอจงแสดงธรรมที่ทำให้กิเลสดับพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “เราจักบอกอุบายดับกิเลสซึ่งจะเห็นได้เองไม่ต้องเชื่อตามข่าวที่บุคคลได้ทราบแล้วจักมีสติข้ามพ้นความอยากที่ตรึงใจไว้ในโลกเสียได้แก่ท่าน”

  ๔. เราชอบใจอุบายดับกิเลสที่สูงสุดนั้นเป็นอย่างยิ่งพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ถ้าท่านรู้ว่าความทะยานอยากทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำท่ามกลางเป็นเหตุให้ติดข้องอยู่ในโลกท่านอย่าทำความทะยานอยากเพื่อจะเกิดในภพน้อยใหญ่”เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๖๒

  พระอุปสีวะเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่หกทูลถามปัญหา๔ข้อว่า

  ๑. ขอพระองค์จงตรัสบอกอารมณ์ที่หน่วงเหนี่ยวซึ่งจะทำให้ข้ามห้วงน้ำคือกิเลสนี้ได้

พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ท่านจงเป็นผู้มีสติเพ่งอากิญจัญญายตนญาณอาศัยอารมณ์ว่าไม่มีๆข้ามห้วงทะเลใหญ่เถิดท่านจงละกามทั้งหลายเป็นคนหมดความสงสัยเห็นความหมดไปแห่งความทะยานอยากได้ชัดเจนทั้งกลางวันกลางคืนเถิด

  ๒. ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลายแล้วตัดญาณอื่นได้แล้วอาศัย

อากิญจัญญายตนญาณคือความเพ่งใจว่า “ไม่มีอะไร” เป็นอารมณ์น้อมใจไปแล้วใน

อากิญจัญญายตนญาณซึ่งเป็นธรรมที่เปลื้องสัญญาผู้นั้นจะตั้งอยู่ใน

อากิญจัญญายตนญาณนั้นไม่มีความเสื่อมได้หรือพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ผู้นั้นจะตั้งอยู่ในอากิญจัญญยตนญาณนั้นไม่เสื่อม”

  ๓. ถ้าผู้นั้นจะตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนญาณนั้นไม่มีเสื่อมสิ้นไปเขาจะเป็นคนยั่งยืนอยู่ในอากิญจัญญายตนญาณนั้นหรือจะดับขันธปรินิพพานวิญญาณของคนเช่นนั้นจะเป็นอย่างไรพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “เปลวไฟที่ถูกลมเป่าแล้วดับไปไม่สามารถนับว่าดับไปข้างทิศไหนเช่นเดียวกับท่านผู้รู้พ้นไปแล้วจากกองนามรูปย่อมดับไม่มีเหลือ (คือดับพร้อมทั้งกิเลสทั้งขันธ์คือร่างกาย) ไม่ต้องไปเกิดเป็นอะไรอีก”

  ๔. ท่านผู้นั้นดับไปแล้วหรือเป็นเพียงแต่ไม่มีตัวหรือจะเป็นผู้ตั้งอยู่ยั่งยืนตลอดไปพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ผู้ที่ดับขันธปรินิพพานแล้วมิได้มีกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้เกิดในชาติต่อไปอีกเพราะฉะนั้นเบญจขันธ์ของผู้นั้นไม่มีอีกเมื่อธรรมทั้งหลาย (มีขันธ์เป็นต้น) ซึ่งผู้นั้นขจัดได้หมดแล้วก็ไม่ต้องกล่าวถึงว่าผู้นั้นจะไปเกิดเป็นอะไรอีก”เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๖๓

  พระนันทกะเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่เจ็ดทูลถามปัญหา๓ข้อว่า

  ๑. ทำไมจึงเรียกคนถึงพร้อมด้วยญาณหรือถึงพร้อมด้วยการเลี้ยงชีวิตว่าเป็นมุนีพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ผู้ฉลาดในโลกนี้ไม่กล่าวคนว่าเป็นมุนีด้วยได้เห็นด้วยได้สดับหรือด้วยได้รู้มาเรากล่าวว่าคนใดทำตนให้ปราศจากกองกิเลสเป็นคนหากิเลสมิได้ไม่มีความกังวลทะยานอยากคนผู้นั้นแลชื่อว่ามุนี”

  ๒. สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยได้เห็นด้วยได้ฟังด้วยศีลและพรตและด้วยวิธีเป็นอันมากสมณพราหมณ์เหล่านั้นประพฤติในวิธีเหล่านั้นตามที่ตนเห็นว่าเป็นเครื่องบริสุทธิ์ข้ามพ้นชาติชราได้มีอยู่บ้างหรือไม่พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “สมณพราหมณ์เหล่านั้นแม้ถึงประพฤติอย่างนั้นเรากล่าวว่าพ้นชาติชราไม่ได้แล้ว”

  ๓. เมื่อเป็นเช่นนั้นใครเล่าในเทวโลกหรือในมนุษยโลกจะพ้นชาติชราได้พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “เราไม่กล่าวว่าสมณพราหมณ์อันชาติชราครอบงำแล้วหมดทุกคนแต่เรากล่าวว่าสมณพราหมณ์เหล่าใดในโลกนี้ละอารมณ์ที่ตนได้เห็นได้ฟังได้รู้และศีลพรตกับวิธีอันมากเสียทั้งหมดกำหนดรู้ตัณหาว่าเป็นโทษควรละแล้วเป็นผู้หาอาสวะมิได้สมณพราหมณ์เหล่านั้นแลข้ามพ้นชาติชราได้”เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๖๔

 

พระเหมกะเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่แปดทูลถามปัญหา๑ข้อว่าธรรมเป็นเหตุพ้นตัณหาซึ่งจะทำให้เป็นคนมีสติล่วงตัณหาที่ทำให้ติดอยู่ในโลกพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ชนเหล่าใดได้รู้ว่าพระนิพพานเป็นที่บรรเทาความกำหนัดพอใจในอารมณ์เป็นที่รักซึ่งได้เห็นแล้วได้ฟังแล้วได้ดมแล้วได้ชิมแล้วได้ถูกต้องแล้วและรู้แล้วด้วยใจและเป็นธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลงดังนั้นแล้วเป็นคนมีสติมีธรรมอันเห็นแล้วดับกิเลสแล้วชนเหล่านั้นก้าวพ้นจากตัณหาซึ่งจะทำให้ติดอยู่ในโลกได้” เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๖๕

  พระโตเทยยะเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่เก้าทูลถามปัญหา๒ข้อว่า

  ๑. กามทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในผู้ใดตัณหาของผู้ใดไม่มีและผู้ใดข้ามล่วงความสงสัยเสียได้ความพ้นของผู้นั้นเป็นอย่างไรพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ความพ้นของผู้นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นอีก”

  ๒. ผู้นั้นเป็นคนมีหรือไม่มีความทะเยอทะยานเป็นคนมีปัญญาแท้หรือเป็นแต่ใช้ปัญญาทำให้ตัณหาและทิฐิเกิดขึ้นพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ผู้นั้นเป็นคนไม่มีความหวังทะเยอทะยานจะเป็นคนมีความหวังทะเยอทะยานก็หาไม่เป็นคนมีปัญญาแท้จะไม่ใช้ปัญญาก่อให้เกิดตัณหาทิฐิท่านจงรู้จักมุนีว่าคนไม่มีกังวลไม่ติดอยู่ในกามภพอย่างนี้เถิด”เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๖๖

  พระกัปปะเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบทูลถามปัญหา๑ข้อว่าขอจงตรัสบอกธรรมซึ่งจะเป็นที่พึ่งพำนักของผู้อันชราและมรณะมาถึงรอบข้างเหมือนเกาะซึ่งเป็นที่พึ่งพำนักอาศัยของชนผู้อยู่ในกลางมหาสมุทรเมื่อเกิดคลื่นใหญ่ที่น่ากลัวอย่าให้ทุกข์อีกเลยพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “เรากล่าวว่านิพพานซึ่งไม่มีกิเลสเครื่องกังวลไม่มีตัณหาเครื่องถือมั่นเป็นที่สิ้นแห่งชราและมรณะนี้แลเป็นดุจเกาะชนเหล่าใดรู้นิพพานนี้แล้วเป็นคนมีสติได้เห็นธรรมแล้วดับกิเลสได้แล้วชนเหล่านั้นไม่ต้องตกอยู่ในอำนาจของมารไม่ต้องเดินไปในทางของมารเลย” เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๖๗

  พระชตุกัณณีเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบเอ็ดทูลถามปัญหา๑ข้อว่าขอจงบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติชราในอัตภาพนี้พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ท่านจงกำจัดความกำหนัดในกามให้หมดสิ้นไปเห็นความหมดไปแห่งกามเป็นเกษมกิเลสเครื่องกังวลที่ท่านยึดถือไว้ด้วยตัณหาและทิฏฐิควรจะละเสียอย่าเสียดแทงใจได้กังวลใดมีแล้วในปางก่อนท่านจงให้กังวลนั้นเหือดแห้งเสียกังวลในภายหลังอย่าได้มีถ้าไม่ถือเอากังวลในท่ามกลางจักเป็นคนสงบระงับกังวลได้อาสวะ (กิเลส) ซึ่งเป็นเหตุถึงอำนาจมัจจุราชของชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกามโดยอาการทั้งปวงก็มีไม่ได้” เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๖๘

พระภัทราวุธเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบสองทูลถามปัญหา๑ข้อว่าคนที่อยู่ตามชนบทต่างๆอยากจะฟังวาจาของพระองค์พร้อมกันมาแล้วจากชนบทนั้นๆได้ฟังพระวาจาของพระองค์แล้วจะกลับไปจากที่นี้ขอพระองค์จงทรงแก้ปัญหาเพื่อชนเหล่านั้นพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “หมู่ชนนั้นควรจะนำตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นในส่วนเบื้องบนเบื้องต่ำและท่ามกลางออกให้หมดสิ้นเพราะเขาถือมั่นสิ่งใดๆในโลกมารย่อมติดตามเขาได้เพราะสิ่งนั้นๆเหตุนั้นภิกษุเมื่อรู้อยู่เห็นหมู่สัตว์ผู้ติดอยู่ในวัฏฏะอันเป็นที่ตั้งแห่งมารนี้ว่าติดอยู่เพราะความถือมั่นดังนี้พึงเป็นคนมีสติไม่ถือมั่นกังวลในโลกทั้งปวง” เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๖๙

  พระอุทยะเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบสามทูลถามปัญหา๓ข้อข้อที่หนึ่งว่า

  ๑. ขอพระองค์จงแสดงธรรมเป็นเครื่องพ้น (จากกิเลส) ที่ควรรู้อย่างแท้จริงซึ่งเป็นเครื่องทำลายอวิชชาคือความเขลาความไม่รู้แจ้งเสียพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “เราเรียกธรรมเป็นเครื่องละความพอใจในกามและโทมนัสเสียทั้งสองอย่างเป็นเครื่องบรรเทาความง่วงเป็นเครื่องห้ามความรำคาญมีอุเบกขากับสติเป็นธรรมบริสุทธิ์มีความตรึกในธรรมเป็นเบื้องหน้าว่าธรรมเป็นเครื่องพ้น (จากกิเลส) ที่ควรรู้อย่างแท้จริงซึ่งเป็นเครื่องทำลายอวิชชาความเขลาไม่รู้แจ้งเสีย”

  ๒. โลกมีอะไรผูกพันไว้อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั้นท่านกล่าวว่านิพพานๆดังนี้เพราะละอะไรได้พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “โลกมีความเพลิดเพลินผูกพันไว้ความตรึกเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั้นท่านกล่าวกันว่านิพพานๆดังนี้เพราะละตัณหาเสียได้”

๓. เมื่อบุคคลมีสติระลึกอย่างไรอยู่วิญญาณจึงจะดับข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมาเฝ้าแล้วเพื่อจะทูลถามพระองค์พอให้ได้ฟังพระวาจาของพระองค์เถิดพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนาทั้งภายในภายนอกมีสติระลึกอยู่อย่างนี้วิญญาณจึงจะดับ”เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๗๐

  พระโปสาลเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบสี่ทูลถามปัญหา๑ข้อว่าญาณของบุคคลผู้มีความกำหนดหมายในรูปแจ้งชัด (คือได้บรรลุรูปฌานแล้ว) ละรูปารมณ์ทั้งหมดได้แล้ว (คือบรรลุฌานสูงกว่ารูปฌานขึ้นไปแล้ว) เห็นอยู่ทั้งภายในภายนอกว่าไม่มีอะไรเลย (คือบรรลุอรูปฌานที่เรียกอากิญจัญญายตนะ) บุคคลเช่นนั้นจะควรแนะนำสั่งสอนให้ทำอย่างไรต่อไปพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “พระตถาคตเจ้าทรงทราบภูมิที่เป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณทั้งหมดจึงทรงทราบบุคคลเช่นนั้นแม้ยังคงอยู่ในโลกนี้ว่ามีอัธยาศัยน้อมในอากิญจัญญายตนภพมีความเพลิดเพลินยินดีเป็นเครื่องประกอบลำดับนั้นย่อมพิจารณาเห็นสหชาตธรรมในอากิญจัญญายตนฌานนั้น (คือธรรมที่เกิดพร้อมกับฌานนั้น) แจ้งชัดโดยลักษณะสามอย่าง (คือไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ใช่ตัว) ข้อนี้เป็นฌานอันถ่องแท้ของบุคคลเช่นนั้นผู้มีพรหมจรรย์ได้ประพฤติหมดแล้ว” เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๗๑

  พระโมฆราชเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนของพราหมณ์พาวรีปรารถนาจะทูลถามปัญหาเป็นคนที่สองเพราะถือตนว่าเป็นคนมีปัญญาดีกว่ามาณพทั้งสิบหกคนคิดจะทูลถามปัญหาก่อนแต่เห็นว่าอชิตมาณพเป็นผู้ใหญ่กว่าและเป็นหัวหน้าจึงยอมให้ทูลถามปัญหาก่อนพระพุทธเจ้าจึงตรัสห้ามไว้โมฆราชก็หยุดอยู่แต่หลังจากที่คนอื่นๆได้ทูลถามปัญหาเป็นลำดับๆกันถึงแปดคนแล้วปรารถนาจะทูลถามปัญหาเป็นคนที่เก้าอีกพระพุทธเจ้าก็ทรงห้ามไว้ก็ยับยั้งไว้ให้คนอื่นทูลถามถึงสิบสี่คนแล้วจึงทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบห้าปัญหา๑ข้อว่าควรพิจารณาเห็นโลกอย่างไรมัจจุราช (ความตาย) จึงไม่แลเห็นคือจะตามไม่ทันพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ท่านจงเป็นคนมีสติพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่าถอนความเห็นว่าตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิดท่านจะพ้นจากมัจจุราชได้ด้วยอุบายอย่างนี้ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แลมัจจุราชจะไม่แลเห็น” เมื่อจบการตอบปัญหาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล๗๒

  พระปิงคิยะเป็นหนึ่งในศิษย์๑๖คนและเป็นหลานของพราหมณ์พาวรีท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบหกทูลถามปัญหา๒ข้อว่า

  ๑. ธรรมเป็นเครื่องละชาติชราในอัตภาพนี้เป็นอย่างไรพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ท่านเห็นว่าชนทั้งหลายประมาทแล้วย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นเหตุเพราะฉะนั้นท่านจงเป็นคนไม่ประมาทละความพอใจในรูปเสียจะได้ไม่เกิดอีก”

  ๒. ธรรมเป็นเครื่องละชาติชราในชาตินี้เป็นอย่างไรพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “เมื่อท่านเห็นหมู่มนุษย์อันตัณหาครอบงำมีความเดือดร้อนเกิดขึ้นอันชราถึงรอบด้านแล้วเหตุนั้นท่านจงอย่าประมาทละตัณหาเสียจะได้ไม่เกิดอีก”ในที่สุดแห่งการแก้ปัญหาได้เพียงดวงตาเห็นธรรมคือได้บรรลุเพียงโสดาปัตติผล๗๓เพราะเวลาฟังตอบปัญหามีจิตฟุ้งซ่านคิดถึงพราหมณ์พาวรีจึงไม่สามารถทำจิตให้สิ้นจากอาสวะได้เมื่อได้อุปสมบทแล้วกลับไปแจ้งข่าวแก่พราหมณ์พาวรีแสดงธรรมเทศนาแก้ปัญหาสิบหกข้อนั้นให้ฟังทำให้พราหมณ์พาวรีได้บรรลุอนาคามิผลส่วนท่านต่อมาบำเพ็ญเพียรจึงได้บรรลุอรหัตผล

  ข. หลักโยนิโสมนสิการเพื่อแก้ถีนมิทธะตัวอย่างเช่นพระโมคคัลลานะหลังจาก

อุปสมบทได้๗วันท่านก็สามารถบรรลุอรหัตผลได้โดยเรียนอุบายระงับความง่วงโดยท่านไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคามรัฐมคธอ่อนใจนั่งโงกง่วงอยู่พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่นั้นทรงสั่งสอนและแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วงความว่า “เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก . . . ถ้าเธอยังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้วได้เรียนมาแล้วด้วยใจ . . . ถ้ายังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดย . . . ถ้ายังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้างเอามือลูบตัว . . . ถ้ายังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืนเอาน้ำล้างตาเหลียวดูทิศทั้งหลายแหงนดูดาวนักษัตร . . . ถ้ายังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึงเอาโลกสัญญาตั้งความสำคัญในกลางวันว่ากลางวันอย่างไรกลางคืนอย่างนั้นกลางคืนอย่างไรกลางวันอย่างนั้นมีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ไม่มีอะไรหุ้มห่อทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด . . . ถ้ายังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรมกำหนดหมายเดินกลับไปกลับมาสำรวมอินทรีย์มีใจไม่คิดไปในภายนอก . . . ถ้ายังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยาคือนอนตะแคงเบื้องขวาซ้อนเท้าเหลื่อมเท้ามีสติสัมปชัญญะทำความหมายในอันจะลุกขึ้นพอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่าเราจักไม่ประกอบความสุขในการนอนความสุขในการเอนข้างความสุขในการเคลิ้มหลับ” ครั้นตรัสสอนอุบายสำหรับระงับความง่วงอย่างนี้แล้วทรงสั่งสอนให้สำเหนียกในใจอีกต่อไปว่า “เธอพึงศึกษาอย่างนี้อีกว่าเราจักไม่ชูงวง (ถือตัว)เข้าไปสู่ตระกูล...ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่ตระกูลและในตระกูลมีกรณียกิจหลายอย่างซึ่งจะเป็นเหตุให้มนุษย์ไม่ใส่ใจถึงภิกษุผู้มาแล้วเพราะเหตุนั้นภิกษุย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่าเดี๋ยวนี้ใครหนอยุยงให้เราแตกในสกุลนี้เดี๋ยวนี้ดูมนุษย์พวกนี้มีอาการอิดหนาระอาใจในเราเพราะไม่ได้อะไรเธอจึงเป็นผู้เก้อเขินเมื่อเก้อเขินย่อมคิดฟุ้งซ่านเมื่อคิดฟุ้งซ่านย่อมไม่สำรวมเมื่อไม่สำรวมจิตย่อมห่างจากสมาธิ. . . เพราะฉะนั้นเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเราจักไม่พูดถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน . . .เมื่อมีถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกันก็จำต้องหวังการพูดมากเมื่อมีการพูดมากย่อมคิดฟุ้งซ่านเมื่อคิดฟุ้งซ่านย่อมไม่สำรวมเมื่อไม่สำรวมจิตย่อมห่างจากสมาธิ. . . เราหาสรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงไม่แต่มิใช่ว่าจะไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงก็หามิได้คือเราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยหมู่ชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตก็แต่ว่าเสนาสนะอันใดเงียบเสียงไม่อื้ออึงปราศจากการสัญจรของหมู่ชนควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการความสงัดควรเป็นที่หลีกออกเร้นเราสรรเสริญความคลุกคลีด้วยเสนาสนะเห็นปานนั้น” เมื่อตรัสสอนอย่างนี้แล้วพระโมคคัลลานะกราบทูลถามข้อปฏิบัติโดยย่อที่ทำให้เป็นผู้หลุดพ้นได้พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่นครั้นได้สดับดังนั้นแล้วเธอย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้วได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งสุขก็ดีทุกข์ก็ดีมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดีย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้นพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดพิจารณาเห็นความดับพิจารณาเห็นความสละคืนเมื่อเธอพิจารณาเห็นอย่างนั้นๆอยู่ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลกเมื่อไม่ยึดมั่นย่อมไม่สะดุ้งเมื่อไม่สะดุ้งย่อมปรินิพพาน” ๗๔พระโมคคัลลานะปฏิบัติตามโอวาทที่พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนก็ได้บรรลุอรหัตผลในวันนั้น

 

.เหตุปัจจัยที่สนับสนุนการบรรลุธรรมของพุทธสาวก

เหตุปัจจัยที่สนับสนุนการบรรลุธรรมนั้นสามารถแบ่งได้เป็น๔เหตุปัจจัยคือ

๔.๒.๑การตั้งความปรารถนาในอดีตชาติ

๔.๒.๒การถวายทานในอดีตชาติ

๔.๒.๓สติปัญญาในปัจจุบัน

๔.๒.๔ความศรัทธาในพระพุทธเจ้า

๔.๒.๑การตั้งความปรารถนาในอดีตชาติ

การตั้งความปรารถนาในอดีตชาติคือการบำเพ็ญอธิษฐานบารมีต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าในกาลก่อนในเวลา๑๐๐,๐๐๐กัปแต่ภัทรกัปพุทธสาวกเหล่านี้ได้ตั้งความปรารถนาไว้ในสมัยพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระเป็นชาวเมืองหงสวดีซึ่งเมื่อได้ถวายภัตตาหารแล้วฟังธรรมเทศนาก็ยังไม่บรรลุธรรมใดๆแต่ได้ตั้งความราถนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะต่างๆพระพุทธองค์จึงทรงตรัสพยากรณ์อนาคตไว้ตัวอย่างเช่นพระภัททิยะพระมหากัปปินะพระลกุณฏกภัททิยะพระวักกลิพระกุมารกัสสปะพระราธะพระวังคีสะพระสีวลีพระมหาโกฏฐิตะพระพาหิยทารุจิริยะพระกังขาเรวตะพระอุรุเวลกัสสปะพระนันทกะ

พระโสภิตะเป็นต้นส่วนพระสารีบุตรอดีตชาติเป็นดาบสชื่อสุรุจิบรรลุอภิญญา๕มีศิษย์๒๔,๐๐๐อาศัยอยู่ในป่าหิมวันต์ท่านได้ตั้งความปรารถนาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสีเช่นเดียวกับพระโมคคัลลานะอดีตชาติเป็นนาคราชชื่อว่าวรุณอาศัยอยู่ในมหาสมุทรท่านได้ตั้งความปรารถนากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสีเช่นกัน

  ๔.๒.๒การถวายทานในอดีตชาติ

การถวายทานในอดีตชาติคือการบำเพ็ญทานบารมีในเวลา๑๐๐,๐๐๐กัปแต่ภัทรกัปพุทธสาวกเหล่านี้ได้ถวายทานไว้ในสมัยพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระส่วนใหญ่เป็นชาวเมืองหงสวดีพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสพยากรณ์อนาคตไว้ตัวอย่างเช่น

พระนันทะถวายผ้าทอด้วยเปลือกไม้

พระรัฏฐปาละถวายช้างพร้อมทั้งลูกช้างและกั้นฉัตรขาว

พระมหากัจจายนะทำแผ่นศิลหล่อทองฉาบทาพระเจดีย์ชื่อปทุม

พระกาฬุทายีถวายข้าวชั้นพิเศษ

พระปิณโฑลภารทวาชะถวายดอกปทุม

พระอุปเสนวังคันตบุตรถวายดอกกัณณิการ์

  พระกุณฑธานะการถวายผลกล้วย

พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นเทพบุตรชั้นดุสิตลงมาถวายปฐมภัต

  พระมหากัสสปะสร้างพุทธเจดีย์ถวาย

พระราหุลถวายเครื่องลาด

พระอานันทะกางฉัตรถวาย

พระอุบาลีเป็นพราหมณ์ชื่อว่าสุชาตะสร้างสังฆารามถวาย

พระอชิตะถวายประทีป

พระติสสเมตเตยยะถวายประทีปและผลมะพลับ

พระโธตกะเป็นพราหมณ์มีนามชื่อว่าฉฬังคะสร้างสะพานถวาย

พระอุปสีวะเป็นดาบสสร้างอาศรมถวาย

พระขทิรวนิยเรวตะเป็นนายเรืออยู่ที่ท่าน้ำแม่น้ำคงคาชื่อภาคีรสีได้จัดเรือนำข้ามฟากถวาย

พระเสละเป็นเจ้าของถนนอยู่ในนครหงสวดีได้ชักชวนประชาชนปฏิบัติธรรมและสร้างโรงฉันถวาย

พระสาคตะเป็นพราหมณ์ถวายการสรรเสริญพระพุทธเจ้า

พระจูฬปันถกะเป็นดาบสประคองฉัตรดอกไม้ด้วยมือทั้งสองถวายเป็นต้น

พุทธสาวกที่มีเหตุแตกต่างออกไปได้แก่พระโตเทยยะเป็นพระราชาพระนามว่าวิชิตชัยได้สละราชสมบัติบวชเป็นฤาษีแล้วได้สร้างบรรณศาลาถวายพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ

  พระอนุรุทธะถวายประทีปแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ

พระปิลินทวัจฉะได้ไล้ทาของหอมบูชาสถูปเจดีย์ทำสังฆภัตถวายพระขีณาสพหลังจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะได้ปรินิพพานแล้ว

พระปุณณกะถวายพระเพลิงพุทธสรีระแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระเมตตคูถวายเนยใสแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ

พระนันทกะเป็นพรานป่าได้ถวายมณฑปเป็นที่อยู่แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าอนุรุทธะ

พระเหมกะเป็นดาบสชื่ออโนมะได้ถวายตั่งแก้วแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสีพระโมฆราชได้ถวายบังคมและถวายรวงผึ้งไม่ตัวผึ้งแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี

หลังจากนั้นพุทธสาวกเหล่านี้ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในสุคติภูมิคือสวรรค์พรหมโลกและโลกมนุษย์จากผลแห่งการกระทำกรรมดีแต่บางรูปในบางชาติก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานและตกในภพภูมินรกตามผลกรรมบางอย่างแต่ในที่สุดบุญบารมีก็ส่งผลให้ได้บรรลุอรหัตผลในสมัยแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าสมณโคดมซึ่งเป็นองค์ปัจจุบันเป็นที่แน่นอนเพียงแต่เหตุปัจจัยแห่งกรรมในปัจจุบันก็เป็นสิ่งสำคัญให้พุทธสาวกได้บรรลุธรรมแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน

  ๔.๒.๓สติปัญญาในปัจจุบัน

  การบรรลุธรรมช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการประพฤติปฏิบัติในปริมาณที่มากน้อยต่างกันพุทธสาวกบางองค์สามารถบรรลุธรรมได้เร็วแบบฉับพลันเช่นพระพาหิยะแต่บางองค์ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติด้วยความอุตสาหะแรงกล้าเช่นพระโสณโกฬิวิสะหรือบางองค์ต้องใช้เวลานานในการบรรลุเช่นพระอานันทะและบางองค์ก็อาจมีการกระทำบางอย่างหรือกรรมเข้ามาตัดรอนให้บรรลุช้าลงดังนั้นประเด็นในเรื่องวาสนาบารมีที่สั่งสมมาแต่อดีตจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้บรรลุธรรมแต่จะบรรลุธรรมได้อย่างไรนั้นสติปัญญาในปัจจุบันก็เป็นเหตุสนับสนุนเช่นกันและการประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันด้วยแต่อย่างไรก็ตามระดับของปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งของการบรรลุธรรมดังปรากฏในบุคคล๔จำพวก๗๕ได้แก่

  ๑. อุคฆฏิตัญญูคือบุคคลใดตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลายกหัวข้อธรรมเปรียบเหมือนดอกไม้บานในวันนี้

  ๒. วิปัจจิตัญญูคือบุคคลใดตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกอรรถแห่งภาษิตสังเขปได้โดยพิสดารเปรียบดอกไม้บานในวันพรุ่งนี้

  ๓. เนยยะคือบุคคลใดใส่ใจโดยแยบคายทั้งโดยอุเทศทั้งโดยปริปุจฉาส้องเสพคบหาเข้าใกล้กัลยาณมิตรจึงตรัสรู้ธรรมเปรียบเหมือนดอกไม้บานในวันที่๓

  ๔. ปทปรมะคือบุคคลใดฟังมากก็ดีกล่าวมากก็ดีทรงจำมากก็ดีสอนมากก็ดีก็ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้นเปรียบเหมือนดอกไม้ที่เป็นภักษาของปลาและเต่า

ดังพระพุทธดำรัสว่า“ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคล๔จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก๔จำพวกเป็นไฉนคืออุคฆฏิตัญญูผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง๑วิปจิตัญญูผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น๑เนยยะผู้พอแนะนำได้๑ปทปรมะผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง๑

  ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคล๔จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก” ๗๖และได้ขยายความเพิ่มเติมว่า “การบรรลุมรรคผลย่อมมีแก่บุคคลใดพร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดงบุคคลนี้เรียกว่าบุคคลผู้อุคฆติตัญญูการบรรลุมรรคผลย่อมมีแก่บุคคลใดในเมื่อท่านจำแนกเนื้อความแห่งภาษิตโดยย่อให้พิสดารบุคคลนี้เรียกว่าบุคคลผู้วิปัญจิตัญญูการบรรลุมรรคผลเป็นชั้นๆไปย่อมมีแก่บุคคลใดโดยเหตุอย่างนี้คือโดยอุทเทสโดยไต่ถามโดยทำไว้ในใจโดยแยบคายโดยสมาคมโดยคบหาโดยสนิทสนมกับกัลยาณมิตรบุคคลนี้เรียกว่าบุคคลผู้เนยยะบุคคลใดฟังพุทธพจน์ก็มากกล่าวก็มากจำทรงไว้ก็มากบอกสอนก็มากแต่ไม่มีการบรรลุมรรคผลในชาตินั้นบุคคลนี้เรียกว่าบุคคลผู้ปทปรมะ” ๗๗นอกจากนั้นแล้วแนวทางปฏิบัติในการดำเนินให้ถึงจุดหมายคือบรรลุอรหัตผลซึ่งเป็นความหลุดพ้นหรือความสิ้นอาสวะของพุทธสาวกที่มีลักษณะแตกต่างกันเรียกว่าปฏิปทา๔๗๘คือ

. ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาคือปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้าได้แก่ผู้ปฏิบัติที่มีราคะโทสะโมหะแรงกล้าต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะโทสะโมหะนั้นอยู่เนืองๆหรือเจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจเช่นการเจริญอสุภกัมมัฏฐานเป็นต้นอีกทั้งอินทรีย์ก็อ่อนจึงบรรลุโลกุตตรมรรคล่าช้าตัวอย่างเช่นพระโสณโกฬิวิสะซึ่งปฏิบัติตนอย่างลำบากจนทำให้เท้าแตกจึงจะบรรลุธรรมเป็นต้น

  ๒. ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาคือปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็วได้แก่ผู้ปฏิบัติที่มีราคะโทสะโมหะแรงกล้าต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะโทสะโมหะนั้นอยู่เนืองๆหรือเจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจเช่นการเจริญอสุภกัมมัฏฐานเป็นต้นแต่มีอินทรีย์แก่กล้าจึงบรรลุโลกุตตรมรรคเร็วไวตัวอย่างเช่นพระมหาโมคคัลลานะซึ่งปฏิบัติธรรมแล้วก็ประสบกับถีนมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอนจนกระทั่งพระพุทธเจ้าตรัสแนะนำอุบายแก้ง่วงจึงสามารถบรรลุธรรมได้ภายใน๗วันเป็นต้น

  ๓. สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาคือปฏิบัติสบายแต่รู้ได้ช้าได้แก่ผู้ปฏิบัติที่มีราคะโทสะโมหะไม่แรงกล้าไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะโทสะโมหะนั้นเนืองนิตย์หรือเจริญสมาธิได้ฌาน๔อันเป็นสุขประณีตแต่มีอินทรีย์อ่อนจึงบรรลุโลกุตตรมรรคล่าช้าตัวอย่างเช่นพระอานันทะซึ่งรับหน้าที่อุปัฏฐากใกล้ชิดพระพุทธเจ้าแต่ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว

  ๔. สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาคือปฏิบัติสบายทั้งรู้ได้ไวได้แก่ผู้ปฏิบัติที่มีราคะโทสะโมหะไม่แรงกล้าไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะโทสะโมหะนั้นเนืองนิตย์หรือเจริญสมาธิได้ฌาน๔อันเป็นสุขประณีตอีกทั้งมีอินทรีย์แก่กล้าจึงบรรลุโลกุตตรมรรคเร็วไว

ตัวอย่างเช่นพระสารีบุตรซึ่งปฏิบัติธรรมตามปกติแต่เมื่อได้ฟังธรรมเทสนาของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสอนแก่ปริพาชกชื่อทีฆนขะอัคคิเวสสนโคตรแล้วก็บรรลุธรรมกลุ่มบุคคลที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นผู้สมควรได้หรือไม่ได้บรรลุธรรมนั้นคือผู้มีคุณสมบัติดังนี้“บุคคล๓จำพวกมีทิฐิวิบัติบุคคล๓จำพวกมีทิฐิสมบัติบุคคล๓จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิวิบัติเดียรถีย์๑สาวกเดียรถีย์๑บุคคลผู้มีทิฐิผิด๑บุคคล๓จำพวกเหล่านี้มีทิฐิวิบัติบุคคล๓จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิสมบัติพระตถาคต๑สาวกพระตถาคต๑บุคคลผู้มีทิฐิชอบ๑บุคคล๓จำพวกเหล่านี้มีทิฐิสมบัตินรชนใดเป็นคนมักโกรธมักผูกโกรธมีความลบหลู่ลามกมีทิฐิวิบัติเจ้าเล่ห์พึงรู้จักนรชนนั้นว่าเป็นคนเลวนรชนใดเป็นคนไม่มักโกรธไม่ผูกโกรธไม่ลบหลู่คุณท่านมีทิฐิสมบัติมีปัญญาพึงรู้จักนรชนนั้นว่าเป็นผู้ประเสริฐดังนี้” ๗๙

  ๔.๒.๔ความศรัทธาในพระพุทธเจ้า

  การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนานั้นนอกจากปัจจัยด้านอื่นๆแล้วความเชื่อศรัทธาในพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนาก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้บุคคลบรรลุธรรมมีตัวอย่างพุทธสาวกหลายองค์ที่ได้ฟังธรรมเทศนาครั้งแรกหรือเพียงได้เห็นได้ยินพระพุทธเจ้าหรือพระสงฆ์เถระก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใสเข้ามาขอบวชในพระธรรมวินัยดังพระพุทธดำรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลายชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ในเราชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบุคคล๕จำพวกเชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล๕จำพวกเชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้บุคคล๕จำพวกเหล่าไหนเชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล๕จำพวกนี้คือสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๑โกลังโกละโสดาบัน๑เอกพิชีโสดาบัน๑พระสกทาคามี๑พระอรหันต์ในปัจจุบัน๑เชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล๕จำพวกเหล่าไหนเชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้บุคคล๕จำพวกนี้คืออันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๑อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๑อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๑สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๑อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล๑เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ในเราบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดถึงพร้อมด้วยทิฐิบุคคล๕จำพวกนี้เชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล๕จำพวกนี้เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้

  ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้นบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบันพระโสดาบันเหล่านั้นรวม๕จำพวกนี้เชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล๕จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้นสุทธาวาสในธรรมนี้บุคคล๕จำพวกเหล่าไหนเชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล๕จำพวกนี้คือสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๑ . . . พระอรหันต์ในปัจจุบัน๑เชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล๕จำพวกนี้คืออันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๑ . . . อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล๑เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้นบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบันพระโสดาบันเหล่านั้นรวมเป็น๕จำพวกนี้เชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล๕จำพวกนี้เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้” ๘๐

เนื่องจากความหมายของการบรรลุธรรมคือการบรรลุพระอรหันต์นั้นซึ่งหมายถึงผู้สำเร็จโลกุตรธรรมขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดพระอรรถกถาจารย์ได้แสดงความหมายของ “อรหันต์” ไว้๕นัยเช่นเดียวกันคือ

๑. เป็นผู้ไกล (อารกะ) จากกิเลสคือห่างไกลไม่อยู่ในกระแสกิเลสที่จะทำให้มัวหมองได้

๒. กำจัดข้าศึก (อริหต) คือกิเลสหมดสิ้นแล้ว

๓. เป็นผู้หักคือรื้อทำลายกำ(อรหต) แห่งสังสารจักรเสร็จแล้ว

๔. เป็นผู้ควร (อรหะ) แก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย

๕. ไม่มีที่ลับ (นรหะ) ในการทำบาปคือไม่มีความชั่วความเสียหายที่จะต้องปิดบัง๘๑

ดังนั้นผู้ได้บรรลุอรหัตผลนั้นจึงมีการแบ่งไว้หลายประเภทคือพระอรหันต์มี๒ประเภทคือพระสุกขวิปัสสกกับพระสมถยานิกและมีอีก๔ประเภทคือพระสุกขวิปัสสกพระเตวิชชะพระฉฬภิญญะและพระปฏิสัมภิทัปปัตตะและมี๕ประเภทคือพระปัญญาวิมุตพระอุภโตภาควิมุตพระเตวิชชะพระฉฬภิญญะและพระปฏิสัมภิทัปปัตตะแท้ที่จริงการบรรลุธรรมนั้นสามารถแบ่งเป็นระดับของการบรรลุธรรมได้มี๔ขั้นจัดเป็น๔คู่คือมรรค๔ผล๔ดังนี้

๑. การบรรลุธรรมระดับที่๑เรียกว่าพระโสดาบันการบรรลุขั้นนี้ระดับมรรคเรียกว่า

โสดาปัตติมรรคขั้นผลเรียกว่าโสดาปัตติผล

๒. การบรรลุธรรมระดับที่๒เรียกว่าพระสกทาคามีการบรรลุขั้นนี้ระดับมรรคเรียกว่า

สกทาคามิมรรคขั้นผลเรียกว่าสกทาคามิผล

๓. การบรรลุธรรมระดับที่๓เรียกว่าพระอนาคามีการบรรลุขั้นนี้ระดับมรรคเรียกว่า

อนาคามิมรรคขั้นผลเรียกว่าอนาคามิผล

๔. การบรรลุธรรมระดับที่๔เรียกว่าพระอรหันต์การบรรลุขั้นนี้ระดับมรรคเรียกว่า

อรหัตตมรรคขั้นผลเรียกว่าอรหัตผลดังนั้นการเพิกถอนมิจฉาทิฏฐิในทางพระพุทธศาสนานั้นคือการเข้าถึงสัจธรรมทาง

ศาสนาโดยการละทิ้งทิฏฐิเดิมหรือความเชื่อเดิมของตนแล้วทำความเห็นของตนให้ถูกต้องตามหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งตรงกับคำว่า “การบรรลุธรรม” ตั้งแต่การได้ดวงตาเห็นธรรมคือบรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้นไปดังปรากฏในทิฐิกถาว่า “ถามว่าความถอนที่ตั้งแห่งทิฐิเป็นไฉน

ตอบว่าโสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนที่ตั้งแห่งทิฐิ” ๘๒ดังนั้นผลของการปฏิบัตินั้นจะปรากฏขึ้นไปเป็นลำดับๆไปตั้งแต่ระดับต่ำจนถึงระดับสูงสุดคือการบรรลุอรหัตผลการบรรลุธรรมแต่ละระดับนั้นมีสิ่งชี้วัดหรือเกณฑ์ประเมินที่บ่งชี้ถึงการละกิเลสเรียกว่าสังโยชน์๑๐สังโยชน์หมายถึงกิเลสอันผูกสัตว์ไว้ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์หรือผูกกับไว้กับภพมี๒ระดับ๑๐ประการหมายความว่าการบรรลุธรรมของผู้บรรลุธรรมสัมพันธ์กับการละสังโยชน์

๑๐สังโยชน์คือกิเลสที่เป็นเครื่องรัดจิตเป็นตัวกำหนดหรือตัวชี้วัดว่าผู้ปฏิบัติเป็นพระอริยบุคคลขั้นใดมี๑๐ประการเรียกว่าสังโยชน์๑๐แบ่งเป็นสังโยชน์ฝ่ายต่ำเป็นอย่างหยาบเรียกว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์คือสังโยชน์๕ข้อข้างต้นคือสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะ๘๓และสังโยชน์ฝ่ายสูงเป็นอย่างละเอียดเรียกว่าอุทธัมภาคิยสังโยชน์ได้แก่สังโยชน์๕ข้อข้างปลายคือรูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะและอวิชชา๘๔

๑. โอรัมภาคิยสังโยชน์๕สังโยชน์เบื้องต่ำเป็นอย่างหยาบเป็นไปในภพอันต่ำได้แก่

๑.๑สักกายทิฏฐิความเห็นว่าเป็นตัวของตนคือเห็นรูปเวทนาสัญญาสังขาร

วิญญาณเป็นของๆตนความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตนเราเขาเป็นนั่นเป็นนี่มองไม่เห็นสภาพความเป็นจริงที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆมาประชุมกันเข้าทำให้มีความเห็นแก่ตัวในชั้นหยาบและความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง

๑.๒วิจิกิจฉาคือความสงสัยความลังเลไม่แน่ใจเคลือบแคลงต่างๆเช่นสงสัย

ในพระศาสดาในพระธรรมในพระสงฆ์ในสิกขาในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิตในปฏิจจสมุปบาทเป็นต้นทำให้ไม่มั่นใจไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรมด้วยความมีเหตุผลและในการที่จะเดินแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา

๑.๓สีลัพพตปรามาสคือความถือมั่นศีลพรตโดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงม

งายเห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลวัตรความยึดถือผิดพลาดไปว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรตได้แก่การถือศีลระเบียบแบบแผนบทบัญญัติและข้อปฏิบัติต่างๆโดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงายเห็นเป็นของขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ติดอยู่แค่รูปแบบหรือวิธีการถือด้วยตัณหาและทิฏฐิคือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายและความหมายที่แท้จริงของศีลและวัตรทำให้ปฏิบัติเขวออกไปนอกลู่นอกทางหรือเลยเถิดไปไม่เข้าสู่อริยมรรค

๑.๔กามราคะคือความกำหนัดในกามความติดใจในกามคุณ

๑.๕ปฏิฆะคือความกระทบกระทั่งในใจความหงุดหงิดขัดเคือง

๒. อุทธัมภาคิยสังโยชน์๕สังโยชน์เบื้องสูงเป็นอย่างละเอียดเป็นไปแม้ในภพเบื้องสูง

ได้แก่

๒.๑รูปราคะคือความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌานความปรารถนาในรูปภพเช่น

ติดใจพอใจในรสความสุขความสงบของสมาธิในรูปฌานติดใจปรารถนาในรูปภพ

๒.๒อรูปราคะคือความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปธรรมความปรารถนาในอรูป

ภพเช่นติดใจในอรูปฌานติดใจปรารถนาในอรูปภพเป็นต้น

๒.๓มานะคือความถือตนสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่เช่นว่าสูงกว่าเขาเท่าเทียม

เขาต่ำกว่าเขาเป็นต้น

๒.๔อุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านจิตใจไม่สงบว้าวุ่นซัดส่ายคิดพล่านไป

๒.๕อวิชชาคือความไม่รู้จริงความหลงไม่รู้เท่าทันสภาวะไม่เข้าในกฎธรรมดา

แห่งเหตุและผลหรือไม่รู้อริยสัจจ์

ผู้บรรลุธรรมทั้ง๔ระดับนั้นจะสัมพันธ์กับการละสังโยชน์ดังนี้

๑. พระโสดาบันผู้เข้าถึงกระแสของอริยบุคคลเดินทางอย่างถูกต้องอย่างแท้จริงเป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีลทำได้พอประมาณในขั้นสมาธิและทำได้พอประมาณในขั้นปัญญาสามารถละสังโยชน์ได้๓ข้อคือสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาสมีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์เพราะปฏิบัติธรรมจนเข้าในหลักธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจนหมดความเคลือบแคลงสงสัยใดๆในหลักธรรมคำสอนและเชื่อมั่นในพระอริยสงฆ์ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้อย่างแท้จริงจนบรรลุความเป็นอริยบุคคลได้พร้อมทั้งสามารถปฏิบัติตามหลักธรรมอย่างถูกต้องไปสู่พระนิพพาน

๒. พระสกทาคามีผู้กลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวก็จะกำจัดทุกข์ให้สิ้นไปได้เป็นผู้ทำได้

บริบูรณ์ในขั้นศีลทำได้บริบูรณ์ขั้นสมาธิแต่ทำได้พอประมาณในขั้นปัญญานอกจากจะละสังโยชน์๓ข้อแรกได้แล้วยังทำราคะโทสะโมหะให้เบาบางลงด้วย

๓. พระอนาคามีผู้มีปรินิพพานในที่ผุดขึ้นไม่เวียนกลับมาอีกเป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในศีลทำได้บริบูรณ์ในสมาธิแต่ทำได้พอประมาณในปัญญาสามารถละสังโยชน์ได้๕ข้อคือสักกายทิฏฐิสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะนั่นคือสามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำ (โอรัมภาคิยสังโยชน์) ได้หมดสิ้นแล้ว

๔. พระอรหันต์ผู้ควรแก่ทักขิณาหรือการบูชาพิเศษเป็นต้นหรือผู้หักกำแห่งสังสารจักรได้แล้วเป็นผู้สิ้นอาสวะเป็นผู้ได้บริบูรณ์ในสิกขาทั้งสามคือศีลสมาธิปัญญาละสังโยชน์เบื้องสูง(อุทธัมภาคิยสังโยชน์) ได้อีก๕ข้อนั่นก็หมายความว่าพระอรหันต์สามารถละสังโยชน์ทั้ง๑๐ได้จนหมดสิ้นนั่นเองดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเพิกถอนมิจฉาทิฏฐิของพุทธสาวกก่อนการบรรลุธรรมนั้นนอกจากมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านคำสอนที่ใช้เพิกถอนทิฏฐิแล้วยังประกอบด้วยปัจจัย

สนับสนุนอย่างน้อยอีก๔ประการคือปัจจัยในส่วนอดีตได้แก่การตั้งความปรารถนาการถวายทานปัจจัยส่วนปัจจุบันได้แก่สติปัญญาและความศรัทธาในพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนา

คำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิและเหตุปัจจัยสนับสนุนการบรรลุธรรม

มิจฉาทิฏฐิ อัตตกิลมถานุโยคกามสุขัลลิกานุโยคสัสสตทิฏฐิอุจเฉททิฏฐิ

- หลักการออกบวช (เนกขัมมะ)

- หลักการละความยินดีในกามคุณ

- หลักการพิจารณากายว่าเป็นของไม่งาม

- หลักความเป็นผู้สันโดษ

- หลักการประมาณในการบริโภค(โภชเนมัญญัตญุตา)

- หลักการรักษาและพิจารณาพระวินัย

- หลักการปฎิบัติธุดงค์

- หลักความไม่ประมาท

- หลักมัชเฌนธรรมหรือหลัก

มัชฌิมาปฏิปทา (อริยมรรค๘)

- หลักการปฏิบัติความเป็นมุนี(โมเนยยปฏิปทา)

- หลักไตรลักษณ์

- หลักความไม่ยึดมั่นถือมั่น

- หลักพิจารณาความสงสัย

- หลักตจปัญจกกรรมฐาน

- หลักการเพิกถอนความยึดมั่นใน

ความรู้เดิม

- หลักปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจจตา

- หลักโยนิโสมนสิการเพื่อแก้ถีนมิทธะ

ปัจจัยด้านคำสอน

ปัจจัยสนับสนุน

- การตั้งความปรารถนาในอดีตชาติ

- การถวายทานในอดีตชาติ

- สติปัญญาในปัจจุบันชาติ

- ความศรัทธาในพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนา

  เชิงอรรถ

๑วิ. ม. (ไทย) ๔/๑๓-๑๔/ ๑๖.

๒วิ. ม. (ไทย) ๔/๒๐-๒๓ /๒๐-๒๔.

๓วิ. ม. (ไทย) ๕/๒/๕.

๔ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๖๕๔/๓๖๐.

๕ขุ. ขุ. (ไทย) ๒๕/๓๘๙/๔๑๘ – ๔๒๐.

๖ที. ปา. (ไทย) ๑๑/๒๒๘/ ๒๐๑ ; องฺ. ติก. (ไทย) ๒๐/๕๖๒/๓๐๘.

๗วิ. ม. (ไทย) ๔/ ๒๖/ ๒๕.

๘ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๑๒๑/๑๒๐.

๙ขุ.อป. (ไทย) ๓๒/๓๖/๘๑.

๑๐ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๓๖๘/๒๙๓.

๑๑วิ.จู. (ไทย) ๗/๓๔๕-๓๔๗/๑๓๒-๑๓๓ ; ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๖๕/๘๗.

๑๒ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๑๒๓/๑๒๕.

๑๓ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๓๔๕/๒๗๖.

๑๔ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๑๓๕/๑๖๐.

๑๕ขุ.อป. (ไทย) ๓๒/๑๓๓/๑๘๒.

๑๖ขุ.อป. (ไทย) ๓๒/๑๑/๔๙.

๑๗วิ.มหา. (ไทย) ๒/๗๗๖/๖๓๗.

๑๘สํ.นิ. (ไทย) ๑๖/๗๐๙-๗๑๑/๓๑๗-๓๑๘.

๑๙ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๖๗-๗๐/๙๐-๙๓.

๒๐ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๑๔๗/๑๖๕.

๒๑ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๓๖๒/๒๘๗.

๒๒ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๒๗๕/๒๔๖.

๒๓ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๓๘๘/๓๒๔.

๒๔ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๑๒๒/๑๒๒.

๒๕ม.ม. (ไทย) ๑๒/๒๙๑/๑๙๙.

๒๖ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๑๒๕/๑๓๑.

๒๗ขุ.อป. (ไทย) ๓๒/๓๓/๘๕.

๒๘ม.มู. (ไทย) ๑๒/๒๙๒/๒๐๑.

๒๙ขุ.ขุ. (ไทย) ๒๕/๗๑/๙๔.

๓๐ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๓๑๕/๒๖๑.

๓๑ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/ ๒๕๙/๒๔๐.

๓๒องฺ.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๘๐/๑๒๘.

๓๓ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๓๔/๘๗.

๓๔วิ.มหา. (ไทย) ๒/๙๒/๘๙.

๓๕ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๓๗๕/๓๐๒.

๓๖ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๓๙๒/๓๓๔.

๓๗ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๓๘๒/๓๓๔.

๓๘ขุ.ธ. (ไทย) ๒๖/๓๐๙/๒๕๙.

๓๙ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๘๐๘/๔๓๖.

๔๐สํ.ข. (ไทย) ๑๗/๑๙๓/๑๐๓.

๔๑วิ.จู. (ไทย) ๗/๖๑๗/๓๐๔.

๔๒สํ.ข. (ไทย) ๑๗/๑๔๗/๗๙.

๔๓ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๓๗๓/๓๐๐.

๔๔ขุ.ขุ. (ไทย) ๒๕/๔๙/๗๑.

๔๕ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๑๒๓/๑๔๑.

๔๖องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๗๐/๓๑๗.

๔๗องฺ.อฏฺฐก. (ไทย) ๒๓/๑๒๐/๒๐๔.

๔๘ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๑๓๓/๑๕๓.

๔๙ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๑๔๒/๒๐๔.

๕๐ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๑๒๗/๑๓๗.

๕๑ขุ.เถร. (ไทย) .๒๖/๑๔๖/๒๐๕.

๕๒ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๑๓๔/๑๕๖.

๕๓ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๓๗๙/๓๙๙.

๕๔ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๐๐-๑๐๙/๕๒-๖๒.

๕๕วิ.ม. (ไทย) ๔/๕๕/๔๙ ; สํ.สฬา. (ไทย) ๑๘/๓๑/๑๘.

๕๖วิ.ม. (ไทย) ๔/๖๕/๕๗.

๕๗ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๖๘-๒๗๔/๒๐๔-๒๐๗.

๕๘ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๒๕/๔๗๔.

๕๙ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๒๖/๔๗๖.

๖๐ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๒๗/๔๗๖.

๖๑ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๒๘/๔๗๘.

๖๒ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๒๙/๔๘๐.

๖๓ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๓๐/๔๘๒.

๖๔ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๓๑/๔๘๓.

๖๕ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๓๒/๔๘๖.

๖๖ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๓๓/๔๘๖.

๖๗ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๓๔/๔๘๗.

๖๘ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๓๕/๔๘๘.

๖๙ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๓๖/๔๘๙.

๗๐ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๓๗/๔๙๐.

๗๑ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๓๘/๔๙๑.

๗๒ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๓๙/๔๙๒.

๗๓ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๔๔๐/๔๙๒.

๗๔องฺ.สตฺต. (ไทย) ๒๓/๕๘/๘๒.

๗๕องฺ.จตุตฺก. (ไทย) ๒๑/๑๓๓/๑๖๐.

๗๖องฺ.จตุตฺก. (ไทย) ๒๑/๑๓๓/๑๖๐.

๗๗อภิ.ธา. (ไทย) ๓๖/๖๒๒/๑๕๓.

๗๘องฺ.จตุตฺก. (ไทย) ๒๑/๑๖๑-๑๖๓/๒๐๐-๒๐๔ ; ๑๖๗-๑๖๘/๒๐๗-๒๐๙.

๗๙ขุ.ปฏิ. (ไทย) ๓๑/๓๕๗/๑๖๔.

๘๐ขุ.ปฏิ. (ไทย) ๓๑/๓๖๐-๓๖๑/๑๖๕-๑๖๖.

๘๑พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่๘,(กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐), หน้า๓๘๕.

๘๒ขุ.ปฏิ. (ไทย) ๓๑/๒๙๔/๑๓๗.

๘๓สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๑๘๐/๕๖.

๘๔สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๑๘๐/๕๗.

      บทสรุป

  การศึกษามิจฉาทิฏฐิและความเชื่อของมนุษย์

ในอินเดียก่อนพุทธกาลและสมัยพุทธกาลมีพัฒนาการของความเชื่อเป็น๔ช่วงคือ

  ๑. ความเชื่อในชีวิตปัจจุบันคือความเชื่อในความสุขสบายของปัจจุบันชาติเป็นความเชื่อเก่าแก่ดั้งเดิมของทุกวัฒนธรรมเนื่องจากอารยธรรมของมนุษย์ในช่วงแรกนั้นมีวิถีชีวิตเพื่ออยู่เพื่อกินถึงแม้ในบางวัฒนธรรมจะเริ่มปรากฏความเชื่อในชีวิตหลังความตายแล้วเช่นมีพิธีฝังศพมีหมอผีและมีความเชื่อในเทพเจ้าต่างๆแต่เป็นเพียงความเชื่อในพลังเหนือธรรมชาติที่จะเอื้ออำนวยความสุขหรือก่อโทษให้แก่ตนเองและกลุ่มชนมากกว่าที่จะจริงจังไปถึงความเชื่อว่ามีโลกหลังความตายเช่นเดียวกับอารยธรรมของลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งจากร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับชีวิตในโลกนี้มากกว่าโลกหน้าความเชื่อในโลกหน้านั้นอาจมีปะปนอยู่บ้างแต่ก็ยังไม่มีการพัฒนารูปแบบที่สลับซับซ้อน

  ๒. ความเชื่อในชีวิตหลังความตายความเชื่อนี้เคลื่อนย้ายมาพร้อมกับชาวอารยันซึ่งเป็นชาวเอเชียกลางที่มาจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียซึ่งอารยธรรมเหล่านั้นคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับความเชื่อในโลกหลังความตายชาวอารยันจึงนำความเชื่อนี้มาพัฒนาต่อที่ลุ่มแม่น้ำสินธุก่อนจะพัฒนาเป็นคัมภีร์พระเวทที่ทรงอิทธิพลจนถึงปัจจุบันความเชื่อนี้นำไปสู่การจัดแบ่งชั้นวรรณะการสร้างตำนานวีรบุรุษความเชื่อแบบพหุเทวนิยมและการเสริมต่อจินตนาการถึงโลกหลังความตายอย่างมหัศจรรย์พร้อมๆกับการพัฒนาระบบศีลธรรมจริยธรรมขึ้นเพื่อใช้ควบคุมสังคม

  ๓. ความเชื่อในการเวียนว่ายตายเกิดความเชื่อนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์ในคัมภีร์อุปนิษัทพวกเขาปฏิเสธอำนาจของเทพเจ้าและพิธีพลีกรรมโดยอธิบายใหม่ว่ามนุษย์จะบรรลุความสุขสงบได้ด้วยหนทางเดียวเท่านั้นคือทำตนให้เป็นหนึ่งเดียวกับพรหมเรียกว่าพรหมันหรือวิญญาณสากลอันเป็นที่รวมของวิญญาณหรืออาตมันของมนุษย์แต่ละคนเมื่อบังเกิดในโลกนี้หลายครั้งหลายชีวิตโดยที่ดวงวิญญาณเดียวกันต้องอาศัยร่างหลายร่างด้วยเหตุนี้แนวคิดเรื่องตายแล้วเกิดใหม่หรือการเวียนว่ายตายเกิดจึงถูกเรียกว่าสังสารวัฏหมายถึงขบวนการของชีวิตที่ต้องกลับไปกลับมาหรือเป็นเช่นนี้อยู่ตลอดไปก่อให้เกิดความเชื่อในกฎแห่งกรรมคือความเชื่อว่ากรรรมดีกรรมชั่วในชาติที่แล้วและกรรมในชาตินี้ก็จะส่งผลไปชาติหน้าจนกว่าจะเข้าไปรวมกับพระพรหมนับเป็นพัฒนาการขั้นสูงของความเชื่อในแบบเอกเทวนิยมซึ่งมีความเป็นนามธรรมมากขึ้น

  ๔. ความเชื่อในการไม่กลับมาเกิดอีกความเชื่อนี้ได้พัฒนาต่อยอดมาจากความเชื่อในการเวียนว่ายตายเกิดแม้ว่าพวกนักบวชยุคนั้นจะเชื่อในกฎแห่งกรรมหรือสภาพแห่งสังสารวัฏซึ่งเป็นเรื่องของการตายแล้วเกิดแล้วพวกเขายังเชื่อในเรื่องของชีวิตซึ่งมีสภาพพ้นจากการตายการเกิดอีกเช่นกันสภาพดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่านิพพานหรือโมกษะซึ่งมีสภาวะเป็นอมตะเป็นปรมัตถ์และเป็นบรมสุขนักบวชยุคนั้นต่างก็มีความเข้าใจและตั้งเป้าหมายสูงสุดของชีวิตที่ปราศจากทุกข์เช่นนี้เหมือนกันสภาวะเช่นนี้เป็นภาวะที่เชื่อว่าสูงกว่าสวรรค์และพรหมและมีวิธีการนำพาผู้ปฏิบัติไปสู่ความดับสูญว่างเปล่าจากความติดยึดอยู่ในภพภูมิใดภพภูมิหนึ่งนับเป็นพัฒนาการขั้นสูงของความเชื่อมนุษย์เป็นศาสนาแบบอเทวนิยมและมีความเป็นนามธรรมอย่างบริสุทธิ์สิ้นเชิง

อย่างไรก็ตามความเชื่อต่างๆเหล่านี้ยังคงไหลเวียนปะปนอยู่ในสมัยพุทธกาลและไม่มีความเชื่อใดๆหายไปจากสังคมอินเดียตลอดถึงสังคมโลกปัจจุบันแสดงให้เห็นตาข่ายแห่งความเชื่อและความสุดโต่งในหลายทิศทางของแนวคิดทั้งหมดก่อให้เกิดการโต้แย้งถกเถียงกันในด้านความเชื่อและวิถีการปฏิบัติอย่างเข้มข้นเมื่อเป็นคำเดี่ยวโดยทั้งหมดมีความหมายถึงความเห็นผิดจากความเป็นจริงคือเป็นความเชื่อและความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างไปจากหลักการของพระพุทธศาสนาซึ่งแตกต่างจากความเข้าใจทั่วไปที่เชื่อว่าทิฏฐิมีความหมายเป็นกลางๆแต่อย่างไรก็ตามเมื่อใช้เป็

ข้อมูลละเอียดมากเลยครับ

 

๔. ความเชื่อในการไม่กลับมาเกิดอีกความเชื่อนี้ได้พัฒนาต่อยอดมาจากความเชื่อในการเวียนว่ายตายเกิดแม้ว่าพวกนักบวชยุคนั้นจะเชื่อในกฎแห่งกรรมหรือสภาพแห่งสังสารวัฏซึ่งเป็นเรื่องของการตายแล้วเกิดแล้วพวกเขายังเชื่อในเรื่องของชีวิตซึ่งมีสภาพพ้นจากการตายการเกิดอีกเช่นกันสภาพดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่านิพพานหรือโมกษะซึ่งมีสภาวะเป็นอมตะเป็นปรมัตถ์และเป็นบรมสุขนักบวชยุคนั้นต่างก็มีความเข้าใจและตั้งเป้าหมายสูงสุดของชีวิตที่ปราศจากทุกข์เช่นนี้เหมือนกันสภาวะเช่นนี้เป็นภาวะที่เชื่อว่าสูงกว่าสวรรค์และพรหมและมีวิธีการนำพาผู้ปฏิบัติไปสู่ความดับสูญว่างเปล่าจากความติดยึดอยู่ในภพภูมิใดภพภูมิหนึ่งนับเป็นพัฒนาการขั้นสูงของความเชื่อมนุษย์เป็นศาสนาแบบอเทวนิยมและมีความเป็นนามธรรมอย่างบริสุทธิ์สิ้นเชิง

อย่างไรก็ตามความเชื่อต่างๆเหล่านี้ยังคงไหลเวียนปะปนอยู่ในสมัยพุทธกาลและไม่มีความเชื่อใดๆหายไปจากสังคมอินเดียตลอดถึงสังคมโลกปัจจุบันแสดงให้เห็นตาข่ายแห่งความเชื่อและความสุดโต่งในหลายทิศทางของแนวคิดทั้งหมดก่อให้เกิดการโต้แย้งถกเถียงกันในด้านความเชื่อและวิถีการปฏิบัติอย่างเข้มข้นเมื่อเป็นคำเดี่ยวโดยทั้งหมดมีความหมายถึงความเห็นผิดจากความเป็นจริงคือเป็นความเชื่อและความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างไปจากหลักการของพระพุทธศาสนาซึ่งแตกต่างจากความเข้าใจทั่วไปที่เชื่อว่าทิฏฐิมีความหมายเป็นกลางๆแต่อย่างไรก็ตามเมื่อใช้เป็นคำผสมก็จะทำให้เกิดความหมายได้ทั้งความหมายที่เป็นเชิงบวกและความหมายเชิงลบเช่นสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบและมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดเป็นต้น

เหตุปัจจัยที่ทำให้บุคคลเป็นมิจฉาทิฏฐิมี๒ปัจจัยคือ

  ๑. ปัจจัยภายในได้แก่ความยึดมั่นกำหนัดพอใจในขันธ์๕ความยึดถือในอายตนะภายใน (ตาหูจมูกลิ้นกายใจ) อวิชชา (ความไม่รู้จริง) ผัสสะ (การสัมผัส) สัญญา (ความจำได้หมายรู้) วิตก (ความตรึก) อโยนิโสมนสิการ (การไม่คิดไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคาย)

  ๒. ปัจจัยภายนอกได้แก่อายตนะภายนอก (รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์)มิตรชั่วเสียงแต่ที่อื่นหรือความรู้ที่ได้ยินได้ฟังจากที่อื่นหรือผู้อื่นเรียกอีกอย่างว่าปรโตโฆสะซึ่งเกิดจากความเชื่อความชอบใจการฟังตามเขาว่าความตรึกตามอาการความปักใจเชื่อโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยหลักโยนิโสมนสิการดังนั้นบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิคือผู้ที่ได้รับปัจจัยทั้งสองด้านเข้ามามีอิทธิพลต่อความคิดความเห็นโดยขาดการคิดไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งประกอบกับมีความยึดมั่นถือมั่นในอัตตา (ตัวตน)และความกำหนัดยินดีในขันธ์๕เป็นพื้นฐานผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิคือเป็นผู้ยึดมั่นในอัตตาและขันธ์๕ทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติผิดทางในทางสุดโต่ง๒ข้างเรียกว่าอันตา๒คือกามสุขัลลิกานุโยคคือการหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขและอัตตกิลมถานุโยคคือการประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเองการบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อนประเภทของมิจฉาทิฏฐินั้นมีหลายประการแต่ในที่นี้สามารถประมวลสรุปได้เป็น๒ ประการคือ

  ๑. ทิฏฐิว่าด้วยความมีความเป็นคือความเชื่อยอบรับว่ามีสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่จริงหมายถึงความงมงายด้วยการยึดถือผิดด้วยความติดยึดอยู่ในภพเป็นทิฏฐิที่เชื่อว่ามีภพหรือสภาวะของความมีความเป็นเรียกว่าภวทิฏฐิคือชอบที่จะบันเทิงอยู่ในภพไม่น้อมไปในธรรมเพื่อความดับภพมีความเชื่อในชีวิตปัจจุบันเป็นกามสุขัลลิกานุโยคและความเชื่อในชีวิตหลังความตายเป็นสัสตตทิฏฐิโดยยังยึดติดในความเชื่อเรื่องภพภูมิต่างๆเช่นสวรรค์และพรหมโลก

  ๒. ทิฏฐิว่าด้วยความไม่มีความไม่เป็นเป็นความเชื่อปฏิเสธว่าไม่มีสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่จริงคือความงมงายด้วยการยึดถือผิดในความไม่มีจริงเป็นความเชื่อที่แล่นเลยความเป็นอนัตตาไปเป็นทิฏฐิที่เชื่อว่าไม่มีภพหรือสภาวะของความมีความเป็นที่แท้จริงเรียกว่าวิภวทิฏฐิโดยได้พัฒนามาจากความเชื่อในการเวียนว่ายตายเกิดคือวัฏฏสังสารโดยเชื่อว่าบุคคลจะบริสุทธิ์ได้เองโดยไม่มีเหตุปัจจัยเป็นอกิริยทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิและในขณะเดียวกันบางกลุ่มก็หลงเชื่อในเหตุปัจจัยที่ไม่ถูกต้องทำให้ยึดถือการปฏิบัติที่ผิดทางด้วยอัตตกิลมถานุโยคคือการประพฤติทรมานตนให้ลำบากเพราะความเชื่อว่าเป็นทางหลุดพ้นจากการเกิดอีก

ในการศึกษาครั้งนี้สามารถจัดแบ่งลักษณะของมิจฉาทิฏฐิได้๔ประเภทและสามารถ

สรุปได้ใน๒หลักคือ

๑. ทิฏฐิเชิงหลักการได้แก่สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ

๒. ทิฏฐิเชิงปฏิบัติการได้แก่กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค

ประเภทของมิจฉาทิฏฐิของพุทธสาวกก่อนการบรรลุธรรมพบว่ามี๔กลุ่มโดยการศึกษาครั้งนี้มีพุทธสาวกจำนวนรวมทั้งสิ้น๖๙องค์คือ

  ๑.พุทธสาวกประเภทอัตตกิลมถานุโยคพุทธสาวกกลุ่มนี้เคยมีวิถีชีวิตอยู่ในข้างใดข้างหนึ่งอย่างสุดโต่งมาก่อนโดยเฉพาะการประพฤติทรมานตนในแบบอัตตกิลมถานุโยคและการเสพกามสุขในแบบกามสุขัลลิกานุโยคประกอบด้วยวรรณะพราหมณ์ที่ประพฤติพรตออกบวชเล็งผลจากการปฏิบัติตนเพื่อหลุดพ้นและอีกกลุ่มหนึ่งเป็นวรรณะแพศย์คือเป็นบุตรของมหาเศรษฐีที่มีวิถีชีวิตอยู่ในโลกียสุขอย่างบริบูรณ์ต่อมาได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วได้รับฟังคำสอนเกี่ยวกับหลักมัชฌิมาปฏิปทาโดยตรงมีจำนวน๘องค์คือพระปัญจวัคคีย์มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นหัวหน้าพระโสณโกฬิวิสะพระสุภูติและพระนาลกะ

  ๒. พุทธสาวกประเภทกามสุขัลลิกานุโยคพุทธสาวกกลุ่มนี้มีวิถีชีวิตอยู่ในโลกียสุขคือกามสุขัลลิกานุโยคส่วนใหญ่เป็นวรรณะกษัตริย์วรรณะแพศย์ปุโรหิตบุตรพราหมณ์หรือเป็นผู้ประกอบอาชีพเป็นคณาจารย์ถือเป็นกลุ่มปัญญาชนของสังคมได้รับการศึกษาเป็นผู้ที่มีปัญญาแต่ยังประพฤติครองเรือนอยู่ก่อนบวชโดยได้รับการฟังธรรมเทศนามีชื่อว่าอนุปุพพิกถาโดยพื้นฐานที่คล้ายคลึงกันคือพุทธสาวกกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เคยได้รับการบำรุงบำเรอทางวัตถุอย่างบริบูรณ์และได้รับการเรียนรู้ในศิลปวิทยาการแขนงต่างๆพระยสะพระมหากัจจายนะพระมหาปันถกะพระกาฬุทายีพระภัททิยะพระมหากัปปินะพระโสณกุฏิกัณณะพระนันทกะพระโสภิตะพระขทิรวนิยเรวตะพระนันทะพระลกุณฏกภัททิยะพระกิมพิละพระรัฏฐปาละพระวักกลิ พระกุมารกัสสปะพระกุณฑธานะพระปุณณมันตานีบุตรพระยโสชะพระปิณโฑลภารทวาชะ พระอุบาลีพระสาคตะพระอุปเสนวังคันตบุตรพระมหากัสสปะพระองคุลิมาลและพระพากุละ

  ๓. พุทธสาวกประเภทสัสสตทิฏฐิพุทธสาวกกลุ่มนี้ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายวรรณะทั้งวรรณะกษัตริย์วรรณะพราหมณ์ที่มีชื่อเสียงเกียรติยศและมีความรู้มากวรรณะแพศย์หรือตระกูลเศรษฐีที่มีฐานะมั่งคั่งรวมถึงวรรณะอื่นๆที่ต่ำกว่านั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความรู้หรือมีความใฝ่รู้มากแต่ยังมีทิฏฐิยึดมั่นอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่มีจำนวน๑๔องค์ได้แก่พระราหุลพระอานันทะพระราธะพระจูฬปันถกะพระพาหิยทารุจิริยะพระกังขาเรวตะพระอนุรุทธะพระสีวลีพระทัพพมัลลบุตรพระมหาโกฏฐิตะพระปิลินทวัจฉะพระวังคีสะพระเสละ

และพระมหาจุนทะ

  ๔. พุทธสาวกประเภทอุจเฉททิฏฐิพุทธสาวกกลุ่มนี้เป็นบุคคลในวรรณะพราหมณ์ที่ประพฤติตนออกบวชเป็นเจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงมีทิฏฐิมานะแรงกล้าและมีความรู้มากรวมทั้งเป็นนักปรัชญาที่แสวงหาสัจธรรมอย่างแท้จริงมีจำนวน๒๑องค์ได้แก่พระชฎิลสามพี่น้องมีพระอุรุเวลกัสสปะเป็นต้นพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะและพระลูกศิษย์พราหมณ์พาวรี๑๖องค์มีพระอชิตะเป็นต้นวิเคราะห์คำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิก่อนการบรรลุธรรมของพุทธสาวก

  ๑. คำสอนเพื่อเพิกถอนทิฏฐิแบบอัตตกิลมถานุโยคได้แก่หลักมัชเฌนธรรมหรือหลักมัชฌิมาปฏิปทา (อริยมรรค๘) และหลักการปฏิบัติความเป็นมุนี (โมเนยยปฏิปทา)

๒. คำสอนเพื่อเพิกถอนทิฏฐิแบบกามสุขัลลิกานุโยคได้แก่หลักการออกบวช (เนกขัมมะ) หลักการละความยินดีในกามคุณหลักการพิจารณากายว่าเป็นของไม่งามหลักความเป็นผู้สันโดษหลักการประมาณในการบริโภค (โภชเนมัญญัตญุตา) หลักการรักษาและพิจารณาพระวินัยและหลักการปฏิบัติธุดงค์และหลักความไม่ประมาท

  ๓. คำสอนว่าด้วยการเพิกถอนทิฏฐิแบบสัสสตทิฏฐิได้แก่หลักไตรลักษณ์หลักความไม่ยึดมั่นถือมั่นหลักพิจารณาความสงสัยหลักตจปัญจกกรรมฐานและหลักการเพิกถอนความยึดมั่นในความรู้เดิม

๔. คำสอนว่าด้วยการเพิกถอนทิฏฐิแบบอุจเฉททิฏฐิได้แก่หลักปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจจตาและหลักโยนิโสมนสิการเพื่อแก้ถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาหาวนอน)อย่างไรก็ตามการที่พุทธสาวกจะบรรลุธรรมได้นั้นนอกจากจะประกอบด้วยปัจจัยดังกล่าวแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆที่สนับสนุนการบรรลุธรรม๔ปัจจัยคือ

๑) การตั้งความปรารถนาในอดีตชาติ

๒) การถวายทานในอดีตชาติ

๓) สติปัญญาในปัจจุบันชาติและ

๔) ความศรัทธาในพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนาก็เป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนให้พุทธสาวกได้บรรลุธรรมในปัจจุบันชาตินั้น

  ประวัติผู้รวบรวมและเขียน

ชื่อสกุล    นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท