โรงเรียนใต้ต้นไม้


นี่เป็นงานสร้างระยะยาว คล้ายการปลูกต้นไม้ ไม่รู้ว่าจะมีสักกี่ต้นที่จะสามารถเติบโตเป็นต้นโพธิ

วันนี้ที่ศาลาถูกใช้เป็นสถานที่ในการบ่มเพาะต้นกล้า "สามเณร" ที่ทางศาลฯ เด็กร่วมกับวัดป่าหนองไคร้บรรพชาสามเณรถวายในหลวง  ดังนั้นการเรียนการสอนต้นกล้าตัวน้อยๆ จึงพักการทำกิจกรรมที่ศาลา ๔ ข้าพเจ้าจึงพาแม่ออกน้อยทำกิจกรรมในบริเวณบ้านแม่ชี

เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ ส่วนสังกะลีตัวน้อย (เด็กชาย) ให้อยู่รับใช้และร่วมกิจกรรมกับพระอาจารย์ที่ศาลาสี่

การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นคือ การได้พากันจัดสถานที่ใหม่ๆ คัดเลือกพื้นที่กางเต๊นซ์ใหม่ กวาดตาด ซ่อมแซมเต็นซ์ที่ชำรุด และถือโอกาสจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเด็กๆ ใต้ต้นไม้

เมื่อคืนเด็กๆ พากันเดินจงกลม ๕๐ รอบ ท่ามกลางแสงเทียน รอบนี้มีน้องมดแดงอายุ ๘ ขวบเรียนอยู่ ป.๒ มาร่วมด้วย เด็กผู้หญิง ๔ คน เป็นวัยรุ่น ๑ เด็กชาย ๙ คนรวมทั้งสิ้นในสัปดาห์นี้ ๑๔ คน เด็กต่างสดชื่นและเบิกบาน เลิกเรียนเสร็จในวันศุกร์ต่างก็พากันหอบกระเป๋าสะพายเป้มุ่งหน้ามาเจอกันที่วัด  นอนที่วัด รักษาศีลแปดบ้าง ศีลห้าบ้างตามอัธยาศัยและความพร้อมในแต่ละบุคคล

สิ่งที่เด็กๆ ชอบมากในการเรียนคือ วิชาศิลปะ

กิจกรรมที่ข้าพเจ้าให้เด็กๆ ได้เลือกและตัดสินใจเลือกเรียนเองก็คือ การทำงานศิลปะ และการเขียนบันทึก

นอกนั้นก็เป็นการเรียนผ่านกิจกรรมในวัน เช่น ตอนเช้าเด็กๆ ได้รับผิดชอบในการทำแซนวิสขึ้นถวายพระในตอนเช้า ซึ่งเขาจะจินตนาการกันเองว่าจะเอาใส่อะไร  ส่วนกับข้าวที่ง่ายรองลงมาคือ ไข่เจียว จากนั้นก็เป็นลูกมือน้าติ๋วและพี่ภัส ซึ่งเด็กๆ จะตื่นนอนกันตั้งแต่ตี ๔ ไม่มีท่าทีอิดออดใดใด ต่างรู้จักและรักษษหน้าที่

ส่วนสังกะลีน้อยที่เป็นเด็กชาย ก็จะติดตามพระอาจารย์บิณฑบาตร ใครที่ไม่ได้ไปก็จะถูศาลา และคอยยกถาดถวายอาหาร

การเรียนรู้เช่นนี้ ข้าพเจ้านำหลักการของการใส่รหัสด้านศีลธรรม (encoding) ปลูกฝังเข้าไปให้เติบโตในระดับจิตวิญญาณ รู้จักการให้ทาน  การเสียสละ การรักษา และการเจริญสติภาวนา

หน่อเนื้อเหล่านี้หากเป็นวันปิดเทอมก็จะพากันบวชสามเณร ในวันปกติก็ต่างมาสะสมต้นทุนกันเช่นนี้

...

๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕










หมายเลขบันทึก: 512227เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เด็กทุกวันนี้ไม่ได้ทำอะไรด้วยความสมัครใจ แม้แต่การมาเรียนที่โรงเรียนใต้ต้นไม้ พวกผู้ใหญ่ชอบยัดเยียดสิ่งที่ตัวเองคิด สิ่งที่ตนเองอยากจะให้เป็น เคยได้ถามสักคำ และได้รับตอบจิง

เด็กๆ เหล่านี้เขามาของเขาเอง หากด้วยความสำนึก ที่เราตระหนักถึงความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน เกื้อกูลกัน ไม่งอมืองอเท้า แต่คิดสร้างสรรค์ทำอะไรสักอย่างไร เราก็พึงตระหนักและลงมือทำไม่ดีกว่าหรือ

การยัดเยียดที่ว่า  หากเป็นสิ่งที่ดีที่มีคุณค่าก็ควรน่ายัดเยียด ไม่ใช่หรือ ดีกว่าปล่อยไปตามยถากรรม กลายไปเป็นพ่อเด็กชายแม่เด็กหญิงเกลื่อนเมืองเช่นทุกวันนี้

โรงเรียนต้นไม้นี้ก็เป็นเพียงสมมติชื่นที่เรียกขึ้นมาเพื่อให้คนสนใจ

อันแท้จริงแล้วข้าพเจ้าก็นั่งเล่นอยู่ใต้ต้นไม้ และเด็กๆ เขาก็มาขอนั่งด้วย  วาดภาพระบายสีและเขียนบันทึกถึงแม่ครูของเขา

เขามาหาเราขนาดนี้แล้ว  แล้วเราไม่หยิบยื่นสิ่งดีดีให้เขาเขาอาจจะเติบโตขึ้นมามีจิตใจคล้ายคุณ yon2499 ก็อาจเป็นได้

ข้าพเจ้าไม่รู้หรอกว่าคุณ yon2499 คือใคร แต่หัวใจของคุณน่าสงสาร

...



หากเป็นหมูหมากาไก่เราไม่ต้องสอน 

หากแต่เป็นคนเราต้องสอน สอนเพื่อยกระดับจิตใจให้เป็นมนุษย์ จากคน => มนุษย์ ผู้มีจิตใจสูง

หากการสอนหมายถึงการยัดเยียด แต่ทำให้คนคนนั้นเป็นคนที่ไม่เป็นปัญหาสังคม มีจิตใจดีมีคุณธรรมมีศีลธรรม ก็น่าจะยัดเยียด

แต่เป็นการยัดเยียดสิ่งที่ดี ที่มีคุณค่า

ขอบพระคุณคุณ yon2499 ที่มาแบบนิรนาม มาเพื่อให้การกระทำของข้าพเจ้ากระจ่างชัดขึ้น

...

(^____^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท