Innovation1: Micropuncher สำหรับเจาะกระดาษ FTA....แพงมากนัก ทำเองก็ได้


      ในงานการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ ผมไม่ค่อยจะได้สกัดดีเอ็นเอจากกระดาษ FTA paper ยกเว้นเวลาที่ทำ proficiency testing หรือ interla comparison ซึ่งมักจะใช้น้ำยา Qiagen ในการสกัด มาคราวนี้ผมได้รับตัวอย่างตรวจเป็น FTA paper ก็เลยได้มีโอกาสลองทดลองทำจากกระดาษ FTA โดยตรง

     การตรวจดีเอ็นเอจากกระดาษ FTA ก็ต้องเจาะกระดาษ ซึ่งจะมีเครื่องมือเฉพาะ ที่ใช้เจาะกระดาษ หน้าตาเป็นที่เจาะรูกระดาษ แล้วมีที่กดเพื่อดันกระดาษที่เจาะแล้วออกมา ซึ่งเครื่องมือนี้จะมีหลายขนาด  เจ้าเครื่องมือนี้มีราคาค่อนข้างแพงครับ ถ้าคิดว่ามันเป็นที่เจาะกระดาษราคา หมื่นกว่าบาท ยิ่งแพงใหญ่เลย  


     ปัญหาคือ....ม.อ. ไม่มีตังค์ ซื้อของแพงๆ อย่างนี้

     ก็เลยต้อง หาของใกล้ตัว มาประกอบเป็นเจ้าเครื่องมือนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เจ้าเครื่องมือเจาะ กับ เครื่องมือดันกระดาษออกมา 

วัสดุที่ใช้

     1. เข็ม (Needle) อาจใช้ เข็มเบอร์ 18 สำหรับการเจาะกระดาษเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-1.0 มิลลิเมตร หรือใช้เข็มสำหรับเจาะเก็บเลือดในถุงเก็บเลือดของธนาคารเลือด จะได้เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.3-1.5 มิลลิเมตร

     2. กระดาษทราย

     3. ลวดหนีบกระดาษ

วิธีการทำ

     นำเข็ม มาขัดด้วยกระดาษทราย จนปลายเข็มที่มีลักษณะปลายตัดเฉียง เปลี่ยนเป็นปลายตัดตั้งฉากตรง  จากนั้นฝนรอบปลายเข็มให้คม

     นำลวดหนีบกระดาษ มาดัดให้ปลายด้านหนึ่งตรง อีกด้านโค้งงอ

     เส้นผ่านศูนย์กลางของเข็มในภาพนี้ มีขนาดประมาณ 1.3-1.5 มิลลิเมตร

     เวลาใช้งาน ก็เอาเจ้าลวดหนีบกระดาษ ด้านที่ปลายตรง เสียบเข้าไปในเข็ม (ดังภาพ) แล้วชักขึ้น ชักลง เพื่อดันกระดาษที่อยู่ภายในออกมาได้

     การใช้งาน ก็เพียง นำเข็มไปกดลงบนกระดาษ FTA กระดาษก็จะขาดตามรอยเข็ม  แล้วติดเข้าไปอยู่ในเข็ม จากนั้น ก็นำไปกดไล่กระดาษที่อยู่ในเข็มออกมาเก็บในหลอด Eppendorf เป็นอันเสร็จงาน

     ลักษณะของกระดาษ FTA ที่เจาะแล้ว ด้วยเครื่องมือ Micropuncher ที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เอง

     เวลาเก็บ ก็เพียงแค่เสียบไว้ใน autopipette tip สีฟ้า หาเทปกาวพันไว้สักรอบ เพื่อไม่ให้หลุดหลายไปไหน

     เพียงเท่านี้ เราก็ได้เครื่อง Micropuncher สำหรับเจาะกระดาษ FTA paper แบบประหยัด พร้อมปลอกกันการปนเปื้อน งานนี้ประหยัดไปได้หมื่นกว่าบาท.....

หมายเลขบันทึก: 511145เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2012 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยอดเยี่ยมมากๆค่ะ ขอบคุณที่เอามาเผยแพร่ ช่วยเอาไปบอกเล่าใน Share.psu บ้างนะคะ 

กำลังจะซื้ออยููู่พอดีเฮียมาเบรกผมหัวทิ่มเลยนับถือความคิดดีดีครับ

 พี่ก็ทำตามประสาคนเบี้ยน้อย หอยน้อยนั่นแหละ พอจะคว้าอะไรที่อยู่ใกล้ตัวเอามาใช้แทนได้ ก็ต้องทำ แล้วของประเภทนี้ พี่ไม่ค่อยจะได้ใช้หรอก  แต่ถ้าเป็นงานของวาที ที่ใช้บ่อยๆ การซื้อแล้วได้ใช้บ่อยๆ ก็ถือว่าคุ้มครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท