จีนกับญี่ปุ่น_คงจะทะเลาะกันไม่แรง [EN]


.

สำนักข่าว thediplomat (diplomat = นักการทูต) ตีพิมพ์บทความของ อ.จอฮ์น เฮมมิงส์ จากศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์นานาชาติ PACNET เรื่อง 'Why China needs to change its Japan policy'
= "ทำไมจีน (จำเป็นต้อง) น่าจะเปลี่ยนนโยบาย (เกี่ยวกับ) ญี่ปุ่น", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

  • คำ 'policy' มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า ศัพท์เดิม = police = ตำรวจ; art of government = ศิลปะแห่งการปกครอง
  • [ police ] > [ โผ่ - ลีซ - s/สึ (เสียงพ่นลม เบา-สั้น) ] > http://www.thefreedictionary.com/police > noun = ตำรวจ; ศัพท์เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศส-ละติน = state = รัฐ นคร เมือง; ปกติใช้ในรูปพหูพจน์ น่าจะเป็นเพราะตำรวจมีหลายท่าน (คงไม่มีเมืองไหนที่มีตำรวจ 1 ท่าน)

กล่าวกันว่า คนที่ทะเลาะกันบ่อยมักจะเป็นบ้านเดียวกัน บ้านใกล้เรือนเคียง หรือเป็นญาติ เช่น เป็นพี่เป็นน้องกัน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการทะเลาะแบบ "ลิ้นกับฟัน (อยู่ใกล้กัน บางทีฟันกัดลิ้นเป็นแผล)"

.

ความสำเร็จของจีนในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาเป็นผลจากนโยบายการเปิดเสรีด้านการลงทุนมากขึ้น โดยมีพลังขับเคลื่อน หรือเงินลงทุนสำคัญจากไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น

.

มหาอำนาจจีนด้านหนึ่งก็ทำเป็นชวนทะเลาะกับไต้หวัน-ญี่ปุ่น, อีกด้านหนึ่งก็ต้องพึ่งไต้หวัน-ญี่ปุ่นมากกว่าประเทศอื่นๆ

.

พรรค คอมมิวนิสต์จีนเพิ่งประชุมใหญ่ครั้งที่ 18 นับเป็นโอกาสดีที่จีนจะได้ทบทวนนโยบายต่างประเทศกับญี่ปุ่นใหม่ เพราะถ้าทะเลาะกันแรง... จะทำให้เสียหายด้วยกันทั้งสองฝ่าย

.

.

รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็พลาดที่ไปซื้อเกาะเซนกากุ หรือเตี้ยวหยูจากเอกชนเมื่อกลางเดือนกันยายนปีนี้ (2555) 

.

การทะเลาะกับเพื่อนบ้านเป็น 1 ในยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลทั่วโลกนิยมใช้ในการหาเสียงจากความรู้สึก "ชาตินิยม" ทำให้พรรครัฐบาลได้คะแนนเสียงมากขึ้นเป็นประเด็นหลัก

.

ประเทศชาติจะเสียหาย ยับเยินหรือไม่อย่างไร... ไว้ว่ากันทีหลัง

.

เป็นที่ทราบกันดีว่า การเจริญเติบโตของจีนที่ร้อนแรงมา 20 ปีทำท่าจะแผ่วลงไป และน่าจะโตต่อไปได้ไม่เกิน 7-7.5%/ปี เป็นอย่างมาก

.

.

การที่จีนจะก้าวต่อไป จำเป็นต้องอาศัยเงินลงทุน เทคโนโลยี และธนาคารจากนอกประเทศเพิ่มขึ้น

.

ตอนนี้มีบริษัทญี่ปุ่นกว่า 20,000 บริษัท เข้าไปลงทุนในจีน

.

โพลล์สำนักข่าวรอยเตอร์ ทำในเดือนกันยายนปีนี้ (2555) พบว่า บริษัทญี่ปุ่นในจีนกว่า 37% รู้สึกไม่มั่นใจกับอนาคตในจีน และสนใจจะย้ายการลงทุนไปอาเซียน หรือเอเชียใต้ (อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ ฯลฯ)

.

ตอนนี้เศรษฐกิจโลกต้องการพลังขับเคลื่อนจากจีน และจีนเองก็ต้องการพลังการลงทุนจากญี่ปุ่น ทำให้แนวโน้มดีไม่ค่อยดีกับคนทั้งโลกเท่าไร

.

.

มีเหตุผล หลายอย่างที่ทั้งจีนและญี่ปุ่นไม่ควรจะทะเลาะกันนาน คือ ต่างก็ "ใหญ่ทั้งคู่"... ถ้ามีสงครามอะไร จะทำให้เศรษฐกิจโลกชะงักงันแทบจะทันที

.

(1). งบประมาณทหารทั้งจีน-ญี่ปุ่น "ใหญ่ทั้งคู่"

.

จีนลงทุนด้านการทหารติดอันดับ top 5 หรือ 5 รายแรกของโลก, ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับ 6 ของโลก และที่ลืมไม่ได้ คือ ญี่ปุ่นมีกองทัพเรือแบบไฮเทคสุดๆ และเป็นพันธมิตรทางทหารกับสหรัฐฯ

.

จีนใหญ่จริง ทว่า... ทะเลาะไปทั่วทะเลจีนใต้ มีกรณีพิพาททั้งกับไต้หวัน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ฯลฯ แถมไม่ถูกกับอินเดียอีกต่างหาก

.

ประวัติศาสตร์สอนเราว่า ชาติใหญ่ที่ไม่มีพันธมิตรมักจะแพ้สงครามในระยะยาว เช่น เยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1-2 ฯลฯ

.

(2). ขนาดเศรษฐกิจ

.

จีนอันดับ 2, ญี่ปุ่นอันดับ 3 ของโลก แถมทั้งคู่ยังเป็นเจ้าหนี้พันธบัตรสหรัฐฯ (คิดเฉพาะเจ้าหนี้ต่างประเทศ) อันดับ 2-3 ของโลกด้วย

.

ถ้าเศรษฐกิจ 2 ประเทศนี้ถดถอยจากสงคราม จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ และโลกแย่ลงทันที

.

(3). ญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนใหญ่ในจีน

.

ปี 2011/2554 ญี่ปุ่นลงทุนมากเป็น 3 เท่าของสหรัฐฯ และเป็น 1 ในผู้ลงทุนใหญ่ในจีน

.

(4). จีนจำเป็นต้องนำเข้าหุ่นยนต์

.

อุตสาหกรรมจีนจำเป็นต้องนำเข้า หุ่นยนต์จากญี่ปุ่น และโลกตะวันตก เพื่อปฏิรูปอุตสาหกรรมให้มีต้นทุนต่ำลง ผลิตได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะใน 2-4 ปีข้างหน้า

.

ถ้าการปฏิรูปอุตสาหกรรมนี้ชะงัก งัน... สหรัฐฯ ซึ่งเดิมเสียเปรียบจากค่าแรงแพง ค่ารักษาพยาบาลแพงมาก จะอาศัยแรงงานราคาถูกจากเม็กซิโก-อเมริกากลาง-ใต้ เช่น ย้ายโรงงานส่วนหนึ่งไปเม็กซิโก (แบบที่ควอลล์คอม ผู้ผลิตสินค้าให้แอปเปิ้ลทำ) ร่วมกับหุ่นยนต์ ปฏิรูปอุตสาหกรรมได้ก่อนจีน

.

.

คนจีน-ญี่ปุ่นส่วนใหญ่คงจะมีใจรักสันติมากกว่าสงคราม

.

ถ้าคนจีน-ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่นิ่ง เฉย ช่วยกัน... รณรงค์ต่อต้านลัทธิชาตินิยมของพรรครัฐบาล จะทำให้มิตรภาพจีน-ญี่ปุ่นดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

.

มิตรภาพจีน-ญี่ปุ่นจะดีกับทั้งจีน-ญี่ปุ่น และเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ช่วยคนทั้งโลก โดยเฉพาะยุคนี้เป็นที่ยุโรปกำลังเจอศึกหนัก

.

หนี้ภาครัฐยุโรปไม่ใช่หนี้เละทั้ง หมด... ส่วนหนึ่งมาจากการเร่งทำรถไฟใต้ดินความเร็วสูง เจาะแนวภูเขาแอลป์ เชื่อมยุโรปเหนือ-ใต้ และเชื่อมแนวขวางเป็นตะแกรง (grid) ไปทั่วยุโรป

.

.

ตอนนี้รถไฟ ความเร็วสูงทั่วยุโรปเริ่มใช้ได้เป็นบางสายแล้ว ทำให้เราพอเดาได้ว่า ทศวรรษ (10 ปี) หน้าจะเป็นทศวรรษที่ยุโรปกลับมาในมาดใหม่ โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงานในการขนส่ง-คมนาคมทั่วยุโรปจะลดลงมาก ทำให้ยุโรปกลับมาแรงกว่าเดิม

.

ถ้าการเมืองไทยนิ่งอีกสักนิด เย็นลงสักหน่อย... และคนไทยส่วนใหญ่ไม่นิ่งเฉย ไม่สนับสนุนพวกหัวรุนแรง แบ่งขั้วแบ่งสี

.

โอกาสที่นักลงทุนญี่ปุ่นจะย้ายฐานมาไทยจะเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจไทยก้าวไปอีกไกล

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 17 พฤศจิกายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.


 

หมายเลขบันทึก: 509955เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท