บ้านดินเย็น น่าอยู่ (แต่ผมวิศว..คงไม่กล้าอยู่หรอก)




บ้านอิฐฉาบปูนมีปัญหาคือ ร้อน แพง  ส่วนบ้านดินจะเย็น ถูก  แต่มีปัญหาคือไม่แข็งแรง ทนทาน  เท่าบ้านอิฐ พังง่าย


วันนี้ผมมาเสนอให้ก่อบ้านอิฐ แต่ฉาบผิวนอกด้วยด้วยดินที่ทำการเตรียมแบบการทำอิฐดินนั่นแหละ (ดิน + หญ้า + แกลบ) 

แบบนี้ ผมเชื่อว่าจะทำให้บ้านเย็นเหมือนบ้านดิน และแข็งแรงเหมือนบ้านก่ออิฐ (ไม่พังถ้ามีลมพายุ หรือ ฝนตกหนัก  น้ำท่วม)


แต่ถ้าท่านลองไปค้นหาเหตุผลว่าทำไมบ้านดินเย็นในหน้าร้อน และอุ่นในหน้าหนาว รับรองว่าท่านจะหาเหตุผลไม่เจอ  ต่างก็เชื่อตามๆ กันมา 

ข้อมูลในภาษาไทยไม่ต้องเอ่ย  ไม่มี จบ  แต่แม้ในภาษาอังกฤษก็หาไม่เจอ  (แต่ฝรั่งเศส เสปน เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น และ ภาษาอื่นๆ ผมยังไม่ได้ค้น)


ผมจะมาเฉลยให้ฟังเป็นภาษาไทย ตามที่คิดเอาเอง โดยไม่เคยอ่าน หรือฟังมาจากใคร  (ซึ่งอาจผิดก็เป็นได้ )   ดังนี้ครับ  (เป็นหลักวิทยาศาสตร์มาสักหน่อย ครูวิทยาศาสตร์เอาไปเสวนาให้นร. นศ. เรียนรู้ได้เลย) 


.... ในตอนกลางคืน อากาศเย็นลง  ทำให้ความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้น (แม้ความชื้นสัมบูรณ์เท่าเดิม  ... relative/absolute humidity  ว่าเข้านั่น)  ความชื้นที่สูงขึ้นนี้จะซึมแพร่เข้าไปในรูพรุนของผิวพนังบ้านดิน  (ถ้าเป็นบ้านฉาบปูนจะซึมเข้าไม่ได้ เพราะปูนไม่มีรูพรุนเหมือนดิน) 

พอตอนกลางวัน  เหตุการณ์จะเป็นตรงข้าม คืออากาศร้อนขึ้น ทำให้คชสพ. ในอากาศลดลง  น้ำจากผิวผนังบ้านดินที่สะสมไว้ในตอนกลางคืน จะระเหยออกสู่บรรยากาศ 


 แต่ช้าก่อน  การระเหยน้ำให้กลายเป็นไอน้ำนั้น ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่เราท่องจำตามก้นฝรั่งมา  มันจะต้องการความร้อนแฝง (latent heat of evaporation)  ใช่ไหม


เรื่องนี้ผมท้า นศ . ป. โท เอก หลายคน ให้ไปค้นว่า ลึกๆ แล้ว ความร้อนแฝงมันมีที่มาอย่างไร  ในระดับอตอม โมเลกกุล ก็ยังไม่มีใครไปค้นมาเสนอให้เป็นที่ประทับใจผมสักคน แต่เอาหละ เด็กมหดิลวิทยานุสรณ์ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิกส์ก็ท่องกันคล่องแบบนกแก้วแล้ว  ขอแสดงความยินดีด้วย


ไอ้ความร้อนแฝงของการระเหยที่ว่านี้  มันจะดูดความร้อนนี้มาจากดินและอากาศใกล้ๆ นั่นแหละ  ซึ่งการดูดความร้อนนี้จะทำให้ผิวบ้านเย็นลง (evaporative cooling)  ...แล้วความเย็นก็แพร่เข้าไปสู่ชั้นใน  ทำให้ไปดูดความร้อนออกจากตัวบ้านในที่สุด ทำให้อากาศในบ้านเย็นลง


ส่วนหน้าหนาว อธิบายได้ตรงกันข้าม เพราะหน้าหนาวอากาศแห้ง  ความชื้นต่ำครับ  ทำให้บ้านอุ่นขึ้น เพราะขาดกลไก EvapCool


ทีนี้ถ้าเราสร้างบ้านอิฐแล้วฉาบด้วยดิน ดังกล่าว  ท่านผู้อ่านก็ลองจินต์กันต่อก็แล้วกัน ว่าอะไรจะเกิดขึ้น  บอกหมดเดี๋ยวหมดสนุก ประกอบกับเมื่อยนิ้วพิมพ์แล้วครับ 


...คนถางทาง (๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕)


ปล.  ผมได้ทำการทดลองเรื่องน้ำค้างที่เกาะใบไม้ไว้มากพอควร  มันค้านทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่เราเรียนกันมาในตำราฝรั่ง  วันหลังจะเอามาเล่าให้ฟัง  


หมายเลขบันทึก: 509566เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2012 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

อาจารย์พูดเรื่อง บ้านดินที่ทำให้เกิดความร้อนเย็น นั้น เป็นความรู้ทีเดียว

พลันให้นึกถึงคำถามที่เคยถามเพื่อนแล้วมักถูเพื่อนบอก  " ช่วยคิดอะไรให้เหมือนคนอื่นหน่อยได้มั๊ย ?"

คือ ถามว่า ทำไมเด็กถึงรู้สึกหนาวน้อยกว่าผู้ใหญ่  เมื่อไม่มีใครตอบชลัญก็หาเอง  สรุปตามแนวคิดของตัวเอง ว่าน่าจะเกิดจาก  1. activity  ของเด้กมากกวาผู้ใหญ่ 2. ฮอร์โมน  เพศ 3. กระบวนการเผาพลาญพลังงาน 4. พื้นที่ผิวสัมผัส  ไม่รู้เหมือนกันผิดถูกยังไงอาจารยืช่วยแลกเปลี่ยนค่ะ

อีกคำถามที่เพื่อนมักเขกกระโหลก คือ   ทำไมมักเจอเหาในเด็ก  แต่ไม่ค่อยเจอในผู้ใหญ่  เพื่อนชลัญบอก ไอ้ บ๊อง  ก็เด็กไม่ค่อยสระผมไง  ผิดถนัด  หลานที่บ้าน สระผมแทบทุกวันก็ยังเป็นเหา  ชลัญเคยเจอผู้ใหญ่มอมๆ สระผมนี่ไม่ต้องพูดถึงน่าจะน้อย  แต่ไม่ยักกะมีเหา  ดันเจอเห็บกับโลนแทน  แปลก 

มีคนไข้ท้องคนหนึ่งชลัญเคยตรวจท้องให้  ไปเจอเห็บอยู่ในสะดือ 3 ตัว  ชลัญถามว่าที่บ้านชอบเลี้ยงหมาเหรอค่ะ  คนไข้บอกทำไมหมอรู้   จะไม่รู้ได้ไงเจอเห็บในสะดือตั้ง 3 ตัวอ่ะ  

ชอบความคิดเห็นของคุณชลัญจัง อ่านแล้วชวนคิดค่ะ

แล้วท่านได้ลองไปพิสูจน์อยู่บ้านดินด้วยตัวเองหรือยังครับ

ท่าน vpong อ่านดีๆ ครับ ประเด็นไม่ใช่ว่าผมไม่เชื่อนะ  แต่ผมถามหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ที่คนที่เชื่อ ก็ตอบไม่ได้ ...ผมบ่องตง ผมเบื่อคนอย่างคุณมาก  ฟังไม่ศัำพท์จับเอามากระเดียด  จะโง่ไปถึงไหนประเทศไทยของเรา (ชขอโทษอาจแรงไป แต่ผมเจอคนแบบคุณมามาก ทำให้ต้องเสียเวลามาทะเลาะกันโดยเปล่าประโยชน์ )  

บ้านดินเย็นครับ ผมมีสองหลัง สุดยอดครับ

อ่านแล้วก็เบื่อคุณเหมือนกันนะ รู้มากเรื่องที่เรียนแล้วชี้ชวนให้คนอื่นเชื่อตามในเรื่องที่ตัวเองไม่รู    แต่เรื่องevapผมชอบนะ

ไม่ทราบว่า คุณเอามาพิสูจน์ว่า … บ้านดิน พังง่าย ไม่แข็งแรง ไม่ทน

เพราะ การกล่าวหา หรือ โจมตี อะไรก็ตามที่คุณไม่เชื่อ หรือ ไม่แน่ใจ ตามหลักวิทยาศาสตร์ นั้น คุณจะต้องหา หลักฐาน หรือ วิธีการพิสูจน์ มากล่าวอ้างเพื่อให้ การกล่าวหาของคุณ ฟังดูน่าเชื่อถือ และ มีเหตุผล

ถ้าหากคุณไม่ทำเช่นนั้น การกล่าวหา ของคุณก็จะฟังดูเหมือนว่าคุณมี อคติ

บ้านดินทำถูกวิธีมีอายุหลายร้อยปีค่ะ..ตราบใดที่มีคนอยู่..อิอิ....รังมดปลวกไม่มีหลังคาแบบบ้านคน..ทนแดดทนฝนทนหนาว..อิอิ..ตราบเท่ามีมดอยู่..

บ้านดินที่อายุมากที่สุดในโลกตอนนี้มีอายุเป็นพันปี
บ้านดินที่ จ.อุบลราชธานี อายุ 200 ปี ปัจจุบันคนยังอาศัยอยู่
ถ้าท่านบอกว่าบ้านดินไม่ทนเท่าบ้านปูน
ต้องชี้แจวนิดนึงครับว่า ไม่ทนในกรณีไหน
เฉพาะเมื่อเจอน้ำ เจอฝน เจอพายุ เจอแผ่นดินไหวเท่าน้ันหรือเปล่า
ถ้าแก้ไขด้วยการสร้างหลังคาให้ดี ให้ปกคลุมไม่ให้โดนน้ำฝนสาดจะสู้บ้านปูนไหม?
ต้องขอให้ยกเหตุผลมาอธิบายมากกว่านี้นะครับ
...
แต่ผมชอบเรื่องความเย็นที่ท่านอธิบายนะครับ
ถึงแม้จะเป็นเพียงทฤษฎี แต่ก็ดูมีเหตุผลดีครับ
แต่ถ้ามีการพิสูจน์ก็จะยิ่งดี เพราะถ้าแค่ฉาบด้วยดินแล้วทำให้บ้านเย็นจริง
ก็น่าสนใจ เหมือนที่ท่านว่าเพราะไม่ต้องกลัวน้ำ กลัวฝน
แถมได้คุณสมบัติเรื่องอุณหภูมิ

ความรู้บางอย่างที่เล่าสู่ฟังต้องขอบคุณครับ แต่ทำไม่ถึงได้ระบุว่าบ้านดินไม่แข็งแรงไม่กล้าอยู่ บ้านดินเขาอยู่กันมาเป็นไม่รู้กี่พันปีก่อนจะมีซีเมนต์และจนถึงทุกวันนี้ หลายๆหลังไม่ได้สร้างชั้นหรือสองชั้นด้วยซ้ำ ยังอยู่มาได้นานเสียยิ่งกว่าบ้านปูน หากคิดถึงโลกแห่งลูกหลานก็ต้องมีมุมมองในการคืนชีวิตให้แผ่นดินหรือโลกเรียนรู้วิถีแห่งธรรมชาติที่เกื้อกูลต่อรอบข้าง

วิศวะฯ ก็เหมือนกับ หมอแผนปัจจุบัน มักจะชอบ มีอคติ กับอะไรที่โบราณๆ อย่าง สมุนไพร

อย่าไปเถียง กับ คนพวกนี้เลยครับ . . . พวกน้ำเต็มแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท