ข้าวไรซ์เบอรี่ สวนบัวชมพูบ้านจอมคีรี อ.เชียงดาว เชียงใหม่


ข้าวไรซ์เบอรี่ สวนบัวชมพู

 

 

สวนบัวชมพู อาหารที่เราได้อิ่มอร่อยทุกมื้ออาหาร เป็นข้าว และพืชผักสมุนไพร ที่ผลิตจากนาสวนบัวชมพู ปลอดสารพิษ ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์  ข้าวมีทั้งข้าวเหนียวซุปเปอร์ดอ หรือข้าวลืมผัว ที่นำพันธุ์มาปลูกจาก เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ และข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่ ซึ่งวันที่เราได้ชิมข้าวไรซ์เบอรี่นั้น เป็นข้าวที่ผลิตได้จากการทำนาปลัง 

ได้ทราบข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่มานานพอควร มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งโทรศัพท์มาถามว่าเคยได้ชิมไหม มาจากพันธุ์ข้าวอะไรรวมอยู่บ้าง ซึ่งก็ตอบไม่ได้ เพราะขณะนั้นไม่ได้สนใจมาก่อน แต่ก็ค้นหาข้อมูลให้ แล้วก็ผ่านไป ที่ไม่ค่อยสนใจมาก เพราะที่เชียงใหม่ มีชิวิตอยู่ในเมือง ข้าวสารพอจะทราบสถานที่ ที่หาซื้อได้ง่ายมีให้เลือกทุกสี เช่น ข้าวหอมนิล ข้าวมันปู ข้าวกล้อง ข้าวกล่ำ ข้าวดอย ข้าวจากโครงการหลวง  ฯลฯ การผลิตมาจากนา ทั้งปลอดสารพิษและ ไม่ปลอดสารพิษ หาเลือกซื้อได้อย่างสะดวก เพราะเห็นว่า ข้าวไรซ์เบอรี่ ก็สีนิล เชียงใหม่ก็มีข้าวหอมนิลที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์มีประโยชน์มากเช่่นกันอยู่แล้ว และดีใจที่ได้ทราบว่า ที่สวนบัวชมพูก็ผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ แบบเกษตรอินทรีย์

 

กลุ่ม ชุมชนเกษตรปลอดสารพิษอาหารเพื่อสุขภาพ

Green Food Good Agriculture practica ( GFGAP )

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/501175

และกลุ่ม Happy Ba  Creation 

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/508047

 

 

2 กลุ่มร่วมทำกิจกรรมที่สวนบัวชมพู โดย บัวชมพู gotoknow  1 ใน GFGAP

 เจ้าของสวนบัวชมพู ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น  

นำเรื่องราว ความเป็นมาสรรพคุณประโยชน์ ของข้าวไรซ์เบอรี่ มาฝากค่ะ


 

   ข้าวหอมมะลิสีนิล หรือ ข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ใหม่ ที่เป็นลูกผสมระหว่าง ข้าวสีนิลกับข้าวหอมมะลิ 105  จากการพัฒนาพันธุ์ข้าวพิเศษ  โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี และให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค  เมล็ดพันธุ์ที่ได้จะถูกแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เป็นผู้ปลูกและดูแลรักษา ซึ่งต้องอยู่ในพื้นที่ภูมิประเทศและภูมิอากาศที่ เหมาะสม โดยส่วนมากจะอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย  เพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณสมบัติดี ครบถ้วนตามลักษณะพันธุ์ข้าวหอมมะลิสีนิล หรือข้าวไรซ์เบอรี่  ข้าวสายพันธุ์ใหม่นี้จะมีลักษณะ  เมล็ดยาว สีม่วงเข้ม และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเมื่อนำไปหุงแล้วจะได้ ข้าวสวยสีม่วงอ่อน ที่นุ่มและหอมมาก

   คุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการของข้าวไรซ์เบอรี่ คือ 

มีโปรตีนเป็น 2 เท่าของข้าวหอมมะลิ 105  และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน,แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, แทนนิน, สังกะสี, โฟเลตสูง, มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง นอกจากนี้รำข้าวและน้ำมันรำข้าว ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีเหมาะสำหรับใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารเชิง บำบัดอีกด้วย

ในสารสีม่วงของข้าวหอมมะลิสีนิลมีสารประกอบที่สำคัญก็คือ "แอนโทไซยานิน"  ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่พบมาก ในองุ่นแดงและพรุน โดยที่ข้าวหอมมะลิสีนิลก็มีสารนี้อยู่มากด้วยเช่นกัน สารแอนโทไซยานินที่มีในข้าวหอมมะลิสีนิล  ช่วยในการลดการหลุดร่วง แตกหักของเส้นผม และช่วยให้เส้นผมดำเงางาม รากผมแข็งแรง และช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น  ป้องกัน คุณไม่ให้เจ็บป่วยง่าย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดีและดูอ่อนกว่าวัย 

จากรายงานการวิจัยของประเทศญี่ปุ่น ในการทดสอบกับสัตว์ทดลองพบว่า สารแอนโทไซยานินสามารถกระตุ้นการเจริญของเส้นผมได้เร็วขึ้นถึง 2 เท่าแอนโทไซยานินยังช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อช่วยลดการอุดตันของไขมันในเส้น เลือดช่วยป้องกันโรคเบาหวานเพิ่มประสิทธิ ภาพการมอง เห็น และบำรุงสายตา ป้องกันมะเร็งทรวงอก  มะเร็งกระเพาะอาหาร  และมะเร็งเม็ดเลือดขาว

 

 

 

 

 

 

 

 


    นอกจากนี้ยังพบสารอาหารที่มีประโยชน์จำนวนมากที่มีในสีในเมล็ดข้าว ดังนั้นการบริโภคข้าวหอมมะลิสีนิลเป็นทางเลือกที่ดีเยี่ยมสำหรับการมีสุขภาพ ที่ดี สารอาหารที่มีในเมล็ดข้าวนี้มีส่วนช่วย ในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันการดูดซึมไขมันชนิดไม่อิ่มตัว



รำข้าวสีดำคือแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ

   ข้าวที่มีสีดำมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดี  เนื่องจากมี สารจับอนุมูลอิสระ ทั้ง quinolone alkaloid, vitamin E, phytate, g-oryzonol, polyphenol และ anthocyanin อยู่สูง ใน ข้าวสีดำพันธุ์ไรซ์เบอรี่ พบว่า มีปริมาณ polyphenolic ถึง 752.1 mg/100g, anthocyanin 250.36 mg/100g และ beta carotene    63.3 ug/100g ซึ่งพบอยู่มากในส่วน pericarp สารทั้งสามชนิดมีความสัมพันธ์กับความสามารถ ในการต้านอนุมูลอิสระโดยเฉพาะ polyphenolic ดังนั้นรำข้าวสีดำจึงเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ

   กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งรวมถึงโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของคนไทยในทุกกลุ่มอายุ อวัยวะ สำคัญที่พบคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด เต้านม และมะเร็งทางเดินอาหารอัตราตายด้วยโรคมะเร็งต่อประชากร 100,000 คน เพิ่มขึ้นจาก 12.6 คน เป็น 68.8 คน ในช่วงปี พ.ศ. 2510- 2544 (กระทรวงสาธารณสุข) อนุมูลอิสระของออกซิเจน หรือ reactive oxygen species (ROS) เกิดขึ้นได้จากกระบวนการปกติของร่างกายและเพิ่มขึ้นจากการอักเสบ

 การได้รับสารเคมีจากมลพิษ ยาบางชนิด การสูบบุหรี่หรือการได้รับรังสี ROS ทำให้เกิด ปฏิกิริยา lipid peroxidation ซึ่งส่งผลทำให้สารพิษสามารถเข้าไปทำให้เกิดความเสียหายกับเยื่อหุ้มเซลล์, โครงสร้าง DNA และ RNA ตลอดจนชีวโมเลกุลในเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายชนิดเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไต, โรคข้อ รวมทั้งโรคมะเร็ง

   การศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า  การรับประทานผัก ผลไม้ รวมทั้งธัญพืช ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงสามารถลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังดังกล่าวได้  นอก จากนี้การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารหลายๆประเภทจะให้ผลในการป้องกัน มากกว่าการได้รับจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งเนื่องจากมีฤทธิ์สร้างเสริมกัน ธัญพืชให้สารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดซึ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อได้รับ ร่วมกับสารกลุ่มที่มาจากผักและผลไม้ โดยฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระในข้าวมาจากกลุ่มสารประกอบฟีนอล (Phenolic acid derivatives) พบได้มากในส่วนของรำข้าว 
ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ

   จากการศึกษาพบว่าข้าวยิ่งมีสีม่วงเข้มมากประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระยิ่งมีมากขึ้น  โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 35.3 ถึง 214.7 µmole/g จากการศึกษาด้วยวิธี ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity)  โดยเฉพาะในรำข้าวไรซ์เบอรี่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูง ถึง 304.7 µmole/g และเมื่อนำข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกับน้ำผลไม้พร้อมดื่มหรือน้ำชาเขียว พบว่ามีประสิทธิภาพในการต้าน อนุมูลอิสระมาก กว่า เกือบ 100 เท่า 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   สำหรับกระบวนการหุงต้มข้าวที่มีสีม่วงเข้ม ด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า พบว่ามีผลทำให้ ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระลดลงประมาณร้อยละ 50 หรือลดประสิทธิภาพลงประมาณครึ่งหนึ่งของข้าวดิบ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแล้วข้าวสีม่วง ยังมีคุณภาพและมีประสิทธิสูงกว่าน้ำผลไม้พร้อมดื่ม หรือน้ำดื่มชาเขียวที่ขายตามท้องตลาด ขึ่งสีเมล็ดข้าวยิ่งมีความเข้มเท่าไรยิ่งทำให้มีผลในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงขึ้นเท่านั้น

 

 

 

 

 

 

 

  จากงานวิจัยพบ ว่า ข้าวกล้องพันธุ์ไรซ์เบอรี่เมื่อหุงสุกแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระเหลืออยู่ ไม่ได้ถูกความร้อนทำลายหมด จึงเป็นแหล่งอาหาร ที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง การที่ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระพอเพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และ โรคมะเร็งได้

ขอบคุณ  ข้อมูลข้าวหอมมะลิสีนิล ไรซ์เบอรี่ และภาพ  จาก ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว

 

 









 

 

 

ดีใจที่ได้ไปชิมข้าวไรซ์เบอรี่ที่สวนบัวชมพู

อาหารมื้อกลางวัน คู่กับ ข้าวไรซ์เบอรี่ ที่หอมอร่อยจากแปลงนา สวนบัวชมพู

 

 

 

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 508228เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2012 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2013 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

น่าสนใจมากที่มหาวิทยาลัยมีขายครับ แต่เข้าใจว่ามีไม่มากนัก

ธรรมชาตจัดสรรดีจังครับ

อร่อยมากๆ เลย

ผมได้มา 2 ถุง หุงกินเกือบหมดแล้วครับ พี่ดา

สวัสดีค่ะ

ปัจจุบันเาให้ความสนใจกับ สุขภาพ และเรื่อง ข้าวเกษตรอินทรีย์ ก็เป็นทางเลือกที่ผู้ใส่ใจในสุขภาพตื่นตัวและสนใจมาก

น้องทานข้าวของครูภูมิปัญญาไทย คือ คุณครูณรงค์ แฉล้มวงศ์ อยู่ที่ อ่างทอง ท่านผลิตข้าว "สินเหล็ก" ซึ่งเป็นข้าวที่ปรับปรุงพันธุ์จากหลายสายพันธุ์ และพบว่าใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยเบาหวานด้วยค่ะ  :)

  • ในฐานะที่เป็นชาวนาคนหนึ่งของประเทศนี้ ..ดีใจ และภูมิใจ
  • ที่มีโอกาสได้ปลูกข้าว ที่กินอร่อย มีประโยชน์ และปลอดภัย มากๆ ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะพี่ดาข้อมูลมีประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจอาหารเพื่อสุขภาพมากค่ะ
  • สวัสดีค่ะท่าน Ico24 อ.กานดา  แสนมณี
  • หวังว่าท่านคงจะสบายดีนะคะ
  • ขอบคุณที่นำเรื่อ ดีๆ มาแบ่งปัน ค่ะ

สวัสดีค่ะ

อ.ขจิต

ค่ะมีข้าวพันธุื์ใหม่เกิดขึ้นเป็นระยะ ทำให้เรามีโอกาสได้เลือกซื้อ แต่ส่วนใหญ่แล้วเราเห็นข่าวว่ามีพันธุ์ใหม่จำหน่ายคุณประโยชน์เยี่ยม แต่ก็ได้ซื้อได้ชิมกันไม่ทั่วถึง  หากมีการแจกจ่ายพันธุ์ให้ชาวนาที่ยังไม่มีปลูกบ้างก็ดีนะคะ อย่างน้อยพี่น้องชาวไทยเราจะได้กินข้าวที่มีประโยชน์มากกว่าการกินข้าวขัดสีขาวที มีประโยชน์น้อยกว่ามากๆ

 

คุณทิมดาบ 

ค่ะธรรมชาติ รวมกับผู้ปลูกที่ตั้งใจดี ความคิดดึโดยเฉพาะเรื่อสุขภาพของผู้ซื้อ พบแล้วก็ชื่นใจมาก

 

น้องเพลิน 

ว่างๆเราแอบไปซี้อที่บ้านแม่จาไหม แล้วเราค่อยเข้าไปหาน้องแหม่ม น้องเพชรน้ำหนึ่งมาเยี่ยมพี่ดาที่บ้านแบ่งไปให้ชงชาที่กำแพงเชรด้วยค่ะ

 

น้องหยั่งราก ฝากใบ

ข้าวสินเหล็ก พี่ดายังไม่เคยได้ชิมค่ะ มีขายที่อ่างทองหรือค่ะ เป็นสีนิลหรือเปล่า ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน ดีมากๆเลยนะคะ ทำให้นึกถึงผู้ป่วยเบาหวานอีกมากนะคะ ไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องกินอาหารแบบเดิมๆ แต่ผู้ป่วยบางคนก็ไม่ยอมรับการที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อสุขภาพอีก

 

น้องแหม่ม

ค่ะดีแล้วค่ะ ถึงแม้ว่าจะมีผู้ผลิตอาหารที่ไม่มากนักปรารถนาดีต่อผู้บริโภค จริงๆ แต่ก็ยังมี ปัจจุบัน อาหาร คือสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในร่างกาย เพราะคำว่า "ไม่รู้ "

 

คุณครูทิพย์ 

ค่ะสบายดี ขอบคุณมากนะคะ ค่ะจะนำสิ่งดีๆมาฝากเสมอค่ะ

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท