บันทึกที่47 ประกาศปิดโครงการ


บัดนี้กิจกรรมของโครงการวิจัยและพัฒนาโรงเรียนต้นแบบฯ ประจำปีงบประมาณ 2555 ได้สำเร็จเสร็จสิ้นลงแล้วอย่างสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจึงขอประกาศปิดโครงการตั้งแตบัดนี้(10 พย.55) เป็นต้นไป

มหาวิทยาลัยใคร่ขอขอบคุณคณะครูจากโรงเรียน 14 แห่งที่เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่ต้น พร้อมกับความทุ่มเท ความเสียสละ ความคิด แรงงานแรงใจจนมีผลงานเป็นที่ปรากฏและเกิดประโยชน์ยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณภาพสถานศึกษา คุณภาพครูและคุณภาพผู้เรียนสืบไป

พบกันในโอกาสหน้านะครับ

สวัสดีครับ

ดร.กฤษดา กรุดทอง หน.ชุดโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


 

คำสำคัญ (Tags): #classroom#msd
หมายเลขบันทึก: 508219เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2012 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สรุปผลการวิจัยเบื้องต้น

1.ชื่อวิจัย การออกแบบกระบวนการจัดการงานวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จ.สมุทรสงคราม

   Design of Classroom Research Management Process of OBEC School, Samutsongkram Province

2.ชื่อผู้วิจัย ดร.กฤษดา กรุดทอง อจ.สำราญ ปิ่นทอง และนส.ฝอยทอง สาครวรรณศักดิ์

   Dr. Kridsada Krudthong, Mr. Samrarn Pinthong and Mrs.Foythong Sakornwannasak.

3.วัตถุประสงค์

          ก.เพื่อออกแบบกระบวนการจัดการงานวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  

          ข.เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของกระบวนการที่ออกแบบใหม่

4.วิธีดำเนินการพัฒนา/ออกแบบกระบวนการ

          ก.ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการ การวิจัยในชั้นเรียน การจัดการงานวิจัยและกระบวนการจัดการงานวิจัยในชั้นเรียน และจัดทำแบบสำรวจ

          ข.สำรวจวิธีปฏิบัติงานการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 10 แห่ง ในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 110 คน ด้วยแบบสำรวจ คำนวนหาค่าร้อยละและจำแนกวิธีปฏิบัติตามระดับมากและน้อย

          ค.ยกร่างกระบวนการจัดการงานวิจัยในชั้นเรียน ให้ประกอบด้วย (1) QBP : Quality Business Process (2) QWP : Quality Work Process (3) QF : Quality Form

          ง.ยกร่างคู่มือกระบวนการจัดการงานวิจัยในชั้นเรียน ให้ประกอบด้วย (1)ส่วนนำ (2)กระบวนการจัดการงานวิจัย (3)ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ (4)แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง (5)แบบการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

          จ.จัดประชุมปฏิบัติการกลุ่มนักวิชาการด้านครุศาสตร์ 6 คนและด้านกระบวนการ 3 คนเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของกระบวนการจัดการงานวิจัยในชั้นเรียน

          ฉ.ปรับปรุงกระบวนการและคู่มือตามข้อเสนอแนะจากการประชุม

          ช.จัดประชุมปฏิบัติการกลุ่มย่อยเพื่อวิพากษ์ความเหมาะสมของกระบวนการและคู่มือจากครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสมุทรสงคราม 10 แห่ง จำนวน 75 คน จำนวน 1 ครั้ง ในระหว่างเดือนเมษายน 2555

ซ.ตรวจสอบความเหมาะสมของกระบวนการและคู่มือจากครูของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสมุทรสงคราม 10 แห่ง จำนวน 75 คน ด้วยแบบสำรวจ คำนวนหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน และจำแนกระดับความเหมาะสมเป็นแบบ rating scale  5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อยและน้อยที่สุด            

          ญ.ปรับปรุงกระบวนการและคู่มือตามผลการสำรวจและผลการประชุมปฏิบัติการ

5.วิธีตรวจสอบกระบวนการ

          ก.จัดประชุมปฏิบัติการกลุ่มย่อยเพื่อชี้แจงกระบวนการและคู่มือแก่ครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสมุทรสงคราม 10 แห่ง จำนวน 75 คน จำนวน 1 ครั้ง ในเดือนเมษายน 2555

          ข.จัดประชุมปฏิบัติการกลุ่มย่อยเพื่อติดตามการปฏิบัติตามกระบวนการและคู่มือจากครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสมุทรสงคราม 10 แห่ง จำนวน 75 คน จำนวน 4 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2555

ค.จัดประชุมปฏิบัติการกลุ่มย่อยเพื่อนิเทศติดตามการปฏิบัติตามกระบวนการและคู่มือของครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสมุทรสงคราม 10 แห่ง จำนวน 75 คน จำนวน 4 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2555

          ง.จัดประชุมปฏิบัติการกลุ่มย่อยเพื่อเก็บรวบรวมผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสมุทรสงคราม 10 แห่ง จำนวน 75 คน จำนวน 4 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2555

สรุปผลการวิจัยเบื้องต้น(ต่อ)

          จ.ประเมินประสิทธิภาพของของกระบวนการและคู่มือจากครูของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสมุทรสงคราม 10 แห่ง จำนวน 27 คน ด้วยแบบประเมิน คำนวนหาค่าระดับประสิทธิภาพด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน และจำแนกระดับประสิทธิภาพออกเป็น  5 ระดับ คือ สูงสุด สูง ปานกลาง น้อย ต่ำ ต่ำที่สุด   

          ฉ.จัดประชุมปฏิบัติการกลุ่มย่อยเพื่อตรวจสอบผลการปฏิบัติตามกระบวนการและคู่มือ และตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสมุทรสงคราม 10 แห่ง จำนวน 75 คน จำนวน 4 ครั้ง ในเดือนกันยายน 2555

          ช.จัดทำกระบวนการและคู่มือตามผลการประเมินประสิทธิภาพ

7.การดำเนินการนำกระบวนการไปสู่การปฏิบัติ

          ก.จัดทำเอกสารชี้แจงโครงการวิจัย 1 เล่ม คู่มือกระบวนการฉบับสมบูรณ์ 1 เล่มและแบบรายงานการเขียนรายงานผลการปฏิบัติงานตามกระบวนการ 1 เล่ม เพื่อการเผยแพร่

          ข.จัดประชุมรายงานการสรุปผลการดำเนินงานโครงการและแจ้งผลการพัฒนาพัฒนาคู่มือกระบวนการแก่ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสมุทรสงครามผู้บริหารโรงเรียนในโครงการวิจัย ผู้บริหารโรงเรียนทั่วไป ครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 10 แห่งและครูในโรงเรียนทั่วไปในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 150 คน จำนวน 1 ครั้ง ในเดือนสิงหาคม 2555 เพื่อการเผยแพร่

          ค.จัดมอบคู่มือกระบวนการและเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสมุทรสงครามผู้บริหารโรงเรียนในโครงการวิจัยและผู้บริหารโรงเรียนทั่วไป จำนวน 15 แห่ง ในเดือนสิงหาคม 2555 เพื่อนำไปขยายผล

           ง.จัดประกวดผลการปฏิบัติงานของครูระดับโรงเรียน จำนวน 1 แห่งที่มีผลการดำเนินงานในระดับโรงเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดี คือ(1)ผู้บริหารโรงเรียนมีส่วนร่วมในการผลักดันโครงการวิจัยในชั้นเรียนของครู (2)ครูมีการร่วมมือกันภายในโรงเรียนเพื่อทำกิจกรรมโครงการวิจัยในชั้นเรียนของครู และ(ค)โรงเรียนมีผลสำเร็จจากโครงการวิจัยในชั้นเรียนมากที่สุด โดยได้มอบวุฒิบัตรและป้ายโรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการชั้นเรียนแก่โรงเรียน เพื่อกระตุ้นและจูงใจ

            จ.จัดประกวดผลงานของครูระดับบุคคล จำนวน 1 คนที่มีผลการปฏิบัติงานตามคู่มือกระบวนการที่เป็นแบบอย่างที่ดี คือ(1)เข้าร่วมกิจกรรมการประชุมปฏิบัติการกับโครงการต่อเนื่อง (2) ส่งผลงานตามกระบวนการครบถ้วน (ค)มีผลงานการวิจัยในชั้นเรียน 1 เล่ม และ(ง)ผลงานมีคุณภาพในระดับดี โดยได้มอบวุฒิบัตรและคัดเลือกผลงานวิจัยในชั้นเรียนมาจัดพิมพ์เป็นผลงานตัวอย่างในรายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อกระตุ้นและจูงใจ

             ฉ.จัดพิธีมอบวุฒิบัตรการเข้าร่วมโครงการวิจัยแก่ครูในโครงการ ที่เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการวิจัยนี้ มากกว่ารายละ 60 จำนวน 29 คน เพื่อกระตุ้นและจูงใจ     

             ช.มอบเอกสารรายงานการวิจัยฉบับสรุปเผยแพร่แก่ครูที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 110 คน เพื่อขยายผลโครงการในปีต่อไป

             ง.เสนอโครงการวิจัยเพื่อนำกระบวนการไปดำเนินการต่อเนื่องกับครูในโรงเรียนกลุ่มเดิม 1 แห่ง และกับครูในโรงเรียนใหม่ 1 แห่ง และกับครูในโณงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอีก 1 แห่ง รวม 3 แห่ง เพื่อดำเนินการต่อเนื่อง

 

สรุปผลการวิจัยเบื้องต้น(ต่อ)

9.การอภิปรายผล

    ก.การออกแบบกระบวนการให้เป็นไปตามหลักปรัชญาการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ในการวิจัยนี้ได้ออกแบบกระบวนการจัดการงานวิจัยในชั้นเรียนให้เป็นไปตามหลักปรัชญาการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร(TQM) คือ ถือว่าโรงเรียนเป็นองค์กรต้องมีการดำเนินการบริหารจัดการทั่วทั้งโรงเรียนจึงได้ออกแบบให้สัมพันธ์กับกระบวนการบริหารสถานศึกษาอื่นอีก 8 กระบวนการ ในส่วนของกระบวนการจัดการชั้นเรียนของครู 4 กระบวนการนั้น ได้มีการออกแบบให้เป็นกระบวนการหลัก(QBP2)หนึ่งกระบวนการ คือกระบวนการจัดการชั้นเรียนของครู ที่มี 4 กระบวนการย่อย คือ()กระบวนการค้นหาคุณลักษณะที่ต้องการพัฒนา  ()กระบวนการ พัฒนานวัตกรรม ()กระบวนการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะ จนถึง()กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน

   ข. การปฏิบัติให้เป็นไปตามตัวแบบการจัดการศึกษาแบบ SIPPO ในการวิจัยครั้งนี้การออกแบบกระบวนการจัดการงานวิจัยในชั้นเรียนได้ดำเนินการตามตัวแบบการจัดการศึกษาแบบ SIPPO ที่ต้องพิจารณาถึง Stakeholder (S) ได้แก่สำนักมาตรฐานและรับรองคุณภาพการศึกษา(สมศ.) และระดับกระทรวงศึกษาธิการได้แก่สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  Input (I) ระดับสถานศึกษาได้แก่ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมา และระดับชั้นเรียนได้แก่ผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนเป็นรายบุคคล Process (P) หมายถึง กระบวนการออกแบบกระบวนการใหม่ Product (P)  ได้แก่คู่มือกระบวนการและประสิทธิภาพของกระบวนการ และ Outcome (O) ได้แก่ ระดับสถานศึกษาได้แก่ผลสำเร็จในการประเมินคุณภาพการศึกษารอบใหม่ และระดับชั้นเรียนได้แก่ผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนเป็นรายบุคคลรอบใหม่

    ค. การปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในการวิจัยครั้งนี้ได้ออกแบบกระบวนการจัดการงานวิจัยในชั้นเรียนได้ดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ด้านการจัดการศึกษา มาตรฐานที่7 ข้อ 7.7 ที่ว่า ครูมีการศึกษา วิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบและใช้ผลในการปรับการสอน’ โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ คือ()ครูมีการศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้และมีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน()ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีละ 1 เรื่องในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ ()ผลงานเป็นแบบอย่างที่ดีและสามารถให้คำแนะนำ ชี้แนะแก่ผู้อื่นได้ ()นำผลจากการวิจัยในชั้นเรียนไปแก้ปัญหาและหรือพัฒนาผู้เรียน ()มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย   

10.ข้อเสนอแนะ

          ก.การนำผลไปใช้

          (1)ครูควรนำคู่มือกระบวนการนี้ไปใช้ปฏิบัติในชั้นเรียนซ้ำรอบใหม่ เพื่อตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการนี้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานประจำของครู 

           (2)ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำกระบวนการจัดการชั้นเรียนนี้ให้ครูนำไปใช้ให้เชื่อมโยงกับกับกระบวนการบริหารสถานศึกษา เพื่อทำให้กระบวนการจัดการชั้นเรียนสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์สถานศึกษา ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในรอบปีที่ผ่านมาและแผนงานโครงการประจำปีของโรงเรียน

           (3)ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาควรกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์จังหวัดที่จะพัฒนาให้โรงเรียนในโครงการเดิมไปสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบที่สมบูรณ์และขยายผลไปสู่สถานศึกษาอื่นเพิ่มขึ้นอีก

          ข. การวิจัยต่อเนื่อง

          (1)มหาวิทยาลัยควรทำวิจัยโดยบูรณาการกระบวนการทั้ง 2 ส่วนคือกระบวนการบริหารสถานศึกษาและกระบวนการจัดการชั้นเรียนเข้าด้วยกันให้ต่อเนื่องสอดรับเป็นกระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนในสถานศึกษาแห่งหนึ่งๆ ไม่แยกเป็นส่วนเป็นทีละกระบวนการ  

         (2)มหาวิทยาลัยควรทำวิจัยเปรียบเทียบผลการนำกระบวนการที่ได้ไปทดลองใช้งานต่อเนื่องในสถานศึกษาเดิมและในสถานศึกษาแห่งใหม่ 

          (3)มหาวิทยาลัยควรทำวิจัยเปรียบเทียบระดับคุณภาพการศึกษาทั้งในส่วนของคุณภาพผู้เรียนและการบริหารจัดการการศึกษาในแต่ปีการศึกษาภายหลังการดำเนินงานโครงการแต่ละปี

สรุปผลการวิจัยเบื้องต้น(ต่อ)

8.การสำรวจความคิดเห็นต่อกระบวนการ

          ก.วิธีการ  

          (1)สำรวจความคิดเห็นของครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 10 แห่ง จำนวน 37 คน เมื่อสิ้นสุดโครงการ ในเดือนกันยายน 2555 เพื่อสอบถามความคาดหวังที่มีต่อกระบวนการที่ออกแบบและนำไปทดลองปฏิบัติในโรงเรียน ด้วยแบบสอบถาม คำนวนหาค่าเฉลี่ยและแปลผลเป็นความคาดหวัง 5 ระดับคือมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อยและน้อยที่สุด

          (2)จัดประชุมกลุ่มย่อยครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 10 แห่ง จำนวน 37 คน จำนวน 1 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดโครงการ ในเดือนกันยายน 2555 เพื่อทบทวนผลภายหลังการปฏิบัติ(After Action Review) ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และตอบแบบสอบถาม 5 ข้อ คือ(ก)สิ่งที่ครูความคาดหวังจะได้รับจากโครงการนี้ คืออะไร ()สิ่งที่ครูชอบมากที่สุดในการจัดโครงการครั้งนี้ คืออะไร ()หากให้คะแนนการจัดโครงการจาก 1-10 จะให้คะแนนเท่าไร และ()หากการจัดโครงการครั้งนี้อีกอยากได้คะแนนเต็มจะต้องเพิ่มเติมในเรื่องการปรับปรุงในเรื่องใด นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุป

          ข.ผลการสำรวจ

            (1)ครูคาดหวังว่ากระบวนการจัดการงานวิจัยในชั้นเรียนที่ออกแบบไว้  (ก) จะทำให้ครูสามารถจัดการชั้นเรียนได้ตรงตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการจัดการศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพภายใน ด้านการจัดการชั้นเรียน ในระดับมาก   (ข) จะทำให้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการประกันคุณภาพ ด้านคุณภาพผู้เรียนสูงขึ้น ในระดับมาก และ (ค)จะทำให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการชั้นเรียนสู่ความเป็นเลิศได้ ในระดับมาก

            (2)ผลการทบทวนภายหลังการปฏิบัติ (ก)สิ่งที่ครูความคาดหวังจะได้รับจากโครงการนี้ คือได้รับความรู้ทางการวิจัย นำความรู้ไปใช้งานและไปเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับ (ข)สิ่งที่ครูชอบมากที่สุดในการจัดโครงการครั้งนี้ คือได้ความรู้ทางการวิจัย อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชั้นเรียนและกับอาชีพครู (ค)หากให้คะแนนการจัดโครงการจาก 1-10 จะให้ 9 คะแนน (ง) หากการจัดโครงการครั้งนี้อีกอยากได้คะแนนเต็มจะต้องเพิ่มเติมในเรื่องการปรับปรุงเอกสารให้เพิ่มเติมเนื้อหาบางเรื่องและการจัดทำตัวอย่างที่ชัดเจน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท