(6) เปรียบเทียบกฎหมายรัสเซีย-ไทย


กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

เปรียบเทียบกฎหมายรัสเซีย-ไทย ในเรื่องการสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญ

ตามกฎหมายขัดกันของรัสเซียมีปรากฎใน Article 1240 ที่กำหนดในเรื่องนี้ไว้ว่า

"Article 1240 Declaring Foreign Citizens as Missing or Deceased

Foreign citizens or Stateless persons are declared missing and deceased in the Russian Federation accoding to Russian law."

 Article 1240 การประกาศให้คนต่างด้าวเป็นคนสาบสูญหรือตาย

 การประกาศให้คนต่างด้าวหรือคนไร้สัญชาติเป็นคนสาบสูญหรือตายภายใต้สหพันรัฐรัสเชียให้เป็นไปตามกฎหมายรัสเชีย

และใน พรบ. ขัดกัน ของไทยก็ได้มีกล่าวไว้ในมาตรา 11 ไว้เช่นกันดังนี้

"มาตรา 11 ถ้าคนต่างด้าวในประเทศสยามได้ไปเสียจากภูมิลำเนาและถิ่นที่อยู่ตามเงื่อนไข ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 53 และ 54 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่ศาลสยามจะสั่งการให้ทำพลางตามที่จำเป็นนั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายสยาม

คำสั่งให้คนต่างด้าวดังกล่าวแล้ว เป็นคนสาบสูญ และผลแห่งคำสั่งนั้นเท่าที่ไม่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสยามก็ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของของคนต่างด้าวนั้น"

โดยกรณีของการสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญนั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในภาคเฉพาะของกฎหมายขัดกัน ในเรื่องสถานะและความสามารถของบุคคล

จะเห็นได้ว่ากฎหมายขัดกันของทั้งประเทศรัสเซีย และ ประเทศไทย โดยหลักการในการจะสั่งให้คนต่างด้าวในประเทศนั้นเป็นคนสาบสูญนั้นเหมือนกัน คือ ให้ศาลใช้ฎหมายของประเทศตนเองในการตัดสิน

แต่จะเห็นได้ถึงความแตกต่าง  เช่นกันคือ กฎหมายรัสเชียจะมีการกล่าวถึงคนไร้สัญชาติรวมอยู่ด้วย แต่กฎหมายไทยไม่ได้ระบุเอาไว้

และกฎหมายไทยได้มีการแยกการใช้กฎหมายบังคับในส่วนของกองมรดกของผู้ที่ถูกสั่งให้เป็นคนสาบสูญเอาไว้ เนื่องจากระบบกฎหมายไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมรดก เป็นระบบที่แยกสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ออกจากกัน หรือที่เรียกว่า "Scission System" (*1) ซึ่งภายใต้ระบบนี้มรดกในส่วนสังหาริมทรัพย์จะใช้กฎหมายภูมิลำเนาสุดท้ายของเจ้ามรดก (lex domicile) และในส่วนอสังหาริมทรัพย์จะใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์ตั้งอยู่ (lex situs) ดังนั้น วรรค 2 ของมาตรา 11 จึงกำหนดให้ผลแห่งคำสั่งให้เป็นคนต่างด้าวให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของของคนต่างด้าวนั้น ไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศสยาม เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศสยามต้องเป็นไปตามกฎหมายสยาม (*2) นั่นเอง


(*1) ระบบที่ไม่แยกสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ออกจากกัน เรียกว่าระบบเอกภาพ หรือ "Unitary System"

(*2) พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 37 กำหนดให้มรดกเท่าที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท