Five wishes : ธนาคารความปรารถนา


สิ่งสำคัญอื่นใด ยิ่งกว่าการมีกระดาษสักแผ่น คือ "การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ" กับคนที่เรารัก

ความปรารถนา (wish) เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งหรือไม่?
ในบทความนี้ ขอมองว่า ความปรารถนา เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับ เงิน - ที่ดิน 
หมายถึง ตัวมันเองนำไปได้ทั้งทางเจริญ และตกต่ำ
ขึ้นกับว่า ผู้ถือครอง "จัดการ" มันอย่างไร

###

ยุคสมัยของการเงิน
ยุคแรก เราเก็บเงินทองไว้ในตุ่มฝังไว้
ยุคสอง มีธนาคาร ทำธุรกรรมผ่านกระดาษฝากถอน,สมุดเงินฝาก
ยุคสาม-ปัจจุบัน เราเริ่มทำธุรกรรม online  จะถอนจะฝากไม่ต้องเขียนใบแล้ว

ไม่ว่าจะเก็บเงินไว้ในตุ่ม ในสมุดบัญชี หรือ ตัวเลขในระบบ online
สิ่งสำคัญทุกยุคสมัยก็คือการสื่อสารภายในครอบครัว
มิฉะนั้นแล้ว แทนที่สิ่งที่เก็บสะสมมาจะเกิดประโยชน์
อาจกลายเป็นโทษ สร้างความแตกแยกของสมาชิกครอบครัว

###

มีสำนวนฝรั่งว่า "The wish is father of the thought"
หมายถึง ความเห็น ความเชื่อ การตัดสินใจ (ที่เราบอกเป็น ความคิด) 
แท้จริงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ความปรารถนา
หลายคน ช่วงวัยเรียน วัยทำงาน ได้ "ฝากความปรารถนาไว้ก่อน"
หากเสร็จภารกิจจึงจะถอนมาใช้..
แต่หลายคน เมื่อถึงเวลาครบกำหนดฝาก กลับไปทำธุรกรรมเองไม่ไหวแล้ว
เปรียบได้กับ ผู้ป่วยระยะท้าย
จะทำอย่างไรกับ "ปรารถนาสุดท้าย -- ที่อาจมีมูลค่าสูงสุด" ของเขาหล่านั้น


ยุคสมัยของการแสดงปรารถนาสุดท้าย
ยุคแรก คล้ายการฝังตุ่ม ยังไม่เป็นที่ตื่นตัวของสังคม

ยุคสอง กำเนิดเอกสารแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีกฎหมายรองรับ
เรียกว่า "living will" เริ่มต้นในประเทศอเมริกา ยุค 70's
และประเทศไทยเรา มีกฎหมายรองรับการทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ในปี พศ. 2550
 
ยุคสาม - ปัจจุบัน  
แม้หลักการด้านกฎหมายของ living will ได้ผ่านการเห็นชอบแล้ว
แต่การปฎิบัติจริงก็ยังจำกัด แม้ประเทศอเมริกาต้นกำเนิด ก็ยังมีคนทำ living will ไว้ไม่ถึง 50%
- อาจเพราะความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า living will หมายถึง"ไม่รักษาแล้ว -Do nothing" หรือร้ายกว่านั้นคือ "การุณฆาต- Euthanasia"
- ในผู้ที่เข้าใจถูกต้อง แต่ "โทน" ที่เคร่งขรึม เพราะนำด้วยเรื่องกฎหมาย, ภาษากฎหมายที่ต้องการจำเพาะ "ไม่เอาอะไรบ้าง" มีผลให้บางคนไม่กล้าตัดสินใจ
...
รูปแบบของ living will จึงถูก "ทำการตลาด" ให้ดูเป็นมิตร โทนโปร่งเบาขึ้น และเข้าถึงง่ายมากขึ้น (ทำทาง online ก็ได้)
นำเสนอด้วย Five wishes "หวังให้เป็นเช่นไร"  ใน 5 ประเด็น 

  • Wish 1:  บุคคลที่ข้าพเจ้าไว้วางใจให้ตัดสินใจแทน "หากข้าพเจ้าหมดสติ หรือไม่สามารถ"
               The Person I Want to Make Care Decisions for Me When I Can't
  • Wish 2: ข้าพเจ้าต้องการรักษาลักษณะใด
                The Kind of Medical Treatment 
  • Wish 3: ความสุขสบายที่ข้าพเจ้าหวังให้เป็น
               How Comfortable I Want to Be
  • Wish 4: ข้าพเจ้าอยากให้คนที่ดูแลปฎิบัติกับข้าพเจ้าเช่นไร
                How I Want People to Treat Me
  • Wish 5: สิ่งใดที่ข้าพเจ้าอยากให้คนที่รักรับรู้
                What I Want My Loved Ones to Know


แต่ยังคงโครงสร้างสำคัญคือ กฎหมายรองรับ ซึ่งขณะนี้ 42 จาก 50 รัฐของอเมริกาให้การรองรับการทำ living will ในลักษณะนี้
ประเทศอื่น เช่นไต้หวัน ก็มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางเช่นกัน

http://www.agingwithdignity.org/five-wishes.php


อาจเป็นตัวอย่างวิธีสื่อสารกับภาคประชาชนในประเทศไทยต่อไป
..วิธีทำให้มองเห็น มีสองทาง 
หนึ่งคือ  บอกว่า "อย่าหลับตา"
อีกทางคือบอกว่า "ลืมตา" คะ 

====

บทความนี้ขอขอบคุณท่านผู้มีส่วนสำคัญ
ทำความเข้าใจกับสังคม เรื่อง "Living will" สองท่าน คือ

คุณหมอชาตรี เจริญศิริ : อดีตรองเลขาธิการสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เจ้าของรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นและ เป็นบล็อกเกอร์ท่านหนึ่งใน G2K ด้วยคะ 

    ข้าพเจ้าได้พบท่านมาเป็นวิทยากรที่เชียงใหม่
    เล่าเรื่องของ คุณแม่ของท่านเอง ที่ผู้ชมประทับใจและให้ข้อคิดสำคัญ
    ..เอกสารเป็นเพียง "เครื่องมือกระตุ้น" ให้เกิดการสื่อสารความปรารถนาให้คนที่เรารักรับรู้
    หากในครอบครัวมีวิธีพูดคุยสื่อสารรับรู้ทั่วกันอยู่แล้ว ที่ท่านเรียกว่า "Walk and talk" living will  ตัวกระดาษก็อาจไม่จำเป็น

คุณหมออุกฤษฎ์ มิลินทรางกูล : รองเลขาธิการ สช. ท่านปัจจุบัน และผู้รักการปั่นจักรยานเป็นชีวิตจิตใจ

 นอกจากการสานต่องานเรื่อง living will อย่างสร้างสรรค์ด้วยยุทธศาสตร์ Health promotion for good death แล้ว
 บุคลิกของท่านยังสร้างแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าสนใจเรื่อง ภาวะผู้นำกับการทำงานเป็นทีม

   

หมายเลขบันทึก: 505287เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2012 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 06:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ภาพมี "รอยยิ้ม" ครับ ;)...

I have many discussions with people (believing or publicly saying they are already) at the (transit) terminal. Most ask (wish) to see more of their family and friends. Some ask (wish) for better governance. One has executed her "will" (or distributed her assets to her children and relatives) and is talking about practicing dhamma at a wat till she dies -- alone with dhamma.

I have been involved in a setting up of a private geriatric care (a half way house for the aged).

The spiritual aspects of living at a (transit/bus) terminal (or jokingly "half-way" to heavens) seem more important than the physical conditions and pains of aging.

ขอนำความปรารถนามาฝากไว้ที่ธนาคารแห่งนี้

เพื่อจดลิขสิทธิ์ (ด้วย) หน่อยนะครับ

เป็นการจัดการความสงบภายใน และปล่อยวางให้ใจเป็นสุข เพื่อจะได้นำเวลาที่เหลือใช้ในการเตรียมความพร้อมสู่วันที่ยิ่งใหญ่ได้ดีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

ขอให้คุณหมอเดินทางไปเมืองเฉิงตู ประเทศจีน โดยสวัสดิภาพนะครับ

ขากลับอย่าลืมนำลูกหมีแพนด้ามาฝากหลานๆ ที่แม่ตาดด้วย 2 ตัว  555

เป็นความปรารถนาที่มีความสุขและคุณค่าของความเป็นมนุษย์บนโลกนี้ครับผม โชคดีในการเดินทางครับผม

ขอบคุณคะ gotoknow กลับมาใส่ภาพได้ดังเดิม แถมดีกว่าเดิมด้วย 

แบบนี้ก็ยิ้มออกแล้วคะ :)

สวัสดีค่ะน้องหมอ ป. ที่คิดถึง หายไปสักพักแต่ก็เข้ามาอ่านค่ะ กำลังจะเริ่มต้นกับการบันทึกชุมชนนักปฏิบัตินะคะ คงจะยังไม่ช้าไป เข้ามาอ่านแล้วมีความสุขกับบันทึกของคุณหมอค่ะ

Dear Khun Sunthorn,

  •     Thank you very much for your contribution. Do you mean a geriatric setting in Australia ?

In Thailand, Dr.Sirviang at KhonKan also is planning to have "บ้านกึ่งวิถี" - which I think the same concept as one you described.

  •    Every person either healthy or getting sick have "Wish" or "Dream" but only realistic - actionable one would be the "Goal" -- some people need help in setting their goal ( like some people need help in healing wound)

    

     

ด้วยความยินดี ให้จดลิขสิทธิ์คะอาจารย์

ขอบคุณคะ คุณอักขณิช  อยากเอาไปฝากจังคะ แต่ตอนนี้กำลังจะกลายเป็นแพนด้าเสียเอง อิๆ :)

  • ขอบคุณคะ ความเห็นสั้นๆ ของคุณปริม

บันดาลใจให้ระลึกได้ว่า "การหยุดทำสิ่งที่ไม่จำเป็น"
ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มต้น เพื่อ "ทำสิ่งที่จำเป็น
...

  • แม้แต่ตัวเอง ที่ผ่านมา ให้ความสำคัญกับ "ทำอะไร" มากเกินไป จนไม่ได้คัดเลือก

 

ขอบคุณคะ แล้วเจอกันเร็วๆ นี้ที่สวนบัวชมพูนะคะ :)

ขอบคุณคะอาจารย์ป๊อป 

เมื่อพูดถึงการตั้งเป้าหมาย ก็นึกถึงสิ่งที่อาจารย์ทำให้ชีวิตคนมีความหมาย ด้วยการทำให้พวกเขาเข้าใกล้ความหวังคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท