“Routine to Research เพิ่มประสิทธิภาพของงานประจำด้วยการทำวิจัย” : ได้เรียนรู้อะไรบ้าง? (1)


แนวคิดที่ได้จากการอบรม...

10 ตุลาคม 2555 ร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Routine to Research เพิ่มประสิทธิภาพของงานประจำด้วยการทำวิจัย” ณ ห้อง Cola 209 อาคารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติบรรยายด้วยตนเอง

เนื้อหาที่อาจารย์บรรยาย โดยคร่าวๆ

การจัดครั้งนี้อาจารย์มีเป้าหมายคือ สนับสนุนงานวิจัยเพื่อพัฒนางานสนองวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

...

Routine to Research

เริ่มที่

ทบทวนตนเอง/เริ่มที่ตนเอง

  1. เริ่มจากถามตัวเราเองว่า

-      งานของเราคืออะไร

-      ภารกิจ (ลักษณะงาน/เนื้องาน) ของเราคืออะไร

  2.  สิ่งที่เราทำอยู่นั้นดีหรือยัง เป็นสิ่งที่ควรจะเป็นหรือไม่ มันเหมือนหรือต่างจากสิ่งที่ควรจะเป็นอย่างไร

  3.  ให้ตั้งคำถามตัวเราเองว่า “วันๆหนึ่ง... เราทำอะไรบ้าง”

Routine

การทบทวนตัวเราเองในงานประจำที่ทำ คือ routine

จากงาน routine ในทุกวันนี้จะปรับเป็น research ได้อย่างไร?

  1. วิจัยคือวิถีชีวิต
  2. ไม่ว่าจะเป็นภารกิจใดก็ต้องใช้ “การวิจัยเป็นฐาน” อยู่แล้ว “การวิจัยเป็นการใช้ความรู้ เพราะการวิจัย ใช้ความรู้นำ” ไม่ว่าจะอยู่ในภารกิจใด พัฒนาอะไร สถานการณ์อะไรก็ใช้ความรู้นำทั้งสิ้น
  3. ในการทำงานปัจจุบัน ใช้ความรู้จากฐานปฏิบัติ และความรู้ที่ทันสมัย
  4. จากงานเดิมที่คิดว่าได้มาตรฐานแล้ว ก็ต้องทบทวนว่า แล้วพรุ่งนี้ยังใช้ได้อยู่หรือไม่

Mindset

รู้สึกประทับใจคำนี้ของอาจารย์

  1. Mindset หมายความถึง กระบวนการทางความคิด การปรับทัศนคติ การปรับความชอบหรือนิสัย หรือการจัดลำดับความคิดของเราด้วยตัวเราเอง (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ http://mindsetonline.com/whatisit/about/index.html )
  2. ต้องเปลี่ยน mindset โดยให้บอกกับตนเองว่า “วันนี้ทำดีแล้ว พรุ่งนี้ต้องทำได้ดีกว่าวันนี้”
  3. “ทุกอย่างต้องมีทางแก้ ทุกอย่างต้องมีทางออก”
  4. “ต้องมี positive thinking”
  5. ทำไมเราต้องรอ “การจัดการข้อร้องเรียน” ทำไมไม่ “ทำเชิงรุก เป็นเชิงป้องกัน”

Research

  1. วิจัยช่วยพัฒนากระบวนการคิด คิดเชิงระบบ คือมองเห็นสิ่งต่างๆว่าเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
  2. อะไรที่เราขยับ เกิดผลเสมอ
  3. ต้อง “สมเหตุ สมผล” หมายถึงเป็นเหตุผลที่มีหลักการ หลักวิชาการ หลักทฤษฎี หลักวิจัย รองรับ... ว่าสนับสนุน หรือหักล้างอย่างไร
  4. มีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุน โดยบอกได้ว่า เขาดีขึ้นได้อย่างไร ทำไมเขาจึงดีขึ้นหรือแย่ลง

ทั้งหมดคือสิ่งที่เราทำอยู่แล้ว แต่ขาดการนำมารายงาน

การรายงาน คือการเขียนเพื่อ “สื่อสาร” “โน้มน้าว” ในสิ่งที่เราทำให้ผู้อ่าน ผู้ให้ทุน ผู้อนุมัติ คล้อยตาม เชื่อว่า หากปรับงานเป็นเช่นนี้แล้วได้ผลอย่างไร ดูได้อย่างไรว่าได้ผลแบบนี้

หากจะเลือกประเด็นขึ้นมาต้องเกิด ผลกระทบ (impact) ต่อองค์กร

โดยสรุป อาจารย์กล่าวว่า

-      เมื่อต้องพัฒนางานที่อิงอยู่บน ฐานความรู้ หลักการ ข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็น sciencetific… นี่แหละ คืองานวิจัย

-      คิดเสมอว่า วิจัยง่าย ท้าทาย

-      ที่สิงคโปร์เขียนไว้ว่า “ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” ... นับประสาอะไรกับงานวิจัย

-      นำมาจัดระบบ ระเบียบ... จะจัดระเบียบอย่างไรต้องรู้ว่าผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบเป็นอย่างไร

-      เรียบเรียงใหม่ โดยใช้ทักษะการสื่อสารที่ผ่านการเรียบเรียง

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

หมายเลขบันทึก: 505174เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2012 01:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2013 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ถ้าสนใจเชิญเข้าอบรมและสัมมนาค่ะ

อบรมและสัมมนาแผนการพัฒนางานด้านวิจัย  ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์

เรื่อง การยกระดับงานประจำให้เป็นงานวิจัย R2R: ทำอย่างดี ทำให้มีคุณภาพ

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2555

ณ. ห้อง 89 พรรษาสมเด็จย่า

กำหนดการ

8.00-8.30           ลงทะเบียน

8.30-9.00           กล่าวเปิดงานและ

บรรยายในหัวข้อ R2R: ความคาดหวังและความเป็นไปได้

ของฝ่ายการพยาบาล  โรงพยาบาลศรีนครินทร์

โดย หัวหน้าพยาบาล นางจินตนา บุญจันทร์

9.00- 9.30          nursing outcome ที่สภาการพยาบาลกำหนด

โดย อดีตหัวหน้าพยาบาล นางสาวชูศรี คูชัยสิทธิ์

9.30-10.30         R2R: จากศรัทธาสู่ปัญญา จากการเยียวยาคน สู่การเยียวยางาน

                       โดย  เจ้าของรางวัล  R2R สวรส 2 ปีซ้อน  นายอดิเรก เร่งมานะวงษ์

10.30-10.45       พักรับประทานอาหารว่าง

10.45-12.15       ยกระดับงานประจำให้เป็นวิจัย R2R: ทำอย่างดี ทำให้มีคุณภาพ

โดย ศ. นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง

12.15-13.00       รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-16.00       แบ่งกลุ่มสัมมนาหาประเด็นในการทำวิจัยของฝ่ายการพยาบาลและนำเสนอผลงานกลุ่ม  

ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มาร่วมสัมมนา      เพื่อร่วมหาประเด็นในการทำวิจัยร่วมกันแบ่งตามสาขาที่เกี่ยวข้อง

1)  สาขาสูติ-นรีเวช    รศ. ดร. สร้อย อนุสรณ์ธีระกุล

2)  สาขาเด็ก             ผศ. ดร. ชลิดา  ธณัฐธีรกุล

3)  สาขาผู้สูงอายุ  รศ. ดร. เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์    นายอดิเรก เร่งมานะวงษ์

4)  สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่  ดร. กล้าเผชิญ  โชคบำรุง  นางสาวชูศรี คูชัยสิทธิ์

      ดร. สุพร วงค์ประทุม

5)   สาขาจิตเวช  รศ. ดร. สมพร รุ่งเรืองกลกิจ

ผมไปขอนแก่นไปหาได้ไหมครับ จะเป็นไกด์พาทัวร์ได้มัยครับ

ชอบจังเลย

- ทั้งหมดคือสิ่งที่เราทำอยู่แล้ว แต่ขาดการนำมารายงาน

นำมาจัดระบบ ระเบียบ... จะจัดระเบียบอย่างไรต้องรู้ว่าผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบเป็นอย่างไร

- เรียบเรียงใหม่ โดยใช้ทักษะการสื่อสารที่ผ่านการเรียบเรียง

 

พี่แก้วคะ

ขอบคุณมากๆค่ะที่นำมาประชาสัมพันธ์...

ติ๋วจะบอกให้น้องๆหาโอกาสเข้าฟังค่ะ และจะเรียนหัวหน้าวิสัญญัพยาบาลให้ส่งน้องๆเข้าฟังด้วยค่ะ

ขอบคุณนะคะที่ไม่เคยทอดทิ้งวิสัญญีพยาบาล

เรียน คุณบุญชู ค่ะ

  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะและขอบคุณที่ให้กำลังใจการเขียนบันทึก
  • ส่วนเรื่องมาขอนแก่นและเรื่องไกด์นั้น ขอเรียนตรงๆว่า... ไม่ถนัดพาเที่ยวค่ะ เพราะโดยชีวิตส่วนตัว เช้ามา... เงยหน้าก็โผล่ที่ทำงาน.. ตกเย็นก็โผล่ที่บ้าน ไม่ค่อยได้ออกนอกเส้นทางน่ะค่ะ และทำงานก็อยู่ไม่เป็นที่ค่ะ เดี๋ยวไปโน่น เดี๋ยวมานี่ แล้วแต่นายสั่ง บางทีก็ด่วนมา เอาแน่ไม่ได้ค่ะ
  • ...ต้องขอประทานโทษนะคะ

พ่อหมูอ้วน เพื่อนรัก

3 ประเด็นเด็ดที่พ่อหมูอ้วนพูดถึง เป็นหัวใจสำคัญ... ที่ยากที่สุดสำหรับฉัน ยากเหลือเกินจ้า...ในการเปิดและปิดประเด็น

ขอบคุณนะคะ ที่นำประเด็นเด็ดมาทิ้งไว้ให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท