ปรึกษาจิตเภททางมือถือ


ขอบคุณชมรมช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชฯ ที่ได้ส่งต่อกรณีศึกษาท่านนี้มาให้ดร.ป๊อป ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์มือถือเมื่อเช้าวันนี้

ดร.ป๊อป: สวัสดีครับ

พ.: ผมรู้สึกหน้าตึงๆ ดูไม่เป็นผู้เป็นคน อยากให้ช่วยเหลือ

ดร.ป๊อป: ท่านลองเล่าที่มาที่ไปว่า รู้สึกเป็นแบบนี้มาตั้งแต่เมื่อไร

พ.: เด็กๆ ใจลอย ไม่อยากทำอะไร โมโหง่าย อาย ไม่กล้าพูดกับเพื่อน ที่บ้านให้ไปบวชที่วัดป่า แต่เคร่งเกินไป เลยย้ายวัดใกล้บ้าน มีอาการนี้ เห็นชาวบ้านเรียกว่า บึ้ง เลยไม่รู้จะทำอย่างไร

ดร.ป๊อป: ท่านเริ่มใจลอยเมื่ออายุเท่าไร ตอนนี้อายุเท่าไร

พ.: เป็นเมื่ออายุ 17 ปี ตอนนี้อายุ 27 ปี มีอาการหนักมากๆ 5 เดือนที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้

ดร.ป๊อป: อาการหนักที่ว่าคืออะไรครับท่าน

พ.: มันตึงจี้ดขึ้นสมอง ก้าวเดินลำบาก และหน้ามันบูดเบื้ยว นอนอย่างเดียว ไม่อยากทำอะไร

ดร.ป๊อป: มาตรวจสอบกันครับ ท่านลองเดินซ้ายสลับขวา 3 ก้าวแล้วหยุด เปรียบเทียบกับหลับตาแล้วเดินซ้ายสลับขวา 3 ก้าว รู้สึกต่างกันอย่างไร

พ.: หลับตา เดินได้ยากกว่า ขาซ้ายตึงแข็งมากขึ้น เดินเซๆ

ดร.ป๊อป: ท่านทำสมาธิ หลับตา แล้วนับถอยหลังจาก 30 มา 1

พ.: [พูดไม่ค่อยชัด นับ 30 29 28 ... 1 0 นับผิดอยู่ 2 ตัวเลข]

ดร.ป๊อป: ตอนที่ท่านเดินหรือนับเลขโดยหลับตา มีความคิดหลอนหรือใจลอยไหมครับ

พ.: มีใจลอยๆ ตึงที่ขาและขากรรไกร

ดร.ป๊อป: ท่านออกกำลังกายบ้างไหมครับ

พ.: ไม่เลย นอนอย่างเดียว

ดร.ป๊อป: เท่าที่ตรวจระบบประสาทการเคลื่อนไหวทางโทรศัพท์มือถือนี้ พบว่า มีผิดพลาดเล็กน้อย แต่ท่านควบคุมการเคลื่อนไหวได้ น่าจะเป็นความรู้สึกใจลอยและมีจิตที่ไม่นิ่งส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่ตึงขาและขากรรไกร ท่านได้ให้คุณหมอตรวจวินิจฉัยหรือยังครับ

พ.: หมอว่าเป็น ซะ-กิด-โซ-ฟี-เนีย ไม่ได้อธิบาย แต่บอกว่าจะตายได้

ดร.ป๊อป: ที่หมอบอกนั้น ท่านเป็นโรคจิตเภท เป็นความผิดปกติของสารเคมีในสมองและการสั่งการที่ช้าในเรื่องการควบคุมจิต-ความคิด-ความรู้สึก ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ตื่นตัวช้า ทั้งๆ ที่ร่างกายปกติดี แต่ที่คุณหมอบอกถึงความตายนั้น ได้ยินอย่างไร

พ.: ได้ยินตอนกำลังเดินออกจากประตูห้องหมอ

ดร.ป๊อป: อาจเป็นเพราะหูแว่วที่เป็นอาการของโรคจิตเภทด้วยครับ รู้สึกหูแว่วใช่ไหม โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรัง ถ้าสมองได้ทำงาน ก็มีอายุยืนครับ

พ.: จริงๆ ก็ใช่ แล้วรู้สึกที่หน้าแบบนี้ จะทำอย่างไรให้หาย

ดร.ป๊อป: ท่านเพิ่งมีอาการทางจิต ต้องทานยาที่คุณหมอให้มาให้ต่อเนื่องและติดตามนัดหมายกับคุณหมอ เพื่อให้ยารักษาอาการทางจิตให้สงบ แนะนำว่าใน 3 เดือนนี้ที่ได้รับยา ต้องปรับใจให้มีจิตที่ไม่อยู่ว่าง ตั้งใจหากิจกรรมที่มีเป้าหมายในแต่ละวัน ท่านคิดว่าจะทำอะไร นอกเหนือจากการนอนเฉยๆ

พ.: นึกไม่ออก อ่านหนังสือ ได้ไหม

ดร.ป๊อป: ท่านอยู่วัด อาจเดินออกกำลังกายโดยการกวาดลานวัด ช่วยเหลือหลวงตาที่ใช้ท่านได้ อ่านหนังสือก็ได้แต่เพิ่มมาเขียนว่า อ่านแล้วได้อะไร แต่ต้องหาอะไรทำทุกวันนะครับ เช่น ออกกำลังกาย [ลองมาทำดูไหมครับ กระโดดตบ 5-10 ที ทำสมาธิ 1  นาที แล้วนับเลขไปข้างหน้า 1-30 แล้วนับถอยหลัง 30-1 พร้อมพิจารณาแก้ไขตัวเลขที่ผิด ทำแบบนี้ไม่เกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้สมองล้า ถ้าครบ 5 รอบ ให้เดินเร็วสลับช้าสัก 1 ชม.บริเวณลานวัด] หากอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องนัดท่านมาที่คลินิกกิจกรรมบำบัด แต่อยากให้พูดคุยกับคุณหมอที่ท่านรับยามาด้วยครับ

พ.: [ลองปฏิบัติออกกำลังกาย ทำสมาธิ และนับเลข] ...รู้สึกดีขึ้น จะปฏิบัติดู ขอบคุณมากครับ

ดร.ป๊อป: ยินดีมากครับ

หมายเลขบันทึก: 503941เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2012 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 10:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณมากครับดร.จันทวรรณ และคุณชยพร

มีบริการแบบนี้ด้วยเหรอคะ เยี่ยมยอดมากๆเลย น่า report เป็น paper นะคะ อีกรูปแบบของกิจกรรมบำบัด Occupational Teletherapy

มีบริการแบบนี้โดยน้องป๊อปครับผม ขอบคุณพี่โอ๋มากครับ

Dr. Pop เมื่อได้อ่านบันทึกนี้นะคะ รู้สึกตกใจและแปลกใจมากเลยนะคะที่มีผู้รับบริการโทร.มาปรึกษานักกิจกรรมบำบัดทางโทรศัพท์แทนการมาพบปะพูดคุย และที่แปลกใจไปกว่านั้นคือ อาจารย์สามารถตรวจประเมินแบบการสัมภาษณ์ ทดสอบและให้คำแนะนำผ่านทางโทรศัพท์ได้ด้วย

ดิฉันคิดว่าแนวทางในการประเมินของอาจารย์ สามารถนำไปใช้ประเมินแบบสัมภาษณ์และทดสอบกับผู้รับบริการแบบคร่าวๆได้

- การตรวจระบบประสาทการเคลื่อนไหว โดยการให้ผู้รับบริการเดินซ้ายขวาสลับ การหลับตาเดิน การนับตัวเลขถอยหลัง ซึ่งดิฉันไม่เคยทราบมาก่อนว่า วิธีนี้ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน

บันทึกนี้สามารถเป็นแนวทางและไอเดียในการตรวจ ประเมินขั้นพื้นฐาน และการให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการ

Dr. Popเป็นบทความที่ได้ความรู้นอกเหนือไปจากการเรียนในห้องเรียนมากๆเลยค่ะ ดิฉันเพิ่งทราบว่าอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยจิตเภทเป็นเช่นนี้ อ่านแล้วดูแปลกมากๆและบทความนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการประเมินและการบำบัดรักษาให้กับนักศึกษาที่กำลังจะฝึกงานอย่างดิฉันได้เป็นอย่างดีและทำให้ทราบถึงบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดนอกเหนือไปจากคลีนิคอีกด้วยค่ะ

เมื่ออ่านบทความแล้ว ดิฉันเกิดความคิดว่า การที่เราจะให้คำแนะนำกับผู้รับบริการ เราต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาการของโรคอย่างมาก ไม่ใช่รู้แค่ตัวโรคทั่วๆไปแต่ยังต้องคอยศึกษาข้อมูลใหม่ๆอยู่เสมอ รู้สึกชอบวิธีการที่ตรวจระบบประสาทการเคลื่อนไหวทางโทรศัพท์มือถือค่ะ วิธีการเดินสลับซ้ายขวาแล้วหยุด ทำสมาธิแล้วหลับตานับเลขถอยหลังเดิน เป็นวิธีการที่ไม่น่าเบื่อและน่าสนใจ ใครๆก็สามารถทำได้ค่ะ

เมื่อ2-3วันที่ผ่านมาในการเรียนภายในห้องเรียนได้ มีการพูดถึงกรณีตัวอย่างนี้และสิ่งที่ทำให้ตัวผมรู้สึกได้สิ่งหนึ่งคือ

อาจารย์มองผู้รับบริการในทุกๆด้านไม่ตัดสินคนไข้จากการคุย และสิ่งที่ประทับในการอ่านฟังกรณีตัวย่างและได้อ่านซ้ำอีกรอบคือ

การที่ผู้รับบริการบอกว่า หมอพูดถึงการวินิจฉัยว่ามีอาการทางจิตเภทหรือ Schizophrenia แล้วได้ยินว่าจะตายได้

สิ่งแรกที่ผมคิดคือผมมองถึงเพียงสิ่งแวดล้อมว่า ผู้รับบริการได้ยินจากการที่หมอกระซิบกัน แต่อาจารย์กลับมองถึงตัวคนไข้ด้วยแล้ว พยายามพูดให้เกิดผลดีและเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

ซึ่งทำให้ผมเห็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่หาไม่ได้จากการศึกษาภายในห้องเรียน และสามารถนำเอาไปใช้ร่วมกับการฝึกปฎิบัติงานทางคลีนิคที่จะถึงนี้ ทั้งการประเมิน และการมองคนไข้อย่างเป็นองค์รวม ของอาจารย์ป๊อป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท