สาบเสือ ยาใบไม้ไทย หาง่าย ใช้ทาแผลสด และทาขี้กลาก ชงัดกว่ายาฝรั่งสิบเท่า


 

ช่วงผมบวชอยู่วัดดง (ไม่ใช่วัดป่านะ) ณ เขาภูหลวง อ.ปักธงชัย จ. โคลาด   เมื่อปลายปี ๔๒  ได้ปีนเขาหินขึ้นไปถ่ายรูปต้นไม้   แล้วลื่นตกลงมาประมาณ ๓ เมตร  แขนครูดหินคมๆ เหวอะหวะ แผลมันลึกและยาวมาก หลายรอย มองเห็นไขมันขาวๆใต้ชั้นผิวหนัง   เลือดโชก  หยดติ๋งๆ 

 

มีเราอยู่กับหลวงพ่อรัศมี สองรูป (ตอนนั้นท่าน ๗๕ บัดนี้มรณภาพแล้ว)   ท่านเป็นหมอพระพื้นบ้านด้วย แต่กุฎิท่านก็อยู่ไกลไปอีกกิโลกว่าๆ   เราจึงไปเก็บเอาใบ “สาบเสือ”  ที่มีอยู่โดยรอบมาบีบคั้นขยี้ด้วยมือเพื่อเอาน้ำคั้นมาทาแผล  รักษาตัวเอง  มันแสบมากๆ  แต่เราเป็นชายชาติพระที่มีความหยิ่งลำพองตน จะให้ร้องโอยๆ ก็รู้สึกอายแมลงวันที่บินวนรอบๆ  (คงหวังจะมาตอมกินศพเรา)

 

 ...ตำรายานี้เราได้มาจากแม่แต่สมัยเด็กๆ  ซึ่งแม่ก็ได้มาจากตาอีกต่อ เพราะตาเป็นหมอสมุนไพร (อดีตนักเรียนนายร้อยตำรวจปีสุดท้ายที่ถูกไล่ออกเพราะไปพักรักษาตัวเป็นปี เลยกลายมาเป็นหมอสมุนไพรมันซะเลย) 

 

เราทาครั้งเดียว ไม่ได้ปิดแผล วันรุ่งขึ้น แผลดูดี  อีกวันแผลแห้ง เริ่มตกสะเก็ด ไม่กี่วันหาย ไม่มีรอยแผลเป็นสักนิดเดียว  ...มันเป็นยามหัศจรรย์จริงๆ 

 

ไม้นี้บางคนเรียกว่า  “ดงร้าง”   ก็มี เพราะมันเป็นพืชบุกเบิกที่ชอบขึ้นตามดงที่ร้าง (ดงที่ถูกถางเตียนจนร้าง)   ..หนังสือบางเล่มเรียกผิดเป็น  "ดงรั้ง"   ก็มี  (ทำให้เข้าใจยาก) 

 

จากนั้นมา ผมก็ใช้น้ำขยี้จากใบนี้รักษาแผลทุกครั้ง ไม่เคยใช้ยาอื่นเลย (ไม่ว่าไทยหรือเทศ)      และได้เอาไปแนะนำให้นักชีวะ  เภสัช หมอ  หลายต่อหลายคนนำไปศึกษา  เพื่อผลิตออกมาเป็นยาขาย 

 

...แต่ปลากดว่า  (น่ารวมทั้งปลาหมอ ปลาดุกด้วย )  ...ว่าเป็นเสียงเดียวกันว่า เงียบหายจ้อย  ..อีกหน่อยฝรั่ง ยุ่น มันอ่านภาษาไทยออก มาอ่านเจอบทความนี้เข้า มันคงเอาไปทำรวยกันเพียบแน่ แล้วสมาคมอนุกรักษ์พืชไทยฝ่ายต่างๆ ก็คงออกมาเดินขบวนต่อต่านกันใหญ่อีกตามเคย  เหมือนกรณีเปล้าน้อย  ...โสน้าน่า จิงๆ

 

 

สองวันผ่านมานี้ผมได้พบสับพคุนใหม่ ของสาบเสือ ด้วยการลองเอานิ้วโป้กะนิ้วชี้บีบคั้นเอาน้ำใบมาทา “ขี้กลาก” ที่เป็นเรื้อรังมา ๓๔ ปีแล้ว .....ปลากดว่า หายเกือบสนิทภายใน ๒ วัน ทั้งที่ทาวันละเพียง ๑ ครั้ง  แสดงว่ามันมีผลในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่มากินอาหารบนผิวหนังเราอย่างดีมาก

 

 

 ไอ้เชื้อขี้กลากนี้ (eczema) ผมได้รับมันมาครั้งแรกจากฝรั่ง  ตอนไปเรียนที่รัฐมิชิแกน  usa อากาศมันหนาวและแห้งมาก  จนผมคันน่อง ก็เลยเกา จนเป็นแผลเน่า ขนาดประมาณเหรียญบาท  จึงไปหาหมอมหาลัย หมอบอกว่าเป็น เอ็คซิม่า แล้วให้ยามาทา ก็ทุเลาไปได้มาก แต่ปลากดว่ามันไม่หายขาด   มันเพียงหลบลี้หนีหน้าเท่านั้น (lay dormant) เข้าใจว่าไปหลบอยู่ใต้ผิวหนัง พอถึงวันเลวคืนร้าย ที่ผิวหนังแห้งๆ มันก็ออกมาอาละวาด ผิวปูดออกมา และทำให้คันอีกด้วย  ... เป็นอย่างนี้ทุกปี ปีละสองสามครั้ง มาตลอด 

 

เคยคุยกะหมอไทย เธอว่า เอ็คซิม่าไม่ใช่ขี้กลาก มันคนละตัวกัน แต่ยังไงก็ตาม เวลามันเห่อมันทำให้คันและรำคาญมาก (สมาธิระดับลึกๆ อาจตัดได้แต่ระดับเราก็เกาไว้ก่อน อิอิ)   จะตัดขาทิ้งให้รู้แล้วรู้รอดก็กระไรอยู่ กลัวไม่มีขาไปบิณฑ์โปรดญาติโยม  ...แต่ จากนี้ไปไม่ต้องพึ่งยาฝรั่ง ที่มี  beta metasone  0.1%  เป็นตัวยาอีกแล้ว ไชโย

 

อันว่า สาบเสือนี้เป็นไม้ริมป่า ริมทาง ที่หาง่ายมาก ฉุกเฉินขึ้นมา ลองมองไปรอบๆตัวจะพบมันเสมอ  มักขึ้นริมไม้อื่น ไม่ขึ้นกลางแจ้งโดดๆ เป็นไม้พุ่มกึ่งล้มลุก โตเต็มที่บางทีอาจสูงได้ถึงสองเมตร แต่ที่พบเห็นทั่วไปสูงประมาณ ๑ เมตร เป็นอย่างมาก

 

http://www.biogang.net/biodiversity_view.php?menu=biodiversity&uid=5882&id=18657

 

สาบเสือมีกลิ่นฉุนบางๆ น้ำใบที่บีบขยี้คั้นออกมามีสีเขียวจัด นัยว่าดื่มกินแก้กระหายน้ำและรักษาโรคได้หลากหลาย (แต่ยังไม่เคยลอง)  นอกจากนี้ยังมี สาบควาย สาบแร้งสาบกา อีกด้วย  กลิ่นฉุนแตกต่างกัน ก็น่าจะมีการวิจัยหาตัวยารักษาโรคได้เหมือนกันนะ

 

...คนถางทาง (๒๙ กันยายน ๒๕๕๕) 

ปล. ยาหนึ่งขนาน ทำเงินได้แสนล้านต่อปี (ถ้าทำีดีๆ) ไทยเรามียาพันขนาน แต่ดักดา่นซื้่อแต่ยานอกมากิน ...จะโง่กันไปถึงไหนหนอพี่น้องเอ๊ย 




 

หมายเลขบันทึก: 503928เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2012 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2012 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เรื่องนี้ดีหลาย แต่ไม่มีหมอไทยคนใดสนใจ (อย่าว่าแต่พยาบาล หรือ นักชีวะ เคมี ในมหาประัลัย) . .

..

ส่วนผู้บริหารกระทรวงสาธาฯ บ้าบอก็ไปถือร่วมยา เดินตามคตะหรูดนักการเมือง (มาเฟียท้องถิ่น หรือนายทุนกินชาติ) จนไม่มี่เวลาเหลือพอที่จะให้ความสนใจได้ เพราะเอาเวลาไปกราบตีนนักการเมืองแล้่วได้ดีส่วนตัว รวดเร็วทัมจัย จะไปมัวสนใจข้อมูลจากรากหญ้า ดงร้าง สาบเสือ ทำหฮ่าอะราย

ตามมาเรียนรู้ ค่ะน่าทำวิจัย สกัดนำสารสำคัญไปใช้ประโยชน์ ในวงการแพทย์บ้างนะคะ

  • ขอบคุณครับสำหรับความรู้ในเช้าของวันนี้
  • ผมคงต้องไปหาต้นสาบเสือมาปลูกไว้บ้างดีกว่านะครับ
  • แทบไม่น่าเชื่อครับ อยู่ใกล้ตัวแท้ๆ แต่หาไม่เห็น
  • อยุ่หอเช่า คงต้องปลูกกับกระถางแล้วครับ
  • เจ้าใบนี้แหละ สมัยเด็กๆ ผมกับเพื่อนหญิง ไปเก็บมานั่งหั่นเล่นข้าวแกงกันอยู่

เคยใช้ห้ามเลือดเหมือนกันค่ะ ได้ผลเห็นชัดเจนมากๆ แปลกนะคะที่ยังไม่มีใครเอามาทำวิจัยเป็นเรื่องเป็นราวจริงๆหรือ จะพยายามไม่ลืมลองถามผู้ที่น่าจะรู้แถวๆในม.สงขลานครินทร์ดู ถ้ายังไม่มีจริงๆสงสัยจะได้มีเรื่องสำหรับนักศึกษาใหม่ๆได้นะคะ

ตำลึงแก่ทั้งต้นทั้งใบ+น้ำเล็กน้อย ใช้ขัดหม้อที่ไหม้ออกได้ง่ายดาย ได้ทดลองแล้วค่ะ

อันนี้ก็น่าลองทำวิจัยนะคะ 

ท่านโอ๋ฯครับ ผมทราบมาว่ามีคนทำแล้ว แต่เขาถอดใจ หาว่ามันไม่ stable (สลายตัวง่าย) ....เลยถอดใจ (นักวิจัยไทยเราเป็นเช่นนี้เสมอ แทนที่จะคิดหาทางแก้ไปเรื่อยๆ เช่น เอาสาบแร้ง หรือตดหมูตดหมามาผสม ก็ยังไ้ด้เลย)

อย่างนี้ต้องต่อยอดค่ะ ไว้จะลองเสนออาจารย์คณะวิทยาศาสตร์หรือคณะเทคนิคการแพทย์ให้ลองให้เด็กทำโปรเจ็คต่อยอดหรือหาวิธีใช้สาบเสือดูนะคะ ขอบคุณอาจารย์ที่เอามาเล่าให้เกิดไอเดียค่ะ

เพิ่งได้อ่านบันทึกนี้ของอาจารย์ ขออนุญาตให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อที่ใช้เรียกโรคหน่อยค่ะ เพื่อจะได้ไม่สับสนกับชื่อที่หมอๆใช้

โรคแอคซีม่า (eczema)  กับโรคขี้กลาก ไม่ใช่โรคเดียวกันค่ะอาจารย์

โรคขี้กลากที่เรียกกันจนคุ้นหูมานานนั้น เป็นโรคเดียวกับ "สังคัง" มีต้นเหตุมาจากเชื้อราเติบโตขึ้นจนทำให้เกิดผื่นที่ตามองเห็น เวลาขูดเอาผิวหนังไปส่องกล้องจะเจอตัวเชื้อราหรือสปอร์ของมัน  การรักษาก็ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อราไปฆ่าตัวมัน

ส่วนแอคซีม่า มีชื่อเรียกกันทั่วๆไป ว่าผื่นผิวหนังอักเสบ หรือ ผื่นคัน เกิดจากการอะไรก็แล้วแต่ไปทำให้เซลล์ผิวหนังระคายตัว เวลาขูดเอาผิวหนังไปส่องกล้องจะไม่เจอตัวอะไร นอกจากรูปร่างที่แปลกไปของเซลผิวหนังเช่น อาจจะเจอมีถุงน้ำเล็กๆโผล่ขึ้นมาหรือแทรกตัวอยู่  เป็นถุงน้ำที่ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่าหรืออาจโตจนเห็นด้วยตาเปล่า จะโตได้ขนาดไหนขึ้นกับขั้นความรุนแรงของการอักเสบ 

ถ้าหากเอาผิวหนังดีๆไปสีกับผิวหนังที่เป็นขี้กลากก็จะเกิดขี้กลากในที่ใหม่

ถ้าเอาผิวหนังดีๆไปสีกับผิวหนังที่เป็นแอคซีม่า ผิวหนังดีๆนั้นก็ยังโออยู่ไม่ติดกลับมา แอคซีม่าไม่ติดต่อ  ถ้าอาจารย์เป็นขี้กลากจริง หมอเขาไม่กล้าให้ยาเบตาเมธาโซนทาหรอกค่ะ เพราะทาแล้วขี้กลากมันลาม 

ขี้กลากติดต่อได้และลามได้เมื่อทายาสเตียรอยด์ลงไปที่ผื่นของมัน

เรื่องของเชื้อ ในภาษาหมอๆ เชื้อจุลินทรีย์กับเชื้อรานี่ เราจัดมันอยู่กันคนละก๊กเลยค่ะ  

สรุปว่าประสบการณ์ของอาจารย์ ให้ความรู้แบ่งปันไว้ว่า สาบเสือช่วยลดและรักษาการอักเสบของผิวหนังได้  ในกรณีอักเสบที่ผิวหนังแห้ง ไม่มีน้ำเหลืองแฉะ   น่าสนใจว่า ถ้าผิวหนังแฉะมีน้ำเหลืองมันจะช่วยหยุดโรคได้เช่นกันหรือเปล่า



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท