การผลิตผึ้งนางพญา


เราจำเป็นจะต้องมีผึ้งนางพญาที่มีคุณภาพดีจำนวนมาก

การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย

         การเพิ่มจำนวนรังผึ้งเพื่อขยายกิจการการเลี้ยงผึ้งนั้น เราจำเป็นจะต้องมีผึ้งนางพญาที่มีคุณภาพดีจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นแม่รังของรังใหม่หรือใช้เปลี่ยนแม่รังเดิมที่มีประสิทธิภาพการวางไข่ต่ำ ตลอดจนใช้ทดแทนให้กับรังของแม่รังเก่า ในกรณีที่เราจับผึ้งมาเลี้ยง หรือนางพญาสูญหายไป ซึ่งตามสภาพธรรมชาตินั้น การเกิดของนางพญาตัวใหม่จะเกิดได้เพียง 3 กรณี คือ

    1.ผึ้งนางพญาเก่าตาย หรือสูญหายไปอย่างกะทันหัน

    2.ผึ้งนางพญาตัวเดิมแก่เกินไป ประสิทธิภาพในการวางไข่ตำ

    3.สภาพของรังแข็งแรง สมบูรณ์เต็มที่ผึ้งต้องการแยกรังใหม่

วัสดุและอุปกรณีที่จำเป็นสำหรับการผลิตผึ้งนางพญา

    1.ถ้วยสำหรับเพาะนางพญา(queen cup) ซึ่งทำจากไขผึ้งมีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 0.6 ซม.

    2.คอนสำหรับติดถ้วยนางพญา

    3.รอยัลเยลลี หรือ น้ำผึ้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง

    4.ไม้สำหรับย้ายตัวหนอน(ตัวอ่อนอายุไม่เกิน 24 ชั่วโมง) ถ้าเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพ เครื่องมือย้ายตัวอ่อนนี้ ควรทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม(stainless steel) ซึ้งใช้งานได้นานไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย

    5.รังผึ้งที่ใช้ทำพันธุ์

    6.รังผึ้งที่ใช้เป็นรังเพาะเลี้ยง

วิธีการผลิตผึ้งนางพญา

    เมื่อเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นครบถ้วยแล้วก็มาถึงวิธีการเพาะ ซึ่งเราจะต้องทำความเข้าใจเป็นพื้นฐานเสียก่อนว่า การเพาะผึ้งนางพญานั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ด้องอาศัยความละเอียดนุ่นนวล รวดเร็ว และช่างสังเกตมาประกอบกันดังนั้น ผู้ทำจึงต้องหมั่นฝึกให้เกิดความชำนาญจึงจะประสบความสำเร็จ

    1.จัดเตรียมรังผึ้งที่แข็งแรง อาหารสมบูรณ์ อาหารสมบูรณ์มีจำนวนคอนประมาณ 7-8 คอน ประกอบด้วยคอนอาหาร 3 คอน คอนตัวอ่อน 1 คอน และคอนดักแด้ที่แก่จนเริ่มมีผึ้งคลานออกมาเป็นตัวเต็มวัย 3-4 คอน เพื่อช้ำสหรับเป็นรังเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่จะเกิดเป็นผึ้งนางพญา

    2.จับผึ้งนางพญาเก่าภายในรังออกไปเพื่อให้มีสภาพที่ขาดผึ้งนางพญาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 วัน ตรวจและทำลายหลอดรวงนางพญาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติให้หมด

    3.เตรียมถ้วยเพาะนางพญาติดกับคอนให้เรียบร้อย ในคอนหนึ่งติดถ้วยให้ห่างกันประมาณ 1 นิ้ว (ประมาณ 20-30 ถ้วย)

    4.นำคอนเพาะนางพญาจากข้อ 3 ไปใส่ในรังสำหรับเพาะเลี้ยง เพื่อให้ผึ้งงานทำความสะอาดและยอมรับอย่างน้อยครึ่งวัน จึงนำออกมาหยดรอยัลเยลลี หรือน้ำผึ้ง อย่างใดอย่างหนึ่งลงที่ก้นถ้วยเพาะ 1 หยดเล็กๆ

    5.เลือกคอนตัวอ่อนที่มีอายุไม่เกิน 24 ชั่วโมง มาจากรังผึ้งซึ่งมีประวัติดี

    6.ย้ายตัวอ่อนโดยใช้ไม้สำหรับย้ายตัวอ่อนนำมาใส่ลงในถ้วยเพาะนางพญา โดยวางตัวอ่อนให้อยู่ตรงกลางถ้วยและอยู่บนหยดรอยัลเยลลีหรือน้ำผึ้งที่เตรียมไว้พอดี   

    หลักการสำคัญในการย้ายตัวอ่อน ก็คือ ต้องกระทำอย่างรวดเร็วที่สุด และไม่ทำให้ตัวอ่อนบอบช้ำ

    7.นำคอนที่ย้ายตัวอ่อนเสร็จแล้วกลับไปใส่ในรังเพาะเลี้ยง โดยวางคอนให้อยู่ระหว่างคอนที่มีอาหารและมีตัวอ่อนวัยแรกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ผึ้งงานนำอาหารมาเลี้ยงตัวอ่อนที่จะเป็นนางพญาได้ง่าย

    8.เลี้ยงน้ำหวานในรังเพาะทันทีและเลี้ยงทุกวันจนกระทั่งหลอดปิด

    9.ประมาณ 2-3 วัน กลับมาตรวจผลการย้ายตัวอ่อน ถ้าหากมีการเจริญดีมีอาหารสมบูรณ์ก็ปล่อยให้เจริญต่อไปได้เลย แต่ถ้าหากการย้ายหนอนไม่ค่อยได้ผลดีก็ทำใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยตักตัวอ่อนเก่าทิ้งไป แล้วย้ายตัวอ่อนตัวใหม่ที่มีอายุไม่เกิน 24 ชั่วโมงลงไปใหม่ วิธีนำนี้จะช่วยให้ผึ้งงานยอมรับมากขึ้น และได้ผึ้งนางพญาที่มีความสมบูรณ์มากกว่าการบ้ายตัวอ่อนเพียงครั้งเดียว ในระยะนี้ถ้ามีหลอดรวงนางพญาตามธรรมชาติเกิดขึ้นให้ทำลายให้หมด

    10.หลังจากการย้ายตัวอ่อนประมาณ 10 วัน จะต้องทำการแยกหลอดผึ้งนางพญานำไปติดในรังผสมพันธุ์ขนาดเล็ก ซึ่งจัดเตรียมคอนอาหารใส่เอาไว้ด้วย เพื่อที่จะให้เป็นอาหารสำหรับผึ้งนางพญาที่จะออกมาต่อไป และคอนที่มีผึ้งงานเต็มอีก 2-3 คอน

    11.หลังจากนี้ประมาณ 1-3 วัน ผึ้งนางพญาในหลอดจะออกเป็นตัวเต็มวัย จำเป็นที่จะต้องให้อาหารย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากขาดอาหารผึ้งนางพญาอาจตายได้โดยง่าย ผึ้งนางพญาจะบินไปผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ 3-7 วัน และจะกลับมาวางไข่ภายใน 2-3 วัน

 

คำสำคัญ (Tags): #Apiculture1_55
หมายเลขบันทึก: 502530เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2012 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท