แนวคิดสร้างความเชื่อมั่นในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ (e-Trust)


รัฐบาลต้องปรับปรุงระบบการบริการให้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทันสมัย เพื่อสร้างความพอใจและความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน ซึ่งเราสามารถแบ่งสิ่งที่รัฐบาลควรพิจารณาและพัฒนาเป็น 3 ส่วน คือ บุคลากร ระบบงาน และตัวรัฐบาลเอง.

 

          การบริการของภาครัฐนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างสวัสดิการทางสังคม ตอบสนองการดำรงชีวิตของประชาชน ในปัจจุบันความต้องการของประชาชนมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้รัฐบาลต้องปรับปรุงระบบการบริการให้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทันสมัย เพื่อสร้างความพอใจและความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน ซึ่งเราสามารถแบ่งสิ่งที่รัฐบาลควรพิจารณาและพัฒนาเป็น 3 ส่วน คือ บุคลากร ระบบงาน และตัวรัฐบาลเอง

          ส่วนที่หนึ่ง บุคลากร เป็นการสร้างความเชื่อถือจากตัวบุคคลที่รัฐบาลจ้างมาดูแลและพัฒนาระบบ หากผู้ดูแลและพัฒนาระบบมีทักษะความสามารถ มีชื่อเสียง สังคมยอมรับได้ และมีคุณธรรม แต่การที่จะได้บุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวให้ครบถ้วนอาจหาได้ยาก แม้ในประเทศไทยมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) และเว็บมาสเตอร์ (Webmaster) ที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงอยู่ไม่น้อย แต่แคร็กเกอร์ (Cracker) ที่เชี่ยวชาญก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้นรัฐบาลอาจต้องพิจารณาเลือกบุคลากรให้รอบด้าน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าข้อมูลของประชาชนจะไม่มีความผิดพลาดและไม่ถูกโจรกรรมอย่างแน่นอน

          ส่วนที่สอง ระบบงาน หลังจากรัฐบาลเลือกบุคลากรแล้วจะต้องออกแบบ ดูแลและพัฒนาระบบผู้ใช้งาน (Interface) ระบบฐานข้อมูล (Database) และระบบรักษาความปลอดภัย (Security) โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้
  - ระบบผู้ใช้งาน (Interface) ต้องมีความทันสมัย ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและเข้าใจในวิธีการใช้ได้ง่าย อีกทั้งยังป้องกันการเกิดความผิดพลาดในการใช้งานได้ด้วย
  - ระบบฐานข้อมูล (Database) ต้องไม่มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้ตารางอยู่ในระดับ Normal Form ที่สูง (Normalization)
  - ระบบรักษาความปลอดภัย (Security) ต้องดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีการอัพเดต (Update) สม่ำเสมอ ป้องกันภัยคุกคาม (Threat) จากอินเทอร์เน็ต (Internet) ได้ทุกรูปแบบ และสามารถแก้ไขได้ทันทีที่เกิดปัญหาขึ้น

          ส่วนที่สาม ตัวรัฐบาลเอง เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่รัฐบาลต้องพิจารณาและตระหนักถึงระดับทักษะความสามารถของตัวเอง โดยเฉพาะกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Ministry of Information and Communication Technology of Thailand) ต้องมีความรู้ความสามารถมากพอที่จะดูแลพัฒนาและดำเนินนโยบายการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Trust) ให้ไปได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง นอกจากนี้ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนด้วยการให้ข้อมูลความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จุดประสงค์ของระบบ งบประมาณที่ใช้ ความจำเป็นของระบบ วิธีการใช้งานระบบ เป็นต้น

          หากรัฐบาลสามารถสร้างบุคลากร ระบบงาน และตัวรัฐบาลเองให้มีประสิทธิภาพได้ ประชาชนก็จะมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การบริการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่นิยม มีภาพลักษณ์ที่ดี สร้างความพอใจ ความสะดวก รวดเร็วให้แก่ประชาชน ทำให้มีความยืดหยุ่นในการติดต่อสื่อสารระหว่างรัฐบาลกับประชาชนมากขึ้น ท้ายที่สุดการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์จะแสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี 

 

คำสำคัญ (Tags): #e-trust#electronics#government#ict#service
หมายเลขบันทึก: 502303เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2012 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2013 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • น่าสนใจมากเลยครับ
  • มาเขียนบ่อยๆนะครับ

ขอบคุณครับ ถ้าผมคิดเรื่องที่อยากเขียนได้ จะนำมาเขียนที่นี่เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท