พิธีกรรมของมหายานในประเทศไทย


พุทธศาสนามหายานในประเทศไทยทั้งจีนนิกายและอนัมนิกายมีพิธีกรรมปฏิบัติเป็น การเฉพาะตนตามหลักศรัทธา และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของสังคม แต่นอกจากจะมีพิธีกรรมที่เป็นไปตามหลักคำสอนแล้ว เมื่อเข้ามาในประเทศไทยก็ได้อนุวัติข้อวัตรปฏิบัติบางส่วนให้สอดคล้องกับ วิถีปฏิบัติของชาวไทยที่ยึดแบบอย่างฝ่ายเถรวาท

พิธีกรรมของพุทธศาสนามหายานในประเทศไทย

รวบรวมโดยพระปลัดสาคร นุ่นกลับ

             พุทธศาสนามหายานที่ยอมรับนับถือกันในประเทศไทยปัจจุบันนี้ มีชื่อนิกายตามชนชาติที่นำเข้ามา ๒ นิกาย ได้แก่ จีนนิกาย และอนัมนิกาย

               พุทธศาสนามหายานในประเทศไทยทั้งจีนนิกายและอนัมนิกายมีพิธีกรรมปฏิบัติเป็น การเฉพาะตนตามหลักศรัทธา และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของสังคม แต่นอกจากจะมีพิธีกรรมที่เป็นไปตามหลักคำสอนแล้ว เมื่อเข้ามาในประเทศไทยก็ได้อนุวัติข้อวัตรปฏิบัติบางส่วนให้สอดคล้องกับ วิถีปฏิบัติของชาวไทยที่ยึดแบบอย่างฝ่ายเถรวาท พิธีกรรมสำคัญที่สงฆ์ฝ่ายมหายานได้ปฏิบัติหรือเกี่ยวข้องมีดังนี้

๑.)      พิธีบรรพชา-อุปสมบท

                       การบรรพชา-อุปสมบทของจีนนิกายและอนัมนิกายในประเทศไทยนั้น จะมีเฉพาะฝ่ายชายที่สามารถบรรพชาเป็นสามเณรหรืออุปสมบทเป็นภิกษุได้ ซึ่งผู้ที่มีศรัทธาจะบรรพชาหรืออุปสมบทในพระศาสนาจะต้องปราศจากอันตรายิก ธรรม (คือ เหตุขัดขวางการอุปสมบท เช่น ผู้นั้นเป็นโรคเรื้อน เป็นต้น) และต้องมีอัฐบริขารครบถ้วนตามวินัยบัญญัติในนิกายของตน ซึ่งผู้จะบรรพชาอุปสมบทต้องเตรียมบริขารให้ครบ ดังเช่นข้อกำหนดของอนัมนิกาย  และในกรณีที่จะบรรพชาอุปสมบทในจีนนิกาย บริขารที่ต้องเตรียมก็เช่นเดียวกับอนัมนิกายเพียงแต่เรียกชื่อต่างกัน นั่นคือ ต้องเตรียมไตรจีวร ได้แก่ เสื้อ  กางเกง  จีวร  เสื้อคลุม  และสังฆาฏิ และในส่วนของวิธีการบรรพชาอุปสมบทของคณะสงฆ์นิกายจีนและอนัมนิกายก็เช่น เดียวกับพิธีการของคณะสงฆ์ไทย

                                การบรรพชาเป็นสามเณร

           การบรรพชาเป็นสามเณรต้องมีพระอุปัชฌาย์เป็นผู้ให้การบรรพชา ซึ่งผู้ขอบวชต้องเปล่งคำขอบรรพชาให้ถูกต้องตามวินัย และรับไตรสรณคมน์ (คือ รับนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ต่อจากนั้น ก็สมาทานศีลสิกขาบท ๑๐ ข้อ และเมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ให้สังกัดอยู่วัดใดวัดหนึ่งที่มีเจ้าอาวาสหรือพระอาจารย์ปกครองอยู่ เพื่อทำหน้าที่อบรมสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติตามนิกายของตนให้สามเณร

                               การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมสงฆ์

                ผู้ที่ประสงค์จะอุปสมบท ควรพร้อมด้วยสมบัติ ๕ ประการ ดังนี้

๑.) วัตถุสมบัติ กล่าวคือ ผู้ที่ประสงค์จะอุปสมบทต้องถึงพร้อมด้วยสมบัติ ๖ ประการ ได้แก่         

๑. เป็นชาย 

๒. มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ 

 ๓. เป็นผู้ไม่ถูกตอน หรือเป็นกระเทย มีเพศคู่ 

๔. ไม่เป็นบุคคลผู้ฆ่าบิดามารดา 

๕. ผู้ต้องโทษปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้วจะมาขออุปสมบทใหม่ไม่ได้ 

 ๖. ไม่เป็นบุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์ หรือทำลายนางภิกษุณี เป็นต้น บุคคลที่กล่าวมานี้ห้ามอุปสมบทโดยเด็ดขาด   นอกจากที่กล่าวมาแล้วนี้ บุคคลผู้ไม่ควรให้บรรพชาอุปสมบท เช่น  ๑. โจรมีชื่อเสียงโด่ดดัง  ๒. คนถูกลงอาญาแผ่นดิน  ๓. คนมีอวัยวะพิการ  ๔. คนเป็นโรคต่างๆ ไม่รู้หาย และโรคติดต่อ ๕. คนอยู่ในความหวงห้าม เช่น มารดาและบิดาไม่อนุญาต เป็นต้น  ๖. คนเป็นทาส หรือเป็นหนี้ผู้อื่นอยู่ ฯลฯ

                ๒.) ปริสสมบัติ ถึงพร้อมด้วยองค์กำหนด คือ ในมัชฌิมประเทศ ให้ใช้สงฆ์ ๑๐ รูป ส่วนในชนบทที่หาพระได้ยาก ให้ใช้พระ ๕ รูป จึงจะให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรได้ (ทั้งนี้ต้องพร้อมด้วยอุปัชฌายะ และกรรมวาจาจารย์ พระอนุสาวนาจารย์ และพร้อมด้วยพระอันดับ)

                ๓.) สีมาสมบัติ ได้แก่ เขตชุมชน ภิกษุผู้เข้าประชุมสงฆ์ แม้ครบองค์กำหนดแล้วก็ต้องสันนิบาตในเขตชุมชน ผู้ไม่ได้เข้าประชุมหรือประชุมไม่ได้ต้องมอบฉันทะ

         ๔.) บุพพกิจ คือ กิจที่สงฆ์จะทำก่อนการสวดประกาศ กล่าวคือ สงฆ์ผู้ให้การอุปสมบทนั้นต้องตรวจตราผู้อุปสมบทให้เห็นว่า เป็นผู้สมควรก่อน และต้องให้พระภิกษุรับรองเข้าหมู่ เรียกว่า “อุปัชฌายะ” และต้องตรวจตราเครื่องบริขารให้ครบกำหนด กิจอันนี้ต้องทำให้เสร็จก่อนสวดประกาศ

        ๕.) กรรมวาจาสมบัติ เป็นหัวข้อที่พระภิกษุรูปหนึ่งที่มีความสามารถจะสวดประกาศให้สงฆ์ฟัง คือ

               ๕.๑ เที่ยวแรก เป็นคำเผดียงสงฆ์ขอให้อุปสมบทแก่ผู้จะอุปสมบท เรียกว่า “ญัตติ”

              ๕.๒ อีกสามเที่ยวหลังเป็นการหารือกัน เรียกว่า “อนุสาวนาฯ” ถ้ามีภิกษุสงฆ์ค้านขึ้น การนั้นใช้ไม่ได้ ถ้านิ่งเสียทุกรูป ถือเป็นการยอมรับ

            ฉะนั้น บุคคลผู้ประสงค์จะอุปสมบทต้องถึงพร้อมด้วยสมบัติ ๕ ประการข้างต้นนี้ จึงจะถูกต้องตามพุทธบัญญัติ                       

 ๒.)พิธีเข้าพรรษา

             การเข้าพรรษา คือ การที่พระสงฆ์อยู่ประจำที่ตลอดสามเดือนในฤดูฝน ไม่สัญจรไปค้างคืน ณ ที่แห่งใด ยกเว้นในกรณีที่พระสงฆ์มีกิจ ซึ่งเรียกว่า สัตตาหะ จะสามารถจากวัดในระหว่างจำพรรษาได้ไม่เกิน ๗ วัน กิจที่ได้รับการยกเว้นมีดังนี้

      ๑.) ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมมิก หรือบิดามารดาผู้เจ็บไข้

     ๒.)ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก

      ๓.) ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น

      ๔.) ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก ซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะ อนุโลมตามนี้ได้

       การเข้าพรรษาของคณะสงฆ์จีนนิกายและอนัมนิกายนั้นแตกต่างจากคณะสงฆ์ไทย กล่าวคือ ฝ่ายมหายานจะเข้าพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ และออกพรรษาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ แต่ในฝ่ายสงฆ์ไทยเข้าพรรษาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ และออกพรรษาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ นั่นคือ คณะสงฆ์จีนนิกายและอนัมนิกายจะเข้าพรรษาและออกพรรษาก่อนคณะสงฆ์ไทย ๒ เดือน (ตามฤดูกาลในประเทศไทย) ซึ่งหลวงจีนเย็นอี่ (หลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์) ตำแหน่งปลัดซ้ายแห่งคณะสงฆ์จีนนิกาย วัดโพธิ์แมนคุณารามได้กรุณาอธิบายว่า เหตุการณ์ที่เข้าพรรษาของสงฆ์ฝ่ายจีนนิกายแตกต่างจากคณะสงฆ์ไทยนั้น เพราะกำหนดกาลเวลาแห่งฤดูฝนตามประเทศจีน   เนื่องจากฤดูฝนในประเทศจีนจะอยู่ประมาณเดือน ๔ และออกพรรษาประมาณเดือน ๖ ดังนั้น การเข้าพรรษาของคณะสงฆ์สองนิกายนี้ในประเทศไทยจะอยู่ประมาณเดือน ๖ และจะออกพรรษาประมาณเดือน ๙ ตามเดือนในประเทศไทย

 ๓.) พิธีทอดกฐิน

     การทอดกฐิน หมายถึง การที่ทายกและทายิกาได้นำผ้าไปถวายแด่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบไตรมาส และสงฆ์จะมอบผ้าดังกล่าวให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้มีคุณสมบัติอันเหมาะสม ระยะเวลาที่มี   พุทธานุญาตให้ประกอบพิธีกฐินได้ ก็คือ ๑ เดือนหลังจากออกพรรษา และภิกษุผู้กรานกฐิน (เข้าร่วมพิธีมอบจีวร) ในอุโบสถแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ

     ๑.)  เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา

     ๒.) จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ ได้แก่ สบง จีวร และสังฆาฏิ

     ๓.) ฉันคณโภชน์ และปรัมปรโภชน์ ได้

     ๔.) เก็บจีวรได้เกินที่วินัยกำหนด (ตามวินัยกำหนดให้ภิกษุเก็บจีวรได้เพียง ๓ ผืน)

      ๕.) จีวรอันเกิด ณ ที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ (กล่าวคือ หากมีผู้ถวายจีวรให้แก่พระภิกษุสงฆ์ พระภิกษุสงฆ์ผู้นั้นสามารถรับได้เลย โดยไม่ต้องถามสงฆ์รูปอื่นก่อน)

      การรับกฐินของสงฆ์จีนนิกายและอนัมนิกายนั้นมีคติเรื่องเวลาแตกต่างกัน กล่าวคือ สงฆ์จีนนิกายนั้น ถึงแม้จะออกพรรษาก่อนคณะสงฆ์ไทย แต่พิธีกฐินนั้นจะอนุวัตตามคติไทย นั่นคือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒   ทั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะว่าเป็นสิกขาบทหรือข้อบัญญัติเล็กน้อยจึงได้ปฏิบัติอย่างสงฆ์ ไทย เพื่อความสะดวกของศรัทธาไทย  ส่วนสงฆ์อนัมนิกายนั้นจะรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาหนึ่งเดือน คือ ตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐

 ๔.) พิธีตรุษจีน

     ตรุษจีนนั้นเป็นเทศกาลที่กำหนดวันสิ้นสุดปีเก่า และเริ่มต้นปีใหม่ตามปีจันทรคติของชาวจีน  ซึ่งจะอยู่ระหว่างประมาณเดือนมกราคมกับเดือนกุมภาพันธ์ ตรุษจีนนั้นมิได้เป็นพิธีกรรมทางพุทธศาสนาโดยตรง แต่สืบเนื่องมาจากลัทธิเต๋าและขงจื้อ

       พิธีตรุษจีนจะมีวันสำคัญ ๔ วัน ดังนี้

       ๑.) วันแรก  เป็นวันที่เทพเจ้าประจำครอบครัวขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อนำเอาความดีไปกราบทูลเง็กเซียนฮ่องเต้หรือพระอิศวร

        ๒.) วันที่สอง  เป็นวันจ่าย คือ การไปซื้อของไหว้ อันได้แก่ กระดาษเงิน กระดาษทอง ขนม เป็ด ไก่ หมู ผลไม้ (จะนิยมส้ม เพราะส้มเป็นสีทองอันถือว่าเป็นมงคล) และดอกไม้ธูปเทียนของไหว้ที่สำคัญ เรียกว่า ซาแซ และสาคูต้มสุกใส่สีแดง ซึ่งเชื่อว่าทำให้เกิดความสามัคคี

       ๓.) วันที่สาม  คือ วันไหว้ ส่วนใหญ่จะพากันไปไหว้ที่ศาลเจ้า ส่วนการไหว้กันตามบ้านเรือนนั้น ถือเป็นการไหว้ผีไม่มีญาติหรือบรรพบุรุษ และในการไหว้นี้จะมีการจุดประทัดที่ไล่ผีที่จะมาทำร้าย

      ๔.) วันถือ     เป็นวันหยุดประกอบกิจการงาน และมีความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางโดยมีหลักความเชื่อ และหลักปฏิบัติ ๔ ประการ คือ

            ๔.๑ ไม่พูดคำหยาบตลอดวัน เพราะถ้าใครพูดคำหยาบในวันนั้นแล้วจะได้รับการดูหมิ่นดูแคลนตลอดทั้งปี

            ๔.๒ ไม่กวาดบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นการกวาดเอาเงินทองออกไป จะทำให้เก็บเงินไม่อยู่ตลอดปี

            ๔.๓ไม่ทวงหนี้ เพราะจะทำให้ขาดแคลน

            ๔.๔ ไม่กินน้ำข้าว เพราะถ้าทำเช่นนั้นในวันถือจะประสบอุปสรรค คือ เดินทางไปประกอบธุรกิจจะพบฝนกลางทาง ทำให้การติดต่อธุรกิจไม่สะดวก

          อนึ่ง ในเทศกาลตรุษจีนนี้ ลูกหลานก็จะพากันไปคารวะผู้อาวุโสในตระกูลเพื่อขอพร และผู้ใหญ่หรือนายจ้างก็จะแจกเงินแก่ลูกหลานหรือลูกจ้าง เรียกว่า เงินแตะเอียหรืออั่งเปา ผู้ประกอบธุรกิจก็อาจถือโอกาสหยุดกิจการเพื่อตนเองและครอบครัว รวมทั้งลูกจ้างได้หยุดพักผ่อน หลังจากที่ได้ตรากตรำกับภารกิจมาตลอดทั้งปี เพื่อจะได้มีพลังกายและพลังความคิดไว้ดำเนินธุรกิจในปีใหม่

 ๕.)พิธีกินเจ

       กินเจเป็นพิธีปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะสำหรับชาวญวนและจีน รวมถึงชาวไทยเชื้อสายจีนและญวนด้วย และปัจจุบันนี้ ก็มีชาวไทยจำนวนมากที่นิยมกินเจในเทศกาลกินเจด้วยเช่นกัน โดยเทศกาลกินเจเริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึง ๙ ค่ำ เดือน ๙ ตามปฏิทินจีน จุดมุ่งหมายของพิธีกินเจคือ เพื่อบูชาพุทธเจ้า ๗ องค์ และพระโพธิสัตว์อีก ๒ องค์ ซึ่งผู้ที่สมาทานกินเจ จะพากันสละโลกียวัตร บำเพ็ญศีล ถือตบะข้อมังสวิรัติ บริโภคแต่ผักและผลไม้ ไม่กระทำกิจอันเป็นการเบียดเบียนก่อความเดือนร้อนแก่สัตว์ทั้งมวล โดยยึดหลักวิรัติ ๓ ประการ ได้แก่

       ๑.) ไม่เอาชีวิตของสัตว์มาต่อเติมบำรุงชีวิตของเรา

       ๒.)ไม่เอาเลือดของสัตว์มาเป็นเลือดของเรา

       ๓.) ไม่เอาเนื้อของสัตว์มาเป็นเนื้อของเรา

       บุคคลสมาทานวิรัติธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ ได้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชำระกาย วาจา และใจหมดจด นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ มุ่งปฏิบัติธรรมในวัดหรือโรงพิธีกรรม โดยการจัดดอกไม้ธูปเทียน ไปจุดบูชาเทพเจ้าทั้ง ๙ องค์ และต้องจัดหาเครื่องกระดาษทำเป็นรูปเครื่องทรง เสื้อผ้า หมวก รองเท้า กระดาษเงิน และกระดาษทองไปน้อมถวายเป็นสักการะเพื่อขอพรให้ประทานความสมบูรณ์พูนสุขให้

๖.)  พิธีทิ้งกระจาดแจกไทยทาน (ซิโกวโพ่วโต่ว)

       พิธีทิ้งกระจาดแจกไทยทาน (ซิโกวโพ่วโต่ว) เป็นพิธีโปรดวิญญาณผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว 

         รายละเอียดขั้นตอนการประกอบพิธีโยคกรรมเปรตพลี

         พิธีทิ้งกระจาดแจกไทยทานนี้จะเริ่มพิธีจากพระสงฆ์สวดอัญเชิญพระรัตนตรัยเป็นประธาน  พระภิกษุผู้เป็นประธานสงฆ์เป็นผู้ประกอบพิธี เรียกว่า พระวัชรธราจารย์ (เสี่ยงซือ) เป็นตัวแทนของ   พระโพธิสัตว์ประกอบพิธีโปรดสรรพสัตว์ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์  ชำระมณฑลพิธีให้บริสุทธิ์ด้วยพลังแห่งพระสัทธรรม  ระหว่างการประกอบพิธี พระวัชรธราจารย์จะใช้วัชรมัณฎา (กระดิ่งวัชระ), วัชราวุธ, และ วัชรคฑา (รูปวัชระเป็นตัวแทนของธรรมซึ่งเปรียบประดุจอาวุธของพระโพธิสัตว์ที่ใช้ใน การปราบมาร คือ กิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไปจากเหล่าสัตว์โลก) จากนั้น จึงถวายรูปมณฑลบูชาเพื่อเป็นตัวแทนโลกธาตุแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อ ทรงโปรดสรรพสัตว์ และประกอบพิธีถวายเครื่องพุทธบูชาทั้ง ๖ ได้แก่ ดอกไม้ เครื่องหอม ตะเกียง น้ำหอม ผลไม้ และดนตรีแด่พระรัตนตรัย และอัญเชิญพระบารมีแห่งอดีตพระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์    เมื่อสวดสาธยายอัญเชิญพระบารมีพระพุทธเจ้า  ๗  พระองค์แล้วประกอบมุทรา  คือ  การทำมือเป็นสัญลักษณ์ต่าง  ๆ  ของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์   การเพ่งจิตไปยังสัตว์ในไตรภูมิแห่งสัตว์โลกทั้งหลายที่ทนทุกข์ทรมานให้ยึด ถือพระสัทธรรมเป็นดุจมหาธรรมนาวา  ช่วยขนสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกขเวทนา   สุดท้ายพระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ส่งวิญญาณของเหล่าสรรพสัตว์ไปยังแดนสุขาวดี  และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้บำเพ็ญทานและผู้เข้าร่วมในพิธีทุกท่าน ให้ได้รับอานิสงส์ผลบุญผลทานจากการประกอบพิธีโยคะกรรมเปรตพลีนี้โดยทั่วกัน

๗.) พิธีกงเต็ก

       การ ประกอบพิธีกงเต็กในปัจจุบันนี้ยังคงยึดถือกระทำกันในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน อยู่โดยมีการจัดทำกันในศาลาสวดศพในวัดต่างๆ หรือสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งจะต้องมีบริเวณในการทำพิธีที่กว้างขวาง ซึ่งในปัจจุบันนี้ การประกอบพิธีกงเต็กนั้น แบ่งได้ ๒ แบบตามช่วงเวลาของระยะเวลาการประกอบพิธี

       ๑.) งานเช้า  เป็นการจัดทำพิธีกงเต็ก ในช่วงเช้าถึงค่ำ (ประมาณ ๐๙.๐๐ น. –๒๒.๐๐ น.)

      ๒.) งานบ่าย เป็นการจัดทำพิธีกงเต็ก ในช่วงบ่ายถึงค่ำ (ประมาณ ๑๔.๐๐น. – ๒๒.๐๐ น.)

      การทำพิธีกงเต็กในปัจจุบันนี้ขั้นตอนหรือลำดับขั้นของการทำพิธีบางพิธีได้มี การเปลี่ยนแปลงไปกับลำดับขั้นตอนการประกอบพิธีกงเต็กในอดีต เนื่องจากบางพิธีมีการเพิ่มเข้ามา และมีบางพิธีไม่มีการประกอบแล้วในปัจจุบัน ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ที่ประกอบกันในปัจจุบันมีดังนี้

      ขั้นตอนที่ ๑ การบูชาพระรัตนตรัย คือ การบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยมีการอาราธนาศีล และการสมาทานเบญจศีล ซึ่งไท้ก๋า (พระภิกษุผู้นำทำพิธี) จะเป็นผู้ให้ศีล ถือว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธในประเทศไทย

     ขั้นตอนที่ ๒ พิธีชุมนุมเทวดา เชื่อว่าเป็นการอัญเชิญเทวดามาเป็นทิพย์พยานในการบำเพ็ญกุศลให้กับดวงวิญญาณ โดยพิธีนี้มีการประกอบกันที่โต๊ะของท้าวมหาชมพูซึ่งจัดไว้ให้หันหน้าเข้าหา โต๊ะของพระรัตนตรัย มีการสวดมนต์ และอ่านประกาศพทุธฎีกา (เทียบเชิญ) จากนั้นมีการนำพุทธฎีกาไปเผาพร้อมกับเทวทูตทรงม้า (ซึ่งทำโดยกระดาษ) ซึ่งถือว่าเป็นผู้อัญเชิญพุทธฎีกา ซึ่งเชื่อว่าจะส่งพุทธฎีกานี้ไปทางพื้น สำหรับพระโพธิสัตว์

        ขั้นตอนที่ ๓ พิธีเชิญวิญญาณ เป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณของผู้ตายจากปรโลกให้มาสิงสถิตอยู่ในดวงวิญญาณจำลอง (ทำจากกระดาษ) และใช้แผ่นกระดาษเขียนชื่อและแซ่ของผู้ล่วงลับ ซึ่งชาวจีนเรียกว่า “แกขิ้น” ภาษาญวนเรียกว่า “บ๊ายหยี่”

      ขั้นตอนที่ ๔ พิธีประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้ (อาบน้ำดวงวิญญาณ) เป็นการนำดวงวิญญาณนั้นมาชำระให้สะอาด สดชื่น เพื่อให้ดวงวิญญาณนั้นได้เฝ้าพระรัตนตรัย และฟังพระสวดมนต์ ซึ่งในพิธีนี้มีการนำดวงวิญญาณมาขอขมากรรมต่อพระรัตนตรัย โดยให้เจ้าภาพจับโคมวิญญาณโยกไปมาโดยพระจะเป็นผู้นำในการกระทำการโยกดวง วิญญาณ ซึ่งเจ้าภาพต้องจัดเตรียมอ่างน้ำ ผ้าเช็ดหน้า โดยให้เจ้าภาพคนใดคนหนึ่ง (โดยส่วนใหญ่จะเป็นลูกสาวของผู้ตาย) เป็นผู้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดดวงวิญญาณจำลองสามครั้ง

       ขั้นตอนที่ ๕ พิธีประกาศสวดพระพุทธมนต์ เมื่อดวงวิญญาณได้ขอขมากรรมต่อ     พระรัตนตรัยแล้ว พระสงฆ์จะได้สวดมนต์ และอ่านประกาศพุทธฎีกาให้ทราบเพื่อกราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสาม พระองค์ ถึงการประกอบพิธีกงเต็กให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่ออ่านพุทธฎีกาเรียบร้อยแล้วก็เอาพุทธฎีกานั้นไปเผา พร้อมกับเทวทูตทรงนก ซึ่งเชื่อกันว่าจะส่งพุทธฎีกานี้ไปทางอากาศ สำหรับส่งให้พระพุทธเจ้า

       ขั้นตอนที่ ๖ พิธีนำดวงวิญญาณกราบไหว้พระรัตนตรัย กระทำโดยการให้ลูกชายคนโตจับดวงวิญญาณจำลองตามจังหวะการเคาะระฆัง (จวง) ของพระ โดยพระภิกษุผู้นำทำพิธี (ไท้ก๋า) จะเป็นผู้นำในการทำดวงวิญญาณโยกไปมาเพื่อกราบไหว้พระรัตนตรัย เพื่อดวงวิญญาณจะได้ไปอยู่ยังภพที่ดี

       ขั้นตอนที่ ๗ พิธีถวายข้าพระพุทธ (พิธีประชุมกุ๊งหงอ หรือกุ๊งฮุก) เป็นพิธีถวายเครื่องกระยาหารเป็นพุทธบูชาในเวลากลางวัน ซึ่งพระสงฆ์ยืนสวดมนต์ถวายพระพุทธรูป ซึ่งถือเป็นการเสร็จพิธีในช่วงเช้า หรือช่วงที่ ๑ (ในกรณีของกงเต็กเช้า ถ้าบ่ายก็งดพิธีนี้ไว้)

        ขั้นตอนที่ ๘ พิธีสวดพระพุทธมนต์ให้กับดวงวิญญาณ เป็นการสวดมนต์อุทิศให้กับดวงวิญญาณในช่วงบ่าย (ในกรณีของกงเต็กงานเช้า ถ้างานบ่ายก็งดพิธีนี้)

        ขั้นตอนที่ ๙  พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ มีการจัดอาหารคาวหวาน เพื่อเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถือเป็นการเลี้ยงอาหารบรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้วให้อิ่มหน่ำสำราญ และยังมีเงินทอง เสื้อผ้า และของใช้ต่างๆ (ทำจากกระดาษ) เผาอุทิศให้ด้วย

        ขั้นตอนที่ ๑๐ พิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว มีการประพิธีเหมือนกับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ แต่บทสวดที่พระใช้นั้นต่างกัน ถือเป็นการเสร็จพิธีในช่วงบ่าย หรือช่วงที่ ๒

        ขั้นตอนที่ ๑๑ พิธีปลุกระฆังเวียนเทียนและโปรยดอกไม้ เป็นการตีระฆังประกาศให้ได้ยินทั่วโลก และเป็นการเชิญดวงวิญญาณมาฟังสวดพระอภิธรรม พิธีนี้มีการบริกรรมคาถา และตีระฆังเป็นระยะ โดยพระภิกษุจะจุดเทียน เดินเวียนเทียนสลับกันไปมา โดยแบ่งออกเป็น ๒ แถว และให้ลูกชายคนโตและคนรองเดินเวียนเทียนตามแถวพระคนละแถวในช่วงเวียนเทียน ก่อนจะจบพิธี

       ขั้นตอนที่๑๒ พิธีเดินข้ามสะพาน ซึ่งในการประกอบพิธีนี้เป็นการพึ่งอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย อาราธนาพระสงฆ์นำดวงวิญญาณมาใช้หนี้สินที่ติดค้างไว้กับท่านเจ้าคลังตั้งแต่ เกิดมาเป็นมนุษย์ ในระหว่างพิธีนี้จะต้องมีสะพาน (จำลองขนาดเล็ก) และวางอ่างน้ำที่คอสะพาน ๒ ฝั่ง และมีรูปเจ้านายคลัง (ทำจากกระดาษ) ตั้งอยู่ ระหว่างเดินข้ามสะพานลูกหลานต้องหยอดเหรียญ ๒ เหรียญ ที่คอสะพานทั้ง ๒ ข้าง ข้างละ ๑ เหรียญ เมื่อถึงโต๊ะที่ตั้งรูปเจ้านายคลัง พระสงฆ์สวดมนต์อ่านประกาศให้พระองค์ทราบ โดยในการเดินนั้นจะต้องเดินข้ามไป ๓ รอบ (เชื่อว่า ข้ามเอาเงินไปใช้หนี้แทนดวงวิญญาณผู้ที่ล่วงลับ) และข้ามกลับ ๓ รอบ (เชื่อว่า กลับมายังโลกมนุษย์)

       ในพิธีเดินข้ามสะพานนี้ ในช่วงของการข้ามสะพานจะไม่อนุญาตให้ญาติที่เป็นผู้หญิงที่มีรอบเดือนข้าม สะพาน เพราะถือว่าอยู่ในช่วงไม่สะอาด แต่จะให้เดินอ้อมสะพานแทน

     ขั้นตอนที่ ๑๓ พิธีไทยทานทั้งกระจาด (พิธีนี้สามารถตัดออกได้ ถ้าเจ้าภาพไม่ต้องการ)

           ๑๓.๑ พิธีประกาศชักธง พระสงฆ์สวดมนต์และเคาะระฆังสลับเป็นระยะๆ พร้อมกับให้เจ้านายยกถาดใส่ธง ๒ ผื่น เพื่อประกาศให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์นชั้นฟ้า มนุษย์ และในปรโลกทราบ และเชิญองค์ประธาน ในการบำเพ็ญบุญทิ้งกระจาดนี้

           ๑๓.๒พิธีลอยกระทง ถือเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปทางน้ำ พระสงฆ์จะสวดมนต์พร้อมมีการเคาะระฆังเป็นระยะๆ มีการกระทำกระทงใบตองหรือกระดาษ ๓๖ กระทง ลอยไปตามแม่น้ำลำคลองเพื่ออุทิศให้กับปรทัตตูปชีวีเปรตทั้ง ๓๖ จำพวก ให้มารับส่วนบุญส่วนกุศลจากไทยทานทิ้งกระจาดนี้

            ๑๓.๓  พิธีทิ้งกระจาด พิธีนี้เจ้าภาพต้องเตรียมอาหารคาว-หวาน เพื่อทำการประกอบพิธีไทยทานทิ้งกระจาด (ตามความเชื่อได้บุญมาก) พร้อมทั้งข้าวของต่างๆ ในการทำพิธีนี้ต้องตั้งไว้ที่ด้านหน้าโต๊ะ    พระยายมราชเจ้า ซึ่งตามความเชื่อว่าเป็นภาคหนึ่งขององค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กวนอิม) มีการจัดโต๊ะพิธีให้พระสงฆ์ที่เป็นประธานนั่งบนโต๊ะพิธี พระที่เหลือนั่งรอบๆ โต๊ะพิธี โดยพระผู้เป็นประธานในพิธีมีการแต่งกายคล้ายกับพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ โดยมีการใส่เหมา (หมวก) และเผิกกวาง (เป็นที่คาดหมวกมีรูปพระพุทธเจ้า ๕ องค์) มีการสวดมนต์ และมีการโปรยทาน (เศษเงิน ดอกไม้ และซาลาเปา) จากนั้นเจ้าภาพจะทำการแจกทานให้กับคนยากจน

         ขั้นตอนที่ ๑๔ พิธีเผากระดาษ ทางฝ่ายเจ้าภาพมีการจัดเตรียมเครื่องกระดาษสมมุติเป็นสิ่งของเครื่องใช้ ต่างๆ เช่น บ้าน คนใช้ เครื่องใช้สอย เงินทอง ฯลฯ โดยเชื่อว่าการเผากระดาษนี้เป็นการส่งข้าวของเครื่องใช้ฝากไว้กับพระภูมิ เจ้าที่ เพื่ออุทิศให้แด่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อผู้นั้นถึงโอกาสจึงมารับได้จากพระภูมิเจ้าที่บริเวณวัดที่มีการเผานั้น

       ขั้นตอนที่ ๑๕ พิธีลาคัม และโต๊ะบูชา เป็นการลาพระรัตนตรัย และอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย เป็นอันเสร็จพิธีในช่วงสุดท้าย

๘) พิธีทิ้งกระจาด

         งาน ประเพณีทิ้งกระจาดเป็นประเพณีความเชื่อของชาวจีน ถือว่าเป็นการทำบุญทำทานให้แก่บรรดาภูตผีที่ไม่มีญาติทั้งหลาย ซึ่งจะถูกปล่อยจากยมโลก มารับบุญบนโลกมนุษย์ปีละครั้งก่อนกลับไปรับผลกรรมที่เคยสร้างไว้เมื่อเป็น มนุษย์ การจัดงานจะมีขึ้นในเดือน ๗ ของจีน (ตรงกับเดือน ๙ ของไทย) โดยงานจะถูกจัดขึ้นเป็นเวลา ๓ ถึง ๗ วันสัญลักษณ์ ของงานประกอบด้วย ๑) หอสำหรับการทิ้งกระจาด ๒) ข้าวสารอาหารแห้ง สิ่งของที่มีผู้บริจาคมาจัดไว้บนหอนั้น ๓) หุ่นยมบาลหรือที่ชาวจีนเรียกว่า ไต้สื่อเอี้ย แต่งกายแบบนักรบโบราณ มีความสูงไม่ต่ำกว่า ๔ - ๕ เมตร ข้างหน้ามีกระดาษเงินกระดาษทอง ข้าวของเครื่องใช้จากกระดาษที่คนนำมาบริจาคให้ผีไม่มีญาติ โดยท่านยมบาลจะคอยควบคุมดูแล ให้ข้าวของต่าง ๆ ไปถึงผีไม่มีญาติโดยครบถ้วนพิธีบูชาดาวนพเคราะห์พิธี บูชาดานพเคราะห์ เป็นพิธีซึ่งจัดขึ้นเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบูชาดาวนพเคราะห์ประจำปีเกิดของแต่ละคน พิธีต่างๆที่จัดขึ้น เช่น การบูชาตะเกียงน้ำมันสำหรับผู้ที่เกิดปีชง การบูชาเทียน การลงชื่อพระเก่ง เพื่อที่พระจะได้สวดมนต์ให้ เป็นต้น สำหรับผู้ใดที่เกิดปีชงจำเป็นต้องมาเช้าร่วมพิธีบูชาดาวนพเคราะห์ด้วยตนเอง เพื่อเคราะห์ร้ายจะได้เบาลง และยังมีบูชาเทพเจ้าโหงวโล้วไฉ่ซิง เพื่อขอพรขอโชคงานบูชาดาวนพเคราะห์ จะจัดในช่วงตรุษจีน เพราะในช่วงนี้พุทธศาส      นิกชนเชื้อสายจีนส่วนใหญ่จะออกไหว้พระขอพรตามวัดต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลในการดำเนิดชีวิต และต่อละวัดในนิกายมหายานจะจัดงานนี้ไม่ตรงกัน

๙) พิธีกงเต็ก

คำว่า กงเต๊ก เป็นคำสองคำประกอบกัน กง แปลว่า ทำ เต๊ก แปลว่า บุญกุศล กงเต๊ก หมายถึง การที่ลูกหลานทำบุญกุศลทั้ง ทำแทนตัวผู้ตายและทำให้ผู้ตายด้วย เพื่อให้ผู้ตายได้กุศลผลบุญมากพอที่จะไปขึ้นสวรรค์ พิธีกงเต็กเป็นพิธีที่สำคัญในพิธีศพของชาวจีน แสดงถึง ความกตัญญูของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษและสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้าง ครอบครัว ค่านิยมและความเชื่อของชาวจีน ชาวจีนโพ้นทะเลส่วนใหญ่เชื่อว่าการทำพิธีกงเต็ก  เป็นการแสดงความกตัญญู และ         ตอบ แทนบรรพบุรุษของตน เพื่อให้ท่านมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย เช่นเดียวกับตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งจะเห็นได้จากความหมายของขั้นตอนต่างๆ ในพิธี ถึงแม้ว่าสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในพิธีกงเต็ก แต่พิธีกงเต็กก็ยังคงเป็นการแสดง        อัตลักษณ์ของชาวจีนในเรื่องของค่านิยม ความกตัญญูและความผูกพันภายในครอบครัวและสายตระกูลงานการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ (กุยอี)

ชาวพุทธศาสนิกชนมักรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าพระรัตนตรัยตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้ (บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ) ก็ได้เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพื่อโปรด ปัญจวัคคีย์ให้เป็นพระอริยสงฆ์ในเวลานั้นก็ได้เกิดพระรัตนตรัยขึ้นครั้งแรก ในโลก คือมี พระพุทธ 佛 ซึ่งเป็น พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระธรรม  คือ อริยสัจ๔ พระสงฆ์ คือ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ การมอบตัวเป็น พุทธมามกะ  หรือกุยอีในนิกายมหายาน  ซึ่งถือว่าเป็นศิษย์ของพระตถาคต และมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งโดยแท้จริง กุยอี มีความหมายตามหลักพระพุทธศาสนาดังนี้

 

ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า พระองค์ผู้เลิศกว่าศาสดา    และมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นสรณะ

ข้าพเจ้าถึงพระธรรมอันเลิศ ด้วยธรรมอันบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส เป็นสรณะ

ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ ผู้เป็นยอดแห่งหมู่คณะทั้งหลายเป็นสรณะ

ผู้ ที่จะมอบตัวเป็นพุทธมามกะนั้น โดยทั่วไปเริ่มแรกมักจะมีความศรัทธาที่ไม่มั่นคงมีปณิธานที่แน่วแน่ ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นเกิดกำลังใจที่เข้มแข็งต่อสู่กับอุปสรรคต่างๆ ด้วยจิตใจที่มั่นคงและยังเป็นการปลูกเมล็ดกุศลขึ้นในจิตใจอีกด้วย

 

งานบูชาพระแม่กวนอิม (อาเนี๊ยแซ)

ภาย ใน ๑ ปีจะมีงานบูชาพระแม่กวนอิมอยู่ด้วยกัน ๓ ครั้ง คือ ก่อนวันที่ ๑๙ เดือน ๒ เดือน ๖ และเดือน ๙ ตามปฏิทินจันทรคติจีน ซึ่งเป็นวันที่เกี่ยวกับพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์คือ วันคล้ายวันประสูติของพระโพธิสัตว์ วันบรรลุธรรมแห่งการเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ โพธิสัตวมรรค และวันถือเพศเป็นบรรพชิตของพระโพธิสัตว์ ตามลำดับทางวัดจะจัดงานบูชาพระแม่กวนอิมโดยจะจัดในวันอาทิตย์ก่อนวันของพระโพธิสัตว์ เพราะเป็นการสะดวกของสาธุชนที่จะได้เข้ามาร่วมศาสนพิธี โดยภายในพิธีกรรมก็ให้ผู้ที่เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมโดยการให้ถวายไม้แก่น จันท์หอมแด่พระแม่ มีการสวดมนต์สรรเสริญและร่วมกันเวียนรูปหอมเป็นเครื่องบูชา

เทศกาลกินเจเดือน ๙ (เก้าอ๊วงเจ)

พิธีการ กินเจเดือนเก้า หรือ เทศกาลกินเจ กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๙ ค่ำ เดือน ๙ ตามปฏิทินจีนทุกปี รวม ๙ วัน ๙ คืน ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน มีอรรถาอธิบายว่า “เป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล ๗ พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก ๒ พระองค์ รวมเป็น ๙ พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าดาวนพเคราะห์ทั้ง ๙ อันมีพระอาทิตย์, พระจันทร์, ดาวพระอังคาร, ดาวพระพุธ, ดาวพระพฤหัสบดี, ดาวพระศุกร์, ดาวพระเสาร์, พระราหู และพระเกตุ ในพิธีกรรมสักการะบูชา พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก ๒ พระองค์นี้ สาธุชนในพุทธศาสนาต่างจะพากันสละเวลาและละกิจทางโลกมาบำเพ็ญศีลตั้งปณิธานกิน เจ บริโภคแต่อาหารผักและผลไม้ งดเว้นอาหารเนื้อของสดคาว ด้วยการสมาทานรักษาศีล ๓ ข้อ กล่าวคือ

๑.เว้นจาการเอาชีวิตของสัตว์มาบำรุงชีวิตตน

๒.เว้นจากการเอาเลือดของสัตว์มาเพิ่มเลือดตน

๓.เว้นจากการเ

หมายเลขบันทึก: 501536เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2012 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2012 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สาะุครับอยากสอบว่ามหายานในประเทศไทยใช้พระสูตรอะไรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท