ยาอภัยสาลี ยากระเพาะ รักษา โรคปอด ผลงานทีม รพ.เทิง


งานมหกรรมสมุนไพรและแพทย์แผนไทย ปี 2555 นี้

จะมีการนำเสนอ ผลงาน ทางวิชการ ที่ผ่านการคัดเลือก จากผลงานจำนวนมาก  ให้มานำเสนอ  ในวันที่ 6 กันยายน 55

ที่น่าสนใจ คือ ผลงาน ของ พยาบาล และแพทย์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล  เป็นแพทย์สมัยใหม่  

การใช้ยาตํารับอภัยสาลีเสริมยาแผนปัจจุบันในการรักษา. ผู้ป่วย โรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง.

มนัชยา มรรคอนันตโชติ. โรงพยาบาลเทิง จังหวัดเชียงราย ...

15.15 – 15.30 . OC 32

 

แนวทางการดูแลผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยการแพทย์

แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

นพ.  ศักดิ์ชัย มรรคอนันตโชติ   ผอ.รพ. เทิง จังหวัด เชียงราย

15.30 – 15.45 . OC 33

 

 ตัวตำรับยา อภัยสาลี

ข้อบ่งใช้:                บำบัดโรคลม บรรเทาอาการจุกเสียดแน่น
ขนาดและวิธีใช้:  รับประทานครั้งละ 1.5 – 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

สูตรตำรับ:

ในผงยา 181 กรัม ประกอบด้วย
1. หัศคุณเทศ หนัก 24 กรัม พริกไทยล่อน แก่นจันทน์เทศ หนักสิ่งละ 16 กรัม รากเจตมูลเพลิงแดง หนัก 12 กรัม
2. หัวบุกรอ หนัก 15 กรัม เนื้อลูกสมอไทย เนื้อลูกสมอเทศ หนักสิ่งละ 13 กรัม
3. เทียนแดง หนัก 11 กรัม เทียนข้าวเปลือก หนัก 10 กรัม เทียนตาตั๊กแตน หนัก 9 กรัม เทียนขาว หนัก 8 กรัม
4. โกฐเขมา หนัก 9 กรัม โกฐสอ หนัก 8 กรัม
5. เหง้าว่านน้ำ หนัก 7 กรัม ดอกกานพลู หนัก 4 กรัม ลูกกระวาน หนัก 3 กรัม ดอกจันทน์ หนัก 2 กรัม ลูกจันทน์ หนัก 1 กรัม
6. ลูกพิลังกาสา หนัก 6 กรัม

 

จากประสบการณ์  ชาวบ้านประชาชน คนภาคเหนือ ส่วนหนึ่ง หรือ ส่วนใหญ่ เป็นโรคขาดความอบอุ่น  จาก ความหนาวเย็นมากในฤดูฝนหนาว

อากาศที่ร้อนจัดด้วย ในฤดูร้อน  ชาวบ้านก็ปรับตัวเองไม่เป็น เกิดอาการขาดความชุ่มชื้น จากช่วงฤดูร้อน  จึงนุ่งห่มเสื้อผ้ากางเกง ให้เย็น 

แต่พอ อากาศเย็น ก็เย็นเกิน   จึงเป็นกลุ่มอาการโรคเสมหะกำเริบ จากความเย็น   เราก็ตั้งชื่อเรียกตามฝรั่ง เป็นโรคทางปอดต่างๆนานา   ใช้ยาพ่นราคาแพง  ตามผู้เชี่ยวชาญแบบฝรั่ง

ยังโชคดีของประเทศไทย ของเขตล้านนา ที่มีหมอศักดิ์ชัย มรรคอนันต์โชติ อดีตเป็นแพทย์น้อย อยู่ที่ รพ พญาเม็งราย  ซึ่งมี นพ.ธารา อ่อนชมจันทร์ ผู้บุกเบิกแพทย์แผนไทย ใน รพ.ชุมชน ของ จ เชียงราย   ต่อมา คุณหมอศักดิ์ชัย ย้ายไปเป็นผอ. รพ.เทิง และ พัฒนาระบบการแพทย์แผนไทยขึ้น  จนผลิตยาสมุนไพรใช้ ได้จำนวนมาก  

ภรรยาคุณหมอเป็นพยาบาล (เรียก พี่แก้ว) ได้ช่วยพัฒนางานการแพทย์แผนไทย ต่อยอด   จนมีความรู้ และ จะนำเสนอ  การใช้ยารักษาแน่นท้อง กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

คำอธิบาย โรคแน่นท้องจุกเสียด  ยากลุ่มหนึ่งที่ใช้ได้ผล คือ ยาร้อน

ในขณะที่ ยาร้อน ก็จะใช้แก้รักษา อาการเสมหะ กำเริบ

ตัวอย่าง ขิง ใช้แก้อาการอาเจียน  ไอมีเสมหะ

การแพทย์จีน สอนว่า   ขิง ใช้รักษา กลุ่มปัญหา กระเพาะเย็น และ ปอดเย็น

  สมุนไพรอื่นหาไม่ยาก ที่ใช้รักษา ปัญหากระเพาะเย็น ปอดเย็น คือ เปลือกอบเชย

หากมีปัญหา กระเพาะร้อน ปอดร้อน อาจจะเลือกใช้    เกลือจืด รักษาได้

 

 ขอคารวะ จิตวิญญาณ อาจารย์หมออวย เกตุสิงห์  ผู้เป็นหมอแผนปัจจุบัน แต่ฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย ตั้งแต่ ยุค ๒๕๒๓

อาจารย์หมอ อวย เกตุสิงห์ ซึ่งมองเห็นความสำคัญของวิชาแพทย์เดิมดังกล่าวแล้ว และเห็นว่าในปัจจุบันวิชาแพทย์แผนเดิมของไทยอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมมากด้วยเหตุผลหลายประการจึงประกาศ "โครงการฟื้นฟูการแพทย์ไทยเดิม" ขึ้นเมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๓ และได้อนุญาตจัดตั้งมูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมขึ้น เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยมีจุดประสงค์สำคัญคือ
     ๑. ฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับวิชาแพทย์ไทยเดิม
     ๒. ส่งเสริมการวิจัยและการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพของประชาชน
     ๓. ส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาและการปฏิบัติวิชาแพทย์ไทยเดิมที่มีมาตรฐานสูงขึ้น

 หลังจากที่ได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นโรงเรียนได้ คณะกรรมการมูลนิธิได้รับดำเนินการโดยด่วน เพื่อให้เปิดในปีสมโภชน์รัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ได้ทำการรับสมัครสอบ และเปิดเรียนเป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๕ มีผู้สมัครเข้าสอบ ๘๗ คน และรับได้ ๒๘ คน

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของมูลนิธิฯ และอนุญาตให้ใช้อาคารของมหามกุฏราชวิทยาลัย(โรงเรียนบวรนิเวศหลังเดิม) เป็นสถานที่ตั้งสำนักงานและห้องเรียน และต่อมาได้ให้โรงพิมพ์เก่าเป็นที่ตั้งสถานเวชกรรมสำหรับตรวจรักษาคนไข้

ถือว่า จะครบ ๓๐ ปี  ในเดือน ธค นี้ 

ผมไม่ได้เป็นลูกศิษย์ท่านโดยตรง แต่ซื้อหนังสือตำรา ที่ท่านแต่งมาอ่านศึกษา และ ได้หาโอกาสพบปะท่านในปี ๒๕๓๐  ที่ วัดบวร โรงเรียนอายุรเวท  ซึมซาบจิตวิญญาณ   พยายามทำงาน ร่วมอุดมการณ์เดียวกับท่าน มาเรื่อย

ท่าน  เกิด ๓ กันยายน ๒๕๕๑   และจากไป ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๓  

อวย เกตุสิงห์.jpg

 

หมายเลขบันทึก: 501149เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2012 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2012 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณข่าวสารและความรู้ครับ คุณหมอ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท