เที่ยวสุโขทัยเมืองมรดกโลก(๒)


...หลังจากได้ข้อมูลเบื้องต้นของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย แล้ว เราตกลงใจว่าเริ่มจากทางทิศเหนือของกำแพงเมืองเก่าก่อน..วัดศรีชุม ครับ ว่ากันว่า.."ถ้าใครมาเยือนสุโขทัยแล้วไม่ได้มากราบไหว้ พระอจนะ ก็เหมือนมาไม่ถึงสุโขทัยเลยทีเดียว"

พระ อจนะ พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่สูง ๑๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๑๑.๓๐ เมตร สันนิฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ประชาชนมักนิยมปิดทองที่พระหัตถ์ข้างขวาของ พระอจนะ  "พระพูดได้" ตามตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ.๒๑๒๗ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงแล้ว ให้หัวเมืองต่าง ๆ เลิกส่งส่วยให้พม่า  แต่เมืองสวรรคโลกและเมืองวิชัยไม่ยอมทำตามพระราชโองการ พระองค์จึงเสด็จนำทัพมาปราบและได้รวมพลที่วัดแห่งนี้ แต่เหล่าทหารไม่มีกำลังใจในการรบเพราะเป็นการรบระหว่างคนไทยด้วยกัน สมเด็จพระนเรศวรจึงทำพิธีบวงสรวง พระองค์ทรงให้ทหารคนหนึ่งแอบเข้าไปในอุโมงค์ตรงช่องหลังเศียรพระพูดให้กำลังใจทหาร เมื่อทหารได้ยินก็เข้าใจว่าพระพูดได้เป็นปฏิหาริย์ก็เกิดกำลังใจในการรบ...

มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดสูง ๑๕ เมตร กว้าง ๓๒ เมตร ที่ประดิษฐาน พระอจนะ

..ภายในมณฑปทางด้านซ้ายมีทางเป็นอุโมงค์ขึ้นไปทางด้านหลังพระพุทธรูป ส่วนบนเพดานของอุโงค์มีภาพจารลายเส้นบนหินชนวนเล่าเรื่อง พุทธชาดก ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง..

...จากวัดศรีชุม  เราไป วัดพระพายหลวง ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน..

ภายในมณฑปจะประดิษฐานพระพุทธรูปเดิน ยืน และนอน

พระปรางค์สามยอด ปัจจุบันเหลือสมบูรณ์ยอดเดียวด้านทางทิศเหนือ..วัดพระพายหลวง ในยุคแรกนั้นเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์จากอาณาจักรเขมร เนื่องจากได้พบชิ้นส่วนเทวรูปและฐานศิวลึงค์ ต่อมาถูกปรับเปลี่ยนเป็นวัดพุทธศาสนาแบบมหายาน และพบพระพุทธรูปหินสลักปางนาคปรก ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง

ภาพสันนิฐานวัดพระพายหลวง

....สถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้กันกับวัดพระพายหลวง ที่เราจะผ่านเข้ากำแพงเมืองเก่าชั้นในด้านทิศเหนือทางประตูศาลหลวง คือ บริเวณที่เป็นที่ตั้งของเตาเผาเครื่องสังคโลก ที่เรียกว่า เตาทุเรียง...

บริเวณที่ตั้งเตาทุเรียง ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก

ก่อนจะเข้าไปในเขตกำแพงชั้นใน ก็จะผ่านอีกสองวัดคือ วัดแม่โจน กับวัดตระพังป่าน..

....จากนั้นเราก็จะเข้าเขตกำแพงเมืองชั้นในด้านประตูศาลหลวง...

...บริเวณก่อนถึงประตูทางเข้าเมืองก็จะมีป้อมประตูเมือง...

..เมื่อผ่านประตูศาลหลวงเข้ามาในกำแพงชั้นใน ก็จะเห็นวัดอีกสองวัดคือ วัดสรศักดิ์  วัดซอนข้าว และเทวสถานศาลตาผาแดง...

...ตั้งแต่เช้าจนใกล้เที่ยงแล้วขออนุญาตไปทานข้าวเที่ยงก่อนนะครับ..ช่วงบ่ายไปจนถึงค่ำ เราจะชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง และโบราณสถานในเขตกำแพงชั้นในกันต่อ ครับ..

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่าน

หมายเลขบันทึก: 497457เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2012 02:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2012 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ไหว้พระอจนะ วัดศรีชุม..

ปลาตะเพียนใบลานที่หน้าวัดศรีชุม

ร้านขายของที่ระลึก วัดศรีชุม

ขอบพระคุณท่าน อ.โสภณ Blank และท่าน อ.นุ Blank ที่กรุณาให้กำลังใจ ครับ...:)

สมัยก่อนนิยมแหวนโป่งข่ามไม่ทราบว่าพี่หนุ่มกรรู้จักหรือเปล่า สมัยนี้คงเหลือน้อยเต็มทีค่ะ

ขอบคุณครับ คุณหมูจ๋า Blank  พอรู้จักบ้างนะครับ..เคยมาทำงานที่แม่สอด ว่ากันว่าเป็นแก้วสารพัดนึก..อยากได้เหมือนกันตอนนั้นคิดว่ารอก่อนก็ได้..จนกระทั่งจบภารกิจกลับบ้านก็ยังไม่ได้ซื้อมาครับ..

ขอบคุณครับพี่ใหญ่ Blank ...ให้เกียรติแวะมามอบดอกไม้ให้กำลังใจเสมอครับ...

สวัสดีค่ะBlankพี่หนุ่มกร

แวะมาให้กำลังใจ ในการชมเมืองเก่า เล่าประวัติศาสตร์ค่ะ

 

วัดซอนข้าว"น่าจะ"มีการบูรณะเพิ่มเติมเมื่อปี ๒๕๒๗...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท