สิ่งที่ช่างทำพระเก๊ยังไม่ทำในพระนางพญาพิษณุโลก


เพื่อเป็นการพิจารณาหยิบพระโดยใช่เกณฑ์ขั้นต่ำ สำหรับมือใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์

เมื่อผมนั่งส่องพระนางพญา ผมได้หวนนึกถึงความยากลำบากของการเรียนโดยแทบไม่มีครู

ต้องลุยด้วยตัวเองเกือบตลอดทาง

มีคนเข้ามาชี้ทางบ้างก็เล็กน้อยกระท่อนกระแท่น ไม่ตลอดรอดฝั่ง

ทำให้ผมล้มลุกคลุกคลานมาในแทบทุกเนื้อ ทุกกรุ

แต่ด้วยความตั้งใจที่จะเอาชนะให้ได้ ผมจึงสู้มาตลอด จนถึงฝั่ง ที่ทำให้ได้พระนางพญาเข่าโค้งมาทุกเนื้อ ทุกราคา ตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลักหมื่นกลาง

และใช้พระหลักหมื่นกลางย้อนกลับลงไปดูพระหลักพัน และพระหลักร้อยตามลำดับ

ผมจึงเริ่มจับประเด็นทีละอย่าง ที่ว่าเป็นลักษณะพระแท้ ดูง่าย ไปจนถึงพระแท้ดูยาก ที่อาจจะไปปนกับพระเก๊ดูยาก

สิ่งแรกที่ผมจับประเด็นได้คือ

ร่องทราย ที่มน เนียนรอบๆเม็ดทรายมน

  • ที่ในพระฝีมือมักจะทำแบบไม่เรียบ
  • ทำไม่ครบทุกเม็ด
  • แต่ผมก็ไปหลงตีเก๊พระเนื้อแกร่งที่ไม่มีร่องทราย หรือร่องทรายตื้น
    • แต่ถ้าจับประเด็นได้ แม้จะแกร่งปานใดก็มีร่องทราย แต่ตื้นกว่าเท่านั้น
  • และพลาดไปตีเก๊พระเนื้ออ่อนที่ไม่มีแรงเกาะเม็ดทราย ทำให้ไม่มีร่องทราย มีแต่เม็ดทรายหลุด

 หลักการที่สอง คือ

เม็ดทรายมน โผล่พ้นผิวดิน ที่ส่วนนูน

  • ที่ในพระฝีมือจะมีเม็ดทรายนูน แต่ไม่เรียบ เป็นเหลี่ยมคม
  • ที่ฝีมือจัดจะมีการขัดแต่งเม็ดทรายบ้าง แบบหน้าแบนๆ ไม่มน
    • พระฝีมือเหล่านี้จะพยายามทำคราบโปะในร่องที่แต่งเม็ดทรายไม่ได้
  •  พอจับทางได้ จึงเน้นดูพระที่ผิวค่นข้างสะอาด เห็นเนื้อในร่องได้ชัด
  • แต่ก็ไปหลงตีเก๊พระเนื้อเดิมๆ ที่มีคราบกรุ และคราบปูน

หลักการที่สาม คือ

เม็ดทรายเหี่ยวเป็นริ้วที่ผิวกร่อน

  •  ที่ต้องใช้แสงและเวลาในการดูเม็ดทรายทีละเม็ด ด้วยกล้องส่องกำลังขยายสูง
  • ใช้ได้ผลดี แต่ต้องใช้เวลา อาจทำให้ "หมู" ตื่น
  • เลยต้องแกล้งส่องดูทุกองคืแบบเดียวกัน ให้จับทางเราไม่ได้

หลักการที่สี่ คือ

ดูเนื้อแน่น แกร่งมัน

  •  ที่ทำให้หยิบได้ดีขึ้น
  • แต่ก็ไปหลงตีเก๊พระเนื้ออ่อน และที่มีคราบกรุ คราบปูนปิดบัง

หลักการที่ห้า คือ

ดูพิมพ์

  • เมื่อเริ่มจำพิมพ์ได้
  • สามารถมองพระได้ แม้ก่อนจะหยิบส่อง
  • ช่วยให้ประหยัดเวลา แต่ต้องใช้ความรู้มากทีเดียว 

จากห้าหลักการที่ผมค่อยๆพัฒนามาด้วยตนเอง ผมจึงนำมาปรับให้มือใหม่หัดส่องสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นจริง

  • แบบ"ยัง" ไม่มีความรู้มากนัก และ 
  • เพื่อเป็นการพิจารณาหยิบพระโดยใช่เกณฑ์ขั้นต่ำ สำหรับมือใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์

ที่สามารถหยิบและตัดสินใจพลาดน้อยที่สุด ก็คือ สิ่งที่ช่างยังไม่ได้ทำในพระเก๊ โดยลำดับจากนอกเข้าใน คือ

  • คราบกรุ ที่ต้องเป็นฝุ่นดิน
    • แต่ในพระเก๊อย่างมากก็มีสารเคมีเลอะๆโปะมาบนผิวพระ
  • คราบปูน ที่เป็นปื้นขาวๆ นวลๆ หนาบ้างบางบ้าง
    • ที่ช่างอาจใช้แป้งโปะเลอะๆ ไม่เกาะแน่น ไม่เนียน
  • คราบยุ่ย ที่เป็นเนื้อผุ ของเนื้อพระเดิม ในพระเนื้ออ่อน ที่ต้องมีร่องทรายด้วยเท่านั้น
    • ที่ช่างจะใช้ดินต่างสี ที่มักสีอ่อนๆ มาโปะในร่องโดยไม่ยุ่ย
  • ร่องทราย ที่จะลึกในพระเนื้อกลางๆ ตื้นในพระเนื้อแกร่ง และไม่มีในพระเนื้ออ่อน (แต่จะเป็นหลุมทรายแทน)
    • ที่ช่างมักจะไม่ทำ
    • แต่อาจใช้เม็ดทรายกดลงไปบนผิว เป็นรอยบุ๋มลงในเนื้อดินเหนียว
    •  มองเห็ยรอยการกด มากกว่าการกร่อน
  • ทรายมน แน่น และนูนสูงกว่าผิวพระ
    • ช่างจะทำเหมือนกัน แต่มักจะไม่มน เป็นเม็ดทรายเหลี่ยมๆ คมๆ 
  • ริ้วกร่อนบนเม็ดทรายทุกเม็ดที่โผล่ ที่เป็นการกร่อนโดยธรรมชาติ และหรือกร่อนจากการใช้พระ
    • ถ้ากร่อนโดยธรรมชาติจะเป็นริ้วๆที่ผิวทราย ถ้ากร่อนจากการใช้จะเป็นด้านๆ เม็ดๆ
    • ของเก๊จะใช้วิธีการขัดแต่ง มักจะมีผิวเรียบจากการขัดด้วยเครื่องมือ และทำไม่ได้ทุกเม็ด 

ทั้งหกประเด็นนี้ เป็นสิ่งที่ช่างยังไม่ได้ทำ หรือทำต่างไปจากของจริง

ที่สามารถใช้ในการตัดสินใจหยิบพระได้ครับ

ขอให้โชคดีกว่าผมครับ

หมายเลขบันทึก: 496297เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2012 07:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

แบบองค์นี้พอถึงยุคหรือเปล่าครับ

ด้านหลังครับ

องค์ที่สองครับ

ด้านหลังครับ

ยุคไหนละครับ เนื้อแกล้งทำแบบนี้เจตนาร้ายแน่นอน อย่าไปติดกับการเล่นคำของเซียนเลยครับ ใช้คำจริงๆดีกว่าครับ พระใหม่หรือเก่าก็น่าบูชา ถึงยุคไม่ถึงยุคก็ดีทั้งนั้น ยกเว้นพระเก๊ไม่ควรเล่นครับ


ได้มา 1 องค์ครับอาจารย์ นางพญาเข่าโค้งพิษณุโลก รีบถ่ายภาพโพสมาให้อาจารย์ช่วยดูอีกทีครับ





ขอบตัดด้านข้างครับอาจารย์   รบกวนพิจารณาด้วยครับอาจารย์ 

ดูเป็นดินดิบไหมครับ คราบก็ดูแปลกๆครับ

ไม่มีร่องรอยการเผา และไม่ใช่ดินดิบ

 ผมเดาว่าเป็นพลาสติกอัดครับ อิอิอิอิ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท