ภาษาไทย ภาษาของเรา


...การท่องจำ การจดจำ นี่แหละเป็นพื้นฐานการเรียน ดับสูงต่อไป...

ภาษาไทย

ภาษาของเรา

 

            เครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร และเป็นหัวใจของการสื่อสาร สิ่งนั้น คือภาษา ยิ่งใช้ภาษาชัดเจน ทั้ง พูด อ่าน เขียน สละ สลวย ยิ่ง ทำให้การสื่อสาร เกิดผลสัมฤทิ์ สูง

            ในชีวิตประจำวัน เราสื่อสารกัน ส่วนใหญ่ จะใช้ทักษะการพูด เป็นสำคัญ ทักษะภาษา มี ฟัง พูด อ่าน เขียน และปัจจุบัน ในตำราภาษาไทย จะเพิ่มทักษะการดู เข้ามาอีก

            มีผู้ปกครองนักเรียน หลาย ๆ คนยังมองไม่เห็น ไม่เข้าใจ เรื่องภาษา เนื่องจากลูก ๆ ไปเลือกเรียนสาย ภาษา  ผู้ปกครอง ก็จะพูดกับลูกๆ ว่า “ไปเรียนทำไม สายภาษา มีปากก็พูดได้...”  “แม้แต่ครู อาจารย์ ด้วยกัน ยังพูดให้ได้ยิน เวลาอยู่ในวงสนทนา“ไม่อยากเรียนภาษาไทย เพราะไม่อยากท่อง”    โดยเฉพาะครู ที่สอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ จะพูดให้ได้ยินบ่อย ๆ

            สำหรับ ผู้เขียนเห็นว่า ท่านเหล่านี้ คงไม่คิดหรอกว่า ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ดังนั้น จะต้องเรียนรู้ ภาษาจึงเป็นวัฒนธรรม และเป็นสมบัติอันล้ำค่า ของชนในชาติ เพราะภาษาเป็นเอกลักษณ์ ที่เด่นชัดที่สุด การแต่งกาย หน้าตา ยังไม่ชัดเจน บ่งบอกความเป็นชาติได้เท่ากับภาษา  คน ยุโรป เค้าหน้า  ไปอีกแบบ คน เอเซีย ไปอีกแบบ  ยิ่งถ้าเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง เช่นคนสาธารณรัฐประธิปไตย ประชาชนลาว หน้าตายิ่งเหมือนคนไทย จนแยกไม่ออก ถ้าให้แต่งชุดประจำชาติไทย คงแยกไม่ออก แต่ถ้าเมื่อใด พูด  จึงจะแยกออกว่า ใครเป็นคนไทย

             ผู้เขียนไม่มีสิทธิ์ไปแย้ง ผู้ปกครองแต่ได้ อธิบายให้นักเรียน ที่เรียน ทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ ฟัง เพื่อเขาจะได้ไปสื่อสาร ให้ผู้ปกครองเข้าใจ

             คนที่มีปาก ไม่สามารถจะพูดได้ทุกคน ดังที่เข้าใจ เพราะผู้ที่มีปาก หลาย คนพูดไม่ได้ ต้องใช้ภาษามือ ในการสื่อสาร นั่นคือ คนใบ้ ถ้าสังเกต คนที่พูดไม่ได้ มักจะ เครื่องรับขัดข้องมาโดยกำเนิด คือ หูหนวก ดังนั้น คนที่หูหนวก หรือพิการด้านหู สูญเสียการได้ยิน จึงไม่สามารถ พูดได้ นี่แหละครับ มีปาก แต่พูดไม่ได้ เพราะไม่ได้เรียนรู้ ภาษา เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ดังนั้นต้องมีการเรียนรู้ เด็กทารก เรียนรู้โดยการเลียนแบบ จากพ่อ แม่ พี่เลี้ยง ที่ใกล้ชิด นั่นเกิดการเรียนรู้แล้ว แต่คนพิการไม่มีโอกาศได้ยิน จึงไม่มีการเรียนรู้ภาษากับพ่อแม่ คนไกล้ชิด จึงพูดไม่ได้

            บรรพบุรุษ สร้างภาษา โดยการ คิดสร้างสิ่งของ  ไม่ว่า เครื่องบริโภค เครื่องอุปโภค ต่าง ๆ เมื่อคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ก็ตั้งชื่อสิ่งนั้นขึ้นมา ว่าจะเรียกอย่างไร มนุษย์คิดสร้างสรรค์ อะไรขึ้นมา ภาษาก็จะเพิ่มขึ้นไปตามเพื่อใช้เรียกสิ่งนั้น เช่น แต่ก่อน เราเรียกโทรศัพท์ พอ มนุษย์ คิดโทรศัพท์ พกพา ก็มีคำว่า มือถือ เกิดขึ้น

         ดังนั้น ภาษา เป็นวัฒนธรรม ที่คน ในสังคมนั้น ๆ  คิดขึ้นมา ภาษาแต่ละสังคม แต่ละชาติ จึงแตกต่าง กัน โดยสิ้นเชิง ถ้าภาษาเกิดขึ้นเอง ดังที่คนเข้าใจว่า “มีปาก ก็พูดได้ “  ไม่จริง ถ้าอย่างนั้น คนทั้งโลกจะพูด ภาษาเดียวกัน เพราะเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องเรียนรู้เหมือน ภาษาสัตว์ สุนัข เกิดที่ใด ส่วนใด ของโลก ก็จะ ร้องหรือ เห่าหอน อย่างเดียวกันเพียงแต่ เสียงเล็กเสียงใหญ่ ตามขนาดรูปร่าง ของร่างกาย เท่านั้น

              สำหรับเพื่อนครูที่ สอนวิชาวิทยาศาสาตร์ คณิตศาสตร์ บ่นว่า ไม่อยากเรียน เพราะ ขี้เกียจท่อง ผมเกิดความขัดแย้ง ทันที เปล่าเลย เรียนภาษา ขี้เกียจอ่าน ยอมรับ ถ้าเรียนภาษาไม่อ่าน ไม่ท่องไม่ได้  แทบทุกวิชา ถ้าไม่อ่าน ไม่ท่อง รับรองไม่สำเร็จ

               ที่บอกว่าขี้เกียจท่อง ไม่จริง ความคิดนี้ มาจาก ความฝังใจของคนสมัย เมื่อ ๔๐-๕๐ ปีมาแล้ว หรือสมัยพ่อ แม่  และคนที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้น เพราะ สมัยนั้น ผู้เขียนได้ ท่องจำบทอาขยาน และ สูตรคูร ก่อนเลิกเรียน ทุกวัน ทุก ๆ ระดับชั้น เสียงสนั่นหวั่นไหว เป็นที่สนุกสนานกันด้วย  การท่องยัง สื่อสาร ให้ชาวบ้านในละแวกที่พอได้ยิน ได้รู้เวลา แทนนาฬิกา ว่าเป็นเวลาที่นักเรียนจะเลิกเรียนแล้ว ต้อง เตรียมตัว ทำอะไร ในเวลานี้ หลัง ๆ มา ไม่ค่อยมี การท่อง หลังเรียนทุกวันอีก จะมีก็น้อยมาก แทบไม่ได้ยินเลย  นี่ แหละ ที่สร้างภาพลักษณ์กับคนทั่วไปว่า เรียนภาษาไทยขี้เกียจท่อง จึงหันไปเรียนสายวิทย์

               ที่ให้ท่องบทอาขยาน เพราะต้องการให้เด็กได้เห็นเป็นตัวอย่าง ของบทกลอนที่ไพเราะ มีคุณค่า  ในการศึกษาเรื่องอื่น ๆ เท่านั้นเอง ไม่เห็นได้ท่อง ทั้งเล่ม สูตรคูณ ก็ทำให้ คล่อง สามารถยกมาใช้ได้ทันที ต่างจากเด็กปัจจุบัน ท่องสูตรคูณ ไม่ได้  เพราะไม่ได้ท่องให้เป็นกิจจลักษณ์เหมือนแต่ก่อน

               แต่หารู้ไม่ว่า เรียนสายวิทย์ นั่นแหละ ต้องท่องมากที่สุด เรียนเคมี ท่องอะไร ธาตุ กี่ธาตุ เรียน ฟิสิกส์ ท่องอะไร สูตร ต่าง ๆ โมเนนต์ สารพัด  เรียน ดาราศาสตร์ ท่องจำดวงดาว ชื่อดาว เรียนชีววิทยา นี่แหละตัวการท่อง ชื่อสัตว์ ชื่อพืช ไฟลัมน์ ต่าง ๆ อยู่พวกไหน สปืชีไหน มีลักษณะอย่างไร ทั้งมะลงแมลง คณิตศาสตร์ ก็ท่องสูตร สูตรคูณนี่ ก็เพราะ ท่องจำได้แล้ว เป็นความรู้ถาวร ก็เลยลืมว่า ตนเคยท่องมาตั้งแต่สมัยอยู่ประถมแล้ว เรียนสายวิทย์ ยิ่งท่องจำมากกว่า วิชาทางภาษาไทย นักเรียนคนใด ที่ขี้เกียจท่องอย่าไปเรียน วิทยาศาสตร์จะไม่จบ ผู้ที่เรียนได้ โดยมากเป็นผู้ที่ขยัน ขยันท่อง  ดังนั้นพวกเรียนสายวิทย์ที่ต้องท่องมาก จึงพูดกลบเกลื่อนตนเอง และมักพูดให้เด็กเข้าใจผิด หลงไปเรียน จึงไม่สำเร็จ ถึงสำเร็จก็ไปต่อระดับสูงไม่ไหว แม้แต่เรียนแพทย์ เรียนหมอ ยังท่อง และท่องมากด้วย ผู้เขียน เคยแอบได้ยิน นศพ. เขาท่องพัฒนาการเด็ก แต่ละช่วง ๆ กี่ปีกี่ขวบทำอะไรได้ ท่องเป็นเรื่องเป็นราว เหมือนอาขยานเลยครับ

             ผมว่า การท่องจำ การจดจำ นี่แหละเป็นพื้นฐานการเรียน ดับสูงต่อไป คุณไม่ท่อง ก.เอ๋ย ก.ไก่ ข.ไข่ในเหล้า...แล้วคุณจะ อ่าน คิด เขียน ในชีวิตคุณได้อย่างไร

 

 

หมายเลขบันทึก: 496273เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 13:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พรุ่งนี้ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ...วันภาษาไทยแห่งชาติ.. แว่นธรรมทอง เชิญชวนอนุรักษ์ภาษาไทย ภาษาของเรา...สวัสดีครับ

๒๙ กค.   ---- วันภาษาไทยแห่งชาติ....วันอนุรักษ์..และ..รักภาษาไทย...ของเราเรานะคะ

ขอบคุณบทความดีดีนี้นะคะ

 

ขอบคุณที่บอกกล่าวกัน.. ว่าพรุ่งนี้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ (ลืมไปเลยค่ะ) สัญญาว่าจะเขียนและพูดภาษาไทยให้ถูกต้อง

สวัสดีค่ะเป็นห่วงเรื่องการเอาภาษาพูดมาเป็นภาษาเขียนและการอ่านคำย่อเวลาอ่านควรอ่านแบบเต็มๆไม่ใช่อ่านตามตัวย่อที่เห็นเพราะบางคนไม่รู้คำเต็มค่ะ สวัสดีวันหยุดนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท