ภาษา เป็น เครื่องมือ ใช้สื่อสาร
ไทย ลูกหลาน ต้องตระหนัก ช่วยรักษา
(บัวทอง สุตะภักดิ์ [พี่สาว] และ วิไล แพงศรี ประพันธ์)
(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2)
ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่รักภาษาไทย ซึ่งแสดงออกโดยการพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง และพยายามพัฒนานักศึกษาที่เรียนกับผู้เขียนทุกรายวิชา ให้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งในการพูดการอ่านและการเขียน ในด้านการเขียนนั้น เมื่อพบใครเขียนผิด ก็หาผู้แก้ไขให้ถูกต้องหน้าชั้น เพื่อให้ทุกคนเรียนรู้คำที่ถูกต้องไปพร้อมๆ กัน อาจจะมีคนตั้งข้อสงสัยว่า รักภาษาไทยทำไมจึงเรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษ ก็ต้องขอชี้แจงว่า เหตุที่ผู้เขียนเรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษนั้น อาจเป็นเพราะได้คะแนนดีที่สุดในวิชานี้ ประสบการณ์ครั้งแรกที่ผู้เขียนจากชนบทเข้าไปเรียน ป.5 ในเมืองนั้น "ท่านอาจารย์ทองใบ ชายทวีป" อาจารย์ภาษาอังกฤษท่านแรกของผู้เขียน สอนโดยการนำสระมาผสมกับพยัญชนะ แล้วให้นักเรียนตอบว่า แต่ละคำอ่านออกเสียงว่าอย่างไร ปรากฏว่าทั้งห้องมีผู้เขียนตอบอยู่คนเดียว เมื่อเข้าเรียนที่วิทยาลัยครูอุบลราชธานีในอดีต ก็ได้รับการคัดเลือกให้เรียนต่อ ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ประเภทเรียนดีในวิชาเอกภาษาอังกฤษ และเมื่อสำเร็จการศึกษา วิทยาลัยครูอุบลราชธานี ก็ได้คัดเลือกให้ผู้เขียนไปเรียนต่อในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอกภาษาอังกฤษในประเภทเรียนดี ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) อีก โดยมีนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกจากวิทยาลัยครูในกรุงเทพฯ ทุกแห่ง ทั้งวิทยาลัยครูสวนดุสิต สวนสุนันทา จันทรเกษม ฯลฯ และวิทยาลัยครูในภาคอีสานทุกแห่งร่วมเรียนด้วย แม้จะไม่ได้เรียนวิชาเอกภาษาไทย แต่อาจารย์ที่ปรึกษา ก็กำหนดให้เรียนวิชาโทภาษาไทย ในระดับปริญญาตรี เพราะเห็นว่าเข้ากันได้กับวิชาเอก ทั้งที่ผู้เขียนแจ้งความจำนงที่จะเรียนวิชาโทวิทยาศาสตร์ เพราะชอบเรียนเรื่องที่เป็นกฎเกณฑ์และมีการคำนวณในวิชาฟิสิกส์ มากกว่าวิชาที่ต้องท่องจำในเรื่องที่ (ขณะนั้น) เห็นว่าไม่ได้นำไปใช้ เช่น รากศัพท์บาลีสันสกฤต (แต่ในภายหลังก็ได้นำไปใช้ในการตั้งชื่อลูกสาวโดยวิธีสมาส คือ การนำคำบาลี-สันสกฤตมาเชื่อมกัน ได้คำว่า "ปราณสลิล" แปลเอาความว่า "น้ำหล่อเลี้ยงชีวิต" : ลูกสาวที่ยืนข้างแม่ และเจ้าของลายมือในภาพประกอบบันทึกบนสุด)
ในวิชาภาษาไทยนั้น ผู้เขียนคงจะถนัดด้านการเขียนพอสมควร เพราะในการเรียนวิชาการเขียนที่วิทยาลัยครูอุบลฯ ซึ่งต้องเรียนร่วมกับนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย "ท่านอาจารย์ธวัช ปุณโณทก" อาจารย์ผู้สอนได้ให้ผลการเรียน “ก” (ปัจจุบัน คือ A) แก่ผู้เขียนเพียงคนเดียว (ขณะนี้ ผู้เขียนรู้สึกภาคภูมิใจมากที่อ่านพบว่า ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ และได้รับการเชิดชูเกียรติให้ได้รับรางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ในวันภาษาไทยแห่งชาติปี 2554) และตอนเรียนปริญญาตรีวิชาเอกภาษาอังกฤษ ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม เพื่อนที่เรียนวิชาเอกภาษาไทยจากวิทยาลัยครูอื่น ได้ให้ผู้เขียนช่วยแต่งกลอนให้ ผู้เขียนบ่นว่า ไม่ถนัดภาษาไทยแล้วทำไมจึงเรียนวิชาเอกนี้ เธอก็บอกว่า “อยากเรียนกับเพื่อนที่รักที่สุดโว้ย” เธอใช้สำนวนภาษานั้นจริงๆ เพราะเป็นคนที่พูดจาแบบมึงมาพาโวย แต่ในภายหลัง เธอก็ได้เป็นผู้ตรวจผลงานทางวิชาการ สาขาวิชาภาษาไทย ของครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เขียนรู้สึกชื่นชม ที่คนไทยมักเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน คนทุกระดับการศึกษาสามารถคิดคำคล้องจองได้ ดังที่เรามักจะเห็นคำคล้องจองปรากฏที่ท้ายรถบรรทุก มีวันหนึ่งในอดีต ขณะนั่งรถส่วนตัวไปเยี่ยมลูกที่เรียนแถวลาดกระบัง ผู้เขียนเห็นคำคล้องจองท้ายรถบรรทุกที่วิ่งอยู่ข้างหน้า ความว่า “ดีใจจังคันหลังก็ลาว” ผู้เขียนรู้สึกขำมากและได้พูดกับคนขับว่า “เขารู้ได้ยังไงว่าคันหลังก็ลาว เดี๋ยวขับรถตามไปให้ทัน ไปทักทายคนบ้านเดียวกันหน่อยนะ”
การเขียนบทความที่ดี ควรมีลักษณะ 4 ประการ ดังนี้ (http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/aticle.htm)
1) มีเอกภาพ กล่าวคือ เนื้อหาของบทความมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีทิศทางของเนื้อหาเป็นไปในทางเดียวกัน เพื่อมุ่งสู่ประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ
2) มีสารัตถภาพ กล่าวคือ ผู้เขียนต้องเน้นย้ำประเด็นสำคัญให้ชัดเจนว่า ต้องการนำเสนอแนวคิดสำคัญอะไร ด้วยประโยคใจความสำคัญ หรือสาระสำคัญที่โดดเด่น เนื้อความตลอดเรื่องควรกล่าวย้ำประเด็นหลักของเรื่องเสมอๆ
3) มีสัมพันธภาพ กล่าวคือ มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด ทั้งในด้านการเรียบเรียงถ้อยคำ ข้อความ และการจัดลำดับเรื่อง ทุกประโยคในแต่ละย่อหน้า และทุกย่อหน้าในแต่ละเรื่องต้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ด้วยการใช้คำเชื่อมข้อความ ได้แก่ คำบุพบท เช่น กับ แต่ แด่ เพื่อ คำสันธาน เช่น และ รวมทั้ง ตลอดจน นอกจากนี้ คำประพันธสรรพนาม เช่น ที่ ซึ่ง อัน เป็นต้น
4) มีความสมบูรณ์ กล่าวคือ มีความสมบูรณ์ในด้านเนื้อหา มีเนื้อความชัดเจนกระจ่างแจ้ง อธิบายได้ครอบคลุมความคิดหลักที่ต้องการนำเสนอ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง หากเป็นความคิดเห็นต้องมีความสมเหตุสมผล นอกจากนี้ ต้องมีความสมบูรณ์ด้านการใช้ภาษา คือ ต้องเลือกใช้ภาษา ให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายการเขียน ประเภทของบทความ เนื้อหาบทความ และกลุ่มผู้อ่าน นั่นเอง
คำที่ผมพบบ่อยมากครับ
เขียน "โอกาส" ผิดเป็น "โอกาศ" (สงสัยเป็นญาติกับอากาศ)
แวะมามีส่วนร่วมด้วยครับ ;)...
ขอบคุณ "อาจารย์Wasawat Deemarn" มากค่ะ ที่มาให้กำลังใจ นึกว่าจะมีแต่ผู้สูงวัยที่นอนดึก คนหนุ่มก็นอนดึกเหมือนกันนะคะ
และขอบคุณมากค่ะ ที่ช่วยชี้คำที่เขียนผิด น่ารักมากและนับเป็นความคิดสร้างสรรค์ของอาจารย์ทีเดียวที่ใช้คำว่า"สงสัยเป็นญาติกับ..."เพราะเป็นถ้อยคำที่ "มีภาพพจน์เห็นเป็นรูปธรรม" มากกว่าใช้คำว่า"การเขียนผิดอันเกิดจากการเทียบคำผิด"อ.วิขออนุญาตนำไปใช้ด้วยนะคะ
อีกสามคำที่ อ.วิเห็นเขียนผิดกันบ่อย คือ คำว่า "ผูกพัน" ที่เขียนผิดเป็น"ผูกพันธ์" เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นญาติกับคำว่า"สัมพันธ์" คำว่า"อนุญาต"ที่เขียนผิดเป็น "อนุญาติ" เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นญาติกับคำว่า"ญาติ" และคำว่า"ถั่วพู"ที่เขียนผิดเป็น "ถั่วพลู" เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นญาติกับคำว่า"พลู"
"อาจารย์ Wasawat" ได้กรุณานำร่อง"การเขียนผิดเพราะความเข้าใจผิดว่าเป็นญาติกัน"ไว้แล้ว อ.วิอยากจะขอให้กัลยาณมิตรท่านอื่นๆ ช่วยเติมเต็มคำอื่นๆ ที่ท่านพบเห็นว่า มีการเขียนผิดในทำนองเดียวกันนี้ เพื่อช่วยกันสนับสนุนการเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องกันมากขึ้น ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
และขอเรียน "อาจารย์ Wasawat" ด้วยนะคะ ว่า ช่วงที่สืบค้นประกอบการเขียนบันทึกนี้ อ.วิได้พบบันทึกของอาจารย์ที่ลงไว้เมื่อ 28 สิงหาคม 2554 ซึ่งจะนำมาอ้างอิงในเนื้อหาบันทึกนี้ด้วย แต่ยังไม่ถึงตอนที่จะอ้างอิง เพราะเขียนยังไม่เสร็จ แต่ลงก่อนเพื่อให้ได้วันที่สร้างเป็นวันที่ 24 ก.ค. 2555 ตามที่ได้แจ้งนักศึกษาไว้ค่ะ (ตอนนี้ได้นำไปใส่ไว้ในบันทึกที่เกี่ยวข้องแล้วค่ะ)
มาสารภาพครับคุณพี่
เขียนผิดเป็นประจำ
บางคำไม่ได้เห็นมาเกือบสามสิบปี
เกือบจะลืม หรือลืมไปแล้วครับ
อาจารย์วิค่ะ...ขอบคุณค่ะ เห็นด้วยกับข้อเขียนในบันทึกนี้ ที่มีความสำคัญ ..ขอร่วมสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยการส่งเสริมศิษย์ที่สอน ให้ใช้ภาษาไทยอย่างเหมาะสมตามบริทบทค่ะ
บางทีไม่มั่นใจว่าเขียนถูกหรือเปล่า จนต้องหาพจนานุกรมมาเปิดดูว่าเขียนถูกหรือเปล่าเหมือนกันค่ะ
ขอบคุณ "ดร.kwancha" (ครูผู้ยิ่งใหญ่ในใจ อ.วิ และคงจะเป็นอาจารย์ที่เคารพรักศรัทธาของนักศึกษา มอ.วิทยาเขตปัตตานี ทุกคนที่ได้เรียนกับอาจารย์) มากนะคะ ที่แวะไปให้กำลังใจและบอกจะ "ขอร่วมสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยการส่งเสริมศิษย์ที่สอน ให้ใช้ภาษาไทยอย่างเหมาะสมตามบริทบท"
อ.วิเห็นว่า อาจารย์ทุกวิชาน่าจะต้องร่วมด้วยช่วยกันนะคะ เพราะลำพังอาจารย์ภาษาไทยเท่านั้นคงไม่เพียงพอ ที่จะสนับสนุนให้นักศึกษาของเราใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง
ขอบคุณนะครับอาจารย์ ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความสำคัญมากเเละมีคุณค่า
สวัสดีครับ
ระยะหลัง ผมสังเกตว่ามีการใช้ภาษาไทยแปลกๆ มากขึ้น ดังนั้น
การสะกด
1. สะกดผิด ใช้พยัญชนะผิดตัว ขาด/เกิน
2. ผันวรรณยุกต์ผิด
3. สะกดไม่ถูก (ข้อนี้หนักกว่า คือ คงจะไม่ทราบเลยว่าคำนี้สะกดอย่างไร จึงเขียนมั่วไป)
การใช้ภาษา การพูด
1. ร ล และ คำควบกล้ำ ผิดหรือไม่ใช้ แบบนี้พบมาก
2. ใช้คำฟุ่มเฟือย และเยิ่นเย้อ เช่น เข้ารับการสอบ (ฟัง/อ่านแล้วก็งง) เขาคงหมายถึง เข้าสอบ
3. ประดิษฐ์คำใหม่ แทนคำเก่าโดยไม่จำเป็น ทำให้เกิดความสับสน (พบในกลุ่มนักวิชาการ)
หนูก็เป็นอีกคนที่ใช่ภาษาผิดบ่อยมาก คิดว่าตัวเองใช่ถูกแล้วแต่มันก็ไม่ใช่
ขอบคุณอาจารย์ค่ะ ที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง หนูเป็นอีกคน ที่เขียนผิดเป็นประจำ
ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่ให้เกียรติครับ ...
ผมแวะมามีส่วนร่วมอีกครั้งครับ
เขียนคำถูก "โอกาส" ผิดเป็น "โอกาศ" (สงสัยเป็นญาติกับ "อากาศ")
เขียนคำถูก "ผูกพัน" ผิดเป็น "ผูกพันธ์" (สงสัยเป็นญาติกับ "สัมพันธ์")
เขียนคำถูก "อนุญาต" ผิดเป็น "อนุญาติ" (สงสัยเป็นญาติกับ "ญาติ")
เขียนคำถูก "ถั่วพู" ผิดเป็น "ถั่วพลู" (สงสัยเป็นญาติกับ "พลู")
เขียนคำถูก "อานิสงส์" ผิดเป็น "อานิสงค์" (สงสัยเป็นญาติกับ "ประสงค์")
ขอบคุณครับ ;)...
สวัสดีค่ะทุกท่าน
ขอมาเรียนรู้ด้วยค่ะ เพราะที่ผ่านมาคงเขียนผิดเป็นประจำจนคิดว่ามันเป็นความถูกต้องไปแล้ว
ขอบคุณมากๆ ค่ะ
ทุกวันนี้คนมักใช้ภาษาวัยรุ่นมากเกินไปค่ะจนแยกไม่ออกว่าอันไหนเขียนถูกเขียนผิดหนูจะพยายามใช่ภาษาไทยให้ถูกต้องค่ะอาจารย์ ขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะที่แนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง
จากข้อความที่ได้กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นถึง การเป็นคนไทยที่แท้จริงนั้น จะต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ทั้งการสื่อสารด้วยการพูดและการเขียน หรือเป็นวัจนภาษาและอวัจนภาษาก็ตาม เพราะภาษาไทยนั้นเป็นภาษาประจำชาติของไทย แต่ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาไทยที่ผิดเพี้ยนกันมาก เพราะปัจจุบันมีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยกว่าสมัยก่อนซึ่งก็ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นเพราะเครื่องมือที่ทันสมัยเหล่านี้หรือเปล่า ที่เป็นตัวการที่ทำให้ภาษาไทยนั้นเริ่มเปลี่ยนไป ตัวอย่างนี้จะเห็นได้จากการสื่อสารกันทาง เฟคบุค มีการพิมพ์ภาษาไทยที่ผิด ๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ควรนำเอามาฝึกเป็นแบบอย่าง โดยส่วนตัวข้าพเจ้าเองก็ยังออกเสียงภาษาไทยได้ไม่ดี จึงอยากขอเชิญชวนคนไทยทุกคนให้หมั่นฝึกการใช้ภาษาไทยทุก ๆ วันให้ถูกต้อง เพื่อช่วยส่งเสริมความเป็นเอกราชของไทยเรา
เรียน อ.วิ พ่อใหญ่ป๋าเดจะอ่านบล๊อคของท่านวันพรุ่งนี้..วันนี้จะนอนแล้ว..ขออภัยครับท่าน...
คำว่า "ผาสุก" ด้วยครับ มักเขียนว่า "ผาสุข" ถึงผาสุกจะมีความหมายไปในทำนองเดียวกันกับ ความสุข แต่คงไม่ได้เป็นญาติกันใช่ไหมครับ
สวัสดีค่ะอาจารย์ จากที่ได้อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้หนูมองเห็นไปถึงสภาพการณ์ในปัจจุบันนี้ที่ได้มีการพัฒนาภาษาต่างๆมากขึ้น เช่น ภาษาอังกฤษ แต่ว่าน่าสลดใจมากที่ทำไมภาษาไทยเรานั้นเริ่มถดถอยลงเรื่อยๆ ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นเลยในประเทศไทยเราเพราะเป็นภาษาทางการของประเทศไทย ดังนั้นหนูขอเป็นอีกคนหนึ่งที่จะร่วมพัฒนาภาษาไทยไปกับอาจารย์นะค่ะ ขอบคุณมากค่ะสำหรับบันทึกดีดีนี้ค่ะ
ที่หนูเห็นบ่อยที่สุดคือคำว่า ศีรษะ เป็น ศรีษะ ค่ะ
"เป็นคนไทยก็ต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องคะ" ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูล
สวัสดีคะอาจารย์วิไล แพงศรี ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ "การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะเราเป็นคนไทยเราต้องอนุรักษ์ภาษาไทยและใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง"
สวัสดีคะอาจารย์วิไล แพงศรี หนูได้เข้าไปบันทึก "ปัญหาทางเทคโนโลยีการศึกษาและแนวทางการแก้ไขปัญหา" ขอรบกวนให้อาจารย์เข้าไปติชม และให้คำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณคะ
เกิดอยู่ในประเทศไทยต้องรู้จักใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง และรู้จักอนุรักษ์ภาษา และวัฒนธรรมอีกดีงานเอาไว้ ขอบคุณครับสำหรับขอบมูล และสิ่งดีๆจากการบันทึกของอาจารย์ครับ
นักศึกษา Section 02, 03, 04
สวัสดีคะอาจารย์หนูได้เข้าไปบันทึก "ปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา"เสร็จเรียบร้อยแล้วนะคะ ขอให้อาจารย์เข้าไปอ่านและให้คำแนะนำในการเขียนด้วยนะคะ เพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ไขต่อไปคะ
ขอบคุณ "อาจารย์ "Wasawat Deemarn" มากค่ะ ที่กรุณาสรุปบัญชีคำที่เขียนผิด ด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นญาติกัน "" เพิ่มมาอีกคำ คือ คำว่า "ผาสุก" และเมื่อกี๊ อ.วิใช้คำว่า "สังเกต" จึงขอเพิ่มต่อท้ายบัญชีนะคะ แต่ขอเปลี่ยนข้อความในวงเล็บเล็กน้อย และเอาวงเล็บออกนะคะ
เขียนคำถูก "โอกาส" ผิดเป็น"โอกาศ" เพราะคิดว่าเป็นญาติกับ "อากาศ"
เขียนคำถูก "ผูกพัน" ผิดเป็น"ผูกพันธ์" เพราะคิดว่าป็นญาติกับ "สัมพันธ์"
เขียนคำถูก "อนุญาต" ผิดเป็น"อนุญาติ"เพราะคิดว่าเป็นญาติกับ "ญาติ"
เขียนคำถูก "ถั่วพู" ผิดเป็น"ถั่วพลู" เพราะคิดว่าเป็นญาติกับ "พลู"
เขียนคำถูก "อานิสงส์" ผิดเป็น"อานิสงค์"เพราะคิดว่าป็นญาติกับ "ประสงค์" เขียนคำถูก "ผาสุก" ผิดเป็น "ผาสุข" เพราะคิดว่าป็นญาติกับ "ความสุข" เขียน คำถูก "สังเกตุ" ผิดเป็น "สังเกตุ" เพราะคิดว่าป็นญาติกับ "เหตุ"
ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ หนูจะพยายามใช้ภาษาให้ถูกต้องค่ะ
ขอขอบคุณอาจารย์ วิไล แพงศรี มากนะครับที่นำความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องมาให้กับนักศึกษาผมเป็นคนหนึ่งที่ใช้ภาษาไทยไม่ค่อยได้ดี แต่ก็จะพยายามใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องทั้งพูด อ่าน และเขียนจะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไปครับ
รับทราบครับอาจารย์ ....เขียนผิดตลอดเลยครับ จนจะเป็นครูอยู่แล้วครับ (เพราะ ผิดเป็นครูครับ)
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความสลับซับซ้อน บางคำ อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่สะกดไม่เหมือนกันและยังมีความหมายไม่เหมือนกัน และหลายคำที่มักเขียนผิดกันบ่อย เช่น ทะเลสาป ที่เขียนถูกคือ ทะเลสาบ ส่วนคำนี้ดิฉันเองก็มักจะเขียนผิดเป็นประจำ คือคำว่า ขะมักเขม้น(ถูก) แต่มักจะเขียนผิดเป็นอย่างนี้>> ขมักเขม้น(ผิด) ดิฉันคิดว่าการที่เราจะสามารถใช้คำที่ถูกได้ ควรจะต้องใช้การจำจด สังเกต และหมั่นฝึกฝนทักษะการเขียนอย่างสม่ำเสมอ
หากท่านใดสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.royin.go.th/th/home/ มีข้อมูล ความรู้ที่น่าสนใจอีกมากมายคะ
ขอบคุณกัลยาณมิตร GotoKnow ทุกท่านมากนะคะ ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจ
ชีวิตช่วงนี้ของ อ.วิ หนักมากค่ะ เย็นวันพุธหลังเลิกงานต้องเข้าตลาดซื้อสะเบียงและของใช้แล้วเดินทางเข้าฟาร์มไปดูแลคนป่วย ล้างถ้วยชาม ซักผ้า ทำกับข้าว เช้าวันรุ่งขึ้นทำอาหารไว้ให้คนป่วย แล้วเก็บผลผลิตที่ฟาร์มไปให้แม่ค้าขายอาหารเจ้าประจำในเมือง เสร็จแล้วก็ไปทำงานราชการ เช้าวันเสาร์ก็เข้าฟาร์มอีก บางทีก็กลับเข้าเมืองเย็นวันอาทิตย์หรือเช้าวันจันทร์ นอนดึกตื่นเช้าประจำ จึงไม่ค่อยได้แวะไปเยี่ยมใน Blogs ของกัลยาณมิตร อาศัยที่เห็นบันทึกในหน้าแรกถ้าพอมีเวลาก็จะเข้าไปอ่านค่ะ
วันนี้ก็ได้ไปนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษา 3 คนระหว่างเวลา 08.30-11.30 แล้วก็กลับไปพบนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยตามที่นัดหมายไว้ ตอนนี้พักทานข้าวกลางวันค่ะ พร้อมกับตรวจงานให้นักศึกษาที่จะไปรับคืนในช่วงบ่าย และ 14.00 น. มีประชุมเตรียมการอบรมครู เลิกประชุมมีนัดกับอาจารย์อีกท่านค่ะ หลังจากนั้นก็ไปธุระเรื่องลูก ธุระของคนป่วยคงไม่มีเวลาจัดการให้ตามเคย
ขอบคุณ "ท่านแว่นธรรมทอง" ผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย มากค่ะ ที่มาร่วมอนุรักษ์ภาษาไทย
เพิ่งไปอ่านบันทึก "ความอัดอั้นของลุงก้อม" ของท่านมา อ่านแล้วก็สงสารประเทศไทยค่ะ แต่ก็ยังดีที่ประเทศนี้มีคนอย่างลุงก้อม
เพิ่งเห็นว่า ท่่านเขียนบันทึกตั้งหลายเรื่องที่อ.วิไม่ได้อ่าน เพราะมัวแต่ยุ่งหลายเรื่อง ดูๆ แล้วก็น่าอ่านทั้งนั้นค่ะ
ภาษาไทยได้ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย ปัญหาต่างๆที่เกิดจากการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดความบอบช้ำจนเกินจะเยียวยาได้ ดังนั้นคนไทยทุกคนควรมีจิตสำนึก และตระหนัก ต่อการใช้ภาษาไทย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ภาษาไทยนั้นคงอยู่คู่ชาติไทยค่ะ
สวัสดีครับท่านอาจารย์ ภาษาไทยมีความสำคัญต่อคนไทยมากเพราะเป็นภาษาประจำชาติที่ไม่มีใครเหมือนแล้วก็ไม่เหมือนใครด้วยเพราะเฉพาะนั้นเราควรอนุรักษ์ภาษาไทยไว้ตราบนานเท่าน ครับพี่น้อง
เรียน ผศ.วิไล -ลูกสาวอาจารย์แม่ลายมือสวยมาก....ป๋าเดตอนเรียนการช่างอุบลฯปี ๑๐-๑๒ มีความผูกพันกับโรงเรียนนารีนุกูลสมัยที่ตั้งอยู่ข้างทุ่งศรีเมือง....รวมทั้งคณะที่ไปเรียนต่อที่ วศ.มหาสารคาม...มันเนิ่นนานมาแล้ว...แต่มันเป็นพลังที่ทำให้ป๋าเดก้าวมาถึงจุด ๆ นี้........ -อ.ทองใบ ชายทวีป ท่านเสียชีวิตนานแล้ว..ท่านเป็นพ่อของพันเอกพิเศษประสิทธิ์ ชายทวีป อดีตเซ็นเตอฮาร์ฟ (เขียนถูกไหม?) ทีมเยาวชนชาติไทยรุ่นที่ไปแช่งชันที่ประเทศฟิลิปปิน ท่านเคยสอนตอนเรียน ม.ต้นที่โรงเรียนยโสธร...นานๆจะติดต่อกับท่านเพราะมีเบอร์ของท่าน...แฟนของท่านยังนึกชื่อไม่ออกแต่รู้สึกท่านจะสอนภาษาไทยนะ..... -อาจารย์แม่เก่งหลายอย่าง...เป็นห่วงเป็นใยลูกศิษย์ (ครูดีที่หายาก) มรภ.อุบลฯน่าที่จะให้สอนต่อ..........เป็นผู้ทรงคุณค่าในสาขาวิชาที่ขาดแคลน........ -ขออนุญาตถามว่าท่านพิมพ์งานในหน้าจอก่อนแล้วค่อยก๊อปปี้มาใส่ในบล๊อคถูกต้องใหม.....เพราะมันละเอียดมากนะ...(มีเพื่อนชาวGTWเคยบอกวิธีทำเพื่อป้องกันการผิดพลาด) -ถ้าท่านเป็นผู้ประเมินอภิมานของ สมศ. โรงเรียนที่ท่านอ่านสรุปรายงานของผู้ประเมินรอบสามหนาวแน่...เพราะท่านแม่นภาษาไทย รวมทั้งเรื่องอื่นๆ 555 (ปล.สมศ.เขากำลังรับสมัครนะถึงวันที่ ๔ ส.ค.นี้เข้าดู้ได้ใน google) -ดร.จันทวรรณ บอกมาว่า โครงการ"ชุมชนคน สมศ." อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สสส. หากได้รับการพิจารณาจะขอให้ อ.วิ ช่วยทำแบบประเมินโครงการให้......จะได้ไหมครับ (จองคนเก่งล่วงหน้าแต่ไม่มีมัดจำ) ทีมงานมี ๑๐ คน....... E-mail ป๋าเดส่งเองเป็นชื่อของลูกชาย (ตูนไปเรียน ป.เอก ที่ ม.เกษตรศาสตร์) E-Mail เดิมถูกบล๊อคโดยอัตโนมัติเลยทำขึ้นใหม่โดยตั้งชื่อ E-Mail.เป็นชื่อลูกชายคนโต..เคยส่งโครงการไปหาท่านสองครั้งแต่ท่านไม่ยอมตอบ.....
สวัสดีค่ะอาจารย์ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะที่นำความรู้ในเรื่องการใช้ภาษาไทยมาแบ่งปัน เพราะเราเป็นคนไทย ควรใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง มิเช่นนั้นชาติอื่นจะว่าเราได้
รับทราบค่ะหนูได้อ่านคำชี้แนะของอาจารย์แล้วนะค่ะ
รับทราบครับผมได้อ่านคำชี้แนะของอาจารย์แล้วนะครับ ผมจะนำเอาความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องไปใช้พัฒนาตัวเองให้มากที่สุดครับ
ในวันที่ 26 ก.ค. เวลา 23.57 น. อาจารย์แจ้งว่า อยากจะเสริมในประเด็นการใช้วรรณยุกต์ที่ไม่ถูกต้องค่ะ ยกตัวอย่างจากนักศึกษาที่ใช้เวลาแสดงความเห็น ซึ่งพบตั้งแต่เริ่มแรกที่นักศึกษาเข้ามาแสดงความเห็นแล้ว ตัวอย่างเช่น "" เขียนว่า "สวัสดีคะ (ค่ะ)อาจารย์หนูได้เข้าไปบันทึก"ปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา" เสร็จเรียบร้อยแล้วนะคะขอให้อาจารย์เข้าไปอ่านและให้คำแนะนำในการเขียนด้วยนะคะเพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ไขต่อไปคะ (ค่ะ)
คำที่นักศึกษาใช้ที่อาจารย์ระบายสีเทาและขีดเส้นใต้ คือคำที่ใช้วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง และอาจารย์ได้แก้ไขให้โดยใส่ในวงเล็บและระบายสีเหลือง ส่วนคำที่ระบายสีฟ้าคือคำที่นักศึกษาใช้วรรณยุกต์ได้ถูกต้อง
นักศึกษาทุกคนเมื่ออาจารย์ได้ชี้แนะแล้ว ถ้าใครยังใช้วรรณยุกต์ผิดอีกในคำที่ได้แนะนำไปแล้วจะหักแต้มคำละ -1นะคะ
ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆและข้อคิดดีๆนะคะอาจารย์ หนูจะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเองให้ได้มากที่สุดค่ะ
ผมแก้ไขแล้วนะครับ อาจารย์ตอนนี้กำลังศึกษาการเขียนบันทึกอยู่ครับ น่าจะออกมาเร็วนี้นะครับ
ในเรื่องภาษาไทยผมก็ไม่ค่อยใส่ใจเพราะมากเท่าไหร่นัก แต่พอมาอ่านบันทึกของอาจารย์มันทำให้ผมภูมิใจที่เรามีภาษาไทยเป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ทำให้ผมรู้สึกรักในภาษาไทยมากขึ้น ผมจะรักษาและใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
ขอขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ ครับ
สวัดีค่ะอาจารย์จากบทความของอาจารย์เกี่ยวกับภาษาไทยเเละการใช้ITทำให้หนูมีความรู้เพิ่มขึ้นหนูจะเป็นน้ำครึ่งเเก้วเพื่อที่จะได้รับความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอค่ะ ขอบคูณสำหรับความรู้ดีๆนะค่ะ
สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูทำหัวสมุดเรียบร้อยเเล้วค่ะ ขอโทษที่ทำให้ผิดหวังนะค่ะอาจารย์ต่อจากนี้หนูจะตรวจสอบการเขียนให้ดีก่วานี้ค่ะ
ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ สำหรับบันทึกดีๆค่ะ
สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูได้อ่านบันทึนแล้วนะค่ะมีประโยชน์อย่างมากค่ะเพราะเราเขียนภาษาไทยกันผิดมากต่อไปนี้เราคงจะเขียนภาษาไทยกันถูกต้องนะค่ะ
ภาษาไทยคือมรดกของชาติ เราคนไทยควรอนุรักษ์ไว้
อาจารย์ครับทำช้าดีกว่าไม่ทำใช่ไหมครับขออาจารย์เวลาเพื่อเขียนสมุดบันทึกหน่อย