ขวัญ


...ในคราเจ็บไข้ได้ป่วย ผิดหวัง สมหวัง โชคดี จะทำพิธีสู่ขวัญ การทำพิธีสู่ขวัญเหมือนน้ำตา ทั้งดีใจ เสียใจ น้ำตาจะหลั่ง...

ขวัญ

 

 

 บายศรี

               ความเชื่อของคนไทย เป็นค่านิยม ที่เชื่อในเรื่องต่าง ๆ เช่น เชื่อว่าคนเรา มีขวัญ ประจำชีวิต ตั้งแต่เกิด เชื่อว่าถ้าขวัญอยู่กับเนื้อกับตัวถือว่าป็นศิริมงคล เป็นสุขสบาย จิตใจมั่นคง แต่ถ้าหากว่า ตกอกตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญจะออกจากร่างไป ที่เรามักได้ยินว่า เสียขวัญ ขวัญหนี ขวัญบิน ขวัญกระเจิง ซึ่งทำให้คน คนนั้นไม่สุขสบาย หรือหวาดกลัวไป ต่าง ๆนานา

              ดังนั้น จากความเชื่อเรื่องขวัญ จึงมีสิ่ง ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขวัญ ของคนไทย มากมาย อย่างเด็กหรือหญิง ที่ตกใจง่าย หรือผู้ที่ตกใจง่าย ซึ่งมักขวัญหายบ่อย ๆ จึงมักใช้ว่า ขวัญอ่อน 

            นอกจากนี้ ยังใช้กับสัตว์ หรือสิ่งของ บางอย่าง เช่น ช้าง ม้า บ้านเรือน ข้าว ฯลฯ ว่ามีขวัญเหมือนกัน ส่วนมากแล้วจะใช้ในความหมายว่า เป็นยอด กำลังใจ เช่น ขวัญเมือ ง เป็นยอดหรือกำลังใจของเมือง ขวัญดี มีกำลังใจที่ดี

            หมอขวัญคือผู้รู้พิธีทำขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว ผู้ชำนาญในการทำขวัญ ซึงเป็นผู้ทำพิธีเชิญขวัญ คือ เรียกขวัญ  บางครั้งเพื่อนฝูง ที่รักกัน อาจทำร้ายซึ่งกันและกัน หรือโดนผู้อื่นกระทำ เมื่อสอบสวน คนผิดถูก ก็จะมีการเสียเงินค่าปรับให้ผู้ถูกทำร้าย หรือถูกหมิ่นประมาท ก็คือการทำขวัญ  และบางครั้งก็จะมีเส้นด้าย ผูกข้อมือ อาจจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ แล้วมีการกล่าวเรียกขวัญ “ขวัญเอย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” และกล่าวให้พร ด้วย เรียกว่า ผูกขวัญ ผู้ที่ได้รับการผูก เรียกขวัญหรือเชิญขวัญก็คือ รับขวัญ ในการทำพิธีต่าง ๆ โดยการรดน้ำมนต์ให้ เสกเป่า หรือกล่าวปลุกใจต่างๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญเรียกว่า บำรุงขวัญ เมื่อมีเทศกาลที่สำคัญ หรือโอกาศพิเศษต่าง ๆ ก็จะมีสิ่งของให้กันและกันเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรีต่อกัน หรือหลังจากเสร็จพิธีทำขวัญแล้ว เรียกว่า ของขวัญ ในพิธีเรียกขวัญจะมีพานบายศรี ซึ่งมีข้าว เรียกว่า ข้าวขวัญมีไข่ปอกวางไว้บนข้าวเรียกว่าไข่ขวัญ ลูกหญิงหรือชายที่พ่อแม่รักมากที่สุดก็จะเรียกว่า ลูกขวัญ

          สำหรับผู้หญิงผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยม ซี่งหมายถึงหญิงที่เป็นที่รักก็เรียกว่า จอมขวัญ บางคนกำลังใจเสีย อาจจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตามเรียกว่า เสียขวัญ มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทำพิธีเชื้อเชิญเรียกว่าทำขวัญข้าว เวลา ตกใจขวัญจะไปค้างอยู่ที่อื่น เรียกว่า ขวัญแขวน คนที่เป็นยอดกำลังใจ คือขวัญใจ มีกำลังใจที่ดีเรียกว่า ขวัญดี สิ่งที่เห็นเป็นที่เจริญหูเจริญตา หรือมิ่งขวัญดวงตา เรียกว่า ขวัญตา ขวัญไหลไปจากตัว เรียก ขวัญบ่า ตกใจ ใจหาย เรียก ขวัญบิน, ขวัญหนี ขวัญหนีดีฟ่อ ,ขวัญหาย ในพิธีแต่งงาน บวชนาค ขึ้นบ้านใหม่ หรือเพื่อรับโชค  จะทำพิธีเชิญขวัญ,ทำพิธีบายศรี เรียก สู่ขวัญ

            คนอีสาน จะมีความเชื่อเรื่องขวัญ มากเห็นได้จาก การทำขวัญข้าว เมื่อเสร็จสิ้นจากการเก็บเกี่ยว และข้นข้าวขึ้นยุ้ง (เหล้าข้าว) แม้กระทั่งเวลา ลูกหลาน เกิดอุบัติเหตุ จากรถ บนท้องถนนผู้เฒ่า ผู้แก่ที่เป็นคุณตาคุณยาย หรือ ปู่ ย่า น้า อา จะไปทำพิธี เอิ้นขวัญ (เรียกขวัญ) บริเวณนั้น จะมีอุปกรณ์ ที่สำคัญคือ สวิงจับปลา ไป ส่อนขวัญ (ช้อนขวัญ) เพื่อนำขวัญลูกหลานกลับ บ้าน เพราะเชื่อว่า ขวัญแขวน หรือขวัญหนี ไม่กลับบ้าน หรือกลับบ้านหาเจ้าของไม่ได้

            ค่านิยมเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องขวัญของ คนไทย จึงมีพิธีกรรม ต่าง ๆ เกิดขึ้น ให้เป็นกำลังใจ ในการต่อสู้ชีวิต เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ ตนเองและผู้อื่น ในคราเจ็บไข้ได้ป่วย ผิดหวัง สมหวัง โชคดี จะทำพิธีสู่ขวัญ การทำพิธีสู่ขวัญเหมือนน้ำตา ทั้งดีใจ เสียใจ น้ำตาจะหลั่ง ท่านเชื่อเรื่องขวัญ หรือเปล่าครับ... สวัสดีครับ

                                                    สู่ขวัญ
 
 
(ราชบัณฑิตยสถาน.พจนานุกรม พ.ศ.๒๕๒๕.พิมพ์ครั้งที่ ๖  อจท : กรุงเทพมหานครฯ.๒๕๓๙)

 

 

หมายเลขบันทึก: 495501เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012 05:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

...ได้ความรู้เรื่องขวัญมากเลยครับ ทั้งที่ชีวิตเกิดมาก็อยู่กับการเรียกขวัญ สู้ขวัญ ฝูกขวัญฯลฯ แต่ไม่รู้ที่ไปที่มาหรอกครับ เพราะพิธีกรรมที่เป็นประเพณีที่ดีงามทำสืบต่อกันมา ทำไปเพราะเป็นประเพณีมากกว่าความเชื่อหรือไม่เชื่อครับ ขอบคุณบันทึกดีครับอาจารย์

ทางเหนือมีพิธี....ฮ้องขวัญ....ที่สามารถทำได้ตลอดทุกงานค่ะ

  • ความเชื่อเรื่องขวัญ เป็นเหมือนของขวัญภูมิปัญญาไทยที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษนะคะ จำได้ว่าปู่ย่าคุณพ่อคุณแม่เห็นเราร้องไห้งอแงก็ห่วงว่าลูกหลานจะเสียขวัญ ปลอบแล้วปลอบอีก หากขวัญไม่คืนกลับมา ก็มีผลทำให้สติไม่อยู่กับร่องกับรอยได้ 
  • อาการขวัญผวา เสียขวัญ จนต้องทำพิธีตามความเชื่อ ดูเหมือนจะเป็นการเรียกสติของเราได้เป็นอย่างดี เป็นพลัง เป็นกำลังใจ เป็นสิ่งดี ๆ และจึงนำมาใช้สื่อความหมาย "ของขวัญ" ที่มอบให้แก่กันด้วยค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องราวของขวัญค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท