แนวทางใหม่ในการรักษาเบาหวาน...เริ่มแรง เพื่อฟื้นฟูเบต้าเซลล์เร็วๆ


อ่านพบข่าวนี้ Early intensive diabetes therapy preserves beta-cell function แล้วตามไปอ่านต้นฉบับในวารสาร Diabetes Care ฉบับเดือนกรกฎาคมนี้เอง ซึ่งเป็นเรื่องของการศึกษาในคนซึ่งทางผู้วิจัย คือ คุณหมอ Lindsay B. Harrison จากภาควิชาอายุรศาสตร์ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัย Texas Southwestern เมืองดัลลัสและคณะ ได้ทำการศึกษาในคน 58 คนเป็นเวลา 42 สัปดาห์ เป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานที่ยังไม่เคยได้รับการรักษาใดๆมาก่อน

ผู้เขียนสรุปจากผลการศึกษานี้ว่าผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรเริ่มรักษาด้วยการปรับอาหารและหรือการใช้ยาตัวเดียวแล้วปรับเปลี่ยนตามขั้นตอน แต่ควรได้รับการรักษาในระยะแรกอย่างเข้มข้นด้วยอินสุลินเพื่อให้เบต้าเซลล์ฟื้นคืนหน้าที่ได้อย่างมากที่สุด แล้วตามด้วยการรักษาด้วยสูตรที่มีอินสุลินหรือยากินเพื่อลดระดับน้ำตาลหลายๆตัวโดยไม่มีผลต่างกันในเรื่องผลข้างเคียงของการรักษาทั้งสองแบบ

นอกจากนั้นใน Medscape News ซึ่งสัมภาษณ์คุณหมออีกท่านจากสถาบันเดียวกัน คือคุณหมอ Gregory Clark ซึ่งท่านก็ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจถึงการรักษาตามปกติที่ทำอยู่ ซึ่งท่านเรียกว่าความเรื่อยเฉื่อย (the clinical inertia) ทางการรักษาเบาหวาน คือเมื่อการควบคุมทำได้แย่ลงแพทย์จึงจะเปลี่ยนวิธีการรักษาไปอีกขั้น ดังนั้นผู้ป่วยอาจต้องอยู่ในภาวะการมีน้ำตาลในเลือดที่ควบคุมไม่ได้เป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะได้ยาใหม่ คุณหมอ Gregory Clark กล่าวว่าเขาเชื่อว่าผลการจากศึกษานี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงความเรื่อยเฉื่อยในการดูแลรักษาเบาหวานได้

อ่านแล้วรู้สึกน่าสนใจเผื่อแพทย์ไทยที่สถาบันไหนอยากลองทำวิจัยในคนไข้ไทยดูบ้างน่ะค่ะ เพราะตัวเองก็เคยคิดเหมือนกันว่า คนที่เรารู้จักที่เป็นเบาหวานแทบทุกคนดูจะมีแต่แย่ลงๆ จนถึงขั้นต้องฉีดอินสุลินกันในที่สุดทั้งนั้น ถ้าเราเปลี่ยนวิธีอาจจะช่วยให้ขบวนการมันกลับทางกันบ้างก็ได้นะคะ

หมายเลขบันทึก: 494021เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2012 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2012 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ปรับยา + ปรับความคิด ความเข้าใจที่แท้จริงว่า "ตนเอง" มีโรคประจำต้ว ด้วยนะคะ ==> ความเข้าใจที่แท้จริง เป็นประโยชน์มากนะคะ

ขอบคุณมาก สำหรับบทความดีดีนี้ค่ะ

  • ขอบคุณค่ะพี่โอ๋ เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากค่ะ 
  • มีข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยในการศึกษานี้ เป็นคนอ้วนมาก (BMI 32-37) ซึ่งมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเดียวไม่เพียงพอ  เพราะความอ้วนเป็นตัวต้านอินซูลินอย่างแรงค่ะ
  • การฉีดอินซูลิน มีค่าใช้จ่ายทั้งยาและอุปกรณ์ หากมีการศึกษาถึงความคุ้มทุน ว่าป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้ดีกว่า การปรับพฤติกรรม หรือไม่
  • เป็นสิ่งที่นักวิจัยไทย น่านำไปต่อยอดค่ะ
  • น่าสนใจมาก..ขอสนับสนุนและให้กำลังใจครับ..หากจะลองทำวิจัย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท