ใบความรู้ที่ 3 การจัดหมวดหมู่หนังสือ (ตอน 2)


วิชาการใช้ห้องสมุด

7. การจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (L.C.)

ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน  (Library  of  Congress  Classification)  หรือเรียกย่อ ๆ ว่า  ระบบ  L.C.  ผู้คิดระบบนี้คือ   ดร.  เฮอร์เบิร์ต  พุตนัม  (Dr.  Herbert  Putnum)  ชาวอเมริกัน  เป็นผู้คิดขึ้นในปี  พ.ศ.  2442  ( ค.ศ.  1899)  ในขณะที่เป็นบรรณารักษ์ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน                          ณ  กรุงวอชิงตัน  ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยใช้สัญลักษณ์แบบผสมระหว่างตัวอักษรโรมันตัวใหญ่  A – Z  กับเลขอารบิคตั้งแต่  1 – 9999  ยกเว้นตัว  I, O, W, X,  Y  ปัจจุบันยังไม่ได้กำหนดใช้เก็บไว้สำหรับเพิ่มเติมวิชาการที่จะเพิ่มขึ้นใหม่  ระบบนี้เหมาะสำหรับใช้จัดหนังสือในห้องสมุดขนาดใหญ่  และห้องสมุดเฉพาะ  เพราะระบบสามารถรองรับหนังสือได้เป็นจำนวนมาก  และแบ่งได้ละเอียด  ปัจจุบันใช้จัดทั่วไปในห้องสมุดทั่วโลก  ทั้งในอเมริกา  ยุโรป  เอเชีย  ในประเทศไทยปัจจุบัน                มีจัดโดยทั่วไปในห้องสมุดมหาวิทยาลัย  เช่น  สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่   สำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  เป็นต้น  

                การจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันแบ่งจากหมวดใหญ่ไปหาหมวดย่อย  ดังนี้

7.1  หมวดใหญ่  หรือการแบ่งครั้งที่  1  (Main  Classes)  คือ  การแบ่งสรรพวิชาออกเป็น  20  หมวดใหญ่  โดยใช้ตัวอักษรโรมัน  A-Z แทนเนื้อหาวิชาของหนังสือแต่ละหมวด  ดังนี้

หมวด  A

หนังสืออ้างอิงทั่วไป  หนังสือพิมพ์  วารสาร  สิ่งพิมพ์ของสมาคมและสถาบันทางวิชาการต่างๆ  ตารางเลข

หมวด  B

ปรัชญา  ตรรกวิทยา  อภิปรัชญา  จิตวิทยา  สุนทรียศาสตร์  จริยศาสตร์  ศาสนา

หมวด  C

ประวัติอารยธรรม  โบราณคดี  จดหมายเหตุ  พงศาวดาร

หมวด  D

ประวัติศาสตร์ทั่วไป  ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว  ประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรป  แอฟริกา  เอเชีย  และหมู่เกาะต่างๆ  (ยกเว้นทวีปอเมริกา)

หมวด  E-F

ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว  ดินแดนในทวีปอเมริกา

หมวด  G

ภูมิศาสตร์ทั่วไป  มานุษยวิทยาและการบันเทิง

หมวด H

สังคมศาสตร์

หมวด  J

รัฐศาสตร์  การเมือง  การปกครอง

หมวด  K

กฎหมาย

หมวด  L

การศึกษา

หมวด  M

การดนตรี

หมวด  N

ศิลปกรรม

หมวด  P

ภาษาและวรรณคดี

หมวด  Q

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

หมวด  R

แพทยศาสตร์

หมวด  S

เกษตรกรรม  การเลี้ยงสัตว์  การประมง  อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยพืชและสัตว์ตลอดจนกีฬาล่าสัตว์

หมวด  T

เทคโนโลยี         

หมวด  U

ยุทธศาสตร์

หมวด  V

นาวิกศาสตร์

หมวด  Z

บรรณานุกรมและบรรณารักษศาสตร์

 

7.2  หมวดย่อย  หรือการแบ่งครั้งที่  2  (Sub-Classes)  คือ  การแบ่งแต่ละหมวดใหญ่ออกเป็นหมวดย่อย  โดยใช้ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่สองตัวแทนเนื้อหาของหนังสือ  (ยกเว้นหมวด  E-F  และหมวด  Z  จะใช้ตัวอักษรตัวเดียวผสมกับตัวเลข)  ซึ่งแต่ละหมวดใหญ่จะแบ่งย่อยได้มากน้อยต่างกัน  เช่น

                        7.2.1  หมวด  A  แบ่งเป็น  10  หมวดย่อย  ดังนี้

                                AC  รวมบทนิพนธ์  รวมเรื่อง  หนังสือชุด

                                AE  สารานุกรม

                                AG  พจนานุกรมและหนังสืออ้างอิงทั่วไป

                                AT  ดัชนี

                                AM พิพิธภัณฑสถาน  นักสะสม  และการเก็บรวบรวม

                                AN  หนังสือพิมพ์

                                AP  วารสาร

                                AS  สถาบันและสมาคมทางวิชาการ

                                AY  หนังสือรายปี  สมพัตรสร  นามานุกรม

                                AZ  ประวัติของนักวิชาการ  ทุนการศึกษาและการเรียนรู้

 

 

                          7.2.2  หมวด  T  แบ่งออกเป็น  16  หมวดย่อย  ดังนี้

                                     TA   วิศวกรรมศาสตร์ทั่วไป  วิศวกรรมโยธาทั่วไป

                                     TC   วิศวกรรมศาสตร์

                                     TD   เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  วิศวกรรมสุขาภิบาล

                                     TE   วิศวกรรมทางหลวง  ถนน และผิวจราจร

                                     TF    วิศวกรรมรถไฟ  และการปฏิบัติการ

                                     TG   วิศวกรรมสะพาน

                                     TH   การก่อสร้างอาคาร

                                     TJ     วิศวกรรมเครื่องกล  และเครื่องจักร

                                     TK   วิศวกรรมไฟฟ้า  อิเล็กทรอนิกส์  วิศวกรรมนิวเคลียร์

                                     TL   ยานพาหนะ  การบิน  ยานอวกาศ

                                     TN   วิศวกรรมเหมืองแร่  โลหะการ

                                     TP    เคมีเทคนิค

                                     TR   การถ่ายภาพ

                                     TS    โรงงาน

                                     TT   งานฝีมือ

                                     TX   คหกรรมศาสตร์

                          7.2.3  หมวด  Z  แบ่งเป็นหมวดย่อย  ดังนี้

                                     4-15  เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ

                                     40-115  การเขียน

                                     116-550  อุตสาหกรรมการผลิตหนังสือและการค้น

                                     551-661  ลิขสิทธิ์  และความเป็นเจ้าของผลิตกรรมทางปัญญา

                                     662-997  ห้องสมุดและบรรณารักษศาสตร์

                                     998-1000  รายการหนังสือของผู้พิมพ์  หน่วย  ราคาหนังสือ  สถิติการจำหน่าย

                                     1001-9000  บรรณานุกรม  บรรณานุกรมทั่วไป

                                     Z1201-4941  บรรณานุกรมแห่งชาติ

                                     ZA5051-7999  บรรณานุกรมเฉพาะวิชา

                                     Z8001-9999  บรรณานุกรมงานเฉพาะบุคคล

 

 

7.3  หมู่ย่อย  หรือการแบ่งครั้งที่  3  (Subdivision )  โดยวิธีเติมตัวเลขอารบิค  ตั้งแต่ 1-9999  เช่น

                                PN1  วารสารสากล

                                PN2  วารสารอเมริกันและอังกฤษ

                                PN86  ประวัติและวิจารณ์

                                PN101  ผู้แต่งอเมริกัน  อังกฤษ

7.4  จุดทศนิยม  หรือการแบ่งครั้งที่  4  โดยเติมจุดทศนิยมไม่จำกัดตำแหน่งไว้หลังตัวอักษรและตัวเลข  เพื่อแสดงรายละเอียดหมวดเรื่อง  หรือรูปแบบ  หรือประเทศ  เช่น

                                TX          คหกรรมศาสตร์

                                TX          อาหารและโภชนาการเฉพาะกลุ่มและเฉพาะชนชั้น

                                TX          361.A3  ผู้สูงอายุ

                                TX          361.C5  เด็ก

                นอกจากนี้ยังมีการแบ่งตามตารางเลขเฉพาะ  ซึ่งต้องใช้ประกอบกับเลขหมู่อีก  5  ตาราง  ได้แก่

                                5.4.1  ตารางวิธีเขียน

                                5.4.2  ตารางภูมิศาสตร์

                                5.4.3  ตารางการแบ่งยุคสมัย

                                5.4.4  ตารางการแบ่งเฉพาะเรื่อง

                                5.4.5  ตารางรวม

                จากการแบ่งหมวดหมู่หนังสือย่อย  ถึง  4  ครั้ง  อีกทั้งมีการแบ่งย่อยโดยใช้ตารางเลขเฉพาะประกอบถึง  5  ตาราง  ทำให้การจัดหมู่หนังสือด้วยระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันมีความละเอียดและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

                ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน  ดร. เฮอร์เบิร์ต  พุตนัม  ได้คิดระบบนี้ขึ้นมาและนำไปใช้กับหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน  ซึ่งมีหนังสือจำนวนมาก  หลังจากนั้นห้องสมุดมหาวิทยาลัยและห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่ได้เริ่มนำระบบนี้ไปใช้ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา  และประเทศอื่น ๆ  รวมทั้งประเทศไทยด้วย  เหมาะกับห้องสมุดขนาดใหญ่  และห้องสมุดเฉพาะ  เช่น  หอสมุดมหาวิทยาลัยราคำแหง  หอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ฯลฯ

 

 

หมายเลขบันทึก: 493940เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2012 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2018 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท