การศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์


การศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์

                                                         การศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์

                                                                                                                   อภิเชษฐ ปานจรัตน์

 

           ในโลกปัจจุบัน Dynamic ของการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงของเมืองระบบการศึกษา สาธารณะสุข สิ่งแวดล้อมในอัตราความเร็วการเปลี่ยนแปลงในหนึ่งปีมีมากกว่าการเปลี่ยนแปลง 1 ปี เมื่อ 50 ปีก่อนอย่างมาก ๆ เกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสาร การส่งถ่ายข้อมูลแลกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาอย่างไร้พรมแดน ในอดีตความสำคัญอาจจะขึ้นอยู่กับอำนาจการปกครองเมืองขอบเขตอาณาเขตหากใคร มีอำนาจหรือแสนยานุภาพทางทหารก็จะต้องเป็นผู้นำ หรือผู้เขียนยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวหากในอดีตที่มีฟรีทีวี เพียงไม่กี่ช่อง อำนาจต่อรองการสื่อสารก็จะอยู่ที่บุคคลเพียงไม่กี่คนในช่องทีวีนั้น ๆ หลายช่องก็จะมีอำนาจในเชิงสื่อสารมวลชนเลยที่เดียว แต่ปัจจุบันต่างออกไป ในโลกดิจิตอลในโลกการสื่อสารไร้พรมแดนไม่ได้กำหนดอำนาจอยู่ที่ช่อง แต่อำนาจการสื่อสาร กลับมาอยู่ที่เนื้อหาข้อมูลหากใครประเทศไหนนำเสนอดี มี่เนื้อหาเป็นที่สนใจก็สามารถ เข้าถึงประชาชนด้วยช่องทีวีจำนวนมากแม้กระทั่งผ่าน โซเชี่ยวเน็ตเวิร์คต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เราอาจจะพบว่าการเสนอข่าวต่าง ๆ อาจมาจากประชาชนทั่วไปหรือ ใคร ๆ ก็ได้ที่มีประเด็นมีเนื้อหา  

          สำหรับการศึกษาก็เช่นกันในอดีตการตอบโจทย์ความสำเร็จในชีวิตปัจจัยชี้วัติที่สำคัญ อย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย แต่ในปัจจุบันโลกของการศึกษาไร้พรมแดน  หรือโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ได้เปลี่ยนการศึกษาในอดีตอย่างสิ้นเชิง ผู้เขียนไม่ได้หมายรวมถึงเฉพาะวิธีการที่ใช้การสื่อสารมาช่วยการศึกษาในหมาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึง ทั้งองค์รวมของการศึกษาในปัจจุบัน ที่ไม่สามารถตามทันโลกในยุคโลกาภิวัตน์ จะเห็นได้ว่าการกำหนดหลักสูตรเป็นภาพรวมอาจไม่ตอบโจทย์สนองต่อการเปลี่ยนแปลงแข่งขันในโลกธุรกิจ หรือตอบสนองทั้งระบบครบวงจรที่นักศึกษาควรได้รับเลย จนทำให้ปัจจุบันได้มีนักธุรกิจหัวจำนวนมากไม่ได้ต้องการนักศึกษาที่เล่าเรียนมาเพียงทั่ว ๆ ไปเพียงแค่จบหรือสำเร็จในรั้วมหาวิทยาลัยที่เหมือนกันหมดจบมาแบบรวม ๆ เมื่อจะเข้าสู่การทำงานการจ้างงานก็ต้องไปเริ่มต้นเรียนรู้กันใหม่ ที่เล่าเรียนมาเป็นเวลานานล้าหลังและเป็นแค่เพียงความรู้พื้นฐานจริง ๆ เท่านั้นเช่นการมีมหาวิทยาลัยทางเลือกเฉพาะทางต่าง ๆ มากมาย เช่นการโรงแรม  หรือเพื่อธุรกิจบางอย่างเช่น สถาบันปัญญาภิวัตน์ที่ผลิตบุคลากรให้ทำงานในเครือ  CP ในประเทศไทยและอื่น ๆ อีกมากมายเป็นต้น

    ผู้เขียนยังให้ความสำคัญกับการศึกษา แต่การศึกษาในอนาคตอาจเปลี่ยนไปจากในอดีต โดยเฉพาะประเทศไทยที่ต้องปรับตัวปรับเปลี่ยนการศึกษาให้เท่าทัน และแตกต่าง ทุกวันนี้ผลิตกันได้แต่ปริมาณไร้คุณภาพไร้ความแตกต่าง ตามไม่ทันตลาดแห่งโลกปัจจุบัน หรือหากตามทันทำได้ทำเป็นก็มักจะเข้าสู่สายธารของอุตสาหกรรมยุคใหม่ ติดตามชอฟร์แวร์ขยะที่ต่างชาติออกแบบให้หลงใหลกันไปเพียงชั่วไม่ข้ามปี หากคิดจะติดตามหรือรู้ไม่เท่าทันเราคงต้องตกเป็นทาสอุตสาหกรรม”ไฮสปีดเหล่านี้กันต่อไป

  ข้อเสนอแนะ

               เราคงต้องหันกลับมาดูกลับมาศึกษาว่าเราจะอยู่จะกินอย่างไรประชากรการศึกษา ที่ลอยเหนือความเป็นจริง เช่นการส่งลูกเรียนภาษาฝรั่งเศส เทคโนโลยีที่คิดต่อยอดเองไม่ได้หรือเพียงแค่ผลิตบัณฑิตเป็นโหล ๆ เจ้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม ในอดีตอาจจำเป็นน้อยลงหากความเป็นจริงประเทศเราต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กับประเทศพม่า เขมร ลาว หากเราคิดในแง่ความจริงความเป็นไปได้ที่ศึกษาในสิ่งรอบตัวมูลค่าของทรัพยากรที่ในอดีตสูญสิ้นไปเพราะทำเป็นแต่การส่งออกวัตถุดิบไม่สามมารถเพิ่มมูลค่าหรือแปรรูปได้เองคงต้องเป็นเรื่องที่การศึกษาในยุคปัจจุบันต้องมองหาน่านน้ำสีครามใหม่  ๆ อยู่ตลอดเวลาอย่างรู้เท่าทันอย่างเป็นองค์รวมของการพัฒนา ทางสว่างที่มองเห็นชัดเจนและสดใสที่ผู้เขียนเห็นได้คือการน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มอบให้ คนไทยได้เห็นว่าหากเรา ไม่เริ่มต้นตอนนี้เยาวชนคนรุ่นต่อไปจะเหลือสิ่งใดให้ภาคภูมิใจให้ เพียงพอต่อคนรุ่นต่อไปดังคำพูดจาก นักปราชญ์ ฝรั่งที่ว่าทรัพยากรมีเพียงพอสำหรับทุกคนแต่ไม่พอสำหรับคนโลภเพียงคนเดียว

หมายเลขบันทึก: 493592เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2012 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท