กติกาการเล่น A - MATH


ส่วนประกอบในกระดาน
กติกาการเล่น A-math

การเริ่มต้น
1. ผู้เล่นจะต้องจับเบี้ยขึ้นมาฝ่าย ละ 1 ตัวเพื่อดูว่าฝ่ายใดจะได้เล่นก่อน โดยมีหลักคือเรียงตามตัวเลขจากมากไปหาน้อย เครื่องหมายทั้งหลายถือว่าต่ำกว่า 0 ทั้งหมด และตัวเลขที่ใกล้ 20 มากกว่าจะได้เริ่มเล่นก่อน และถ้าฝ่ายใดจับได้ Blank จะได้เริ่มก่อน (หากอีกฝ่ายจับไม่ได้เบี้ยที่เป็นเลข 20 )

2. ผู้เล่นจับตัวเบี้ยขึ้นมาฝ่ายละ 8 ตัววางบนแป้น โดยที่ผู้เริ่มเล่นก่อนจับก่อน

3. ผู้เล่นที่ได้เริ่มเล่นก่อนจะต้องจัดตัวเลขเป็นสมการในลักษณะหนึ่งลักษณะใด วางลงบนกระดานในแนวนอนหรือแนวตั้งเท่านั้นโดยต้องมีตัวเบี้ยตัวใดตัวหนึ่งที่ทับบนช่องดาวกลางกระดาน ตัวเบี้ยที่ทับบนช่องดาวจะได้คะแนนแป้น 3 เท่า เพราะช่องดาวกลางกระดานเป็นช่องสีฟ้า 

การลงสมการแรก

4. ผู้เล่นคนแรกจะต้องจับตัวเบี้ยในถุงขึ้นมาใหม่เท่ากับจำนวนตัวเบี้ยที่ใช้ไป จากนั้นจะเป็นตาเล่นของผุ้เล่นคนที่สอง ซึ่งจะต้องต่อสมการตัวเบี้ยที่มีอยู่ให้เป็นสมการโดยมีตัวเบี้ยที่ลงไปใหม่อย่างน้อยหนึ่งตัวสัมผัสกับตัวเบี้ยที่มีอยุ่แล้วในกระดานแล้ว อาจจะเป็นการเพิ่มตัวเลขลงบนสมการเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว

การลงสมการถัดไป

การคำนวณคะแนน

1. จากช่องคะแนนพิเศษทั้ง 4 แบบ คือ ช่องสีแดง (ทั้งสมการคูณ 3 ) ช่องสีเหลือง (ทั้งสมการ คูณ 2) ช่องสีฟ้า (คูณ 3 เฉพาะตัวที่ทับช่อง) และช่องสีส้ม (คูณ 2 เฉพาะตัวที่ทับช่อง) หากเกิดกรณีที่ผู้เล่นลงสมการซึ้งมีเบี้ยตัวเลขที่เล่นใหม่ทับช่องพิเศษมากกว่า 1 ช่องแล้ว คะแนนที่ได้นับจากจะนับคะแนนพิเศาแต่ละตัวก่อนแล้วค่อยนำมาคิดช่องพิเศษ ของทั้งสมการ ตัวอย่างเช่น
ผู้เล่น เล่น 7-7 = 6×0 ตัวเบี้ย 7 มีค่า เท่ากับ 2 แต้ม ทับบนช่องสีฟ้า ( เฉพาะตัวคูณ 3 ) เครื่องหมาย = มีค่า 1 แต้ม ทับช่องสีส้ม(เฉพาะตัว คูณ 2) เครื่องหมาย × ทับช่องสีเหลือง (ทั้งสมการคูณ 2) คะแนน การเล่นครั้งนี้เท่ากับ
[(2 x3)+2+2+(1 x2)+2+2+1] x 2 = 17 x2 = 34

2. ช่องพิเศษต่างๆนั้นสามารถใช้ได้ในการเล่นทับลงไปครั้งแรกเท่านั้น ในการเล่นครั้งต่อมาเบี้ยที่ทับอยู่บนช่องพิเศษนั้นให้นับคะแนนเฉพาะค่าของเบี้ยเท่านั้น

3. หากผู้เล่นลงเบี้ยใน rank ของตนเองหมดทั้ง 8 ตัว ต่อเป็นสมการหนึ่งสมการในครั้งเดียวได้จะถือว่า Bingo และจะบวกคะแนนบิงโก 40 คะแนนเพิ่มจากคะแนนที่คำนวณได้จากสมการ

การสิ้นสุดเกม

1. เกมสิ้นสุดเมื่อผู้เล่นคนใดคนหนึ่งใช้ตัวเบี้ยที่ตนมีอยู่จนหมด หลังจากที่ตัวเบี้ยในถุงหมดแล้ว หรือไม่มีผู้เล่นฝ่ายใดสามารถต่อสมการในกระดานได้อีก
2. หากผู้เล่นฝ่ายหนึ่งสามารถลงเบี้ยของตนเองหมด ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะยังคงมีตัวเบี้ยเหลืออยู่ ให้หาคะแนนรวมของตัวเบี้ยนั้นแล้วคูณด้วย 2 นำไปบวกให้กับผู้เล่นที่เป็นคนลงตัวเบี้ยหมดก่อน ยกเว้น BLANK ไม่ต้องติดลบ
3. หากผู้เล่นทั้งสงฝ่ายไม่สามรถต่อสมการในกระดานได้อีกหลังจากเบี้ยในถุงหมดแล้วและยังคงเหลือเบี้ยใน Rank ของตนเองอยู่ให้นำผลรวมคะแนนของเบี้ยที่เหลือไปหักลบออกจากคะแนนที่ได้
4. ผู้เล่นฝ่ายใดได้คะแนนมกกว่าจะเป็นผู้ชนะ

กติกาเสริม

1. หากผู้เล่นฝ่ายหนึ่งเห็นว่าผู้เล่นอีกฝ่ายลงสมการที่ไม่เป็นจริงในกระดานแล้วสามารถขอทักท้วงได้จากกรรมการการแข่งขัน และผู้เล่นฝ่ายที่ลงผิดจะต้องนำเบี้ยของตนออกจากกระดานแล้วเสียครั้งเล่นให้อีกฝ่าย
2. หากผู้เล่นไม่รู้ว่าอีกฝ่ายต่อสมการที่ไม่เป็นจริงแล้วสร้างสมการต่อจากสมการเดิมที่ไม่เป็นจริงให้เป็นสมการใหม่ ผู้เล่นอีกฝ่ายจะสามารถขอทักท้วงได้จากกรรมการได้เช่นกัน
3. ในการแข่งขันที่ไม่มีการจับเวลาหากผู้เล่นเห็นว่าอีกฝ่ายทำการยื้อเวลาในการเล่นสามารถทักท้วงจากกรรมการได้
4. ในการแข่งขันที่ใช้นาฬิกาจับเวลาหากเวลาของผู้เล่นฝ่ายใดหมดลงก่อนที่เกมส์สิ้นสุดจะถือว่าแพ้ทันที

หมายเลขบันทึก: 493207เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2012 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
กฤตติกา อํานวยเงินตรา

เยี่ยมมากค่ะ : ))

แล้วเขาใช้เวลากี่นาทีเวลาแข่งอะ

 

ดาวโหลดตรงใหน ครับง

การที่กรรมการมาสั่งให้หยุดเล่นหลังจากผู้แข่งไม่สามารถลงสมการได้3ตาแต่บนกระดานมีเบี้ยถามว่ากรรมการมีสิทธิ์ไหมที่จะมาตัดสินให้จบเกมครับ

กรรมการเกินหน้าที่ไหมครับที่จะมาดูแต้มการแข่งขันของผู้เล่นโต๊ะเดียวครับเพราะถ้ามาดูก็อยากให้ดูทุกโต๊ะเลยน่ะครับเพราะว่าผมรู้สึกกฎดันมากที่มานั่งดูในโต๊ะของผม

สามารถเปลี่ยนตัวเบี้ยติดต่อกัน3ครั้งได้มั้ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท