หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

ถ้ำทะลุที่รัก (ภาคพิเศษ) ตอนที่1.


เพื่อวารสารชุมชนศึกษา ...ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วทำให้ทุกพื้นที่สามารถและแลกเปลี่ยนเรียนรู้สื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างไร้พรมแดน วิถีชีวิตของคนในชุมชนก็ได้ปรับเปลี่ยนไปทั้งด้านบวกและลบตามยุคสมัย

ถ้ำทะลุที่รัก (ภาคพิเศษ )  

 

(1)แนะนำทำความรู้จักคุ้นกันก่อน

 

บ้านถ้ำทะลุ ตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของฉัน บ้านถ้ำทะลุ เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา  จังหวัดหนึ่งเดียวในภาคใต้ที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเล

•ยินดีต้อนรับสู่จังหวัดยะลา  "ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน"

 

ก่อนที่เราจะไปถ้ำทะลุเราจะต้องผ่านตัวเมืองยะลาซึ่งเป็นตัวจังหวัด ถึงยะลาแล้วก็ทำความรู้จักกับ “ ยะลา เป็นชื่อเรียกสำเนียงภาษามลายูพื้นเมือง มาจากคำว่า “ยาลอ” แปลว่า แห ” 

เมื่อเดินทางออกจากตัวเมืองยะลาเราจะใช้เส้นทางถนนสาย 410 ยะลา-เบตง มุ่งหน้าไปสู่ตัวอำเภอบันนังสตา  “ บันนังสตา เป็นภาษามลายูปัตตานี แปลว่า นามะปราง ”

 

เข้าเขตพื้นที่ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา ถึงทำการอำเภอ จากอำเภอบันนังสตา ระยะทาง 12 กม. ตรงไปเรื่อยๆ ถึงทางเข้าเขื่อนบางลาง

 

•ทางเข้าเขื่อนบางลาง 

 

เราจะเห็นป้ายทางเข้า เขื่อนบางลาง ตรงไปเช่นเดิม เราจะผ่านบ้านกาโสด , เลยไปซ้ายมือมองเห็นทางเข้าถ้ำกระแชง , คลองน้ำขุ่น

 

 

 

 

ถึงคลองน้ำขุ่นก็เป็นเขตตำบลถ้ำทะลุ แล้ว (คลองน้ำขุ่นเหมือนเป็นเส้นกัั้นเขตพื้นที่ระหว่างตำบล) เข้าสู่เขตรับผิดชอบความเรียบร้อยของบ้านเมือง สถานีตำรวจภูธรบาตูตาโมง พื้นที่ 67 ตารางกิโลเมตร คือ ตำบลถ้ำทะลุ ทั้ง 5 หมู่บ้าน 

 

(2) ถ้ำทะลุ  (ThamThalu ) เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ณ ชายแดนไทยมาเลเชีย

 

เกี่ยวกับตำบลถ้ำทะลุ

เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบันนังสตา จำนวนหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน

หมู่ 1 บ้านถ้ำทะลุ หมู่ 2 บ้านนาซัว หมู่ 3 บ้านบันนังบูโบ หมู่ 4 บ้านดีดะ หมู่ 5 บ้านตังกะเด็ง

อาณาเขตตำบล

ทิศเหนือ ติดกับ อ บันนังสตา, อ ยะหา จ.ยะลา
ทิศใต้ ติดกับ ต.คีรีเขต อ.ธารโต จ.ยะลา
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา
ทิศตะวันตก ติดกับ ประเทศมาเลเซีย

องค์กรการปกครองท้องถิ่น

อบต. ถ้ำทะลุ  ประเภทองค์กร อบต. ขนาด เล็ก

ที่ตั้ง เลขที่ 7/1 หมู่ 3 ถนน สุขยางค์ ตำบล ถ้ำทะลุ อำเภอ บันนังสตา จังหวัด ยะลา

จำนวนประชากร 2,737 คน ชาย 1,502 คน หญิง1,235 คน จำนวนครัวเรือน 1,100  ครอบครัว*

(*หน่วยงานเจ้าของข้อมูล  ที่ทำการปกครองจังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552)

 

การนับถือศาสนา  :  ศาสนาพุทธและอิสลาม

อาชีพหลัก   : ทำสวนยางพารา

อาชีพเสริม  : ทำสวนกล้วยหิน , สวนผลไม้ เช่น ทุเรียน ลองกอง เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์เด่น : ผลิตภัณฑ์กล้วยหินแปรรูป ที่ทำมาจากกล้วยหิน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตำบลถ้ำทะลุ 

กลุ่มส่งเสริมอาชีพเกษตกรที่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการ ได้แก่

-      กลุ่มสตรีพัฒนา  4 หมู่ 1 บ้านถ้ำทะลุ ตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา 95130 โดย นางสมบูรณ์ ศิริวัฒน์

-      กลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรีถ้ำทะลุ  317 บันนังบูโบ หมู่ 3 ถ.สุขยางค์ ตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา 95130 โดย : นางติ๋ว ศิริทาน 

นอกจากกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพจากส่วนราชการแล้ว ก็ยังมีเกษตกรที่ผลิตผลิตภัณฑ์กล้วยหินฉาบแบบอิสระ เป็นการผลิตภายในครัวเรือน โดยนำกล้วยที่ปลูกในสวนนำมาแปรรูปเพื่อส่งขายเองเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว หลายครอบครัวเช่นกัน 

นอกจากผลิตภัณฑ์กล้วยหินแปรรูปแล้วก็ยังมี ผลิตภัณฑ์อื่นๆเช่น : ทุเรียนกวน ทุเรียนทอดกรอบ  ฯ 

 

 


 

 

(3)จุดหมายที่กำลังมุ่งไป ... หมู่ 1 บ้านถ้ำทะลุ ตำบลถ้ำทะลุ 

 

•เขตพื้นที่ตำบลถ้ำทะลุ หน้าบ้านด่านแรก ก็คือ หมู่ 3 บ้านบันนังบูโบ 

 

 •ถึงแล้วเขตตำบลถ้ำทะลุ ตรงนี้เป็นหมู่ 3 บ้านบันนังบูโบ ไปหมู่ 1 บ้านถ้ำทะลุ เลี้ยวขวา ... ตามป้าย  ...

 

 

••เลี้ยวขวา ...  ตรงไปโน้นเลย เห็นภูเขาลูกนั่นไหม ใช่เลย ...

ระยะทาง 5 กม. ก็จะถึงที่หมาย "ถ้ำทะลุ" ซึ่งเป็นศาลเจ้าโรกิเตศวรโพธิสัตย์กวนอิม

 

(4) สถานที่ ที่น่าสนใจ : ศาลเจ้าแม่พระโพธิ์สัตย์กวนอิม ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 บ้านถ้ำทะลุ   ชาวบ้านจะเรียกที่นี่ ว่า "ถ้ำทะลุ"

 

ถ้ำทะลุ เรื่องเล่าความเป็นมาในความทรงจำของข้าพเจ้า

 

บ้านถ้ำทะลุ เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของข้าพเจ้า จุดเด่นของหมู่บ้านเราคือ ภูเขาหินลูกโต ที่วางเด่นเป็นสง่าอยู่กลางหมู่บ้านของเรานั่นเอง

เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นมา ชื่อ “ถ้ำทะลุ”

จากคนเฒ่าคนแก่ที่เล่าต่อๆกันมา  ... กาลครั้งหนึ่ง มียักษ์ 2 ตนที่ต้องการจะตั้งตัวเป็นใหญ่เพื่อครอบครองพื้นที่บริเวณนี้  จึงท้าประลองความสามารถความแข็งแกร่งกัน เมื่อมีการต่อสู้ ยักษ์ตนหนึ่งโยนก้อนหินลูกโตนั้นใส่ฝ่ายตรงข้าม .... ในที่สุด ก้อนหินก้อนนั้น ก็วางเด่นอยู่ตรงกลางหมู่บ้านเรานั่นเอง ...

เรื่องที่ว่ามาข้าพเจ้าเคยฟังมาตังแต่เยาว์วัย จึงนำมาเรียบเรียงถ้อยคำแล้วเล่าสู่กันฟัง

เหตุจากภูเขาหินก้อนโตนั้น ... ลักษณะมีช่องว่างทะลุลอดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งได้ เป็นช่องเขาคล้ายประตูบ้าน ช่องเขาทะลุที่ด้านหนึ่งกว้าง เหมือนดั่งประตูหน้าบ้าน ส่วนอีกด้านที่เล็กกว่า ดั่งประตูหลังบ้าน

 

•ประตูด้านหน้าถ้ำ มองเข้าไปด้านในจะเห็นศาลที่ประดิษฐานองค์เจ้าแม่ฯ

 

   

•ประตูเล็กด้านหลังถ้ำทะลุ มองทะลุ เห็นถนนทางเข้าหมู่บ้าน 

 

   

•แหงนมองช่องประตูด้านหลังถ้ำ ย้อนแสงยามเช้า เจิดจ้าแจ่มจรัสเชียว 

 

ถ้ำทะลุ เปรียบเหมือนบ้านหลังหนึ่ง ที่มีทั้งประตูหน้าบ้านหลังบ้านและมีหน้าต่างพร้อมสรรพ ซึ่งเป็นบ้านที่ธรรมชาติสร้าง ...

ช่างสรรสร้างยิ่งนัก ธรรมชาติ คือ วิศวกรผู้ยิ่งใหญ่ ในหัวใจของข้าพเจ้า

 


 

เมื่อเดินผ่านเข้าไปภายในถ้ำ จะมองเห็นศาลเจ้าซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระโพธิสัตย์กวนอิม อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวบ้านถ้ำทะลุและพื้นที่ใกล้เคียง

 

•จากประตูถ้ำ เข้ามาชมถ้ำด้านใน ในภาพนี้เป็นวันงานสมโภชน์องค์เจ้าแม่ซึ่งเป็นงานประจำปี เราจึงมองเห็นถึงความมีชีวิตชีวาคืนมาอีกครั้งหนึ่ง

 

•ประตูด้านในศาลเจ้าฯ 

 

ภายในถ้ำบริเวณรอบๆศาลเจ้าแม่ฯ ก็มีพระพุทธรูป ที่ก่อตั้งขึ้นตามแนวสูงชันของผนังถ้ำเดินขึ้นตามทางเล็กแคบๆตามแนวหินด้านบนสุดมีบ่อน้ำเล็กๆน้ำเย็นชื่นใจชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นน้ำมนต์ นอกจากนั้นก็มี หินงอกหินย้อยรูปทรงต่างๆตามผนังถ้ำ ที่ความสวยงาม ดั่งงานจิตกรรมฝาผนัง ฝีมือจิตกรเอกมือหนึ่งแห่งธรรมชาติก็ว่าได้  

 

    

 

สำหรับคนที่ชื่นชอบความสงบร่มรื่นภายในถ้ำนั้นเย็นสบายเหมาะเป็นที่นั่งพักกายคลายเหนื่อยก็จะแวะมานั่งอ่านหนังสือคงเข้าที แต่ที่นี่สัญญาโทรศัพท์มือถือนั้นไม่ค่อยดี ต้องวิ่งรี่คอยหาคลื่น ...

 


 

 

ประวัติย่อ: ก่อตั้งศาลเจ้าโรกิเตศวรโพธิสัตย์กวนอิม

 

ศาลเจ้าฯซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นพระโพธิสัตย์กวนอิม ก่อตั้งขึ้นโดยหลวงจีน คณานุรักษ์ยี่เนี่ยว เมื่อจุลศักราช 1253 ปีเถาะ(พศ.2434 )หรือเมื่อ 121ปีมาแล้ว

เมื่อก่อนมีหลวงจีนและแม่ชีจีนประจำอยู่จนถึงปี พศ.2536 แม่ชี 2 ท่านสุดท้ายได้เสียชีวิตด้วยโรคชรา ในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน จนปัจจุบันนี้ไม่มีหลวงจีนและแม่ชีจีนอีกแล้ว มีเพียงชาวบ้านที่เข้ามาดูแลเก็บกวดขยะภายในศาลเจ้าแห่งนี้

แม้ว่าไม่มีหลวงจีนและแม่ชี ที่คอยเป็นธุระจัดการเรื่องต่างๆภายในถ้ำแล้วก็ตาม ด้วยความนับถือศรัทธาของชาวบ้านที่นี่ ในช่วงเดือนสี่ จะมีการจัดงานสมโภชน์องค์พระโพธิสัตย์กวนอิมขึ้นทุกๆปี มีการทำบุญถือศีลกินผัก สิ่งที่ขาดเสียมิได้นอกจากพิธีกรรมแล้ว จะต้องมีหนังตะลุง ความเชื่อว่าที่ปฎิบัติต่อๆกันมา  

ถ้ำทะลุวันนี้ เหลือไว้เพียงความทรงจำ วันที่ไร้ซึ่งหลวงจีนและแม่ชีจีน ไม่มีเสียงสวดมนต์ เสียง ป๊ก ป๊ก ป๊ก จากการเคาะไม้เป็นจังหวะตามเสียงสวดมนต์ กับภาพแม่ชีนั่งสมาธินับลูกประคำ แม้ภาพเหล่านี้กลายเป็นเงาจางๆในความทรงจำ แต่ความนับถือและเลื่อมใสศรัทธา มิได้จางหายไปจากใจชาวถ้ำทะลุ

ถ้ำทะลุวันนี้ มีเพียงความเงียบเหงา ไร้ผู้คนจากภายนอกพื้นที่แวะมาเยี่ยมเยือน ด้วยเหตุจากความไม่สงบในพื้นที่ชายใต้

ถ้ำทะลุวันนี้ เหลือเพียงความหวัง ว่าสักวันหนึ่งคงเหมือนดั่งเช่นเมื่อวันวานวันแห่งความทรงจำที่ดี กับพื้นที่ที่สงบสันติสุขร่มเย็นทั่วพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้  หวังไว้เช่นนั้น :)

 

 


 

เพื่อวารสารชุมชนศึกษา ...ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วทำให้ทุกพื้นที่สามารถและแลกเปลี่ยนเรียนรู้สื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างไร้พรมแดน วิถีชีวิตของคนในชุมชนก็ได้ปรับเปลี่ยนไปทั้งด้านบวกและลบตามยุคสมัย

 


 

 

 

"ถ้ำทะลุที่รัก" ยังมีเรื่องเล่า จะเล่าต่อ ในตอนต่อไป  ...

โปรดติดตาม นะคะ 

 

 


 

 

ขอขอบคุณ คุณ สวรินทร์ เบ็ญเด็มอะหลี  คณะศิลปศาสตร์ มอ. หาดใหญ่ ...

ที่กรุณาจุดประกาย  

 

 

......... >

 

หมายเลขบันทึก: 491180เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2014 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ว้าว ... บทความพิเศษ ๆ มาแย้ว ;)...

มีอะไรที่พี่หนูรีทำไม่ได้เน้อ....บันทึกอาหารก็สุดยอด....มาเขียนบันทึกการท่องเที่ยวก็สุดยอดอีกครับ

กำลังใจมาแล้ว ขอขอบคุณนะคะ คุณครูWasawat Deemarn  น้องทิมดาบทิมดาบ และคุณปริม...ปริม pirimarj..., :)

ดีจังค่ะ..เจ้าถิ่นนำเที่ยวเอง..

เห็นภาพแล้วน่าเทียวครับผมอยู่หาดใหญ๋หลายปีก่อนยังไม่ใด้ไปเที่ยวเลยครับคุณนารี..

Blankขอบคุณค่ะพี่ใหญ่

ระยะหลังมานี้เมืองยะลาเงียบเหงามากๆ เจ้าถิ่นเองก็ขาดความมั่นใจไปบ้าง แต่เพราะเป็นถิ่นฐานบ้านเกิด ด้วยรักและผูกพัน จึงต้องอยู่กันตามประสาชาวบ้านต่อไปค่ะ :)

สวัสดีค่ะคุณฅนล่าฝัน 

เมื่อก่อนนี้พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนที่เป็นชาวหาดใหญ่ก็จะร่วมงานสมโภชน์เจ้าแม่ฯเป็นประจำทุกปี ระยะหลังเหตุการณ์ไม่ค่อยสงบผู้คนจึงห่างหาย 

ขอบคุณค่ะ :)

โห....ติดชายแดนเหมือนกันเลย

เป็นคนชายขอบเหมือนกันนะคะเนี่ย

ขอบคุณทุกๆท่านที่แวะมาเติมกำลังใจให้นะคะ 

Blank    อ.วัตWasawat Deemarn
Blank    ท่านอาจารย์ชัด บุญญา
Blank    น้องหมอทพญ.ธิรัมภา
Blank    พี่ใหญ่นาง นงนาท สนธิสุวรรณ
Blank    อาจารย์บุษยมาศ
Blank    คุณปริม...ปริม pirimarj...
Blank    ท่านพระมหาแล อาสโย ขำสุข
Blank    อาจารย์kwancha
Blank    น้องหมอทิมดาบ
Blank    คุณMahakan

จำได้ว่าตอนเด็กๆคุณพ่อเคยพาไปเที่ยวค่ะ บรรยกาศดีมาก ไม่แน่ใจว่าที่นี่หรือเปล่าที่ได้ทานกล้วยหินต้มอร่อยๆด้วย :-)

คิดถึงถ้ำลุคับผม

ผมจำได้ว่าตอนสมัยเด็กๆเคยไปเที่ยวที่ถ้ำทะลุกับเพื่อนจำปีไม่ได้แต่ช่วงประมาณโรงเรียนถ้ำทะลุถูยุบใหม่ๆอาคารยังสวยสนามเด็กเล่นยังมีเครื่องเล่นที่ทำจากเหล็กพลาสติกวางเรียงรายพอไปถึงเห็นภูเขาลูกงามกลางหมู่บ้านได้เข้าไปดูก็พบกับศาลเจ้าชั่งงดงามมากก็ได้ไหว้เจ้าและเดินสำรวจไปทั่วและห่างออกไปไม่มากก็มีสำนักสงฆ์ที่มีพระอยู่ไม่มากและได้ไปปีนเขาไปหาต้นปลงที่งดงามห้อยแตะตาอยู่ที่หน้าผา วันนั้นก็ได้ต้นปลงเล็กๆสองสามต้น ช่วงนั้คึกคักมีคนมากมีโรงโม่หินหรือทำหินอ่อนประทาณนั้น คนส่วนใหญ่เป็นคนจีน สาวๆก็งามยิ่งนัก แทบกลับบ้านไม่รอดเข่าอ่อนเมื่อเจอนางๆ ทุกวันนี้ยังอยากจะไปอยู่อีก ยังมีถ้ำกระแชงที่บ้านกาโสดงดงามด้วยถ้ำเล็กถ้ำใหญ่สายน้ำที่เย็นจัยใจแหนมองสู่ผาใหญ่น้อยปกคลุมด้วยไม้ใหญ่น้อยลดหลั่นเชียวขจี อยากบอกว่าหากใครไปรับรองว่าหลงยิ่งกว่าสาวถ้ำทะลุแน่แท้ เมื่อขึ้นไปบนถ้ำทะลุมีพระพุทธรูปใหญ่เลกจัดวางได้สวยงามมีทุกปางให้กราบไหว้ ยอดเขาที่ไปถึงปกคลุมด้วยกล้วยไม้นาๆพันธ์ออกดอกชูช่อแข่งกันโชว์ความงามมองไปไกลๆภูเขาเล็กใหญ่เรียงรายสุดลูกหูลูกตาต้นไม้เขียวขจีสุดลูกหูลูกตา ยามนั้นเหมือนดั่งอยู่บนสวงสวรรค์ชั้นดาวดึง งามกว่าแหล่งท่องเที่ยวดังๆอีกยะลาบ้านเรามีแหล่งท่องเที่ยวมากมายโดยเฉพาะอำเภอบันนังสตามีที่ท่องเที่ยวเช่น เขื่อนบางลาง ป่าบาลาฮาลา ถ้ำกระแชง ถ้ำทะลุไหว้เจ้าแม่กวนอิมและของฝากกล้วยหินฉาบ สะพานสมัยสงครามโลกครั้งที่สองสะพานหงสกุลหรือเรียกว่าสะพานยีราปันสนามก๊อฟเขื่อนบางลางก็มีใครที่ชอบกีฬาผู้ดีผมว่าหากไม่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ จัดการท่องเที่ยวให้ดีผมว่าคนที่มาไม่ผิดหวังแน่ และต่อไปที่ธารโตและเบตง คนในพื้นที่รับทรัพย์ ทั่งผลไม้ทุเรียนสางสาดลองกองมังคุดเงาะและผลไม้ป่าอีกมากมายอะไรจะเกิดขึ้นหากมีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ลองคิดสโลแกนการท่องเที่ยวของบันนังสตา ยังมีเรื่องเล่าจากคนเฒ่าคนแก่เรื่องสมบัตรโปราณที่บ้านเก้าโสดที่เราเรียกว่า กาโสด มีเรื่องเล่าว่าสมัยสร้างพระธาตุเมืองนครมีคนนำสมบัตรจากเมืองลังกามากับเรือสำเภาเพื่อไปร่วมสร้างพระธาตุเมืองนครเมื่อมาถึงแถวกาโสดปัจจุบันได้ทราบว่าเขาสร้างพระธาตุเสร็จแล้วคนกลุ่มนี้จึงกลับแต่ก่อนกลับได้ฝังสมบัตรเงินทองมากมายเขาเล่าว่าวางสมบัตรเป็นเก้าแถวแล้วขุดฝังไว้แล้วทำการฆ่าทหารหรือคนที่ติดตามมาหลาวคนเพื่อให้เป็นปู่เจ้าเผ้าทรัพย์ไว้หลังจากนั้นจึงเรียกที่นั้นว่าเก้าโสดต่อมาแผลงคำมาเป็นกาโสด ที่ฟังมารู้สึกอย่างไรกับอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ยากจะมาใช่ปะ มาดิผมจะพาไปเที่ยว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท