นักศึกษาพยาบาลกับการแสดงบทบาทสมมติ


        วันนี้ชลัญได้พาน้องๆนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  นครราชสีมา มา จัดโครงการ  "พลังมดใส่ใจโรคไข้เลือดออก" ที่โรงเรียนบ้านท่าหลวง  ต.ท่าหลวง อ.พิมาย  จ.นครราชสีมา  ซึ่งกิจกรรมที่นักศึกษาดำเนินการให้ความรู้กับนักเรียนนั้น  ใช้รูปแบบ "บทบาทสมมติ "  แสดงให้นักเรียน ในระดับชั้น ประถมศึกษา ปี ที่ 4-6 ซึ่งได้รับความสนใจและความสนุกสนาน คละเคล้าไปด้วยความรู้มากมาย  ซึ่งในตอนแรกนั้น นศ.เขียนโครงการมาส่ง  ชลัญรู้สึกมันธรรมดาไปหน่อย  ไม่ต่างกับการให้ความรู้ที่เด็กเคยได้ใน ชั้นเรียน จึงแนะนำให้คิดวิธีใหม่ ให้เหมาะกับวัยเด็ก  ซึ่งนศ.ก็ทำได้ดีทีเดียว  แถมแต่งเพลง มาร้องเพิ่มความสนุกสนานด้วย

       เพลง ไข้เลือดออกมาจากไหน

         พบ: ไข้เลือดออกนั้นมาจากไหน  มีใครรู้มั๊ย รีบไวช่วยตอบมา ๆ

        นร :หมอขาหนูรู้ค่ะ  หมอขาหนูรู้ค่ะ  ยุงลายนั้นหนานำไข้เลือดออกไง

        พบ:  รู้แล้วเราวางใจมั๊ย  ๆ จะทำอย่างไร ไหนใครช่วยตอบที

        นร:  หนูรู้ ต้องดูแลบ้านๆ เก็บแหล่งเพาะพันธ์ ยุงลายนั่นไง  

       พบ:(พูด ) แล้วตรงไหนบ้างล่ะ

       นร: (พูด)   ก็ขาตู้กับข้าว  แจกัน อ่างน้ำเรารีบเก็บล้าง ใน 1 สัปดาห์

      (พร้อม) เท่านี้ก็ดูแลได้ ๆ เห็นมั๊ยง่ายๆ ไกลไข้เลือดออกเอย

     ตามทฤษฎีการรับรู้(Perception)

        การรับรู้เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของบุคคล เพราะการตอบสนองพฤติกรรมใดๆ จะขึ้นอยู่กับการรับรู้จากสภาพแวดล้อมของตนและความสามารถในการแปลความหมายของสภาพนั้นๆ ดังนั้นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยการรับรู้และสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจัยการรับรู้ประกอบด้วย ประสาทสัมผัส และปัจจัยทางจิตคือ ความรู้เดิม ความต้องการ และเจตคติ เป็นต้น การรับรู้จะประกอบด้วยกระบวนการสามด้านคือ การรับสัมผัส การแปลความหมายและอารมณ์

      การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง

        จากการวิจัยมีการค้นพบว่า การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75% จากการได้ยิน 13% การสัมผัส 6% กลิ่น 3% และรส 3%

        และการสอนในรูปแบบบทบาทสมมติคล้ายการแสดงละคร นั้น   ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กจดจำได้  จากการใช้สื่อที่มีความแปลกใหม่ จะสามารถกระตุ้นระบบการทำงานของกระแสประสาทการรับรู้ผ่านAcetylcholine ในสมองส่วน Parahippocampal cortex ได้ดีกว่า ส่งผลให้ข้อมูลที่เข้าสู่สมองสามารถอยู่ได้นานมากกว่าการใช้สารสนเทศที่ผู้ป่วยคุ้นเคย อีกทั้งการรับรู้ที่เกิดจากการแปลความหมายสภาวะสุขภาพ ความเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจาการที่รับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) คือ  ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนังปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้นก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อการสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด 

        ชลัญจึงเก็บภาพกิจกรรมและ คริปวีดีโอมาฝาก  แต่ชลัญถ่ายรูปไม่เก่ง ภาพที่ได้ อาจไม่สวยงามเท่าไร  ค่ะ

ให้น้องๆออกมาร่วมกิจกรรม

ยกตัวอย่างยุงที่นำโรคไข้เลือดออกคือยุงลาย

สอนการดูแลตัวเอง ผ่านการแสดงละคร เมื่อป่วยแล้วต้องมาหาหมอ

สอนนักเรียน ผ่านการสอน ในบทบาทสมมติ

 

ยัง อัพโหลด วีดีโอได้ไม่หมดเดี๋ยวเอามาลงเพิ่ม  ให้นึกในใจไปก่อน พี่เลี้ยงบ้ายังไง นศ.บ้าได้ใจเหมือนกัน 5555555555ๆ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นักเรียนพยาบาล
หมายเลขบันทึก: 490372เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สนุกมากๆ เลยค่ะ เพื่อนหนูแต่ละคน เต็มที่มากๆ

A beautiful theory of learning --

curiosity, sensory contacts/entertainment, (where is) repetition and evaluation (?) ;D

By the way, I would suggest more attention to the (microphone?) cable on the ground. Two reasons:

  1. potential "health hazard" (accident) ;-)
  2. desensitizing young minds to this rather sloppy practice [ that is -- if we don't show the children how careful we are, why should they care? ]

เป็นสื่อที่ทำให้ผู้รับสื่อสนุกสนาน และเข้าถึงใจผู้รับได้ดีครับ...

ดีจังเลยค่ะ..เข้าใจง่าย..เป็น edutainment แบบไทยๆที่น่านำไปใช้..

ยุงของน้องชลัญ สวยจังค่ะ  คริ  คริ

การแสดงละคร  การแสดงบทบาทสมมุติ เป็นสื่อการสอนที่ใช้ได้ดี

ได้ผล และให้ความบันเทิงต่อผู้ร่วมกิจกรรมได้เสมอค่ะ

ขอบคุณ นะ อาจารย์Blank ที่แวะมาให้ กำลังใจหัวกระเทียม(ทอดกรอบ) (งอนแล้ว กลายเป็นคำฮิตติดปากชาว GTK ไปเลย อิ  อิ  อิ )

ขอบคุณน้องๆ วพบ.นม.ที่มาให้กำลังใจ รอดูคริปวีดีโอความบ้า ของตัวเอง วันนี้จะพยายามอัพโหลด ให้ได้ (ไม่ใช่อาจารย์เห็นแล้วจะเลิกส่ง นศ.มาฝึกงานซะงั้นเพราะพี่เลี้ยงไม่ปกติ อิ อิ อิ )

ขอบคุณนะทิมดาบBlank ที่มาให้กำลังใจ คิดว่าคงใช้มุกนี้บ่อยใช่มั๊ย

ต้องขอบคุณแทนชาวพิมายจริงๆที่มีอะไรดีๆให้ตลอด

 

ชอบไอเดียชุดยุงลายมากค่ะ เห็นอย่างนี้จำได้เกิน 75% :)

การสัมผัส (ผัสสะ) ฝรั่ง ยังขาด ใจ ไปอีกหนึ่ง สัมผัสด้วยใจติดโรคได้มากกว่าทางอื่นด้วยซ้ำ ... เลือดไม่ออกนอก แต่อาจตกใน อิอิ

ขอบคุณ  อาจารย์ ถางBlank ที่นานๆจะแวะมาให้กำลังใจ  สำหรับสัมผัส นั้น ชลัญให้ใจไปหมดทั้งใจแล้วอาจารย์  ( ตอนนี้รู้สึกใจหายแว๊บๆ แล้วนี่  อิ อิ อิ )

ขอบคุณพี่ใหญ่ Blank เด็กแสดงได้ ฮามากค่ะ

ขอบคุณBlank ที่ ชื่นชอบยุงชลัญ

ขอบคุณBlank ที่มาให้กำลังใจ

ขอบคุณBlank นศ.สมัยนี้เขา idea ดีมาก เราแนะนำนิดหน่อย คิดได้ไกลกว่าเราเยอะเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท