เครื่องตั้งเวลาปิดเปิด PCR machine


     เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า PCR machine ปัจจุบันน่าจะเครื่องมือทั่วไปที่หาได้ในห้องปฏิบัติการอณูชีววิทยา หรือห้องแล็บการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ เวลาที่เจ้าเครื่องพวกนี้ทำงาน มันจะมีการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิอยู่ สองส่วน ส่วนแรก คือ block หรือเป็นที่เสียบหลอดทำปฏิกิริยา กับส่วนที่สองคือ heater บริเวณด้านบนของหลอด ซึ่งเป็นการตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 103-105  องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันไอน้ำภายในหลอดไปเกาะบริเวณฝาหลอด ทำให้ของเหลวภายในหลอดแห้ง

     เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมนี้ บางรุ่นเมื่อทำงานเสร็จ จะมีระบบปิดตัวเอง คือปิดทั้งส่วนของ block และ heater ด้านบนฝาหลอด แต่เครื่องบางเครื่อง จะไม่มีระบบปิด heater ด้านบนฝาหลอด เช่นเครื่อง PCR ของ Applied Biosytems เป็นต้น ดังนั้นเพื่อเป็นการถนอมเครื่องมือ ผมมักจะทำการทดสอบในเวลากลางวัน เพื่อให้เมื่อทำงานเสร็จจะได้ปิดเครื่องได้ ก่อนกลับบ้าน ทีนี้พองานมากขึ้น มีการทดสอบหลายการทดสอบที่ใช้เวลาค่อนข้างนานมาก เช่น 6-10 ชั่วโมง มันก็ต้องเลยเวลางาน เมื่อก่อนผมก็จะกลับมาปิดเครื่องมือนี้เวลากลางคืนเสมอ แต่ปัจจุบันไม่ต้องแล้วครับ ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัจจุบันผมมีเครื่องตั้งเวลา ปิด-เปิด เครื่อง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีของจินตนา แล้วเรียกให้ช่างพีรยุทธ ช่วยประดิษฐ์ขึ้นมา ได้เครื่องมือหน้าตาอย่างข้างล่างนี้ครับ

     เจ้าเครื่องนี้ประกอบด้วยเครื่องตั้งเวลาปิดเปิด โดยสามารถตั้งเวลาได้ 24 ชั่วโมง ต่ออยู่กับปลั๊กไฟ เวลาที่เราต้องการใช้เครื่องมือใดก็ให้เอาปลั๊กไฟของเครื่องมือนั้นมาเสียบต่อเข้ากับเจ้าเครื่องมือนี้ดังภาพข้างล่าง

     จากนั้นก็ตั้งเวลาของเครื่องมือให้เป็นปัจจุบันครับ การตั้งเวลาล่วงหน้าจะตั้งจากพลาสติกเล็กๆสีขาว เป็นการต้้งเวลาปิดเครื่อง และพลาสติกเล็กๆสีส้มเป็นการตั้งเวลาเปิดเครื่อง อยากให้เครื่องปิดหรือเปิดเวลาใด ก็เสียบเจ้าพลาสติกเล็กๆนี้ลงในช่องตามเวลาที่ต้องการครับ

     จะเห็นได้ว่า สะดวกขึ้นอีกมากเลยครับ ไม่ต้องกลับมาปิดเครื่องมือเวลาดึกๆอีกแล้ว แต่เอ....อย่างนี้แล้วผมจะหาเหตุผลอะไรเวลาที่จะออกจากบ้าน ตอนดึกๆ ละครับ.....ช่วยบอกผมที......

หมายเลขบันทึก: 489795เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็น นวัตกรรมที่ดีมากคะ ขอบคุณ บทความดีๆนี้คะ

ฮาๆๆๆ...

คุณจินตนาเก่งจริงจ้า...นับถือๆๆๆ

แต่น่าจะคิดได้เร็วกว่านี้นะ ไม่ใช่ปล่อยให้เพื่อนฉันออกตะลอนทัวร์ยามดึกนานจนเบื่อ

เอ...หรือเพราะเพื่อนฉันหมดแรงปีนรั้วเข้าบ้านหว่า เลยใช้เป็นข้ออ้างให้ไม่ต้องออกจากบ้าน...  อิอิ

เรียน คุณ Somsri

ต้องยกให้เป็นความคิดที่ดีของคุณจินตนาครับ แล้วเป็นความเก่งของคุณพีรยุทธ ที่ช่วยจัดการแปลงความคิดที่ดีนี้ เป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้จริงครับ ผมเป็นเพียงผู้ใช้งาน แล้วนำมาถ่ายทอดครับ

แม่แมงมุม เพื่อนรัก

ฉันยังมีแรงปีนรั้ว เข้าบ้านอีกเยอะจ้า ไม่ต้องห่วงหรอก ที่น่าห่วงคือ ฉันจะหาข้ออ้างอะไรเพื่อออกจากบ้านต่างหากล่ะ....เฮ้อ...กลุ้ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท