เฏแต่งประโยค


สุทธิชัย หยุ่น เคยเล่าไว้ว่า สมัยเด็กถูกส่งไปเรียนภาษาอังกฤษกับครูที่เก่งที่สุดในหาดใหญ่ วิธีการสอนของครูนั้น ท่านให้แต่งประโยคทุกวัน วันละหลายประโยค ทั้งที่ยากและไม่สนุก แต่วันนี้ภาษาอังกฤษกลายเป็นเครื่องมือทำมาหากินที่สำคัญของเครือเนชั่น ที่ใครอยากจะทำงานที่นั่น พูดได้แค่ภาษาไทยภาษาเดียวคงไม่มีโอกาสได้ฝันเข้าเหยียบบนตึกสูงย่านบางนา

บนร้านอาหารเขาพับผ้า

วิธีการเรียนรู้ภาษาที่น่าสนใจของมนุษย์อีกอย่างหนึ่ง คือการแต่งประโยค

ตอนนี้เฏอายุ 21 เดือน กำลังเรียนรู้ภาษาอย่างเมามัน โดยก่อนหน้านี้พูดและจำได้เป็นคำ ๆ หลังจากนั้นก็เริ่มขยับเป็นสองคำ สามคำ และตอนนี้กำลังแต่งเป็นประโยค 

เล่นกับแมวบ้านอาเล็ก

http://www.youtube.com/watch?v=8NDabE6zDks&list=UU7ThqS-R9RjmBoobS-KjVjQ&index=4&feature=plcp

ความน่าสนใจอยู่ที่ เฏค่อย ๆ คิดหาคำมาต่อกัน อย่างช้า ๆ จนกลายเป็นประโยค บางครั้งถูกบ้าง ผิดบ้าง ไม่สำคัญ แต่น่าสนใจสำหรับกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเราผู้ใหญ่ หากต้องการเรียนรู้สิ่งใด ลองนำวิธีการเรียนรู้แบบเด็กทารกไปใช้ก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะไม่ใช่เพียงเรื่องของภาษา แต่รวมไปถึงทุกเรื่อง เช่น การเรียนรู้เทคโนโลยี วัฒนธรรม เป็นต้น 

เล่น lego กับพ่อ

เด็กนั้นเรียนรู้โดยปราศจากอคติ ข้อนี้สำคัญมาก ความรู้หรือประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในสมองเป็นภาพประทับ (ศัพท์แสงออกไปเชิงปรัชญาเสียหน่อย) ที่ไม่ถูกปรุงแต่ง ถือเป็นความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสโดยแท้

ลงลึกปรัชญามากเกินไปจะเบื่อได้ กลับมาที่เรื่องเฏ ประโยคที่เฏแต่งก็เช่น

"เฏเฏ drink chocolate" กว่าจะพูดออกมาจบประโยค เฏจะค่อยคิดออกมาที่ละคำ

"พ่ออยู่ข้างบน"

กริยาเดิมแต่เปลี่ยนประธาน  เช่น "แม่กลับบ้าน, พ่อกลับบ้าน, ยายกลับบ้าน, ฝิดกลับบ้าน, ต่อกลับบ้าน, Ann กลับบ้าน, Camille กลับบ้าน เฏคิดและค่อย ๆ พูดเปลี่ยนประธานไปเรื่อย ๆ จนหมดประธานที่เฏรู้จัก

นอกจากนี้ยังเชื่อมความสัมพันธ์ของคนที่รู้จัก เช่นถ้าพูดถึง น้ากิ่ง ก็ต้องพูดถึงน้าต่อที่เป็นแฟนของน้ากิ่งตามมาด้วย 

บางทีก็ชอบเพ้อก่อนนอนว่า "ฮะเก๋าอร่อยมาก หนมจีบอร่อยมาก" อันนี้บ่อย เพราะเป็นของโปรด และคงหิว

ที่น่าสนใจ คือเฏพูดสองประโยคที่มีความหมายคล้ายกัน ติดต่อกัน คือ

"ประตู เปิดอยู่" และ "ประตูไม่ได้ปิด"

ที่น่าขำตอนนี้ เฏคิดว่าคำว่า "ทำไม"เป็นประโยคบอกเล่า

เช่น เฏจะบอกว่า "เปิดทำไม" ซึ่งแปลว่า "เปิด"

เพราะทุกครั้งที่เฏเปิดพัดลม หรือโทรทัศน์ แม่จะถามบอกว่า "เปิดทำไม" 

ชีวิตคนเรานี่ ถ้าจะศึกษาในแต่ละหัวข้อวิทยานิพนธ์ คงศึกษากันไม่จบ เพราะทั้งหลากหลาย และมากมายมุมมอง

แวะกินข้าวบนเขาพับผ้า 

เล่นที่วางโคมไฟที่ร้านกาแฟ

ป้าโหน่งกับป้าเอ๊ะลงมาเยี่ยม

หมายเลขบันทึก: 487943เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีอาสามาช่วยพูดเฎต้องเก่งภาษาแน่ๆ และที่สำคัญ เฎชอบหนังสือ มาช่วยลุ้นแต่งประโยค

แม่เกตุ สงสัยต้องหาเวลาไปสนทนากับหลายสักทีแล้ว ^_^

เลี้ยงลูกสนุกอย่างนี้เองใช่ไหมคะ น้องเกตุ พี่โอ๋พยายามเขียนย้ำเสมอๆว่า การได้อยู่กับลูกและติดตามความเป็นไปของเขาในช่วงสิบปีแรกของชีวิตเป็นงานที่ดีที่สุดในชีวิตของเราเลยค่ะ และผลที่ตามมาก็คือ เขาจะมีความมั่นใจในตัวเอง เราไม่ต้องไปตามจ้ำจี้จ้ำไชหรือเป็นห่วงเป็นใยอะไรอีกเลยในแง่ความมั่นคงทางอารมณ์ความคิด ซึ่งพี่โอ๋ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิตคนเราทีเดียว ดีใจที่น้องเกตุได้มีโอกาสดีๆนี้และเก็บเกี่ยวมาฝากพวกเรา ขอบคุณนะคะ

เห็นด้วยกับพี่โอ๋อย่างมากค่ะ ในเรื่องของความมั่นคงทางอารมณ์และความคิด

หลายคนเห็นว่างานเลี้ยงลูกดูไม่มีเกียรติเท่าทำงานนอกบ้าน แต่เกตเห็นว่าการกล่อมเกลามนุษย์หนึ่งคนให้สามารถเติบใหญ่ เป็นกำลังสำคัญของสังคมนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ชีวิตในวัยเด็ก ส่งผลต่อการกระทำในวัยผู้ใหญ่มากมาย อย่างน้อยเราก็ไม่อยากให้ลูกของเราเป็นหนึ่งในผู้นำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือสร้างสงครามเพียงเพราะความกดดันจากอดีตวัยเด็กของเขา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท