-นักโบราณคดี
-สถาปนิก
-นักสืบ
-ผู้บริหารสูงสุดองค์กร (ceo)
-นักแกะสลัก
-นักวางผังเมือง
-นักจิตวิทยา
เออ...ผมว่าเข้าท่าว่ะ (โดยเฉพาะ “โบราณคดี” ได้ใจมาก)
ผมได้ไปทดสอบไอคิวครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิตแบบไม่ได้ตั้งใจเมื่อสัก 10 ปีมาแล้ว...ข้อสอบมี 40 ข้อ ผมทำผิดไปสองข้อ โดยสองข้อที่ผมทำผิดนั้น ผมได้เขียนร่ายยาวไปเฉ่งองค์กรทดสอบ (เป็นภาษาฝรั่ง) ว่า ข้อหนึ่งนั้นคุณให้ภาพมาไม่ครบ ผมเลยต้องเดา ส่วนอีกข้อ ผมว่าคุณเฉลยผิดนะ
ขนาดทำผิดไปสองข้อจาก 40 ข้อ ก็ยังได้รับการตัดเกรดว่าเป็นคนที่ฉลาดระดับเดียวกับ เพลโต และ สปิโนซ่า (Plato & Spinoza) (สองนักปรัชญาเอกของโลก) อย่างไรก็ดีเขาบอกว่า คนฉลาดระดับผมนี้ (อ้วก) มีอาชีพที่เหมาะสมกับระดับความฉลาดดังที่ได้ยกกล่าวไปแล้ว ....
ทำไมเมื่อก่อนเราไม่เคยคิดถึงเลยนะ ไอ้อาชีพพวกนี้ (สงสัยไม่ฉลาดจริงละมั๊ง) พอเขาว่ามาก็เห็นด้วยมาก ..ยกเว้น นักแกะสลัก ...จริงอยู่การแกะมันต้องการจินตนาการมาก เช่น หางม้าจะสะบัดอย่างไรให้สมจริงและดูดี แต่ว่าสุดท้ายคอขวดมันอยู่ที่ทักษะด้านกายภาพ ด้านมือด้วยนะ (ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับมันสมองมากนัก) ถ้าคุณคิดว่าแกะสลักฉลาด ดังนั้น การวาดเขียน นักแต่งเพลง ก็ต้องฉลาดด้วยสิ
ผมมาคิดต่อยอดว่า อาชีพสำหรับคนฉลาดมากที่สุด (ทำแล้วไม่น่าเบื่อ) คือ
-นักเศรษฐศาสตร์
-นักสังคมศาสตร์เชิงวิจารณ์
-นักถ่ายรูป
-นักเทศน์
-ทนายความ
-นักวิจารณ์งานศิลป์ เพลง
ท่านอาจงงเรื่องนักถ่ายรูป แต่ผมว่าอาชีพนี้เป็นน้อยอาชีพ (อีกอันคือสถาปนิก) ที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์มากพอกัน โดยไม่ต้องอาศัยทักษะทางกายภาพ (พรสวรรค์ด้านการใช้มือ เช่นการวาด การปั้น การแกะสลัก) เข้ามาเกี่ยวข้อง ...การวิจารณ์สังคมที่ดีก็ต้องมีความรู้หลากหลายด้านมาก ไม่งั้นจะมีช่องโหว่ให้โจมตีได้
ที่น่าแปลกและไม่มีในรายการคืออาชีพ นักวิทยาศาสตร์ หมอ วิศวกร ซึ่งผมก็เห็นด้วยอีกนั่นแหละ เพราะผมว่าอาชีพเหล่านี้ฉลาดอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องการความอดทนด้วย (อดทนทำงานวิจัยอันแสนเหนื่อยยาก) ..ซึ่งคนฉลาดมากนั้น มักมีจุดอ่อนคือ “ขาดความอดทน” ...มันเป็นการชดเชยตามธรรมชาติ ลักษณะที่ดีของนักวิทยาศาสตร์ หมอ วิศว คือ ฉลาดมาก แต่ไม่ฉลาดที่สุด
ส่วนการเป็นนักวิจัย หมอ วิศวะ ที่หลายคนนิยมหนักหนานั้น แท้จริงแล้วไม่ต้องการความฉลาดสูงสุด (ถ้ามีก็อาจมากเกินพอไปแล้ว ก็ไม่จำเป็น) เพราะส่วนใหญ่พวกนี้เป็นระบบเหตุผลห่วงโซ่เชิงเส้น (linear thinking) คลำไปเรื่อยๆ อย่างอดทน เดี๋ยวก็เจอเอง
ก่อนวิจารณ์ผม พึงเข้าใจว่าอาชีพที่เหมาะกับคนฉลาด กับอาชีพปัจจุบันที่คนฉลาดถูกจับพลัดจับผลูเข้ามาทำนั้น มันคนละเรื่องกันนะครับ สำหรับผมถ้าให้เลือกอาชีพใหม่ได้ผมอยากเป็น นักคณิตศาสตร์ นักพฤกษศาสตร์ และนักเทศน์ตามลำดับ (จะเห็นว่า เป็นงานที่ ทำได้ด้วยตัวคนเดียว ไม่ต้องง้อคนอื่น ทั้งสิ้น)
...คนถางทาง (๔-๕-๕๕)
ปล..สี่หัวข้อสอบไอคิวที่ผมสอบและคะแนนคือ
คณิตศาสตร์..10/10
ตรรกศาสตร์...9/10
เชื่อมโยงรูป(ไม่รู้เรียกทางการว่าไร) ....9/10
ภาษาอังกฤษ... 10/10
ไอคิวได้ 140
สถานทดสอบแห่งนี้ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว (ที่ผมไปทดสอบ) มีคนทั่วโลกมาทดสอบประมาณ 200 ล้านคน คนเมกัน 100 ล้านคน เขาเฉลี่ยว่า คนเมกันภาคใต้มี IQ 107 ภาคเหนือ 110 (ส่วนคนไทยเขาไม่ได้จัด แต่ว่ากันว่า เด็กไทยวันนี้ประมาณ 88 ส่วนนักการเมืองไทย ไม่รู้ แต่คงไม่สูงไปกว่าพวกเด็กๆ หรอก อิอิ)
..IQ score เป็นเพียงตัวเลข คนมีโอกาสเรียนมากย่อมมีไอคิวมาก แต่อาจโง่สุดๆ ในหลายเรื่อง เช่น โง่ขนาดไปหลงเชือระบบการวัด IQ แล้วเอามากำหนดเป็นวาระแห่งชาติ เช่น บังคับเด็กให้กิน ไอโอดีน ไปโน่น ..นโยบายรัฐมารไทย
โล่งอก พบ. ยังไม่ถูกพาดพิง นึกว่าต้องเปลี่ยนอาชีพซะแล้ว...
มีเพื่อนชลัญคนหนึ่ง เป็นวิศวะกร แต่ปัจจุบันมาทำนาได้ภรรยาเป็นชาวเขมร สาวชาวบ้านที่มันลงทุนแต่งกะเขาไป 30000บาทแต่เขาปิดหมู่บ้านเลี้ยงมันยังกะเทพเจ้า
สมัยเรียนมัธยม เจอไอ้นี่ ตอนม.4 มันเรียนเก่งมากจน ครูจาก รร.บ้านนอกของมันพามาฝากไว้ใน รร.อำเภอ เรียนห้องเดียวกับชลัญ เรียน 4.00 ตลอด จบม.6 สอบติดแพทย์ และวิศวะ และอีกจิปาถะเพราะมันฉลาด แต่มันเลือกวิศวะเพราะแพทย์จบช้ากว่า จบมาวิศวะกับแพทย์เงินเดือนไม่แตกต่าง จบเข้าทำงาน บริษัทมือถือ ของไทยที่ขายให้ต่างชาติเรียบร้อย ถูกส่ง ไปอยู่เขมร ได้เมียมา 1 คน แล้วก็บ้าสีที่ควายชอบไล่ขวิด กลับมาเมืองไทยเข้ากับสีไหนก็ไม่ได้ สุดท้ายตอนนี้ไปทำนาอยู่บ้าน ยังบ้าสีเหมืนเดิมวันดีคืนดี ยิงปืนขู่ชาวบ้าน ถ้ามีการพาดพิงสีที่มันชอบ เพื่อนๆก็เลยไม่มีใครกล้าเข้าใกล้มันเลย แต่เสียดายความฉลาดที่มันมี น่าจะทำประโยชน์ให้ประเทศชาติได้มากกว่านี้
พี่ชายชลัญก็เป็นทหารเรือ ไต่เต้าจาก นร.จ่าพยาบาลทหารเรือ แต่จริงๆพี่ชายเก่งสอบได้ นายเรือ ด้วยให้อาจารย์ดูผลสอบให้ ปรากฎว่าอาจารย์คิดแทน เห็นบ้านเรายากจน รายงานตัวจ่าแล้ว กลัวไม่มีเงินค่าปรับ จึงไม่ยอมบอกว่าได้ จนกระทั่งหมดเขตรายงานตัว อายุน่าจะเป็นรุ่นน้องอาจารย์สัก 2-3 ปี ได้ ปจจุบันได้ นาวาตรีค่ะ
เพื่อนผมก็มี จบเอกจาก Emory U (คนไทยไม่ค่อยรู้จัก) เก่ง ฉลาด ดี แต่ชอบสีควายขวิด เพราะไปทำงานที่เขมร บริษัทเดียวกันกะเพื่อนชธ. นั่นแหละ แสดงว่า ความฉลาดนี้มันมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องมากเลยนะ
เสียดายโอกาสแทนพี่ชายชธ..นะ ..ฉลาดปานนี้ถ้าไปรร.นร. ป่านนี้อาจเป็นผบ.ทร. ไปแล้ว (ที่ตอนนี้เพื่อนสนิทผมเป็นอยู่...แต่ไม่รู้มันจะ เอาอยู่ ไหม)
เอาจริงๆ คณิตกับฟิสิกส์ ไม่เห็นจะต้องใช้ความอดทนตรงไหน เป็นวิชาที่สนุกมากๆ สนุกกว่าศิลป์-สังคมอีก และเราว่าคนที่ฉลาดที่สุดก็คงคิดเหมือนกัน
เรขาคณิต, พีชคณิต กับ เรขาคณิตวิเคราะห์ นี่เป็นเรื่องที่โคตรจะใช้ความเชื่อมโยงกับการคิดนอกกรอบเลยนะ
มีแต่พวกโจทย์ที่เป็นตัวอักษรแบบพวกเซต ความน่าจะเป็น สถิติ การเคลื่อนที่แนวตรง/นิวตัน/สมดุลกล(ฟิสิกส์) แล้วก็เลขฐานที่ใช้เหตุผลเชิงเส้นหรือ linear thinking อะไรที่คุณว่ามาซึ่งเป็นแค่ 10%-20% ของคณิตศาสตร์และฟิสิกส์
อันที่จริง ความน่าจะเป็น(สำหรับโจทย์ยากปานกลางถึงมาก) ถึงจะคิดแบบ linear ก็ได้คำตอบ แต่ถ้าจะคิดลัด หลายๆครั้งก็ต้องใช้ความคิดนอกกรอบ/เชื่อมโยงอีกนั่นแหละ
ขอถอนคำพูดเรื่องนิวตันกับสมดุลกล อาจจะไม่ต้องนอกกรอบ แต่ต้องเชื่อมโยงเป็นพอสมควร