หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

แรงสั่นบอกความเสียหายยังไง


แรงที่ส่งผลต่อสิ่งก่อสร้างได้ เริ่มที่ 5 ริคเตอร์ขึ้นไป 5.0-5.9 ริคเตอร์ จะสร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง ไม่สร้างปัญหากับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคง ความเสียหายรุนแรงเกิดขึ้นที่ 6 ริคเตอร์ขึ้นไป แรงทำลายของพลังงาน 5.0 ริกเตอร์ พอๆ กับระเบิดปรมาณูที่นางาซากิ 1.5 ลูก (ระเบิดที่นางาซากิมีพลังงานเท่ากับระเบิด TNT หนัก 21 กิโลตัน) 6.0 ริกเตอร์ เทียบเท่ากับระเบิดที่นางาซากิ 48 ลูก ( = 1.5 ลูก x 32 )

เวลาเกิดแผ่นดินไหว สิ่งที่ได้ยินเสมอคือขนาดของแรง หน่วยเป็นริคเตอร์ รับรู้กันมาว่า เมื่อรายงานตัวเลขเพิ่ม มีความหมายคือ เครื่องมือสามารถรับรู้และวัดแรงสะเทือนได้เพิ่มจากของเดิม 10 เท่า

แรงที่เกิดขึ้นเป็นผลจากพลังงานที่พื้นโลกปล่อยออกมา แรงสะเทือนที่วัดได้แต่ละตัวเลขให้ผลความเสียหายไม่เท่ากัน

ในตัวเลขทั้งหมดที่เคยตรวจจับ วัดแรงสะเทือนได้ มีค่าที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายเลยที่แรงต่ำกว่า 2 ริคเตอร์ แรงสั่นขนาดนี้คนไม่รู้สึก

แรงที่เกินกว่า 2 ริคเตอร์เป็นค่าที่คนเริ่มรู้สึก

แรงที่เริ่มมีความเสียหายบ้าง คือ แรงที่ค่า 3.0-3.9 ริคเตอร์ เสียหายปานกลาง

แรง 4.0 - 4.9 ริคเตอร์ยังไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้าง

แรงที่ส่งผลต่อสิ่งก่อสร้างได้ เริ่มที่ 5 ริคเตอร์ขึ้นไป 5.0-5.9 ริคเตอร์ จะสร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง ไม่สร้างปัญหากับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคง

ความเสียหายรุนแรงเกิดขึ้นที่ 6 ริคเตอร์ขึ้นไป

แรงทำลายของพลังงาน 5.0 ริกเตอร์ พอๆ กับระเบิดปรมาณูที่นางาซากิ 1.5 ลูก (ระเบิดที่นางาซากิมีพลังงานเท่ากับระเบิด TNT หนัก 21 กิโลตัน) 6.0 ริกเตอร์ เทียบเท่ากับระเบิดที่นางาซากิ 48 ลูก ( = 1.5 ลูก x 32 )

รัศมีของความเสียหายขึ้นกับขนาดแรง 6.0-6.9 ริคเตอร์ ก่อความเสียหายไปในรัศมีราว 80 กิโลเมตร แรงเพิ่มขึ้นอีกก็เสียหายกว้างกว่านี้

ความรุนแรงมากเกิดขึ้นที่ค่า 8 ริคเตอร์ขึ้นไป 8.0-8.9 ริคเตอร์ เพิ่มรัศมีความเสียหายเป็นร้อยกิโลเมตร

เมื่อแรงเพิ่มเป็น 9.0-9.9 ก็เป็นระดับ 'ล้างผลาญ' ได้กว้างไกลถึงพันกิโลเมตร แรงขนาดนี้เคยเกิด 1 ครั้ง ในรอบ 20 ปี ที่ประเทศชิลี เมืองวัลดิเวีย พ.ศ. 2503 ความรุนแรง 9.5 ริกเตอร์

ขนาดแรง 10.0 ขึ้นไป ทำลายล้างทุกอย่าง เคยเกิดกี่ครั้งไม่มีใครรู้ ไม่มีบันทึกความเสียหายไว้

การรู้ความเสี่ยงต่ออันตรายจากแผ่นดินไหวของพื้นที่ที่กำลังอาศัยอยู่ สามารถรู้ได้คร่าวๆจาก แผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย ที่กรมทรัพยากรธรณีทำไว้

สีต่างๆสื่อไปถึงระดับความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ กำหนดเขตเพื่อใช้ตัดสินใจสร้างอาคารที่อยู่อาศัยให้เหมาะรับแผ่นดินไหว แบ่งสีโดยใช้อัตราเร่งของดินเป็นเกณฑ์

สีเขียว เขต 0 แรงสั่นสูงสุดก็แค่ทำให้คนรู้สึกว่าพื้นสั่น (เทียบขนาดแรงสะเทือนไม่เกิน 3.9 ริคเตอร์) ไม่จำเป็นต้องสร้างอาคารที่สามารถรับแผ่นดินไหวได้ ( ความแรง 0 ริกเตอร์ เท่ากับแรงระเบิดของTNT 600 กรัม 1 ริกเตอร์=20 กก 2ริกเตอร์=600 กก 3ริกเตอร์ 20 ตัน)

สีเหลือง เขต 1 แรงสั่นสูงสุดรู้สึกได้ทั้งคนอยู่ในบ้านและคนนอกบ้านที่สัญจรไปมา นอนหลับก็ตกใจตื่นเพราะรู้สึกได้ (เทียบขนาดแรงอยู่ระหว่าง 3-4 ริคเตอร์) ความเสียหายอาจมีบ้าง (ความแรง 4 ริกเตอร์= แรงระเบิดของ TNT 600 ตัน)

สีส้ม เขต 2ก แรงสั่นสูงสุดถึงระดับทำให้ฝาแตกร้าว กรุเพดานร่วง ( เทียบขนาดแรงเกิน 4 ริคเตอร์แต่ไม่เกิน 5 ริคเตอร์) ความเสียหายมีได้ปานกลาง ( แรง 5 ริกเตอร์= แรงระเบิดของ TNT 20 กิโลตัน)

สีแดง เขต2ข แรงสั่นสูงสุดถึงระดับรถยนต์วิ่งไม่ได้ ตึกร้าว ชิ้นส่วนของตึกร่วงหล่น (เทียบขนาดแรงเกิน 5 ริคเตอร์ แต่ไม่ถึง 7 ริคเตอร์ แรง 6 ริกเตอร์= แรงระเบิด TNT 600 กิโลตัน)

แรง 7 ริกเตอร์= แรงระเบิดของ TNT 20 เมกะตัน

แรง 8 ริกเตอร์= แรงระเบิดของ TNT 600 เมกะตัน

แรง 9 ริกเตอร์= แรงระเบิดของ TNT 20,000 เมกะตัน

หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลจากเพื่อนๆ ฑูตพลังงาน และกรมทรัพยากรธรณี

หมายเลขบันทึก: 486535เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2012 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2015 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท