พราหมณ์ : การโล้ชิงช้า การผ่อนคลายของหญิงสาวในอินเดียและเกาหลี


หลังจากที่เขียนรื่องการโล้ชิงช้ามาพอสมควร ผู้เขียนได้อ่านพบการโล้ชิงช้าที่คล้ายคลึงกันของชาวอินเดียและชาวเกาหลีในหนังสือของ ส.พลายน้อย จึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

 

การเล่นโล้ชิงช้านั้นมิได้ปรากฏอยู่ในประเทศที่มีพื้นฐานความเชื่อเรื่องสร้างโลกเพียงอย่างเดียวตามคติของศาสนาพราหมณ์ไม่ ยังมีการละเล่นชิงช้ากระจากอยู่ทั่วไปทุกมุมโลกซึ่งแต่ละที่ก็มีความเชื่อและคติในการเล่นแตกต่างกันออกไป แม่แต่ในอินเดียเอง การเล่นโล้ชิงช้ายังมีจุดประส่งอื่นแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่  หรือแม้แต่เล่นกันเพียงแค่ความสนุกสนานก็มี ด้วยลักษณะที่ตั้งของภูมิประเทศที่อยู่ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตรให้ประเทศอินเดียมีอากาศที่ร้อน ดังนั้นจึงนิยมเล่นชิงช้ากันเพื่อให้รื่นเริงและผ่อนคลายความร้อน ส.พลายน้อย ได้ศึกษาถึงการโล้ชิงช้าที่มีอยู่ทั่งโลกดังนี้

 

ประเทศอินเดียตอนเหนือที่แคว้นราชสถาน มีเทศกาลหนึ่งเรียกว่า “เทศกาลทีช”  จะอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมคาบเกี่ยวเดือนสิงหาคม เรียกเดือนนี้ว่า “ศราวณะ” เทศกาลทีชคือเทศกาลการเล่นชิงช้าของหญิงสาวรุ่น ๆ ซึ่งช่วงนี้จะถือว่าเป็นวันอิสระของหญิงสาวโดยที่พวกเธอไม่ต้องทำงาน จะเล่นสนุกสนานเพียงอย่างเดียว กล่าวคือ พอถึงเทศกาลนี้ พวกพี่น้องของหญิงสาวที่ไปแต่งงานอยู่บ้านของสามีจะพากันไปขออนุญาตสามีของพวกเธอให้น้องสาวหรือลูกสาวของตนกลับไปเที่ยวบ้านพ่อแม่ในวันเทศกาลนี้ พวกสาว ๆ จะแต่งกายอวดโฉมกันอย่างสวยงามด้วยผ้าอาพรหลากสีสัน มีชุดหนึ่งเรียกว่าชุดอินทราธนุศหรือชุดสายรุ้ง อีกทั้งยังเขียนลวดลายที่ฝ่ามือ หลังมือ นิ้วมือเป็นรุปดอกไม้ รูปสวัสดิกะ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งในเทศกาลนี้ การโล้ชิงช้าในพิธีนี้ไม่มีอะไรมากมาย เพียงแค่ผูกชิงช้าไว้กับต้นไม้ บรรดาสาว ๆ รวมถึงผู้ที่แต่งงานแล้วจะผลัดกันโล้ชิงช้ากันสนุกสนานควบคู่ไปกับการร้องเพลง  ซึ่งดูแล้วไม่น่าแปลกอะไร แต่หากพิจารณาจึงขนบธรรมเนียมของอินเดีย จะทราบว่า เพศหญิงในอินเดียอยู่อย่างแสนลำบากเหลือหลายเนื่องด้วยกฎธรรมเนียมต่าง ๆ ทำให้พวกเธอแทบไม่มีเวลาเป็นของตนเอง เวลาทั้งหมดอุทิศให้กับบิดามารดา พระเจ้า ส่วนนางคนใดที่ออกเรือนแต่งงานแล้วยังต้องเพิ่มภาระในการปรนนิบัตรสามีมิให้ขาดตกบกพร่อง ฉะนั้นเมื่อมีเทศการวันปลดปล่อยสักทีหนึ่ง จึงเท่ากับว่าเป็นช่วงเวลาอันแสนจะมีค่าอันแสนจะหายาก ถึงแม้นว่าจะเป็นช่วงเวลาอันสั้นก็ตาม พวกเธอก็จะใช้เวลานั้นอย่างคุ้มค่าที่สุดด้วยการโล้ชิงช้านี่เอง

 

เกาหลีมีพิธีเล่นชิงช้าในวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ เรียกเทศกาลนี้ว่า “วันถั่นโอ”  ซึ่งคล้ายกับของอินเดียตอนเหนือคือ เป็นวันรื่นเริงของสาว ๆ วัยแรกรุ่นเท่านั้น ส่วนพวกที่แต่งงานแล้วจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับพิธีนี้  เมื่อเทศกาลนี้มาถึง บรรดาสาว ๆ จะพากันแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสดงดงาม ทาแก้มสีชมพู ปักช่อดอกไม้ที่มวยผม แล้วจะพากันเล่นโล้ชิงช้ากันอย่างสนุกสนานกอปรด้วยเพลงบรรเลงตามแบบเครื่องดนตรีวัฒนธรรมเกาหลี ด้วยชุดแต่งกายที่รุ่มร่ามยาวระพื้น แขนสื้อใหญ่ เวลาขึ้นไปนั่งไกวชิงช้าแต่ละครั้งทำให้ผ้าพลิ้วไสวสวยงามไปตามแรงโล้ อีกทั้งเสียงหัวเราะเจื้อยแจ้วของเด็กสาวฟังแล้วไพเราะเสนาะหู การเล่นชิงช้าที่ดูสดใสเช่นนี้ทำให้มีผู้กล่าวชมว่าดูราวกับนกกำลังบินท่ามกลางดอกไม้ร่วงโรย

 

วาทิน ศานติ์ สันติ

 

ส. พลายน้อย. เรื่องเล่าบางกอก. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา. ๒๕๑๘.

__________. แลหลังไปข้างหน้า. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : พิมพ์คำสำนักพิมพ์. ๒๕๔๕.

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 486432เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2012 02:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท