การเรียนรู้แบบโครงงาน


เรื่อง  การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

โดยประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญา  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

บทความ

                การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน  ครูผู้สอนได้นำกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์มาใช้  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา  แสวงหาหรือสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง  และกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์   สามารถนำทฤษฎีพหุปัญญามาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ 

             การวิจัยในครั้งนี้  เพื่อเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   และความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์  โดยประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2549  โรงเรียนบ้านพระบาทท่าเรือ  อำเภออุบลรัตน์  จังหวัดขอนแก่น  จำนวน  96  คน  จาก  2  ห้องเรียน  ได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive  Sampling) เพื่อใช้เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์  โดยประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญา  และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองมี   4  ชนิด  ได้แก่  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์  และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนแบบปกติ  แบบละ  16  แผน  ทำการสอนแผนละ 2-3  ชั่วโมง  รวมแต่ละแบบ  45  ชั่วโมง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์  ชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน  3  ฉบับ  ฉบับที่ 1  เรื่อง  การดำรงชีวิตของพืช  จำนวน  40  ข้อ  มีค่าความยากรายข้อตั้งแต่  .21  ถึง .76  ค่าอำนาจรายข้อจำแนกตั้งแต่  .21  ถึง  .68  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  .85  ฉบับที่ 2  เรื่อง  การดำรงชีวิตของสัตว์  จำนวน  40  ข้อ  มีค่าความยากรายข้อตั้งแต่  .21  ถึง .76  ค่าอำนาจรายข้อจำแนกตั้งแต่  .21  ถึง  .84  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  .89  ฉบับ  แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  จำนวน  30  ข้อ  มีค่าความยากรายข้อตั้งแต่  .21  ถึง .63  ค่าอำนาจรายข้อจำแนกตั้งแต่  .21  ถึง  .89  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  .83  แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  มี  2  ฉบับ  แบบประเมินโดยนักเรียน  จำนวน  25  ข้อ  ฉบับที่ 2   แบบประเมินโดยครูผู้สอน  5  ระดับ  จำนวน  18  ข้อ  และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์   เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales)  5  ระดับ  จำนวน  18  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy)  ตั้งแต่  .21  ถึง  .86  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  .73  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้   t-test   (Independent  Sanples) 

                ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

          1. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ  อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ  .05

         2. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์  มีมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ  อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ  .05

         3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์  มีความพึงพอใจในการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

 

หมายเลขบันทึก: 486356เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2012 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท