ชุมชนเราร่วมตักบาตรกับภิกษุณีและสามเณรี


ภิกษุณี (บาลี: ภิกฺขุณี; สันสกฤต: ภิกฺษุณี; จีน: 比丘尼) เป็นคำใช้เรียกนักบวชหญิง ในพระพุทธศาสนา คู่กับ ภิกษุ ที่หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น


         เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายนที่ผ่านมาเป็นเหตุการณ์ที่ชาวบ้านหมู่บ้านวังปริงตื่นเต้นกับการตักบาตรกับคณะภิกษุณีและสามเณรี ตลอดจนแม่ชีซึ่งนำโดยพระอาจารย์ธัมมทีปาแห่งทิพยสถานธรรม เกาะยอ จังหวัดสงขลา แต่ก่อนที่ครูนกจะสร้างบทนำเรื่องได้ละเอียดแบบนี้เกิดจากการสืบค้นย้อนหลัง เพราะก่อนหน้านั้นทุกอย่างเป็นคำถาม และเป็นการกระทำไปก่อนจะทราบข้อมูลทั้งสิ้น



          ปกติในช่วงเวลา ๐๕.๓๐ - ๐๖.๓๐ น. เป็นเวลาปกติในการตักบาตรของแม่ครูนก แต่วันนี้หน้าบ้านเรามีเพื่อนบ้านมาส่งเสียงพูดคุยดังพอจะทำให้ครูนกต้องตื่นมาจับประเด็นว่าเกิดอะไรขึ้นหน้าบ้านประกอบกับแม่มาบอกว่า "วันนี้จะสามเณรมาบิณฑบาตในหมู่บ้าน"  เราต้องหาเสบียงคลังในบ้านใส่ก่อนเนื่องจากไม่ได้เตรียมไว้ล่วงหน้าก็ได้เครื่องดื่มกึ่งสำเร็จรูปที่สามารถจัดได้ถึง ๙ ชุด  แม่ก็ออกไปเตรียมใส่บาตรพระปกติ สักระยะกลับเข้ามาบอกใหม่อีกว่า "ไม่ใช่สามเณรแต่เป็นแม่ชี"  ครูนกฟังแล้วผิดที่เราเมื่อวานชวนแม่ออกตลาดตอนเย็นไปซื้อกับมาเตรียมทำของใส่บาตรตอนเช้าทำให้พลาดข่าวสารของหมู่บ้านซึ่งจะกระจายเสียงในช่วงเย็น  

        เมื่อเตรียมของเสร็จครูนกก็ไปยืนหน้าบ้านซึ่งบรรดาแม่ๆ จับกลุ่มคุยกันว่า "แล้วพระปกติจะบิณฑบาตหรือไม่" ไม่มีคำตอบแสดงว่าระบบกระจายเสียงดังชัดเจนเฉพาะบริเวณอื่นยกเว้นแถบบ้านครูนก   ครูนกมองไปที่หน้าวัดก็เห็นนักบวชที่ไม่ใช่สามเณร และแม่ชีอย่างข่างลือของแม่เลย กลายเป็นภิกษุณี  ทันทีที่ได้คำตอบหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านก็เริ่มกระจายเสียงอีกรอบ มีการใช้คำว่า "สามเณรี" และบอกเส้นทางการเดินรอบหมู่บ้าน ครูนกสังเกตพบว่าคนในแถบบ้านครูนกยังไม่รู้จักคำว่า ภิกษุณี  ส่วนครูนกต้องใช้คำว่า รู้จักคำว่าภิกษุณี แต่ไม่เข้าใจอย่างละเอียด  ทำให้ในช่วงที่คณะภิกษุณีและสามเณรีเคลื่อนมายังแถบหน้าบ้านครูนกมีเสียงจากแม่บ้านคนหนึ่งว่า "เราได้ใส่บาตรกับแม่ชี" ครูนกจึงได้ยินคำอธิบายจากหัวหน้าคณะภิกษุณีชี้แจงชาวบ้านให้จำแนกแยกให้ออกเกี่ยวกับ แม่ชี สามเณรี และภิกษุณี

       สรุปวันนั้นชาวบ้านและครอบครัวครูนกได้
       ๑. ทำบุญตักบาตรตามแบบฉบับชาวพุทธ
       ๒. เรียนรู้คำว่า ภิกษุณี สามเณรีมากขึ้น
      ความเห็นเพิ่มเติมจากบรรดาแม่บอกนะ ว่า "ถ้ามีภิกษุณีก็ดีจะได้ศาสนาเข้มแข็ง" ครูนกถามบรรดาแม่ๆต่อว่าทำไมคิดแบบนั่น คำตอบเป็นเสียงเดียวกัน "ก็ศีลมากกว่า ๒๒๗ ข้อ นะสิ"  อดยิ้มกับคำตอบไม่ได้กฏ ระเบียบมากกว่าจะเข้มแข็งกว่า หรือเพราะภิกษุณีเพศหญิงจึงต้องเข้มและรัดกุมมากกว่า แต่อย่างไรสิ่งใดที่จะทำให้ศาสนาพุทธเข้าถึงการดำเนินชีวิตของคนเราได้มากขึ้นครูนกก็สาธุตามนั้นละเจ้าค่ะ
      

คำสำคัญ (Tags): #ภิกษุณี#สามเณรี
หมายเลขบันทึก: 486316เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2012 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอร่วมอนุโมทนาบบุญค่ะ ครูนก

  • เข้าใจว่าบ้านเราไม่มีภิกษุณี
  • ต้องไปบวชที่อื่น
  • แล้วมาอยู่บ้านเรา
  • ที่นครปฐม
  • มีวัดของภิกษุณีครับ
  • สวัสดีครับอ.noktalay
  • ตั้งใจมาแวะเยี่ยม
  • ขอบคุณที่นำสิ่งดีๆการทำบุญมาแบ่งปัน
  • การทำบุญตักบาตร หากเราปฎิบัติเป็นประจำได้
  • จะทำให้มีจิตใจแจ่มใจ มั่นคง ปล่อยวางได้อย่างสบาย
  • ตามหลักสำคัญ๓ ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท