ชีวิตที่พอเพียง: ๑๕๔๔. Inspiration Deficiency Syndrome


ผมสรุปว่า Learning Outcome ที่สำคัญที่สุดของการศึกษาในทุกระดับ คือ ทักษะว่าด้วยแรงบันดาลใจ (Inspiration Skills) และจินตนาการ (Imagination Skills) ผมมองว่าทักษะทั้งสองนี้เกี่ยวพันกันจนเกือบจะเป็น สิ่งเดียวกัน

 

          ผมมีข้อสังเกต (ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด) ว่าสังคมไทยในภาพรวมเป็นโรค Inspiration Deficiency Syndrome  หรืออาจเรียกว่า Passion Deficiency Syndrome (เป็นชื่อที่ผมตั้งเอง)   ประสบการณ์จากการได้ใช้ชีวิตร่วมกระแสขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา ช่วยให้ผมได้ข้อสรุปนี้  

 

          ผมสรุปว่า Learning Outcome ที่สำคัญที่สุดของการศึกษาในทุกระดับ คือ ทักษะว่าด้วยแรงบันดาลใจ (Inspiration Skills) และจินตนาการ (Imagination Skills)   ผมมองว่าทักษะทั้งสองนี้เกี่ยวพันกันจนเกือบจะเป็น สิ่งเดียวกัน

 

          และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์

 

          ทักษะแรงบันดาลใจจะนำไปสู่การเรียนรู้ทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมนั้นๆ ในยุคนั้นๆ   

 

          ครูจึงต้องเรียนรู้ทักษะในการกระตุ้น ทำนุบำรุงแรงบันดาลใจของศิษย์   นี่คือหน้าที่สำคัญที่สุดของครู   และจะทำหน้าที่ได้ดี ต้องเอาใจใส่ศิษย์เป็นรายคน   และครูจะทำหน้าที่นี้ได้ดีตัวครูเองต้องแสดงแรงบันดาลใจ หรือไฟในการทำหน้าที่ครูของตนให้ศิษย์เห็นเป็นตัวอย่าง    ดังกรณีครูเรฟ ในหนังสือ ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ


          การศึกษาในปัจจุบัน ต้องก้าวข้ามสภาพ Informative Learning และ Formative Learning ไปสู่ Transformative Learning   นี่คือคุณภาพการศึกษาในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑

 

          การศึกษาไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันหยุดอยู่แค่ Informative Learning คือ “เรียนวิชา” ตามเป้าหมายให้ “รู้วิชา”    เวลาสอบ  ก็สอบว่า ศิษย์รู้วิชาหรือไม่

 

          นั่นคือการศึกษาในรูปแบบที่ล้าหลัง    เป็นการศึกษาที่จะนำพาสังคมไทยไปสู่ความอ่อนแอล้าหลัง

 

          การศึกษาที่ดีในปัจจุบัน เน้นที่ Formative Education คือ “เรียนปฏิบัติ” ให้สามารถนำเอาวิชาไปใช้งาน ประกอบอาชีพ หรือประกอบกิจการ ได้    นำเอาวิชาที่หลากหลาย ไปใช้ในสภาพชีวิตจริงได้

 

          แต่ก็ยังไม่พอ การศึกษาที่ดีในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ต้องไปให้ถึง Transformative Learning เกิดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงจิตใจขั้นรากฐาน ไปสู่ภาวะผู้นำ ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการรับใช้สังคม รับใช้ผู้อื่น   เพราะเป็นการเรียนรู้สู่ความเป็นคนระดับ ๖ ของ Lawrence Kohlberg

 

          สังคมต้องการคนที่มีแรงบันดาลใจ ในการฝึกฝนตนเองสู่การเป็น คนระดับ ๖

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๓ เม.ย. ๕๕

หมายเลขบันทึก: 486231เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2012 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 04:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในระดับมหาวิทยาลัยนั้นผมคิดว่าในชั้นเรียนที่มีผู้เรียนเป็นหลักร้อยๆ คนเช่นปัจจุบันนั้นคงเป็นไปได้ยากครับ อาจจะต้องเริ่มต้นกับการลดขนาดชั้นเรียนก่อนโดยเพิ่มสัดส่วนครูต่อผู้เรียนครับ

เรียน ท่านอาจารย์หมอที่เคารพ

  วิธีที่สร้างคือ การสร้างความตระหนักรู้ในชีวิตที่มีคุณค่า การเปิดความคิด เปิดจิต เปิดใจ พร้อมกับฝึกที่เจริญสติ เพื่อเห็นความเชื่อมโยงในสรรพสิ่ง เห็นอำนาจความเป็นไปของทฤษฎี หลักการ กฏต่างๆ ว่าคือสมมุติสัจจะภาวะ ที่อยู่ภายใต้สัจธรรม การเข้าใจสิ่งเหล่านี้ จะช่วยทำให้เราเห็นภาพและเข้าใจต่อความเป็นไปของสมมุติสัจจะภาวะ จึงนำไปสู่การพัฒนาตนและดำรงชีวิตอย่างไม่ประมาท เพราะการไม่เลื่อนลอยทางจิต ทางความคิด เห็นสัมมาทิฐิ เห็นดุลยภาพของทางสายกลาง เป็นการใช้ชีวิตอย่างไม่เบียดเบียนสุดโต่ง นั้นหละคือคนที่ทักษะมีตนเป็นที่พึ่ง และดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง ที่ผ่านมาเราฝึกผิดทาง จึงทุกข์เพราะไม่รู้จักธรรมชาติและตนเอง 

ด้วยความเคารพครับผม

     นิสิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท