หมออนามัย รถเร่จำหน่ายอาหาร


หมออนามัย รถเร่จำหน่ายอาหาร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

นิยาม

 “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบก ซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้ ยกเว้นแต่รถไฟ (พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ม.4 (9)

 “เร่” หมายความว่า เที่ยวไปไม่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้างขนส่งซึ่งไม่ประจำที่) เช่น เร่ขายของ เตร่ เดินไป เดินมาอย่างไม่มีจุดหมาย (พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542)

“จำหน่าย” หมายความว่า ขาย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือการมีไว้เพื่อการจำหน่ายด้วย (พรบ.อาหาร 2522)

รถเร่จำหน่ายอาหาร คือ ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ยกเว้นรถไฟ เพื่อการเร่ขายอาหารสด อาหารปรุงสำเร็จ และอาหารแปรรูป แบบไม่ประจำที่

“อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่นๆที่มีสภาพเป็นของสด

“อาหารปรุงสำเร็จ”หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำประกอบหรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทาน รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่างๆ

 

รถเร่จำหน่ายอาหาร คือ รถเร่จำหน่ายอาหารซึ่งเป็นการบริการรถเร่จำหน่ายกับข้าวหรือาหารสด รถกระบะที่ท้ายกระบะเต็มไปด้วย อาหารสด ไม่ว่าจะเป็นไข่ หมู เนื้อ ไก่ ปลา อาหารทะเลที่มีให้เลือกมากมาย บรรจุเต็มตู้แช่ หรือจะเป็นผักสดมากมายหลายชนิดมีทั้งที่ขายเป็นกำ เป็นกิโล หรือแบ่งใส่ถุงขาย ผูกห้อยระโยงรยางค์อยู่ข้างๆรถ หรือแม้กระทั้งอาหารแห้ง เครื่องปรุงรสต่างๆมากมาย เรียกได้ว่ายกตลาดสดมาไว้ท้ายรถกระบะเลยที่เดียว หรือเรียกได้ว่าตลาดสดเคลื่อนที่และเป็นที่น่าสังเกตว่า รถเร่จำหน่ายอาหารสดเหล่านี้ก็จะเลือกใช้เพลงหนึ่งเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ประจำรถของตน และเปิดไปตลอดเส้นทาง ทำให้ลูกค้าทราบว่ารถเร่จำหน่ายอาหารกับข้าวหรืออาหารสดมาถึงหน้าบ้านท่านแล้ว จนแม่บ้านบางคนอาจเรียกชื่อรถเร่จำหน่ายอาหารสดเหล่านั้นตามชื่อเพลงที่เปิดเลยก็มี บริการนี้ดูเหมือนจะถูกใจคุณแม่บ้านหลายๆท่านอยู่ไม่น้อยเลยที่เดียว โดยเฉพาะหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลตลาด หรือการเดินทางไม่สะดวกนัก หรือคุณย่าคุณยายอยู่บ้านและทำหน้าที่แม่บ้านซึ่งไม่สะดวกในการเดินทาง ดังนั้นบริการรถเร่จำหน่ายอาหารนี้ได้รับการตอบรับดีที่เดียว จุดขายที่สำคัญของรถเร่จำหน่ายอาหารนี้คือ อาหารราคาไม่แพงเกินไปนักอาหารสดใหม่ทุกวันให้บริการถึงบ้านทุกวัน  มีอาหารหลากหลายชนิด หรืออาจจะกล่าวว่าหากจะปรุงอาหารสักมื้อ สามารถชื้อเครื่องปรุงได้ครบทุกรายการจากรถเร่จำหน่ายอาหารเพียงที่เดียว หากจะมองว่านี่คือการนำกลยุทธ์การตลาดสดเคลื่อนที่ รถเร่จำหน่ายอาหาร ก็ไม่ผิดนัก เพียงแต่เป็นกลยุทธ์การตลาดแบบบ้านๆ ที่คนไทยคุ้นเคยมานานแล้ว เป็นการให้บริการถึงบ้าน ใช้เสียงเพลงที่เปิดเป็นประจำสร้างเป็นตราขายอาหาร เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย อีกหนึ่งของความคิด ที่น่าสนใจที่เดียว สำหรับเศรษฐกิจเช่นในปัจจุบัน

การขาย เป็นศิลปะของการชักจูงใจให้คนอื่นคิดหรือกระทำตามความคิดของนักขาย หรือการขายหมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ความจำเป็นและความต้องการของผู้มุ่งหวัง และช่วยค้นพบความจำเป็น ความต้องการ ที่จะได้รับการตอบสนองด้วยความพึงพอในจากการชื้ออาหารและบริการที่นักขายนำเสนอ บทบาทของการขาย เป็นการให้บริการชักจูงใจ การติดต่อสื่อสาร การแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการให้เกิดความพอใจและการให้การศึกษาแก่ผู้บริโภค

 

ตลาดนัด  คือตลาด ที่มีการกำหนดวันเปิดซื้อขายเป็นบางวันหรือบางเวลา ปกติแล้วจะมีลักษณะเป็นตลาดสด ซึ่งขายอาหารสดเป็นหลัก ในวันที่มีตลาดนัดจะมีผู้คนคึกคักทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย สินค้าอาจวางขายกับพื้นหรือวางบนโต๊ะหรือแผงที่สร้างขึ้นอย่างหยาบๆ นอกจากนี้ยังอาจมีรถกระบะวางขายสินค้าเบ็ดเตล็ดจำพวกของใช้ในครัวมาวางขายด้วย มักมีการขายอาหารปรุงเสร็จและขนมสำหรับผู้จับจ่ายซื้อขายในตลาดนัดด้วย  ตลาดนัดอาจจัดในสถานที่ที่แน่นอน หรือเปลี่ยนสถานที่ก็ได้ ความแตกต่างของตลาดนัดและตลาดสดก็คือ ตลาดสดนั่นเป็นตลาดที่มีสินค้าวางขายทุกวัน(อาจเว้นบางวันตามกำหนด) แต่ตลาดนัดมีกำหนดซื้อขายเพียงไม่กี่วันต่อสัปดาห์ หากเปิดขายเป็นประจำทุกวันก็จะไม่เรียกว่าตลาดนัด นอกจากนี้ตลาดนัดยังอาจขายสินค้าที่หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องขายอาหารสดเพียงอย่าเดียว เช่นเสื้อผ้า แผงหนังสือ เป็นต้น ปัจจุบันการเปิดตลาดนัดกว้างขวางขึ้นและยังมีการใช้คำว่าตลาดนัดสำหรับสินค้าอื่นๆ นอกเหนือจากอาหารสด เช่นตลาดนัดรถยนต์ ตลาดนัดบ้านมือสอง

วิธีการขาย การขายของในตลาดนัดเป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้เพิ่มรายได้กับใครก็ตามที่มีความสนใจไม่ว่าจะอยู่ในสถานอาชีพ

  1. เริ่มจากสินค้าว่าว่ามีราคาเช่นใด (หมายความว่า พอที่จะสู้กับตลาดในระดับใดได้บ้างราคาถูกหรือแพง)
  2. สถานที่ที่มีการจัดตลาดนัด (สถานที่ดังกล่าวมีตัวแปรต้องคำนึงว่ามีความใกล้กับสถานที่ใด อาทิ หมู่บ้านที่มีฐานะซึ่งคนทั่วไปมักคิดว่าคนเหล่านี้จะมีกำลังซื้อที่สูง แต่จากประสบการณ์คนที่อยู่ในชุมชนหรือจะเป็นสลัมมีผลต่อการค้าในตลาดนัดมากกว่าเพราะต้องกินต้องซื้อทั้งวัน แต่กับคนพอมีฐานะคนเหล่านี้มีหลายสิ่งที่ต้องควบคุมการใช้จ่ายเงินประกอบกินน้อยใช้น้อยด้วย)

ผู้ขาย ผู้ขายในตลาดนัด หรือพ่อค้าแม่ค้าในตลาดนัด มีหลายประเภท อาจแบ่งได้เป็น

  1. ผู้ขายตลาดนัดโดยเฉพาะ คือ มีอาชีพขายตามตลาดนัดเป็นหลัก โดยจะเร่ขายตามตลาดนัดแหล่งต่างๆทุกวัน เพื่อให้สามารถขายสินค้าได้ทุกวัน สินค้าที่ขายจะเหมือนเดิม หรือแตกต่างกันในแต่ละตลาดก็ได้ แล้วแต่ความชอบของลูกค้าตนเอง
  2. ผู้ขายเจ้าถิ่น ไม่ได้หมายความว่า เป็นนักเลงหรือผู้มีอิทธิพล แต่เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของประจำในบริเวณรัศมีประมาณ 5 กิโลเมตรของตลาด เหตุที่ต้องมาขายในตลาดนัดเพิ่มเติมเนื่องจากวันไหนมีตลาดนัด สินค้าตัวเองจะขายได้น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
  3. ผู้ขายมือสมัครเล่น เนื่องจากตลาดนัดโดยส่วนใหญ่ จะไม่มีการให้จับจองล่วงหน้าหรือกำหนดที่ตายตัว ใครมาตามนัดก่อนจะได้เลือกที่ขายก่อน ดังนั้นจึงเปิดกว้างให้ผู้ขายรายใหม่ เข้ามาขายได้ และเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของตลาดนัด ที่มีคนขายไม่ซ้ำหน้าและที่ประจำไม่มี ต้องเดินให้ทั่วตลาดนัด

 

ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) หรือ Minimart ร้านค้าปลีกพัฒนามาจากร้านค้าปลีกแบบเก่า หรือร้านขายของชำผสมผสานกับซูเปอร์มาเก็ต แต่ขนาดเล็กกว่า ให้ความสำคัญทำเลที่ตั้งร้านเป็นสำคัญ พื้นที่ขายไม่มากนั้น ส่วนใหญ่ขายสินค้าอุปโภคบริโภค จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน รวมทั้งอาหารและเครื่องดื่มประเภทอาหารจานด่วน สั่งเร็วได้เร็ว สะดวก ราคาไม่แพงเกินไป ทำเลที่ตั้งแหล่งชุมชน

สถานที่บริการน้ำมัน มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่ เป็นลูกค้าต้องการความสะดวก ต้องการซื้อสินค้าใกล้บ้านหรือใกล้สถานที่ทำงาน และที่สำคัญเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ประกอบร้านค้าประเภทนี้ 7-eleven am/pm และFamily Mart เป็นต้น

 

ร้านค้าประชันชนิด (Category Killer) พัฒนาจากร้านขายสินค้าเฉพาะประเภท จุดเด่นคือ สินค้าครบถ้วนประเภทนั้นๆคล้ายแยกแผนกใดแผนกหนึ่งในห้างสรรพสินค้า ออกไว้ต่างหาก นำสินค้าคุณภาพ และลักษณะการใช้งานใกล้เคียงกัน แต่ราคายี่ห้อต่างกัน จัดวางประชัน เพื่อให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบคุณภาพ และราคาสินค้า ผู้ประกอบการประเภทนี้ได้แก่ แม็คโคออฟฟิศ พาวเวอร์บาย พาวเวอร์มอลล์ ซูเปอร์สปอต เป็นต้น

 

ร้านค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) จำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่าง เน้นสินค้าเกี่ยวกับอุปโภคเกี่ยวกับเวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง ดูแลผิว ดูแลเส้นผม เป็นสินค้าหลากหลาย ตามลักษณะแฟชั่นและยุคสมัย สินค้าคุณภาพสูง บริการสะดวกทันสมัย กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือลูกค้าทั่วไป ผู้ประกอบการประเภทนี้ เช่น บู๊ทส์ วัตสัน Mark &Spencer เป็นต้น

 

ร้านค้าเงินสดและบริการตนเอง (Cash & Carry) จำหน่ายสินค้าให้ร้านย่อย หรือบุคคลที่ต้องการซื้อสินค้าคราวละจำนวนมาก ราคาขายส่ง หรือราคาค่อนข้างต่ำ ซึ่งเอื้อร้านค้าย่อย หรือร้านโชห่วย หาสินค้ามาจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องผ่านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว จำหน่ายสินค้าคุณภาพปานกลาง ส่วนใหญ่กว่า 60% เป็นสินค้าไม่ใช่อาหาร ที่เหลือเป็นอาหาร ลูกค้ายังสามารถสมัครเป็นสมาชิก เพื่อรับข่าวสารเป็นประจำที่สำคัญ ลูกค้าต้องบริการตัวเอง จึงมีพนักงานขายไม่มากนัก ผู้ประกอบการเช่นนี้ เช่น แม็คโคร

 

ซูเปอร์มาเก็ต (Spermarket) ร้านค้าปลีกเน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นสินค้าสดใหม่ โดยเฉพาะอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ผักและผลไม้ อาหารสำเร็จรูปต่างๆตลอดจนสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ทำเลที่ตั้งส่วนใหญ่ จะอยู่ชั้นล่างห้างสรรพสินค้า เพื่อความสะดวกขนถ่ายสินค้า ผู้ประกอบการประเภทนี้ ท็อปส์ ซูเปอร์มาเก็ต ฟู้ดแลนด์ เป็นต้น

 

ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (SupperCenter) ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ พัฒนาจากซูเปอร์มาเก็ต และห้างสรรพสินค้า พื้นที่ขายประมาณ 1-20000 ตารางเมตร เน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่หลากหลายและมีมากราคาประหยัด ตั้งแต่คุณภาพดีจนถึงคุณภาพปานกลาง ส่วนใหญ่กว่า 60% เป็นอาหาร ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มระดับปานกลางลงมา ผู้ประกอบการประเภทนี้ เช่น บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส คาร์ฟูร์ เป็นต้น

ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ประกอบด้วย ห้าง/ร้านขนาดกลาง-ใหญ่ ออกแบบร้านเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบ บริการทันสมัย เพื่อดึงดูดลูกค้าใช้บริการมากขึ้น การดำเนินธุรกิจมีทั้งแบบครอบครัวและมืออาชีพ ลงทุนสูงขึ้นและระบบจัดการบริหารงานซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจค้าแบบใหม่นี้ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจ 2 รูปแบบ คือDiscout Store หรือHypermaket ซึ่งเน้นที่สินค้าราคาถูก และ Convenience Store ซึ่งเน้นจำนวนสาขา ความสะดวกสบาย สถานที่ตั้งอยู่ใกล้กับผู้บริโภค เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง

 

ห้างสรรพสินค้า (Deparment Store) ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เป็นศูนย์รวมสินค้าทุกชนิด ที่มีคุณภาพ เพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าจำนวนมากทุกระดับ ครบวงจร (One Stop Shopping) จัดวางสินค้า แบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจน เพื่อสะดวกการค้นหาและเลือกซื้อ เน้นจำหน่ายเสื้อผ้า เครื่องสำอาง รองเท้า กระเป๋า รูปแบบบริหารและจัดการ ค่อนข้างซับซ้อน พนักงานมาก และเน้นบริการที่สะดวกรวดเร็ว สร้างความประทับใจให้ลูกค้า ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มทำงานที่มีฐานะ อำนาจซื้อสูง สามารถเลือกซื้อสินค้าคุณภาพและราคาสูงได้ สถานที่ตั้ง จะอยู่บริเวณชุมชน หรือเป็นศูนย์รวมการค้า ผู้ประกอบการประเภทนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล เดอะมอลล์ โรบินสับ ตั้งฮั้วเส็ง พาต้า เป็นต้น

 

ร้านค้าปลีกดั้งเดิม (Tradition Trade) หรือร้านโชห่วย ลักษณะร้านเป็นห้องแถว พื้นที่คับแคบไม่มีการตกแต่งหน้าร้านมากมาย สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค การจัดวางสินค้าไม่เป็นหมวดหมู่ และทันสมัย และจัดวางตามสะดวกการหยิบสินค้าเป็นกิจการดำเนินงานโดยเจ้าของคนเดียว หรือร่วมกันตั้งห้างหุ้นส่วน ดำเนินธุรกิจแบบครอบครัว เงินลงทุนน้อย บริหารงานง่ายๆไม่ซับซ้อน ไม่มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ระบบการจัดการไม่ได้มาตรฐาน ลูกค้าทั้งหมดอยู่บริเวณใกล้เคียงร้านค้า ร้านค้าที่จัดอยู่ในประเภทนี้ เช่น ร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีกทั่วไป ร้านขายของชำ และอื่นๆ เป็นต้น

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 486120เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2012 07:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2012 06:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

  • รถเร่จำหน่ายอาหาร ถือเป็น "มินิมาร์เก็ตแบบ Selling directly" แบบบ้าน ๆ ของเราแล้วก็ได้นะ
  • แถวบ้านคุณมะเดื่อมีเยอะ
  • นั่งอยู่หน้าบ้านจะซื้ออะไร จะกินอะไร ก็มีรถเร่มาให้บริการยันหัวกะไดเลยละจ้าาา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท