วิเคราะห์หนังสือ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน บทที่ 1


เส้นทาง ของนักพัฒนาทุนมนุษย์พันธ์แท้

บทนี้เป็นบทที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวถึงเส้นทางการทำงานของตัวท่านเอง จากนักเศรษฐศาสตร์ แต่ไปเอาดีและโด่งดังมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับว่า ท่านเป็น"ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้" หรือ "HR Champion" ที่ทุ่มเททำงานด้วยความมุ่งมั่น อุตสาหะ เพียรพยายามเอาชนะอุปสรรคและความเจ็บปวดต่างๆเพื่อความสำเร็จ ด้วยเจตนารมณ์เดียวในหัวใจของท่าน คือ การสร้างทุนมนุษย์ในประเทศไทยให้มีคุณภาพ เพราะ "ทุนมนุษย์" หรือ "ทรัพยากรมนุษย์"เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของสังคม

จุดเริ่มต้นของเส้นทางการทำงานของท่านอยู่ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน" ท่านเลือกเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แทนที่จะเลือกเป็นผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร ผู้ที่มีความสำคัญบนเส้นทางการทำงานของท่าน ได้แก่ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เพื่อนของคุณพ่อของท่านอาจารย์จีระ ฯพณฯ สุนทร หงส์ลดารมภ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

อาจารย์จีระ เลือกงานที่มีคุณค่า มีความหมาย และมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ อาจารย์ต้องการทำงานเพื่อคนไทย 65 ล้านคนไม่ใช่เพื่อให้ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งได้ประโยชน์เท่านั้น 

จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่สถาบันทรัพยากรมนุษย์ ในตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของสถาบันและเป็นต่อกันถึง 4 สมัย ประมาณ 18 ปี ก่อนที่จะมารับตำแหน่งเลขาธิการ "มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ"

เนื้อหาสาระที่ท่านนำมากล่าวในบทนี้ล้วนมีคุณค่าต่อการอ่านเป็นอย่างมาก ทุกบรรทัดมีความสำคัญจนไม่สามารถที่จะข้ามหรือตัดออกไป อยากขอแนะนำให้รีบหาหนังสือมาอ่านโดยเร็วที่สุด

ท้ายบทนี้อาจารย์ได้ฝาก Lesson Learnt บทที่ 1 ไว้ดังนี

ตัวอย่างเส้นทางของนักคิด นักปฎิบัติที่มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานโดยมีเป้าหมาย "เพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ของสังคมไทย" ผ่านอุปสรรค ความยากลำบาก แต่ถ้าตั้งใจจริง จะสำเร็จได้ หากแต่จะต้องไม่หยุดย่ำอยู่กับที่ เมื่อเกิดมาแล้วต้องทำให้ตัวเรามีคุณค่าต่อสังคม อย่าลืม คำว่า "Re-inventing" เพราะมันจะช่วยให้ตัวเราไม่หยุดการเรียนรู้ ไม่หยุดการพัฒนา

หมายเลขบันทึก: 486002เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2012 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท