ระบบการศึกษาของญี่ปุ่น เน้น "พื้นฐานชีวิต" มากกว่า "วิชาการ"


"ทิม พิธา" เล่าไว้ในหน้า ๑๒ - ๑๓ เกี่ยวกับ "ระบบการศึกษาของญี่ปุ่น" ไว้ว่า ...

 

.....................................................................................................

 

จากการไปฝึกงานฤดูร้อนในญี่ปุ่นที่ผ่านมา ทำให้เห็นระบบการศึกษาของญี่ปุ่นต่างจากที่อื่นอย่างน่าตกใจ ผมเคยไปสัมภาษณ์ครูโรงเรียนอนุบาลกับครูโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งแล้วพอจะสรุปใจความได้ว่า ...

ในช่วงปฐมวัย ที่ญีุ่ปุ่นเน้น ความมีระเบียบวินัย อดทน การทำงานเป็นทีม และความอ่อนน้อมถ่อมตน มากกว่า เรื่องวิชาการ

วิชาวิทยาศาสตร์ หรือ ภาษาอังกฤษ เอาไว้ทีหลัง ต้องเอา "พื้นฐานชีวิต" ให้ได้ก่อน

ใครเคยไปญี่ปุ่นคงจะเคยสังเกตเห็นบ้านเมืองที่สะอาด ความมีระเบียบเรียบร้อย และความปลอดภัย ขณะเดียวกันเราจะไม่ค่อยได้ยินว่า เด็กญีุ่ปุ่นชนะเคมีโอลิมปิก คณิตศาสตร์โอลิมปิก ยิ่งภาษาอังกฤษไม่ต้องพูดถึง

ทั้งนี้เป็นเพราะนโยบายพัฒนาประเทศหลังสงครามโลก ที่ไม่ให้วัฒนธรรมต่างชาติเข้าครอบงำความเป็นญี่ปุ่น แม้จะเป็นอย่างนี้ แต่ญี่ปุ่นก็พัฒนาสินค้าให้ทันสมัย และมีอุตสาหกรรมแข็งแรงกว่าประเทศไทย

ถึงแม้ว่าตอนนี้ญี่ปุ่นจะแผ่วลงไปเมื่อเทียบกับจีนที่แซงหน้า แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่น่าคิดว่า ระบบการศึกษาที่ดีคืออะไร

ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ตอนนี้ข้อมูลกระจายไปทุกอณูอากาศ ผมคิดว่า แต่ละประเทศควรจะทบทวนระบบและคนที่อยู่ในโครงสร้างของตัวเอง

 

.....................................................................................................

 

ช่องไฟแห่งความคิด

 

ผมเห็นเพื่อนบ้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับหน้าบ้าน ซื้อคอมพิวเตอร์ ต่ออินเทอร์เน็ต ให้ลูกวัย ๓ ขวบ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ เกมออนไลน์ที่พ่อแม่ป้อนให้ ผมสันนิษฐานว่า พ่อแม่คงอยากให้ลูกมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ จึงป้อนทักษะเช่นนี้ให้ไป จนลืมนึกเอะใจว่า หากลูกเสพติดเกม พ่อแม่จะทำอย่างไรต่อไป และสิ่งที่ปลูกฝังนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องใช่หรือไม่

ทั้ง ๆ ที่เด็กระดับปฐมวัยการป้อนสิ่งที่ถูกต้องตามพัฒนาการของเขาจริง ๆ คือ การเล่น ที่เราเคยได้ยินคำว่า Play and Learn หยิบจับสิ่งนั้นสิ่งนี้ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของเขาต่างหาก

แน่นอน ... เราอาจจะฝึกให้ของเราเก่งวิชาการเืพื่อจะได้แข่งขันชนะลูกคนอื่นได้ในอนาคต จะได้อยู่โรงเรียนที่ดี ๆ ดัง ๆ แต่เราลืม "พื้นฐานชีวิต" ที่เด็กวัยนี้เขาควรได้หรือเปล่า

ลองไตร่ตรองดูสักรอบไหมครับ

 

สิ่งที่ "ทิม พิธา" นำมาเสนอส่วนหนึ่งนี้ ผมว่า มันทำให้เรามองย้อนกลับมาที่ตัวเอง หากเราเป็นพ่อแม่ เราสอนลูกอย่างไร หากเราเป็นครู เราสอนลูกศิษย์ของเราอย่างไร ระบบของกระทรวง ศธ. บ้านเรา คิดจากข้างบนมา ถูกต้องจริงหรือ

ก็แค่ฝากคิด

 

บุญรักษา นะครับ ;)...

 

 

.....................................................................................................

ขอบคุณหนังสือดี ๆ

ทิม พิธา.  ไม่สนว่าเก่งมาจากไหน.  กรุงเทพฯ : Springbooks, ๒๕๕๕.

หมายเลขบันทึก: 485408เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2012 01:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เห็นด้วยกับหนังสือที่อาจารย์บอกครับ เอาภาพมายืนยันด้วยว่าเขาฝึกกันจริงๆโดยเฉพาะเรื่องการทำงานเป็นทีมครับ

สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากการดำเนินชีวิตของญี่ปุ่นทุกด้านคือ ความภูมิใจในตนเองและเข้าใจตนเอง การพัฒนาจึงอยู่บนฐานของตนเอง ไม่ใช่ไปมองเห็นว่าสิ่งที่ฝรั่งทำดีวิเศษไปหมด ฝรั่งก็ดีสำหรับบริบทฝรั่ง ญี่ปุ่นก็ต้องมีดีแบบญี่ปุ่น แล้วไทยล่ะจะเอาดีแบบไหน เห็นกำลังหลงๆไปกันใหญ่

การสร้างพื้นฐานชีวิตเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ต้องมีรากเหง้าของเราเองนะคะ

ดีใจที่มีผู้ให้ความสำคัญ สนใจ เผยแพร่เรื่องอย่างนี้ให้ฉุกคิดกัน

ข้อ 14 ของผม ตามลิงค์ นี้ ก็เขียนไว้เช่นกัน (โดยที่ผมไม่เคยรู้เรื่องญี่ปุนเลยนะเนี่ย)

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/483689

คนไทยเราลอกฝรั่งมากเกินไปแล้วผมว่า หันมามองญีปุ่นบ้างก็ดี

  • คุณมะเดื่อว่า นักการศึกษาไทยทราบกันดีว่าจุดอ่อนของการศึกษาไทยอยู่ตรงไหน
  • ทำไม การศึกษาไทย  สังคมไทย และเด็กไทย จึงไม่พัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น
  • ทำไมยิ่งก้าว จึงเหมือนยิ่งถอย
  • ระบบการศึกษาไทย ไม่ได้เป็นเอกเทศเหมือนญี่ปุ่น
  • ผู้ที่ทำหน้าที่ " ผู้นำ" การศึกษา โดยเฉพาะระดับ จังหวัด  อำเภอ  ตำบล ต้องการ "ตัวเลข" ผลสัมฤทธิ์ ที่ " สูง " โดยไม่ได้คำนึงถึงความเป็นจริง 
  • สรุปแล้ว....อีกไม่นานการศึกษาไทยคงได้รั้งท้ายในอาเซียมอย่างไม่มีใครแย่งตำแหน่งแน่ ๆ 

ขอบคุณ "ภาพหลักฐาน" ครับ ท่านอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ;)...

พี่นุช Ico48 ยุวนุช ครับ ;)...

ก็มีอยู่ ๒ หลง ครับ

๑. หลงตัวเอง คิดว่าตัวเองเก่งกว่าใคร ๆ คิดอะไรแทนคนอื่นได้

๒. หลงวัตถุ คิดว่า เทคโนโลยีบางอย่างจะทดแทนบางอย่างได้

เห็นด้วยกับพี่นุช เรื่อง "รากเหง้า" ความเป็นเราต้องเข้าใจกันก่อน

ยินดีและขอบคุณครับพี่ ;)...

เดี๋ยวตามไปสมทบครับ ท่าน คนถางทาง ;)...

ขอบคุณมากครับ

เรียน คุณมะเดื่อ ครับ ;)...

ตัวเลขผลสัมฤทธิ์ หมายถึง ความสำเร็จของตัวผู้นำเองครับ ความสำเร็จที่เสนอผู้บังคับบัญชาชั้นสูงว่า ทำตามนโยบายและทำสำเร็จตามที่ต้องการอีกด้วย โดยไม่สนใจใครมากไปกว่าตัวเอง

รั้งท้ายอาเซียน ใครว่าจะเป็นไปไม่ได้

ขอบคุณครับ ;)...

  • เน้น "พื้นฐานชีวิต" มากกว่า "วิชาการ" เห็นด้วยมากๆ
  • ขอบคุณสำหรับข้อสรุปดีๆ ที่น่าจะเปลี่ยนทิศทางการศึกษาไทยได้
  • และขอบคุณเป็นอย่างสูงสำหรับกำลังใจที่บล้อก
  • สวัสดีครับ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ คุณ Ico48 ครูวุฒิ ;)...

ขอบคุณมากครับ

ใช่คะ ทุกวันนี้ เราวิ่งตาม คำเก่งที่สุด จนลืมคำว่า ดี งาม

ภาพงามมากนะครับ ครูเอ ;)...

สบายดีบ่

เป็นไปได้หรือไม่ที่ความยากลำบาก หล่อหลอมวิวัฒนาการทางความคิดและระเบียบในสังคม .. ประเทศญี่ปุ่น ประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้ง หากไม่มีการปรับตัว ระเบียบการอยู่ร่วมกันทางสังคม คงไม่สามารถมีประเทศอยู่รอดมาได้เป็นพันปี

ประเทศตะวันตก ทรัพยากรจำกัด ทำให้ต้องพยายามคิดค้นประดิษฐ์นวัตกรรม อุตสาหกรรม เพื่อใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด

ประเทศไทย แต่เดิมมา ถือว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่บ่อยเท่า และทรัพยากรอุดม คงไม่อาจสรุปว่าคนไทยมี ศักยภาพ-capability ด้อยกว่า ญี่ปุ่น หรือ ตะวันตก ขณะเดียวกันก็ไม่อาจ "หลงชาติ" จนไม่เปิดใจเรียนรู้ชาติอื่นๆ นอกจากที่ อ.wasawat ว่า "หลงตัวเอง" "หลงวัตถุ" นะค่ะ

เรียน คุณหมอบางเวลา Ico48 ป. ;)...

มีวิชาหนึ่งที่คุณ "ทิม พิธา" ได้เรียนใน Harward

Why are so many countries poor, volatle and unequal?

วิชานี้พยายามตอบคำถามโลกแตกว่า ทำไมโลกนี้จึงจน ปรวนแปร และไม่เท่าเทียมกัน อาจารย์ริคาร์โด เฮ้าส์มันน์ นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของฮาร์วาร์ดพยายามใช้หลักเศรษฐศาสตร์ สถิติ สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยา และภูมิศาสตร์เป็นตัวอธิบายว่า เหตุใดประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชียใต้จึงจน อาจารย์ผู้สอนนำแผนที่โลกมากางแล้วใช้ปากกาขีด ชี้ให้เห็นว่าประเทศที่เรียกว่า Tropical Countries นั้น ในแง่มนุษยศาสตร์ถือว่า อากาศดี ผู้คนขี้เล่น อาหารอุดมสมบูรณ์แบบในน้ำมีปลา ในนามีข้าว จึงไม่มีใครอดตาย ชอบร้องรำทำเพลง และดื่มเหล้าทั้งวัน ต่างจากประเทศที่อยู่เหนือจัดหรือได้จัดที่ต้องปากกัดตีนถีบ สู้กับอากาศที่หนาวเหน็บและสภาพภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต แต่พวกเขาก็สามารถเอาชนะธรรมชาติจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจได้ ประเทศที่เข้าข่ายนี้ ได้แก่ อเมริกา รัสเซีย และประเทศในยุโรปกลาง เป็นต้น

ตรงกับการวิเคราะห์ของคุณหมอนะครับ ;)...

ส่วนการ "หลงชาติ" นั้น ตามประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นมีประเทศที่ปิดประเทศมากมาย และขาดการพัฒนาการไประยะหนึ่ง แต่พอเปิดประเทศแล้วก็ใช้วิธีการอื่นมากีดกั้นสิ่งที่ชาติไม่ต้องการ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน

มีอีกครับ "หลงระบอบการปกครอง" ไม่เปิดใจรับ ประชาชนยังลำบากอยู่มาก เช่น เกาหลีเหนือ ;)...

ยาวไปหน่อยไหมเนี่ย ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท