มาตรฐานการบีบอัดไฟล์แบบ MPEG


โปรแกรมแปลงไฟล์วีดีโอ

Moving Picture Experts Group หรือ MPEG เป็นชื่อของกลุ่มนักพัฒนาระบบมาตรฐานการเข้ารหัสวีดีโอและออดิโอ ของ ISO/IEC โดยมีการเริ่มพัฒนาร่วมกันครั้งแรกเมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ที่ประเทศแคนาดา โดยสมาชิกของ MPEG ประกอบด้วยบุคคลจากบริษัทพัฒนา นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและมหาวิทยาลัย โดยปัจจุบันมีมาตรฐานหลักที่พัฒนาออกมาได้แก MPEG-1, MPEG-2, MPEG-3 และ MPEG-4 ซึ่งยังมีมาตรฐานเสิรมคือ MPEG-7 และ MPEG-21

อย่างไรก็ตามมาตรฐานในแวดวงมัลติมีเดีย ณ ปัจจุบันถูกกำหนดโดยองค์กรหลัก ๆ 2 องค์กรคือ

  • MPEG - Moving Picture Experts Group
  • I-TU-T - The ITU Telecommunication Standardizastion Sector เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ออกมาตรฐานทางโทรคมนาคมของ ITU (International Telecom Union)

มาตรฐานที่ออกโดย MPEG กับ ITU-T มีอย่างซ้อนทับกันแต่จะยึดตาม MPEG เป็นหลักดังนี้

MPEG-1

มาตรฐานเกี่ยวกับวีดีโอ กำเนิดอย่างเป็นทางการในช่วงปี พ.ศ.2536 นำมาใช้ใน VCD มีเทคโนโลยีที่พัฒนาตาม MPEG-1 ดังนี้

  • MP3 ใน MPEG-1 จะแบ่งเป็นหลายส่วน เช่น ส่วนของภาพ ส่วนของเสียง ส่วนของมีเดีย สามารถหยิบเฉพาะบางส่วนที่ใช้งานจริงก็ได้ และส่วนของเสียงใน MPEG-1 คือส่วนที่เรียกว่า Layer 2 และ Layer 3 ซึ่ง Layer 2 นั้นล้าสมัยไปแล้ว ส่วน MPEG-1 Layer 3 ก็คือ MP3 นั่นเอง
  • OGG Vorbis เป็นมาตรฐานที่พัฒนามาแทนที่ MP3 ซึ่งก็ยังไม่ได้รับความนิยมมากนั้น ทั้ง ๆ ที่ทั้งเสียงและขนาดไฟล์ที่เล็กกว่า และมีคุณภาพที่ดีกว่า
  • มาตรฐานอื่นที่ที่เทียบเคียง MP3 ได้ก็มี ATRAC ของโซนี่, AC-3 ของ Dolby Digital, MP3Pro และ Windows Media Audio (.wma) ของไมโครซอร์ฟ

MPEG-2

มาตฐาน MPEG-2 ได้นำมาช้กับ DVD ความแตกต่างกับ MPEG-1 ก็มีไม่มากนัก ยกเว้นเรื่องการเข้ารหัสและถอดรหัสที่มีความทันสมัยมากขึ้น

MPEG-3

มาตรฐานที่เตรียมใช้กับ HDTV (High Definition Television) หรือโทรทัศน์ความละเอียดสูง แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ได้ใช้เพราะ MPEG-2 ก็เพียงพอสำหรับ HDTV แล้ว

MPEG-4

ส่วนขยายของ MPEG-1 เพื่อรับรูปแบบมัลติมีเดียต่าง ๆ เช่น 3D หรือ 3 มิติ ซึ่งเป็นการเข้ารหัสที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น MPEG-4 แบ่งออกเป็นหลายส่วนตามหน้าที่แต่ละส่วน และทาง MPEG จะปล่อยให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมที่ใช้งานจริง ๆ เองไม่จำเป็นต้องตาม MPEG-4 เต็มชุดก็ได้พัฒนาได้เป็นงบางส่วนก็พอ เช่นเดียวกับ MP3 ที่หยิบแต่ส่วนของออดิโอไปทำ

MPEG-4 Part 2 มาตรฐานกานจัดการด้านวีดีโอ ฟอร์แมตวีดีโอ สำคัญๆ หลายตัวอิมพลิเมนต์ตาม part 2 นี้เช่น Divx, XviD

MPEG-4 Part 3 มาตรฐานการจัดการกับเสียง เช่น ACC (Advance Audio Coding) เป็นการอิมพลีเมนต์ตาม MPEG-4 part 3 โดยแอปเปิลอ้างว่า ACC ที่บิตเรท 96 kbps มีคุณภาพเทียบเท่ากับ MP3 ที่ 128 kbps เทคโนโลยีนี้นำไปใช้กับเพลงที่ขายในร้านจำหน่ายเพลงออนไลน์ iTune Music Store นามสกุลไฟล์นี่เป็นเป็น .acc, mp4 และ .m4a

MPEG-4 Part 10  เป็นมาตรฐานการเข้ารหัสวีดีโอระดับสูง (Advance Video Coding) เช่น H.264 เป็นมาตรฐานที่ซ้อนกับ AVC โดย H.264 เป็นชื่อของ ITU-T และ AVC เป็นชื่อของทาง MPEG เท่านั้นเองมีการเข้ารหัสวีดีโอที่สูงกว่า MPEG-4 part 2 มาก ปัจจุบันเพิ่งเริ่มน้ำมาใช้งานโดยแอปเปิ้ลจะนำไปใช้งานในระบบวีวีระบบใหม่ของญี่ปุ่นและยุโรป และฟอร์แมตแผ่นดิสก์ในยุคหน้าทั้ง Blue-ray กับ HD-DVD

นอกจากนี้ยังมีการนำมาตรฐาน H.264 ไปใช้งานกับงานได้กล้องวงจรปิด CCTV โดยเครื่องบันทึกภาพ DVR ที่คุณสมบัติที่ดีกว่าของมาตรฐานนี้ซึ่งสามารบีบอัดข้อมูลทั้งภาพและสเสียงสูงกว่า MPEG-4 เกือบเท่าตัวทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการบันทึกซึ่งก็เท่ากับว่าสามารถบันทึกข้อมูลภาพและเสียงได้ยาวนานขึ้นกว่าเดิมในขณะที่ใช้เนื้อที่เท่ากัน และยังทำให้อัตราการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายได้รวดเร็วขึ้นด้วยครับ

โดยหากเราต้องการแปลงไฟล์วีดีโอต่าง ๆ ให้เป็น MPEG หรือเป็นไฟล์วีดีโอประเภทอื่น ๆ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้จาก โปรแกรมแปลงไฟล์วีดีโอ และดาวน์โหลดโปรเกี่ยวกับมัลติมีเดียอื่น ๆ ได้จาก ดาวน์โหลดโปแกรมฟรี

หมายเลขบันทึก: 483902เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2012 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท