ความฝันแรกเริ่ม...ทำไมต้องฝัน?


ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเก็บความจำ

ความฝัน แรกเริ่ม?

โดย อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล

มนุษย์เราเริ่มฝันตั้งแต่ยังเป็นทารก

        เด็กครบกำหนดคลอด 9 เดือน(Full term) สามารถฝันได้ตั้งแต่วันแรกที่คลอดออกมา การศึกษาพฤติกรรมการนอนหลับและวัดคลื่นสมองพบว่า ทารกมีการตื่นหลับ 18-20 ชั่วโมง โดยการหลับครึ่งหนึ่งจะเป็นการนอนหลับแบบฝัน

ทำไมต้องฝัน?

การนอนฝันเป็นสถานะที่จำเป็นต่อร่างกายในทางสรีระวิทยาและจิตวิทยา เพราะถ้าเรานอนหลับไม่ฝัน ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น มีหลายทฤษฎีอธิบายความจำเป็นในการฝัน เช่น

        ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเก็บความจำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันคือ ถ้าเรามีประสบการณ์ที่ต้องจดจำหรือรับรู้ไปตลอดชีวิต หรือมีเรื่องที่ทำให้เกิดความกังวล เช่น ถ้านักศึกษาต้องท่องจำหนังสือสอบ กลางคืนจะมีการนอนฝันมากกว่าเดิม มีอีกทฤษฎีที่กล่าวคล้ายกันว่า การนอนฝันเป็นธรรมชาติของสัตว์ที่ต้องคอยระวังการถูกล่า โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกแรก เช่น หนู ดังนั้นระหว่างการหลับ คลื่นสมองที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับและความจำ จะมีการถ่ายทอดประสบการณ์ให้ระวังตัวในการถูกล่าเพื่อเอาตัวรอด

 

ความฝันมีความสัมพันธ์กับทารกหลายประการคือ


1. จากทฤษฎีการเก็บความจำ เนื่องจากเด็กจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เมื่อเรียนรู้มากก็ต้องเก็บความจำมาก จึงอาจทำให้ใน 1 คืน เด็กจะหลับฝันเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนั้นระหว่างที่เกิดกลไกความฝัน ยังเป็นการถ่ายทอดข้อมูลจากการเก็บความจำระยะสั้น ไปเก็บไว้ยังส่วนต่างๆ ของสมองอย่างเป็นระเบียบ เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำระยะยาวต่อไป

                              
2. ความฝันเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของทารก เพราะระหว่างนอนฝัน มีเซลล์หลายกลุ่มในสมองและร่างกายส่วนต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและชีวะเคมี โดยเฉพาะการทำงานของยีนหรือสารพันธุ์กรรมในเซลล์ เพื่อให้เซลล์สร้างโปรตีนเฉพาะ และเป็นการเปิดกลไลการทำงานของเซลล์บางอย่างให้มีการสังเคราะห์และแสดงลักษณ ะสารพันธุกรรมออกมา เช่นระบบต่อไร้ท่อจะขับออร์โมนโซมาโทโทรพิน(somatotropin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตที่หลั่งจากต่อมใต้สมองในเวลาหลับ

พูดง่ายๆ ก็คือ การเอาข้อมูลที่อยู่ในพันธุกรรมของ DNA ที่อยู่ในโครโมโซมมาเปิด แล้วยอมให้มีการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อเอาไปสังเคราะห์โปรตีนชนิดต่ างๆ เช่น เอนไซม์โครงสร้างโปรตีน ที่มีหน้าที่ซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหลอ ฉะนั้นช่วงนอนฝันจะมีกลไกที่ทำให้เซลล์ซ่อมแซมตัวเองได้
                   
การหลับฝันของเด็กต่างกับการหลับฝันของผู้ใหญ่ซึ่ง จะลดลงเรื่อยๆ ตามอายุ โดยจะเหลือการนอนฝันเพียง 25% จึงมีผู้ตั้งสมมุติฐานว่า เหตุที่ร่างกายของผู้สูงอายุเสื่อมสภาพลง อาจเพราะมีการหลับฝันน้อยลง ทำให้การซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอบกพร่อง และทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพได้รวดเร็วด้วย
3. การนอนฝันมีความเกี่ยวข้องกันกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ และระบบสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วย

               
4. นอกจากนั้นยังทำให้เกิดความแปลกขึ้นทางสรีระวิทยาคือ สัตว์เลือดอุ่นมีการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับ 37 องศาเซลเซียส แต่ขณะหลับฝันระบบประสาทจะไม่มีการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย จึงทำให้อุณหภูมิตกลงมาได้หากหลับในห้องที่มีความเย็น ดังนั้นควรระวังให้ความอบอุ่นแก่เด็กในเรื่องนี้

หมายเลขบันทึก: 483499เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2012 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท