สัญญะวิทยา: ความหมายของสัญญะ (ตอนที่ 2)


ความหมายของสัญญะ

สวัสดีครับผู้อ่านทุกๆท่าน

วันนี้มาตอนตอนที่ 2 นะครับ วันก่อนผมพูดถึงความหมายของสัญญะไปแล้วว่าประกอบด้วยตัวหมายและตัวหมายถึง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องสัญญะต่อไปนะครับ

3. ความเป็นเอกของตัวหมาย ตัวหมายถึงเป็นรอง

ผู้คนมักจะคิดว่าต้วหมายถึงเป็นเอกหรือนำมาก่อน ส่วนรูปทรงเป็นรอง แต่นักภาษาศาตร์เช่น  Saussure ไม่คิดเช่นนั้น เขาถือว่า ตัวหมายมาก่อน ตัวหมายถึง นั่นคือ ถ้าไม่มีตัวหมายว่า คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ก็จะไม่เกิด นั่นหมายความว่า ถ้าไม่มีรูปทรง สิ่งนั้นก็ไม่ได้ดำรงอยู่

4. สัญญะสร้างความหมายโดยการปฏิเสธ

สัญญะจะมีความหมายก็ต่อเมื่อมันแตกต่างจากสิ่งอื่น เช่น คำว่า เปิด ก็ไม่ใช่ เลิศ นั่นหมายความว่าเรารู้ความหมายของสิ่งใดสิ่งใดสิ่ง ไม่ใช่ เพราะสิ่งนั้นดำรงอยู่อย่างเป็นเอกเทศนอกตัวเรา แต่เพราะสัญญะนั้น "แตกต่าง" จากสัญญะต้วอื่นๆ

5. ประเภทของสัญญะ

Peirce ได้เสนอประเภทของสัญญะไว้ 3 ประเภท ดังนี้ 1. สัญญลักษณ์ (symbol) 2. รูปเหมือน (Icon) 3. ตัวบ่งชี้ (Index) ความแตกต่างของสัญญะแต่ละประเภทมีดังนี้

1. สัญญลักษณ์ คือ สัญญะที่ตัวหมายไม่เหมือนกับตัวหมายถึง การกับคู่กันระหว่างตัวหมายกับตัวหมายถึงเป็นไปอย่างสุ่ม แตกต่างกันไปตามประเพณีสังคมและวัฒนธรรม ตัวอย่างสัญญลักษณ์ เช่น ภาษา ตัวหนังสือ เครื่องหมายวรรคตอน คำ วลี ประโยค จำนวน ระหัสมอส ไฟจราจร ธงชาติ การแบ่งความคิดทางการเมืองโดยใช้สีเสื้อ เป็นต้น

2. รูปเหมือน คือ สัญญะที่ตัวหมายเหมือนกับตัวหมายถึง หรือเลียนแบบ ไม่ว่าจะโดยประสาทสัมผัสใดก็ตาม เช่น การมอง เสียง ความรู้สึก รส และกลิ่น เมื่อสัมผัสใดก็ตามที่ตัวหมายเหมือนตัวหมายถึง สิ่งนั้นเป็นรูปเหมือน ตัวอย่างรูปเหมือน เช่น ภาพเหมือน การ์ตูน การเลียนเสียงสัตว์ คำเปรียบ เสียงที่อยู่วิทยุ เป็นต้น

3. ตัวบ่งชี้ คือ สัญญะที่ตัวหมายไม่เหมือนกับตัวหมายถึง แต่มีความเชื่อนโยงถึงกัน ซึ่งอาจโดยทางกายภาพ หรือในเชิงสาเหตุก็ได้ เช่น เมื่อเห็นควัน ก็ย่อมนึกถึงไฟ ตัวอย่างของตัวบ่งชี้ เช่น ควัน ฟ้าผ่า รอยเท้า อาการการเจ็บป่วย เครื่องมือวัด สัญญาณ

6. สัญญะทั้ง 3 ประเภท มีวิวัฒนการ

สัญญะทั้ง 3 ประเภท มีการวิวัฒนาการ เริ่มจากสิ่งง่ายที่สุดก็คือ รูปเหมือน พัฒนามาเป็น ตัวบ่งชี้ และ จนกลายเป็นสัญญลักษณ์ในที่สุด

  

หมายเลขบันทึก: 480723เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2012 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2013 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท