เด็กป.2เริ่มปฏิเสธการเรียน


อยู่ในห้องเด็กเรียนเก่ง ตกเย็นเรียนพิเศษเพิ่ม กลับมาบ้านเจอครอบครัวที่เรียนเก่ง

    วันนี้ได้พบคุณแม่ท่านหนึ่งที่เป็นสมาชิกที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเราตลอด ตอนนี้มีลูกชาย 3 คน  คนที่พามาวันนี้เป็นคนเล็ก 3 ขวบ แต่คนที่คุณแม่กังวลสุดกลับเป็นลูกชายคนโตที่ตอนนี้อยู่ ป.2 แล้วมีปัญหาว่าไม่อยากเรียนหนังสือแล้ว เบื่อ ....

     ก็เลยมาสอบถามกันต่อว่าเกิดอะไรขึ้นเหรอ?? คุณแม่เล่าว่าเดิมทีด้วยการที่ลูกเป็นหลานชายคนแรกในครอบครัวคนจีนก็เลยได้รับการเลี้ยงดูแบบตามใจสุดๆ  และใส่ความคาดหวังเต็มที่ทั้งเรื่องความสะอาด อนามัย  การเรียน  แล้วก็ได้ดั่งใจในระยะแรกๆ น้องเลยเป็นเด็กที่อ่านหนังสือได้เร็วกว่าในเด็กวัยเดียวกัน และมีความเป็นคนเจ้าระเบียบในชีวิตประจำวันเต็มที่   แต่เมื่อไปโรงเรียนปัญหาเริ่มเกิด เพราะโรงเรียนนี้มีการแข่งขันสูง เด็กเก่งมีหลายคน เรียนพิเศษกันแทบทุกคน  เมื่อผลการเรียนออกมาก็ยังไม่ได้ดีอย่างที่ครอบครัวคาดหวัง ก็เริ่มการตำหนิ เริ่มมีการเปรียบเทียบกับรุ่นน้าๆ ที่เป็นแพทย์กัน  คุณแม่ก็เริ่มเครียดเพราะมองเห็นว่าลูกเริ่มปฏิเสธการเรียนแล้ว ....

    ถามในมุมมองของแม่บอกว่า ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากโรงเรียนด้วย เพราะถ้าเทียบกับห้องลูกคนกลางที่เด็กไม่ได้เก่งมาก ลูกก็เรียนได้อันดับที่ดีสบายๆ  แต่ลูกคนโตเก่งและแข่งกันก็เลยดูด้อยกว่าคนอื่น  แล้วที่บ้านทำธุรกิจกัน ไม่มีเวลาให้ลูกเท่าไหร่นัก เลยส่งไปเรียนพิเศษติวอย่างเดียว

     แล้วตอนนี้คุณแม่พบว่าลูกมีปัญหาสุขภาพอีกเรื่องคือกล้ามเนื้อตาข้างขวาอ่อนแรง  (คือคุณแม่ได้พาไปตรวจที่รพ.จุฬา) คิดต่อว่าน่าจะมีผลต่อสมองซีกขวาลูกด้วย เพราะลูกจะไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรเท่าไหร่  แล้วตอนนี้ลูกก็ 8 ขวบแล้ว โอกาสจะพัฒนาลำบากแล้ว แถมมีคนรู้จักกันตาบอดจากโรคนี้ไปแล้ว

 ....น่าสงสารเด็กคนนี้มาก....เลยยกตัวอย่างให้คุณแม่ฟังเพื่อสะท้อนว่าลองนึกถึง เด็กอายุ 8 ขวบที่ไปโรงเรียน 8 ชั่วโมงแล้วเรียนมาเต็มที่ ตกตอนเย็นส่งไปเรียนพิเศษต่ออีก กลับมาบ้านก็เจอสิ่งแวดล้อมที่มีแต่คำว่า ต้องเรียนเก่งๆๆๆตลอดเวลา  ไหวมั้ย???

มันเหมือนกับว่าเราเจอ staff ว๊ากตลอดเวลา ยิ่งถ้าคุณแม่เป็นคนหนึ่งในนั้นด้วย เด็กจะไปหาใครที่เป็นเพื่อน หรือเป็น staff เชียร์เพื่อฟัง และเข้าใจโดยไม่มีคำว่าลูกต้องเรียนเก่งนะ แต่มีกำลังใจให้ พอที่ลูกจะมีพลังเดินต่อไป ....

      ก็เลยลองเสนอทางเลือกกันว่า ..

  • คุณแม่ลองหาเวลาคุยกับลูกส่วนตัวว่าตอนนี้รู้สึกอย่างไร กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตประจำวันลูก  แต่แม่ต้องฟังอย่างเดียว เพื่อให้ลูกได้ระบายออกทั้งหมด
  • คุณแม่ให้ลูกตัดสินใจเลือกว่าจะทำอย่างไรต่อไป  แล้วบอกข้อดี ข้อเสียที่อาจจะเจอในอนาคต ในแต่ละทางเลือกของลูก
  • ถ้าลูกเลือกทางที่ดูแล้วจะพลาด แล้วอาจทำให้ผลการเรียนตก ก็ต้องยอมให้ตกไปบ้าง ไม่น่าเสียหายอะไร เพราะตอนนี้ลูกอยู่ป .2 เองนะ แล้วพื้นฐานเดิมเด็กเรียนดีอยู่แล้ว ก็น่าจะไปฟื้นเรื่องใจเด็กมากกว่า  เพราะตอนนี้ฝืนไปยิ่งมีแต่จะแย่ลง
  • ห้ามเปรียบเทียบลูกกับลูกคนอื่น หรือกับเพื่อนๆในห้อง

ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคุณแม่จะกลับไปทำได้หรือไม่ และคำแนะนำเหมาะสมหรือเปล่า ...เพราะเราก็บอกคุณแม่ว่าให้คำแนะนำในฐานะแม่เหมือนกัน เพราะไม่มีความรู้เรื่องจิตวิทยาเด็ก  เพียงแต่ฟังแล้วรู้สึกว่าหนักหนาเหลือเกินสำหรับเด็กตัวกะเปี๊ยกเดียว ที่ต้องมาแบกรับภาระที่เกิดจากความคาดหวังหรือหน้าตาของผู้ใหญ่รอบข้างขนาดนี้

 

 

หมายเลขบันทึก: 480612เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2012 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สว้สดีครับ

             การมองมุมที่ต่างสร้างความรู้

             จะกอบกู้คิดต่างอย่างสร้างสรรค์

             วัยละอ่อนสอนให้ถูกปลูกสัมพันธ์

             อย่าบีบคั้นบังคับจะกลับพัง

             

ขอบคุณค่ะอ.ธนา นนทพุทธ เห็นด้วยอย่างมากเลยคะ ทุกอย่างต้องมาจากใจรัก และสนุกที่จะทำ

ตรงนี้ดีมากเลยครับ ให้แม่ฟีงลูกอย่างเดียว  ให้ลูกระบายออกมาให้หมด

          สำคัญว่า  แม่จะคุ้นชินกับการสอน ฟังไม่ทันจบ ก็รีบสอนซะแล้ว

I think you have a good point there, "small man"

...แม่จะคุ้นชินกับการสอน ฟังไม่ทันจบ ก็รีบสอนซะแล้ว...

One other common reaction is "...I am busy with work/finding money/... you have to learn to handle it yourself..."

  • ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าตอนนี้ครอบครัวนี้ปรับเปลี่ยนไปได้แค่ไหนแล้วนะคะคุณ small man กับ sr  เสียดายที่ตอนนี้เรายังไม่มีการติดตามที่ชัดเจน  ก็ต้องวางแผนกันอีกที
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท