Shunrei
นักศึกษากิจกรรมบำบัด จุฑามาศ เก๋ ยิ่งยง

โรคคอมพิวเตอร์ กับคุณภาพชีวิต


โรคใหม่ในปัจุจบัน ที่ทุกคนละเลยหรือไม่รู้ตัว

โรคคอมพิวเตอร์ (CVS /Computer Vision Syndrome)

 สังคมปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญในชีวิตประจำวัน เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายในด้านต่างๆ ทั้งด้านการทำงาน ความเพลิดเพลิน การศึกษา สืบข้อมูลและการติดต่อสื่อสารต่างๆ คนรุ่นใหม่จึงพากันพึ่งพาคอมพิวเตอร์กันไปทั่วโลก  แต่รู้กันหรือไม่ว่าถ้าเราไปคลุกคลีอยู่กับมันหรือต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันวันละหลายๆชั่วโมง จึงทำให้เกิดความสิ้นเปลือง ทำลายคุณภาพชีวิต สุขภาพและร่างกายจะทรุดโทรม เพราะขาดการออกกำลังกาย และขาดโภชนาการที่ดี

แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะก่อให้เกิดความสะดวกสบายกับผู้ใช้มากเพียงใด ในทางตรงกันข้ามคอมพิวเตอร์ย่อมส่งผลเสียกับผู้ใช้งานด้วย ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มองข้ามคือโรคภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ อาจเป็นเพราะปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใน ทันทีทันใด แต่จะสะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดอันตรายต่อสุขภาพในที่สุด  โรคที่มากับคอมพิวเตอร์ ในที่นี้ไม่ใช่ “ไวรัสคอมพิวเตอร์” หรือ “โปรแกรมตัวหนอน” ที่บ่อนทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์ แต่หมายถึงความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์   เรียกกันสั้นๆ ว่า  “คอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม Computer Vision Syndrome”

สาเหตุของโรค

1.ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่ค่อยกระพริบตา

2.แสงจ้า และแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์

3.การออกแบบและการจัดภาพ

สาเหตุหลักๆ นอกจากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ แล้ว ยังเกิดจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดมากเกินไป รายงานการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2004 พบว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรค CVS คือ มุมของระดับสายตา (angle of gaze) กับจอคอมพิวเตอร์ อาการต่างๆ จะหายไปเมื่อมุมดังกล่าวมากกว่า 14 องศา และมีปัจจัยอื่นๆ เช่น กรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อม อาหาร ความเครียด การลดลงอย่างฉับพลันของฮอร์โมน ฯลฯ

     อาการ คือ ปวดเมื่อยเบ้าตา, ต้นคอ, ศีรษะ, บ่า, ไหล่, หลัง  มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา, มีภาวะตาแห้ง แสบตา ตาพร่ามัว รอยดำคล้ำบริเวณตา หรือมีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตาโปนออกมา นับเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับคนทุกเพศทุกวัยอย่างมาก  

สรุปลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่าง ๆ

  • ตา  เมื่อต้องจ้องหน้าจอดูข้อมูลเป็นเวลานาน ๆ กล้ามเนื้อตาจะต้องทำงานหนัก จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้าได้ เมื่อใช้สายตานานวันเข้าก็อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของสายตาได้ ทั้งสายตาสั้นหรือสายตายาว หรืออาจทำให้เกิดความเสื่อมของเรตินาได้
  • สมอง ในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาข้อมูลหรือเล่นเกม เราต้องใช้สมองของเราทำงานไปด้วยสำหรับคิดหรือรับสารข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งการใช้สมองต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ย่อมเกิดอาการอ่อนล้าได้เช่นเดียวกัน อาการส่วนมากที่พบก็คือ มึนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • คอ การใช้งานคอมพิวเตอร์โดยการนั่งมองหน้าจอมอนิเตอร์ ติดต่อกันนาน ๆ ศีรษะก็จะอยู่ในตำแหน่งเดิม มุมเดิมเป็นเวลานาน คอซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นที่ตั้งของศีรษะก็จะอยู่นิ่ง กล้ามเนื้อคอก็จะต้องเกร็งตัวเอาไว้เพื่อรักษาท่าและตำแหน่งของศีรษะเอาไว้ เป็นเวลานานโดยที่เราเองไม่รู้ตัว มารู้ตัวอีกทีก็มีอาการปวดเมื่อยคอ คอตึงจากอาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอ
  • ไหล่ สำหรับท่านที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ส่วนมากแล้วก็มักจะสะพายเครื่องคอมพิวเตอร์ใส่ในกระเป๋า ซึ่งถ้าพกพาโดยการสะพายไหล่เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดไหล่จากกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นบริเวณไหล่อักเสบ รวมไปถึงกล้ามเนื้อหลังที่ต้องเกร็งตัวตลอดเวลาด้วย
  • การนอน การเพลิดเพลินกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตหรือการเล่นเกมก็มักจะทำให้นอนดึก อดนอน และร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ สมองไม่แจ่มใส ถ้าทำติดต่อกันหลายวัน อาจส่งผลให้การเรียนหรือการทำงานขาดประสิทธิภาพ หรือเสียการเรียน หรือเสียการเสียงานได้

การป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์

1. ควรรู้จักที่จะพักผ่อนสายตาอย่างเหมาะสม และที่ลืมไม่ได้ควรหมั่นตรวจเช็คสายตาอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หากรู้สึกว่าเกิดปัญหาเกี่ยวกับสายตา หรือการมองเห็น
2. ตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากระดับสายตาราว 20-24 นิ้ว ( ราว 2 ฟุตครับ )  อาจใช้น้ำตาเทียมมาช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของดวงตาหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรืออาจบังคับให้ตัวเองกระพริบตาบ่อย ๆ ในขณะใช้คอมพิวเตอร์
3. จัดท่านั่งที่ถูกต้องเวลาใช้คอมพิวเตอร์  พยายามอย่าให้ข้อมือเกิดการโก่งต้องโค้งผิดปกติ ควรเลือกใช้ตัวอักษรสีดำบนพื้นสีขาวเป็นหลัก  อาจออกกำลังกายเพื่อคลายความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ เช่น การกำมือและคลายมือ การนวดไหล่ ดัดคอ หรือยืดแขน
4. หมั่นทำความสะอาด ปัดฝุ่นให้คอมพิวเตอร์และบริเวณที่ทำงาน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค การล้างมือหรือไม่รับประทานอาหารขณะทำงานก็เป็นสุขอนามัยที่ควรปฏิบัติเป็น นิจ

 

ส่วนใครที่ต้องการที่จะคลายความเมื่อยล้าให้กับดวงตา

ก็มีวิธีแนะนำง่ายๆ โดยการนั่งลงในท่าสบาย ๆ หายใจเข้าออกช้า ถูฝ่ามือทั้งสองให้พออุ่น นำฝ่ามือประคบบนดวงตา โดยหลับตาลง อย่าให้ฝ่ามือแนบชิดกับดวงตามากเกินไป นั่งนิ่ง ๆ ในท่าดังกล่าว ประมาณ 1 นาที ค่อย ๆ เอามือออกช้า ๆ จะช่วยให้รู้สึกสบายตาขึ้น

โรคคอมพิวเตอร์กับคุณภาพชีวิต

การจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้นทุกคนก็ควรที่จะคำนึกถึงตัวเองก่อนว่าข้อดีและข้อเสียของการเล่นคอมพิวเตอร์นั้นก่อนว่าเราควรจะมีมาตราการยังไงให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ โดยปราศจากโรคหรือลดอาการของโรค เพื่อที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

การดูแลตนเองเป็นสิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติให้อยู่ในกฏเกณฑ์ ไม่ใช้จิตใจหรืออารมณ์ในการปฏิบัติ แต่เป็นการฝึกฝนตนเองให้รู้ถึงคุณค่า และผลของสิ่งที่ตนกระทำ การเอาเรื่องคอมพิวเตอร์มาพูดนี้ก็เพราะปัจจุบันทุกคนต่างก็ใช้คอมพิวเตอร์กันมากมายและคิดว่าอาจจะเป็นช่วยเป็นข้อคิดหรือแรงจูงใจให้ทุกคน สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ทั้งทางกายและทางใจ ในอนาคตต่อไป

[แต่งคลายเครียด

ชีวิตมีทั้งสุข มีทั้งทุกข์ มีทั้งเศร้า มีทั้งหัวเราะ

ผู้คนต่างพบเจอ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ปรับสิ่งดีๆให้กับชีวิต เพื่อความสุขในวันข้างหน้า และเพื่ออนาคตของเราต่อไป ]

เอกสารอ้างอิง

หนังสือพิมพ์มติชน.โรคคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซิมโดรม.วันที่ค้น29 ก.พ. 2555. จาก [email protected] : http://health.kapook.com/view253.html

หวังกระแทกคาง.โรคคอมพิวเตอร์ทำป่วย?????????. วันที่ค้น29 ก.พ. 2555. จาก Teenee.com : http://variety.teenee.com/foodforbrain/1388.html

สายพิณ เล็ก ป่าไม้ .โรคคอมพิวเตอร์(Computer Vision Syndrome).วันที่ค้น29 ก.พ. 2555. จาก Jingjong.net76.net : http://www.jingjong.net76.net/index.php?option=com_content&view=article&id=5&Itemid=6

นิตยสารคู่สร้างคู่สม.thap976.โรคคอมพิวเตอร์.).วันที่ค้น29 ก.พ. 2555. จาก expert2you.com : http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=375

ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ(กรุงเทพ). "คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม" (computer vision syndrome) หรือ "โรคซีวีเอส".วันที่ค้น29 ก.พ. 2555. จาก: ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพhttp://www.vachiraphuket.go.th/www/public-health/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=130

THNiCเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม .โรคภัยทางคอมพิวเตอร์.วันที่ค้น29 ก.พ. 2555. จาก rokcom.site90.net : http://rokcom.site90.net/index.php?option=com_content&view=category&id=34&Itemid=57

ผศ.นพ.กิตติ โตเต็มชัยการ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม คืออะไร .วันที่ค้น29 ก.พ. 2555. จาก สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย/cicot.or.th : http://www.cicot.or.th/2011/main/content.php?page=sub&category=26&id=75

แพทย์หญิงพุธศิรินทร์ ชูจันทร์ แพทย์ด้านผิวหนัง.โรค “คอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม” ภัยเฉพาะของคนรุ่นใหม่.วันที่ค้น29 ก.พ. 2555. จาก คุณภาพชีวิต : http://w3.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9490000119351

Anonymous. "โรคคอมพิวเตอร์" กันไว้ดีกว่าแก้ .วันที่ค้น29 ก.พ. 2555. จาก สสส.(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : : http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/10117

หนูน้อย ประชาสัมพันธ์.มารู้จักโรค CVS & CTS โรคคอมพิวเตอร์ โรคใหม่ที่ควรรู้จัก  .วันที่ค้น29 ก.พ. 2555. จาก Ramathibodi Knowledge Management : http://km.ra.mahidol.ac.th/mod/forum/discuss.php?d=577

ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ . ออกกำลังอย่างไรในคนทำงานคอมพิวเตอร์.วันที่ค้น29 ก.พ. 2555. จาก หมอชาวบ้าน : http://www.doctor.or.th/node/1334


หมายเลขบันทึก: 480574เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2012 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 02:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท