เสื้อไฉไล


เสื้อไฉไล ใช้ปิดทรวง

ชื่อเรื่อง :               นวัตกรรมเสื้อสำหรับตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโรงพยาบาลพิมาย

ผู้วิจัย:                     นางชลัญธร  ตรียมณีรัตน์, นางวรญา  แนบกลาง

 

บทคัดย่อ

                การศึกษานวัตกรรมเสื้อสำหรับตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในโรงพยาบาลพิมาย นี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมเสื้อสำหรับใส่ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและศึกษาผลของนวัตกรรมต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ ด้าน ความสะดวกในการสวมใส่ ความสบายเมื่อสวมใส่ ความสามารถในการปกปิดอวัยวะในส่วนที่ไม่ต้องเปิดเผย ความสามารถในการติดสายสัญญาณ Chest lead   และ ความสามารถในการแปลผลลื่นไฟฟ้าหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเพศหญิงที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพิมาย โดยการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ นวัตกรรมเสื้อสำหรับตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  และแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ผลการปฏิบัติของบุคลากรในการใช้นวัตกรรมเสื้อสำหรับตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความถูกต้องในการแปลผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องมือทั้งสองส่วนผ่านการตรวจสอบความตรงตามกายภาพ และความตรงตามเนื้อหา  โดยผู้เชี่ยวชาญ  แบบสอบถามด้านความพึงพอใจทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบราค (Cronbach’alpha coefficient )  เท่ากับ 0.98 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 – 6 พฤษภาคม 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

                ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมเสื้อสำหรับเตรียมตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจร้อยละ 100 ผู้ปฏิบัติในการเตรียมตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้แก่พยาบาลและพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ สามารถติดสายสัญญาณ Chest lead ในตำแหน่ง V1- V4 มีความสะดวกมาก ร้อยละ 100  และมีความสะดวกมาก ในตำแหน่ง V5-V6 ร้อยละ 93.30 และ 90.00 ตามลำดับ ความสามารถในการแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในตำแหน่ง V1-V6 มีความถูกต้องร้อยละ 100

                จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเสื้อสำหรับเตรียมตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ มีความเหมาะสมในการเป็นเครื่องมือในการให้การพยาบาลเพื่อพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยที่เป็นรูปธรรม แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการใช้ในผู้ป่วยฉุกเฉิน หากจะมีการนำเสื้อสำหรับเตรียมตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ มาใช้ในการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้ป่วยควรมีการปรับขนาดเสื้อให้มีขนาดเล็ก  กลาง และใหญ่ เพื่อการเลือกใช้ที่เหมาะสม และการนำไปใช้ควรใช้ในผู้ป่วยทั้งเพศหญิงและชาย เพราะการพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการปฏิบัติให้เท่าเทียมกันในผู้ป่วยทุกคน จึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการให้การพยาบาลเพื่อพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยต่อไป

หมายเลขบันทึก: 480525เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2012 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณแทนคนไข้พิมายด้วยนะคะ

อย่างนี้ kunrapee คงกล้าตรวจมั่งแล้ว ฮ่าฮ่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท