พริกดีศรีสะเกษ


การเพาะพริกเพื่อปลูกในช่วงฤดูฝน จะใช้ดินชนิดปรุงพิเศษ และวางในโรงเรือนที่ป้องกันฝนได้

ด้วยมีพี่น้องผู้อ่านท่านได้ให้ความสนใจใคร่รู้

เกี่ยวกับการปลูกพริกที่ศรีสะเกษ

เพราะทราบว่าที่ศรีสะเกษเป็นแหล่งปลูกพริกแหล่งใหญ่อีกแหล่งหนึ่งของไทยเรา

ซึ่งก็น่าจะจริง

เพราะแทบจะทุกพื้นที่ของศรีสะเกษ

โดยเฉพาะในห้วงช่วงฤดูหนาว

จะเห็นความเขียวเข้มๆของต้นพริกเป็นหย่อมๆ กระจายอยู่ตามนาทั่วไป

และเป็นพืชเศรษฐกิจทำเงินอีกอย่างหนึ่งของพี่น้องชาวศรีสะเกษ

มีข้อมูลเป็นคำบอกเล่าของพี่น้องเกษตรกรที่รู้จักหลายๆคน

ว่าปีหนึ่งๆ มีรายได้จากการปลูกพริกในพื้นที่ประมาณ ๑.๕ - ๒ ไร่

ใช้เวลาประมาณ ๕ - ๖ เดือน กว่า ๑๐๐,๐๐๐ - ๕๐๐,๐๐๐ บาท

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับราคาในแต่ละปี

โดยเฉพาะคนที่ปลูกได้ตั้งแต่ประมาณกลางเดือนสิงหาคม

จะได้ราคาค่อนข้างดี เพราะผลผลิตจะออกมาในเดือนตุลา-พฤศจิกา ซึ่งช่วงที่พริกสด(ทั้งเขียว-แดง)จะขาดตลาดพอดี

และต่อไปนี้เป็นรูปแบบการปลูกพริกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของศรีสะเกษ

เชิญทุกท่านทัศนาได้เลยขอรับ....

การเพาะพริกเพื่อปลูกในช่วงฤดูฝน จะใช้ดินชนิดปรุงพิเศษ และวางถาพเพาะไว้ในโรงเรือนชั่วคราวที่ป้องกันฝนได้

เกษตรกรมืออาชีพนอกจากจะเพาะพริกในโรงเรือนกันฝนแล้ว ยังต้องวางถาดเพราะบนพื้นสูงแบบนี้

เพราะสภาพพื้นที่ของศรีสะเกษส่วนใหญ่เป็นที่นาลุ่มต่ำ เกษตรกรจึงต้องลงทุนจ้างเหมาหรือซื้อหาดินมาถมที่นาให้สูงขี้น เพื่อให้สามารถปลูกพริกและพืชผักอื่นๆได้ในทุกฤดู (จะใช้ดินจอมปลวกเก่าเป็นสำคัญ เพราะมีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จากธรรมชาติ เหมาะแก่การใช้ปลูกพืชผักอย่างยิ่ง)

เกษตรกรมืออาชีพจริงๆจะลงมือปลูกพริกในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ฝนอาจกำลังตกชุกและมีพายุฝนเข้า เกษตรกรส่วนใหญ่จะยังปลูกไม่ได้ เพราะปลูกแล้วดูแลยาก (พื้นที่ที่ปลูกอาจไม่สูงพอหรือเอียงน้อย ทำให้การระบายน้ำฝนที่ตกพรำๆทั้งวันอาจไม่ดีพอ) แต่เกษตรกรบางรายจะปลูกต่อเนื่องลงในแปลงหอมแดง เมื่อหอมแดงได้อายุใกล้เก็บเกี่ยวแล้ว (ดังในภาพด้านบน)

เมื่อฝนหมด (ประมาณ พ.ย.) เกษตรกรจะใช้ฟางเข้าคลุมใต้โคนต้นพริก และบำรุงให้เจริญเติบโตด้วยเทคนิควิธีการต่างๆตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน

ในการจัดการผลผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่เกือบทั้งจังหวัด จะขายผลผลิตในรูปของพริกสดทั้งเขียวและแดง แต่จะมีการตากเป็นพริกแห้งรอการขายบ้าง ก็จะเห็นที่อำเภอขุขันธ์เป็นส่วนใหญ่ (ที่แตกต่างคงเป็นเพราะความเคยชินและความถนัดของพี่น้องเกษตรกรชาวเผ่าเขมรนั่นเอง)

ที่จริงพืชผักเศรษฐกิจสำคัญๆของศรีสะเกษยังมีอีกมากมายหลายชนิด ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดการผลิตได้ก็คือระบบน้ำใต้ดินที่มีให้ใช้อย่างเหลือเฟือ (ในมุมมองของครูวุฒิ เห็นว่าน่าจะดีกว่าการมีบ่อน้ำมันดิบด้วยซ้ำ เพราะสามารถนำมาผลิตอาหารเลี้ยงกายเราได้ทันที)

รอเพียงรัฐบาลที่มีหัวใจและวิสัยทัศน์เพื่อบ้านเมืองที่แท้จริง นำไฟฟ้ามาลงไร่นาแทนการเอาข้ามไร่นาไปปรนเปรอภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจไม่สร้างสรรค์(ธุรกิจกลางคืนและการค้ากาม)ในเมืองเท่านั้น เกษตรกรชาวศรีสะเกษก็จะหลุดพ้นจากความยากจนได้ด้วยตนเองอย่างแน่นอน

ระบบไฟฟ้าในพื้นที่ไม่มีให้ เกษตรกรต้องโยงสายไปใช้เป็นระยะทางไกลเป็นกิโลๆ (แต่คลองประหลาดๆที่ไร้ประโยชน์แบบนี้ กลับชอบทำดีนัก)

...............

เออ...เฮอะ.... ประเทศไทย.....

...................

หมายเลขบันทึก: 480279เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2012 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ช่วยกันเปลี่ยนนักการมเมืองหน่อยครับ 

ชอบ..มาาาก..เฮ้อ..ประเทศไทย....(ยายธีกำลังอยู่เมืองไทย..เจอกันดีไหมเนี่ยะ..กำลังเป็นโรค.ชีพจรลงเท้า..อิอิ...ยายธี)

Ico48

สวัสดีครับอาจารย์

  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยม
  • ที่จริงเราเปลี่ยน "นักการเมือง" บ่อยมาก
  • แต่เปลี่ยนยังไงก็เป็น "นักการเมือง" วันยันค่ำ
  • และพวกนี้ก็มีวิสัยทัศน์เพื่อพรรค(พวก)ไม่เคยเปลี่ยน
  • ครูวุฒิจึงอยากเสนอให้เปลี่ยนการศึกษามาเป็นของชุมชนแทนการเป็นของกระทรวงศึกษาฯอย่างทุกว้นนี้อ่ะครับ
  • เพราะเชื่อว่าการศึกษาโดยชุมชนจะเป็น "การศึกษาเพื่อปวงชน" โดยแท้จริง
  • สวัสดีครับ
Ico48

กราบสวัสดีครับคุณยาย

  • ขอบพระคุณครับที่แวะมาเยี่ยม
  • และก็ดีใจมากที่ทราบว่าตอนนี้คุณยายอยู่เมืองไทย
  • อยากเจอครับ ทีมงาน มธช (มหาวิชชาลัยธรรมชาติ) ทั้งท่านหมวดวิชัย และคุณตาพูลสวัสดิ์ ก็คิดถึงคุณยายมาก
  • แต่ไม่ทราบว่าคุณยายจะสะดวกเมื่อไร? ทีไหน? และอย่างไร?
  • เสียดาย น่าจะได้เจอกันในงาน HA National Forum ครั้งที่ 13  (13 - 16 มีค. 55 อิมแพ็คเมืองทองธานี) ซึ่งครูวุฒิเองก็ลงทะเบียนไม่ทัน
  • เป็นไปได้ก็เชิญที่ศรีสะเกษอีกรอบนะครับคุณยาย
  • ด้วยความคิดถึง
  • กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
  • สวัสดีครับ

ไม่ทราบว่า แปลงพริกข้างต้น ปลูกที่ บ้าน ตำบล และ อำเภออะไรคะ ขอบคุณค่ะ

ปลูกแทบทุกอำเภอครับ ในภาพส่วนใหญ่จะถ่ายจากเขต อ.เมืองฯ อ.วังหิน และ อ.ขุขันธ์ สนใจ...โทร 098 105 6134 ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท