ภาษีอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)


ภาษี, อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce), พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, Electronic Commerce

            ในโลกปัจจุบันและในอนาคต  ความสามารถในการแข่งขันตลาดโลก ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซหรือการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง

 

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับภาษีอีคอมเมิร์ซ ผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซยังคงต้องเสียภาษีภายใต้ประมวลกฎหมาย รัษฎากรเหมือนธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีผลบังคับใช้กับทุกธุรกิจรวมถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้วย ดังนั้นเมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อเข้ามาร้านค้าต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อสินค้าส่งออกไปให้กับลูกค้า ลูกค้าที่สั่งซื้อก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แต่ในแง่ของการจัดเก็บ ส่วนภาษีเงินได้จะไม่เป็นปัญหาเท่าไรนัก แต่ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณา เพราะการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อมีการจ่ายเงินซื้อสินค้า หากเป็นกรณีขายผ่านออนไลน์ จะเกิดข้อสงสัยว่าการเก็บภาษีเกิดขึ้นเมื่อใดต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากรหรือไม่ ประเด็นเหล่านี้ทำให้เห็นแง่มุมที่มีต้องพิจารณาผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ และเข้าใจถึงประมวลกฎหมายรัษฎากรเกี่ยวกับการเรียกจัดเก็บภาษีด้วยเพราะ เมื่อมีการชำระเงินเกิดขึ้นจะต้องมีเรื่องของภาษีตามมาเสมอ ดังนั้นต้องรู้ว่าจะบริหารจัดการเรื่องภาษีกับธุรกิจของตนให้ถูกต้องอย่างไร

(วิรัตน์ ศิริขจรกิจ,อ้างใน อีคอมเมิร์ซ แมกาซีน ฉบับ เดือนมีนาคม 2553.)

 

อารียา  ศรีประเสริฐ (มหาวิทยาลัยอีสต์เอเชีย) สรุปว่า

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  คือ  การซื้อ การขาย หรือ การแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ  และข้อมูลข่าวสาร  ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  รวมถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  (Kalakota and Whinston (1997)  ในที่นี้หมายรวมถึงการค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

- แสดงให้เห็นว่าพาณิชย์มีขอบเขตที่กว้างขวางอย่างยิ่ง  ทั้งในเชิงเทคโนโลยีที่มีการใช้อุปกรณ์พื้นฐานจำพวกโทรศัพท์  โทรสาร  บาร์โค้ด  บัตรแถบแม่เหล็ก  บัตรอัจฉริยะ  (Smart  Card)  ตลอดจนระบบที่มีขนาดและความซับซ้อนมากขึ้น  เช่น  ระบบอีดีไอ  ระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 

- เทคโนโลยีที่มีผลต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้แก่  “เครือข่ายอินเทอร์เน็ต”  ที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบการสามารถสื่อถึงผู้บริโภค  ทั่วโลกได้ตั้งแต่การโฆษณาสินค้า  สั่งซื้อ  ชำระเงิน  จัดการระบบขนส่งสินค้า  ตลอดจนบริการหลังการขาย

 (อารียา, มปป. [Online]. Available URL :course.eau.ac.th/course/Download/00237422/Chapter1.ppt)

 

สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สรุปว่า

e-business คือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business (ความรู้เบื้องต้น E-Commerce.  [Online]. Available URL : http://www.thaiecommerce.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538636758&Ntype=6)

หมายเลขบันทึก: 480258เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2012 00:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2013 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อีคอมเมิร์ซทำได้ง่าย และแพร่หลาย

http://hilight.kapook.com/view/68805

คำพยากรณ์ถึงโซเชียลมีเดีย ในปี 2012 (จีเอ็ม)

เรื่อง : Egotist 19 มีนาคม 2555

ใครที่เคยทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซผ่านทางเว็บไซต์ต่าง ๆ คงต้องเคยเจอปัญหามีลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมน้อย ถ้าลองเปลี่ยนช่องทางมา ใช้โซเชียลมีเดียจะมีโอกาสมากขึ้น เพราะโซเชียลมีเดียมีข้อได้เปรียบเว็บไซต์มากมาย มันเหมาะสำหรับการใช้ทำอีคอมเมิร์ซ เพราะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถมีลูกค้าคอยติดตามข่าวสารได้เป็นประจำแถมยังประกาศข้อเสนอต่าง ๆ ออกไปได้ในวงกว้างขึ้น และคาดว่าในปี 2012 โซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่จะมีเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ ๆ มาให้สมาชิกได้ทำธุรกิจอย่างง่ายดายมากขึ้นกว่านี้

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

http://th.wikipedia.org/wiki/การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Electronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้

 

ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ให้ความหมาย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าเป็น ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

 

ตัวอย่างเช่น นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อป ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้ โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย และยังมีกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาให้ความคุ้มครองด้วยในเรื่องของการเงิน


++++++++++++++++++++++

http://itzone-piyamas.northbkk.ac.th

http://www.ecommerce.or.th/faqs/faq6-1.html

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท