พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499


พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499, แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549, พระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ. 2546

พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 รวมแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549

 

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พุทธศักราช 2479 และพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2490 ได้ประกาศใช้มานานแล้ว สมควรที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมแก่กาลสมัย อาทิเช่น โอนหน้าที่การรับจดทะเบียนพาณิชย์ในจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นหน้าที่ของสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ในจังหวัดพระนคร ไปให้จังหวัดดำเนินการรับจดทะเบียนต่อไป ตามนโยบายกระจายอำนาจของรัฐบาลไปยังจังหวัดท้องที่ เพิ่มพาณิชยกิจที่จะต้องจดทะเบียนบางประเภท เช่นการรับจ้างทำของ การคลังสินค้า ฯลฯ เพื่อประโยชน์ทางสถิติและทราบหลักฐานของผู้ประกอบพาณิชยกิจ เพิ่มรายการจดทะเบียนเงินทุนของผู้ประกอบพาณิชยกิจ เพื่อทราบฐานะการค้าของพ่อค้า แก้ไขอัตราค่าปรับให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย เพราะโทษปรับเดิมกำหนดไว้เป็นเวลานานร่วม 19 ปีแล้ว จำนวนค่าปรับเดิมจึงน้อยไปไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้กระทำผิด เกรงกลัว และเข็ดหลาบได้ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อได้ทราบสถิติและหลักฐานการประกอบพาณิชยกิจของพ่อค้าที่ถูกต้องควรเชื่อถือได้อันจะใช้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม และการปรับปรุงขยายการเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์เสียใหม่ และยกเลิกพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์เดิมทั้ง 2 ฉบับ ประกาศใช้ใหม่โดยรวมเป็นฉบับเดียวกัน เพื่อให้พ่อค้าประชาชนเข้าใจง่าย สะดวกแก่การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ

 

             มาตรา 6 ให้ถือกิจการดังต่อไปนี้เป็นพาณิชยกิจ ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัตินี้

                        (1) การซื้อ การขาย การขายทอดตลาด การแลกเปลี่ยน

                        (2) การให้เช่า การให้เช่าซื้อ

                        (3) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง

                        (4) การขนส่ง

                        (5) การหัตถกรรม การอุตสาหกรรม

                        (6) การรับจ้างทำของ

                        (7) การให้กู้ยืมเงิน การรับจำนำ การรับจำนอง

                        (8) การคลังสินค้า

(9) การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อ หรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การเครดิตฟองซิเอร์ การโพยก๊วน

                        (10) การรับประกันภัย

                        (11) กิจการอื่นซึ่งกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

                        [ดูพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ. 2546]

[ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499]

 

กิจการอื่นซึ่งกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ. 2546

            มาตรา 3 กำหนดให้กิจการต่อไปนี้เป็นพาณิชยกิจตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499

                        (1) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต

                        (2) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ

                        (3) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์

                        (4) การให้บริการตู้เพลง

 

            มาตรา 7 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่

                        (1) การค้าเร่ การค้าแผงลอย

                        (2) พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล

                        (3) พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา

จัดตั้งขึ้น

                        (4) พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม

                        (5) พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์

                        (6) พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                        [ดูประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 83 (พ.ศ. 2515) เรื่อง กำหนดพาณิชยกิจที่

ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์]

                        [ดูประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 93 (พ.ศ. 2520) เรื่อง กำหนดพาณิชยกิจที่

ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499]

                        [ดูประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียน

พาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553]

 

หมายเหตุ พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่

1) บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท และได้ยื่น

แบบแสดงรายการ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนบริษัทไว้แล้ว ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ยกเว้นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ที่ประกอบกิจการต่อไปนี้ต้องขอจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย

1.1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดีหรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

1.2) ขายอัญมณีหรือเครื่องประดับ ซึ่งประดับด้วยอัญมณี

1.3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต บริการอินเทอร์เน็ตให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1.4) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต

1.5) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ

1.6) การให้บริการเครื่องเล่นเกม

1.7) การให้บริการตู้เพลง

1.8) โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

2) พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 141 (ปว.141) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515

จากการตรวจสอบพบว่า เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มาตรา 6(5) คือ การหัตถกรรม การอุตสาหกรรม แต่ปรากฏว่าต้องไปจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 มาตรา 6

หมายเลขบันทึก: 480257เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2012 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2013 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

6กลุ่มธุรกิจที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

http://www.smartsme.tv/knowledge-detail.php?sid=3&gid=27&id=19510

16 กุมภาพันธ์ 2559 : น. เวลา 17:05 น.

อาจารย์พรรณี วรวุฒิจงสถิต กรรมการภาษีอากร สภาหอการค้าไทย กล่าวว่า การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ คือ เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจแล้ว จะมีสถานะเป็นบุคคลธรรมดากับนิติบุคคล โดยลักษณะของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา เป็นการไปจดทะเบียนเพื่อแจ้งให้ได้รับรู้กันโดยทั่วไปว่าผู้ประกอบการได้เริ่มต้นประกอบกิจการอย่างถูกต้องและเปิดเผย มีหลักเแหล่งและสถานที่ตั้งของกิจการชัดเจน มีชื่อปรากฏอยู่ในระบบการค้าของประเทศโดยถูกต้องเรื่องภาระตามกฏหมาย การทำนิติกรรมสัญญา การชำระเงินภาษีเงินได้ ยังคงเป็นไปในนามของผู้ประกอบการซี่งเป็นเจ้าของกิจการไปจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ เรียกว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่คุ้นเคยกันว่าทะเบียนการค้าขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาเพียงไม่เกินชั่วโมงกับค่าธรรมเนียมเพียง 50 บาท โดยผู้ประกอบการที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถไปยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดของจังหวัดที่ตั้งกิจการ รวมไปถึงการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ สำหรับลักษณะของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ต้องเมื่อจัดตั้งกิจการแล้วในทางกฏหมายถือว่าตัวธุรกิจนั้นๆ แยกออกโดยเด็ดขาดกับความเป็นบุคคลธรรมดาของเจ้าของกิจการ การกระทำใดๆ เป็นไปในนามกิจการทั้งหมด เหมือนว่ากิจการนี้เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่เกิดขึ้นมาตามกฏหมายประเภทของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ที่เป็นนิติบุคคล โดยส่วนใหญ่มี 2 ประเภท คือ บริษัทจำกัดกับห้างส่วนจำกัด สถานที่ที่จะไปยื่นขอจดทะเบียนจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด

สำหรับพาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์มีทั้งหมด 6 กลุ่ม ได้แก่

1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย

2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล

3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น

4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม

5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์

6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ที่มา : SME Smart Service

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท