เปิดตัวโครงการ..Happy body


Happy work place

วันนี้พวกเราชาว หอผู้ป่วยเปิดตัวโครงการ

โครงการสร้างสุขในองค์กร: Happy body 

หลักการและเหตุผล   

สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกายหลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมาเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ

หลายหน่วยงานได้หันมาให้ความสนใจโดยให้มีการรณรงค์การออกกำลังกายขึ้น ดังนั้นการกระตุ้นให้บุคลากรหอผู้ป่วย 5จ เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะการออกกำลังกาย นอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวด้วย

บุคลากรหอผู้ป่วย 5จ ตระหนักถึงความสำคัญด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต จึงได้จัดทำโครงการสร้างสุขในองค์กร: Happy body ขึ้น เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้บุคลากรหอผู้ป่วย 5จ มีสุขภาพจิตที่ดีและลดอัตราการเกิดโรคดังกล่าว

วัตถุประสงค์    

  1. BMI อยู่ระหว่าง 18.5 - 22.9 กก./(ม)2
  2. รอบเอวไม่เกิน 80 เซนติเมตร
  3. บุคลากรมีร่างกายที่แข็งแรง จิตใจแจ่มใส เบิกบาน

 

วิธีดำเนินการ 

  • เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  • ประชาสัมพันธ์โครงการ
  • เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และผู้นำการออกกำลังกาย
  • ดำเนินการตามโครงการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณ BMI วัดรอบเอวก่อนทำกายบริหารครั้งแรก ทุกสัปดาห์ จนเสร็จสิ้นโครงการ
  • จัดให้บุคลากรเวรดึกและเช้า มีการออกกำลังกายท่าง่ายๆ เช่น เต้นตามจังหวะเพลง ประมาณ 5-10 นาที ก่อนทำงานก่อน pre conference
  • บริการน้ำดื่มสมุนไพรหลังทำกายบริหาร
  • ให้บุคลากรออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที
  • วางแผนการรับประทานอาหาร
  • จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย
  • จัดหาโปสเตอร์ภาพคนสวย หุ่นดีมาติดไว้ห้องอาหารเจ้าหน้าที่
  • มีบอร์ดความรู้เรื่องอาหารสุขภาพ

ระยะเวลา 3 เดือน  ให้ทุกคนมีโอกาสเข้าร่วมออกกำลังกายในหน่วยงานอย่างน้อย 30 ครั้ง ออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที

ประเมินผลโครงการ

1. BMI

2. รอบเอว

3 ประเมิน Happinometer ฉบับย่อ

 

หมายเลขบันทึก: 477934เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2012 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

วันนี้หลังจากคุยจาก พี่พยาบาลอาวุโส ถามว่าหลังเลิกงานพี่ไปไหน

"ไปแอโรบิก" เล่นเอาเราต้องมากลับมาวิ่ง

สภาพแวดล้อม มีผลจริงๆ คะ

ได้อ่านแล้วก็รู้สึกคึกคักตามไปด้วยค่ะ

ขอทำโครงการ Happy Body ที่บ้านด้วยคนนะคะ

จะวัดผล BMI ส่งห้ค่า

อาจารย์ปัทมาคะ

ดีค่ะ เรามาออกกำลังกายกัน แล้วประเมิน BMI ส่งด้วยนะคะ รวมทั้งรอบเอวด้วยค่ะ

วันนี้ทีมคุณหมอ เภสัช พยาบาลและบุคลากรทุกคน มาร่วมออกกำลังกายกัน 3 นาที คึกคักมากๆๆค่ะ

คุณหนูนก

ลองดูภาพวันนี้นะคะ คึกคักมากค่ะ

 

เริ่มแล้วค่ะ..

เริ่มออกกำลังกายแล้วค่ะ

ดีค่ะ คุณระพี ออกกำลังกาย ดูแลกายให้แข็งแรง จิตใจจะดีไปด้วยค่ะ

KM กลุ่มที่ 1  แก้ว บานเย็น ตุ้ย เรียม บังอรและอาทิตยา

เพื่อให้มีการแลกปลี่ยนกิจกรรมประจำวัน การออกกำลังกาย นิสัยการกินที่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม

การรับรู้ต่อร่างกายและจิตใจตนเอง

การวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้สุขภาพดี ทั้งเรื่องกิน และการออกกำลังกาย

ประเมินผลครั้งที่ 1

2 มีค 55

ถ้าใครยังไม่ได้ผล ทำต่อไปค่ะ

ถึงแม้ BMI ไม่ลด ก็ดูสดชื่นทุกคน

เบิกงบได้แล้ว 2000 บาท ซื้อ ภาพคนหุ่นดี หุ่นสวยมาไว้ห้องอาหาร 1 ภาพ

จะทำวีซีดี

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ, ถ้ามีครบ 3 ใน 5 ข้อขึ้นไป ถือว่า เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ [ กลุ่มอาการอ้วนลงพุงหรือเมทาโบลิค ]

.
(1). อ้วนลงพุง > เส้นรอบเอวเกิน 90 ซม./36 นิ้ว ในผู้ชาย, 80 ซม./ 32 นิ้ว ในผู้หญิง
.
(2). ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด > เกิน 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (หน่วย 1/10 ลิตร = 100 มิลลิลิตร)
.
(3). โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) > น้อยกว่า 40 มก./ดล. ในผู้ชาย, 50 มก./ดล. ในผู้หญิง
.
(4). ความดันเลือด > 130/85 ขึ้นไป หรือกินยาลดความดันเลือดเป็นประจำ
.
(5). ระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร (FBS) > 110 มก./ดล. ขึ้นไป
 
 
ข้อมูลจากบันทึกคุณหมอวัลลภ

การดูแลตัวเอง

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/480889

การออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ และ

ควบคุมน้ำหนัก เช่น เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง ขนมปังขาวเป็นโฮลวีท(เติมรำ),

ลดอาหารกลุ่มคาร์บ (คาร์โบไฮเดรต = ข้าว แป้ง น้ำตาล) 1/4 หลังอายุ 25 ปี,

ฝึกไม่ดื่มน้ำหวาน-น้ำอัดลม ลดเครื่องดื่มเติมน้ำตาล (อาจใช้น้ำตาลเทียมครึ่งหนึ่ง เช่น ไลท์ ชูการ์, มิตรผล แคลอรี ฯลฯ ช่วย),

ลดอาหารทอด,

ไม่ไปงานเลี้ยง-สังสรรบ่อย (ยิ่งไปงานบ่อย ยิ่งเสี่ยงอ้วน) ฯลฯ

ช่วยสุขภาพหัวใจได้มาก

วันจันทร์ที่ 26 /3/55

นัดคุณกบมาถ่ายทำการเต้นแอโรบิก เพื่อทำเป็นวีซีดีแจกบุคลากร ไปเต้นต่อที่บ้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท