สัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับจังหวัด ประจำปี ๒๕๕๕


สัมมนาเชิงปฏิบัติการ

 

                ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ได้มีการสัมมนาประจำปี ๒๕๕๕ (Provincial Workshop) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย เป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดกับองค์กร ประสาน สนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรภายในจังหวัด รวมทั้งเป็นเวทีในการสนับสนุนวิชาการ พัฒนาบุคลากร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในจังหวัด โดยใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือช่วยในการปฏิบัติงาน และเกิดการเชื่อมโยงในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลเป้าหมาย บุคลากรทั้งหมดของสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรและสำนักงานเกษตรอำเภอทั้ง ๘ อำเภอ

          ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายพินิจ เจริญพานิช) ได้มาเป็นประธานในการเปิดการสัมมนาและให้แนวทางในการปฏิบัติงานและการส่งเสริมการเกษตร โดยสรุปดังนี้

๑. ในฐานะข้าราชการขอให้จงภูมิใจเพราะงานราชการเป็นงานของพระเจ้าแผ่นดินต้องทำให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

๒. นักส่งเสริมการเกษตรต้องทำงานให้ครบวงจร ดูแลเกษตรกรตั้งแต่การผลิต ผลิตให้มีคุณภาพ ปริมาณสอดคล้องกับความต้องการ ราคายุติธรรม มีการวิเคราะห์ พยากรณ์สถานการณ์การผลิต ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นให้รีบแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อจะได้หาวิธีการป้องกันให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรน้อยที่สุด

๓. การทำงานต้องมีการกำหนดโจทย์ในการทำงาน โจทย์ในการทำงานด้านการเกษตรของจังหวัดชุมพร มี ๗ ชนิดพืชซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดชุมพร

      ๓.๑ ยางพารา ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับแรงงานกรีดยางเนื่องจากเกษตรกรชาวสวนยางของจังหวัดชุมพรจ้างแรงงานจำนวนมากจากภายนอกจังหวัดและภายนอกประเทศหากแรงงานเหล่านั้นกลับภูมิลำเนาเดิมจะทำอย่างไร เพราะฉะนั้นเราต้องมีข้อมูลกำลังแรงงานกรีดยางในพื้นที่ ว่าสวนไหนจ้างแรงงานจำนวนเท่าไหร่ เพื่อจะได้วางแผนการเตรียมการแรงงานทดแทน

      ๓.๒ ปาล์มน้ำมัน เกษตรกร ลานปาล์ม (จุดรวบรวม) โรงงาน ร่วมกันกำหนดและควบคุมคุณภาพผลผลิต รวมถึงแจ้งกำลังการผลิตของโรงงานและช่วงปิดซ่อมบำรุง อีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าต้นปาล์มน้ำมันที่จะต้องตัดโค่นเพื่อปลูกทดแทนต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุมาก โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันที่ปลูกหลังพายุเกย์ อย่างเช่น นำไปทำเป็นไม้อัด ปาเก้ หรือนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

      ๓.๓ กาแฟ ยกระดับราคาผลผลิตปัจจุบันมีโรงงานแปรรูปผลผลิตเป็นกาแฟผง ที่ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี สามารถช่วยรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกได้ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด

      ๓.๔ ทุเรียน ปัญหาน้อยลงเนื่องจากมีการผลิตนอกฤดูแต่ปัญหาที่ยังพบอยู่คือการตัดทุเรียนอ่อน จะต้องเข้มงวดในเรื่องคุณภาพ

      ๓.๕ มังคุดและลองกอง ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกปีกรณีให้ผลผลิตราคาต่ำในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว จึงหาแนวทางในการผลิตนอกฤดู โดยดำเนินการโครงการนำร่องในปี ๒๕๕๕ ถ้าสามารถดำเนินการได้ ๓๐% ของพื้นที่ปลูกน่าจะช่วยลดปัญหาได้

      ๓.๖ เงาะ เป็นไม้ผลที่มีข้อจำกัดในการพัฒนา และพื้นที่ปลูกลดลงทุกปี

๔.ยุทธศาสตร์รายพืช ช่วยกันคิดทำอย่างไรให้เกษตรกรมีความสุข

นโยบายเกษตรจังหวัดชุมพร (ว่าที่ร้อยโท วรวุฒิ ขอดจันทึก)

นโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร ปี ๒๕๕๕

        ๑.      โครงการพระราชดำริ

        ๒.      ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ

       ๓.      เร่งรัดการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ/ฟื้นฟู/เยียวยา

       ๔.      ติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชเพื่อวางระบบป้องกัน

       ๕.      ใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรเป็นหลักในการปฏิบัติงาน

       ๖.      จัดให้มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.)/การมีส่วนร่วม

       ๗.      พัฒนาศักยภาพเกษตรกร/องค์กรเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชนและการสร้างเครือข่าย

       ๘.      พัฒนาบุคลากรทุกระดับ

       ๙.      ปฏิบัติงานโครงการและภารกิจทุกเรื่องอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ข้อบัญญัติในการปฏิบัติงาน ๑๑ ข้อซึ่งปฏิบัติตามภารกิจหลักเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ

               ๑.      แผนยุทธศาสตร์องค์กร

               ๒.      การบริหารบุคคลแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ RBM :Result Based Management

               ๓.      ระบบส่งเสริมการเกษตร

               ๔.      พัฒนาบุคลากร/พัฒนาเครือข่าย

               ๕.      สารสนเทศ (IT)

               ๖.      การจัดการความรู้ (KM)

               ๗.      การบูรณาการปฏิบัติงานกับหน่วยงานภาคี (ทั้งแนวตั้ง / แนวราบ)

               ๘.      ระบบควบคุมภายใน

               ๙.      ยึดคุณธรรม/จริยธรรม ในการปฏิบัติงาน

              ๑๐.     การประชาสัมพันธ์

              ๑๑.     ๓ ภูมิ (ภูมิฐาน  ภูมิรู้ ภูมิปัญญา )

 

“ผมมาเป็นเกษตรจังหวัดชุมพร ผมอยากเห็นและปรารถนาให้มี ๓ สิ่งภายในสำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ

          ๑. นักบุ๋น         ขงเบ้ง หรือ นักวางแผน

          ๒. นักบู้           นักปฏิบัติจริง

          ๓. ขุนพิเภก      เปรียบเสมือน คนถือสาร”

คำสำคัญ (Tags): #สัมมนาประจำปี
หมายเลขบันทึก: 477933เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2012 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท