วิสาหกิจชุมชน มีลักษณะคล้าย ๆ สหกรณ์ หรือบางด้านคล้าย ๆบริษัท


การมีกฏหมายของ"วิสาหกิจชุมชน" จำเป็นหรือไม่..

หลักการทั่วไป เราเห็นว่า "วิสาหกิจชุมชน" พัฒนาขึ้นมาภายใต้ ระบบทุนนิยมและโลกาภิวัฒน์  สร้างขึ้นมาเพื่อลดแรงกดดันของกระแสทุนนิยม และทุนนิยมภายในประเทศ  แต่ยังคงอยู่ในระบบทุนนิยม ...

ทุนนิยมไม่ดีหรือไร..เพราะหลายอย่างเกิดขึ้นแล้วนำไปสู่การแข่งขันมากไป ไร้ขอบเขต ดีสำหรับประเทศที่มีวิทยาการ เป็นประเทศที่เจริญแล้วเรื่องกฏหมาย เรื่องการค้า สำหรับบางประเทศไม่สามารถก้าวกระโดดได้ทันก็จะตกเป็นเบี้ยล่าง เช่น จีน ปกครองโดยใช้ ระบบสังคมนิยม ก็ถือตราหน้าว่าเป็นประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา(โลกที่สาม) แต่พอจีนเข้าระบบทุนนิยม ปัจจุบัน จีนกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว

แต่ "วิสาหกิจชุมชน" ยังคงอยู่กับระบบทุนนิยม จึงต้องใช้ทั้งกลไกการผลิต การค้า และการเงิน  แต่เป็นการใช้เพื่อให้พึ่งตนเองมากที่สุด ลดการครอบงำจากทุนใหญ่ต่าง ๆ และกระแสโลกาภิวัฒน์ของทุนให้มากที่สุด

ดังนั้น "วิสาหกิจชุมชน" จึงต้องมีลักษณะเท่าทันกระแสโลก และกระแสทุน มีความฉับไวในการปรับตัวเพื่อต่อสู้  หลีกเลี่ยง  พิทักษ์ประโยชน์ของชุมชน

การที่จะทำอย่างนี้ได้ต้อง ทำให้ "วิสาหกิจชุมชน" มีความคล่องตัว  ตัดสินใจได้รวดเร็ว มีส่วนร่วมของชุมชนสูง  ไม่ล่าช้าและไม่ถูกฉุดดึงโดยกลไกราชการ  มีความเป็นอิสระจากกลไกราชการสูง  และทำให้ชุมชนมีความเป็นรู้สึกเป็นเจ้าของสูง  ...

ปี ๒๕๔๐ ประเทศไทยเราประสบปัญหาวิกฤตต้มยำกุ้ง..แนวทางการแก้ปัญหา ของชุมชนเมือง คือ การลงไปสนับสนุนเศรษฐกิจของชุมชนเมืองขนาดเล็ก ที่ประสบปัญหา การคิดแบบนี้ตรงประเด็น ตรงเป้าหมาย เมื่อ ปี ๒๕๔๓ ได้มี พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจ ขึ้นมา พร้อมธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยทีมสภาพัฒน์ ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน เลขานุการ คือ อธิบดีส่งเสริมอุตสาหกรรม

พอปี ๒๕๔๘ มี พรบ.วิสาหกิจชุมชน กลับกลายเป็น พรบ.คล้ายกัน แต่คนดูแล เป็นนายก(หรือรองนายกที่ได้รับมอบหมาย เช่น ฯพณฯ สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นต้น) แล้วเลขานุการ คือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และกองทุนเพื่อกู้ยืม เป็น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เกษตรกรคาดหวังว่าจะได้ลืมตาอ้าปากอีกครั้ง ก็เจอเจ้าหนี้คนเก่า ไม่กล้าทำอะไร...เพราะตัวเองยังเป็นหนี้อยู่เลย

มีกฏหมายไปเพื่ออะไรครับ ถ้าคิดจะสร้างสรรค์พัฒนา และส่งเสริมธุรกิจชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชน ก็จำเป็นต้องมีปรัชญา นโยบาย มาตรการ และระเบียบกฏเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ที่ผ่านมา อ่าน พรบ.วิสาหกิจชุมชน แล้วไม่เข้าใจ เหมือนก่อตั้งองค์กรใดขึ้นมา องค์กรหนึ่ง เพื่อรับจดทะเบียน แต่วิธีการทำงาน..เขียนเหมือนกันแต่น้อย เกษตรกรอ่านแล้วเข้าใจว่า ให้การสนับสนุนการเรียนรู้ แต่แบบไหน..? ส่วนที่ต้องไปเกี่ยวข้องกับ กลไกการค้า ทำอย่างไร?...กลไกทางการเงิน เจอ ธกส. ก็ทำไม่ได้ ไม่คล่องตัว

วิสาหกิจชุมชน มี รูปแบบคล้ายกับสหกรณ์ ที่เป็นทางการ และไม่่เป็นทางการ และบางส่วนก็มีส่วนคล้ายกับธุรกิจแบบบริษัท ...อย่างนี้ก็ไม่มีระบุให้ชัดเจนว่า มีการบริหารแบบบริษัท แต่ลักษณะโดยรวมเหมือนสหกรณ์ หรืออย่างไร..

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 477372เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2012 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท